Home > ธุรกิจยา

บี.กริม ฟาร์มา ปักหมุดออฟฟิศใหม่ เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 6 รายการในปี 2567

บี.กริม ฟาร์มา ภายใต้กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 หมวดธุรกิจหลักของ บี.กริม ประกอบด้วยธุรกิจด้านพลังงาน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และธุรกิจด้านอุตสาหกรรม บี.กริม ฟาร์มา ได้ประกาศย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ใจกลางเมือง ณ อาคาร อัลม่า ลิงค์ ถนนชิดลม ทำเลที่สะดวกต่อการเดินทางและเชื่อมต่อกับถนนหลายสาย เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคใหม่จำนวน 6 รายการ ภายในปี 2567 นี้ ซึ่งจะครอบคลุม 4 กลุ่มโรค ประกอบด้วย 1. กลุ่มยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 2. กลุ่มยารักษาโรคระบบประสาทและจิตเวช 3. กลุ่มยารักษาโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ 4. กลุ่มยารักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยในกลุ่มโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บี.กริม ฟาร์มา จึงมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการค้นคว้าวิจัยและการพัฒนา ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ควบคู่กับการส่งเสริมการเข้าถึงยารักษาโรคของผู้คนในสังคม ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน

Read More

“หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ภาพสะท้อนธุรกิจเวชภัณฑ์ไทย

สถานการณ์ว่าด้วย การเข้าไม่ถึงยาจำเป็น ของสังคมไทย ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ที่น่ากังวลมิใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยในโรคที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย ท่ามกลางความเป็นไปของตลาดยาในประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี และมีมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1.8 แสนล้านบาท ปัจจัยหนุนเสริมที่ทำให้ตลาดยาในไทยขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นของคนไทย โดยเฉพาะจำนวนผู้ป่วยจากโรคเฉพาะทาง ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ขณะที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปสู่ระดับ 10.3 ล้านคนในปี 2562 ก็เป็นปัจจัยเสริมให้มีความต้องการใช้ยาเพิ่มขึ้นด้วย กรณีดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ดังจะเห็นได้จากข้อมูลรายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.81 แสนล้านบาทในปี 2559 และจะเพิ่มเป็น 4.64 แสนล้านบาทในปี 2564 ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้สะท้อนผ่านความต้องการใช้ยาเฉพาะทางและบริการทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในสัดส่วนมากถึง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงยาจำเป็น ยังทวีความรุนแรงมากขึ้นในระบบสุขภาพไทย โดยเฉพาะการเข้าไม่ถึงยาในความเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงและเฉพาะทางที่ยังเป็นปัญหาหลัก ประเด็นที่น่าสนใจจากเหตุดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยดำเนินไปในทิศทางที่สูงกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ท่ามกลางความไม่ชัดเจนในเชิงนโยบายว่าด้วยการกำหนดราคายา การขาดระบบควบคุมราคายาที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลการกำหนดราคายาให้เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งกรณีเช่นว่านี้ก่อให้เกิดปัญหาการเข้าถึงยา โดยเฉพาะยาที่มีราคาแพงและยาที่ผูกขาดตลาดโดยเจ้าของรายเดียวหรือน้อยรายไปโดยปริยาย ข้อเท็จจริงแห่งความเป็นไปของยา

Read More

ฝันของ Medical Hub กลางสมรภูมิอุตสาหกรรมยาไทย

  ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ และเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องพยายามหาทางแก้ไข บำบัด เพื่อความอยู่รอด ยาถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์  ธุรกิจยาเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่ และมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนแปดหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ทั้งนี้ได้แบ่งเป็นตลาดยาในโรงพยาบาลประมาณ 80% และเป็นตลาดร้านขายยา ประมาณ 20% โดยที่ตลาดโรงพยาบาลนั้นแบ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐ 80% โรงพยาบาลเอกชน 20% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดยานั้นยังคงเน้นไปที่โรงพยาบาลรัฐเป็นส่วนใหญ่ และเป็นการใช้รักษาโรคต่อเนื่อง เช่น ยาเบาหวาน  ยาความดันโลหิต ยาโรคหัวใจ เป็นต้น ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งผู้ผลิตไทยและต่างชาติ ปัจจุบันบริษัทผลิตยาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริษัทผู้ผลิตยาข้ามชาติ (MNCs หรือ Multinational Companies)  อาทิ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และบริษัทยาที่ผลิตในประเทศ  ซึ่งส่วนมากจะเป็นยาสามัญทั่วไป ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาพบว่ายอดขาย 70% ของตลาดยามาจากบริษัทข้ามชาติเพราะมักจะเป็นยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มีพื้นฐานมาจากการวิจัยพัฒนา ซึ่งมีการนำเข้าก็มี 2 แบบคือ การให้

Read More