Home > ค่าแรงขั้นต่ำ

ทางแพร่งขึ้นค่าแรง บนความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจสังคมการเมืองไทยในห้วงสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงนี้ ดูจะมีความน่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากรัฐบาลใหม่ในนามประยุทธ์ 2 จะมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นประหนึ่งพิธีการก่อนเริ่มบริหารราชการบ้านเมืองอย่างเป็นทางการแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นเสมือนการบ่งชี้ทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยในระยะเวลานับจากนี้ และมีสถานะเป็นสัญญาประชาคมที่ย่อมมีนัยความหมายมากกว่าคำมั่นสัญญาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ แม้ว่านโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาจะมีหลากหลายด้าน ทั้งนโยบายว่าด้วยการดูแลราคาสินค้าเกษตรที่กำลังตกต่ำในทุกผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหาการส่งออกตกต่ำ นโยบายด้านการพลังงาน หรือแม้กระทั่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวเนื่องด้วยความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม และการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนในระดับครัวเรือน หากแต่นโยบายที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ยังไม่มีการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการกลับอยู่ที่นโยบายว่าด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน ที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม และนำไปสู่การแสดงออกซึ่งท่าทีคัดค้านในการเร่งรัดผลักดันนโยบายดังกล่าว ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ในมุมมองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม แม้ว่านโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท จะดำเนินไปภายใต้ผลของการรณรงค์หาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่นๆ หากแต่ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำและไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวโดยง่ายนี้ การปรับขึ้นค่าแรงในห้วงเวลาขณะนี้ย่อมต้องส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างยากที่จะเลี่ยง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การปรับขึ้นค่าแรงที่ผ่านมาดำเนินการผ่านคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่มีอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย ประเด็นที่ภาคเอกชนได้สะท้อนออกมาต่อกรณีการขึ้นค่าจ้างแรงงานครั้งใหม่นี้ อยู่ที่การเรียกร้องให้ภาครัฐเน้นความสำคัญของการปรับเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้แรงงานมีโอกาสได้รับรายได้มากขึ้น โดยไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างแน่นอน เพราะผู้ประกอบการเอกชนกลุ่มนี้เชื่อว่า ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายของรัฐบาลใหม่นี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย ซึ่งจะทำให้ไทยต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียผลประโยชน์มากถึงพันล้านหรือมากถึงหมื่นล้านบาท โดยค่าแรงส่วนนี้ไม่ได้หมุนกลับมาเป็นแรงกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากนัก ขณะที่แรงงานคนไทยส่วนใหญ่ได้รับอัตราค่าแรงในอัตราที่ดีขึ้นอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การมุ่งปรับทักษะฝีมือแรงงานของแรงงานไทยให้สูงขึ้นสำหรับรองรับพัฒนาการทางการผลิตในอนาคต ความกังวลใจในกรณีการปรับขึ้นค่าแรงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเท่านั้น หากแต่ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยก็ได้สะท้อนความกังวลใจต่อเรื่องดังกล่าว เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการที่นักลงทุนจากต่างประเทศจะย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ซึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะตกงาน

Read More

AI กุญแจสำคัญของธุรกิจ? ยุคอุตสาหกรรม 4.0

การขอปรับค่าแรงงานให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศเป็น 360 บาทต่อวัน จากปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ 303-330 บาทต่อวัน ยังไม่สามารถอนุมัติได้ทันวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน และบางจังหวัดไม่ขอปรับขึ้นค่าแรง ด้วยเหตุผลที่ว่า สถานการณ์การค้าและเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะมีบางจังหวัดที่ไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทว่ายังมีจังหวัดที่ต้องการให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำด้วยอัตราเพิ่มขึ้น 2-10 บาทต่อวัน ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า อาจไม่สามารถปรับได้ทันวันแรงงาน เหตุผลไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ดำเนินไปตามความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ให้ความเห็นเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า จะมีการนัดประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งช่วงกลางเดือนนี้เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง หลังจากที่ได้ข้อมูลจากอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจากทุกจังหวัดแล้ว เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในด้านหนึ่งย่อมส่งผลดีต่อแรงงานไทย ที่จะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการได้ปรับราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ทว่าด้านผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการ มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้องดูปัจจัยแวดล้อมจากสถานการณ์เศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วย เพราะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหมายถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับ ท่ามกลางการถดถอยทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เมื่อเวทีการค้าโลกยังไม่มีความแน่นอน ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หรือประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหภาพยุโรป ไม่น่าแปลกใจ หากผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องขอปรับค่าแรงขั้นต่ำในเวลานี้ นอกจากนี้ การจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในห้วงยามนี้ต้องพึงระลึกว่า ไทยกำลังเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC หากมีการอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน เชื่อว่าเวลานี้ทั้งภาครัฐ

Read More

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดาบสองคมของเศรษฐกิจไทย

ข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาคแรงงานไทย กำลังเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เฝ้ารอให้วาระนี้ถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และได้รับการอนุมัติเห็นชอบ ขณะที่บรรดานักลงทุนอาจกำลังวิตกว่าหากผลสรุปของที่ประชุม ครม. ไม่คัดค้าน และมีผลให้ค่าแรงอัตราใหม่ต้องบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2561 นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่การแข่งขันดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ สามารถมองได้ในหลากหลายมิติ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ คสช. มองว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้น่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในห้วงยามที่กำลังต้องการตัวกระตุ้น โดยก่อนหน้านี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า มีความเหมาะสม เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ปรับขึ้นมานานถึง 3 ปี และหากแรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น น่าจะส่งผลต่ออำนาจการซื้อของประชาชนมากขึ้น ผู้ประกอบการร้านค้าจะได้รับประโยชน์จากการขายสินค้าได้มากขึ้น เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ ผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ที่กำลังเสนอคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการเสนอให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยอัตรา 5-22 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 อัตรา ตามแต่ละพื้นที่ โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาทต่อวัน ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

Read More