Content

ชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง นามปากกา

 ประเด็นเรื่องชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง หรือนามปากกา กลายเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่เคยประทุขึ้นมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งถ้าย้อนอดีตไปในประวัติศาสตร์แล้ว ประเด็นนี้ก็ถูกถกเถียงอยู่ในแวดวงต่างๆ เรื่อยมากูเกิ้ลนำประเด็นนี้มาให้เราได้ถกเถียงอีกครั้ง เป็นความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าของกูเกิ้ลที่จะสร้างบรรทัดฐานให้เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ที่เราคงต้องร่วมวงไพบูลย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ การใช้ชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง หรือนามปากกาก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเช่นกันเรามาลองตามดูความพยายามของกูเกิ้ลกันหนึ่งในความพยายามของ YouTube ในการแก้ปัญหาเรื่องการแสดงความคิดเห็นที่อาจจะสร้างปัญหาโดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลต่อการดำเนินการเว็บไซต์ของ YouTube อย่างหนักหน่วงนั้นคือ การพยายามผลักดันให้ผู้ใช้งานยกเลิกการแสดงความเห็นโดยไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหล่าอาชญากรออนไลน์ทั้งหลายใช้เมื่อต้องกระทำความผิดดังนั้น ทุกวันนี้การแสดงความคิดเห็น (Commenting) หรือการอัพโหลดภาพวิดีโอขึ้นบนเว็บไซต์ YouTube จึงมีการเรียกหาชื่อจริงเสียงจริงทุกครั้ง โดยมีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของการแสดงชื่อจริงในบล็อกของ YouTube อย่างเป็นทางการ (สามารถดูได้จากhttp://youtube-global.blogspot.com/2012/06/choosing-how-youre-seen-on-youtube.html)ซึ่งการให้แสดงชื่อจริงของ YouTube ยังต่อเนื่องไปถึงการลิงค์ไปยังแอคเคาน์ของ Google+ ซึ่งกูเกิ้ลพยายามโปรโมต อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่ปฏิเสธไม่ใช้ชื่อจริงก็ต้องให้ เหตุผลกับทาง YouTube ด้วยว่า ทำไมถึงไม่ใช้ชื่อจริง อย่างเช่น แอคเคาน์นี้สำหรับใช้เพื่อทางธุรกิจเท่านั้น เป็นต้นสำหรับ YouTube แล้ว บริการการอัพโหลดไฟล์ภาพวิดีโอของ YouTube ค่อนข้างมีความเสี่ยงในการถูกใส่ข้อความ ที่ไม่ดีไม่งาม ทำให้ YouTube ติดอันดับเว็บที่มีการกำหนดข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นหรือการใส่ข้อความต่างๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางทำให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นประเด็นอ่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ ศาสนา และการเมืองล่าสุดกูเกิ้ลที่เป็นเจ้าของ YouTube ได้กำชับให้เว็บไซต์นี้ สรรหาวิธีที่จะช่วยลดการทำผิดในลักษณะต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยก่อนหน้านี้ YouTube จัดการกับการละเมิดในลักษณะต่างๆ โดยอนุญาตให้คนที่อัพโหลดวิดีโอสามารถเซตไม่ให้รับคอมเมนต์ได้ ซึ่งโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทำให้ YouTube ถูกตัดออกจากสังคมออนไลน์ไปจากการที่ YouTube ถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยการแสดงความคิดเห็นที่เลวร้ายที่สุดในอินเทอร์เน็ต ทำให้ YouTube พยายามพัฒนาระบบการคอมเมนต์ของตัวเอง อย่างน้อยเพื่อทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายเชื่อฟังมากขึ้นสองปีก่อน YouTube แก้ปัญหาโดยการนำเอา “highlights view” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นก่อนหน้า “top comments” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยจะแสดงข้อความแสดงความคิดเห็นที่ได้รับการโหวต สูงสุดจากคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นใน YouTube นั้นๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นโดยอ้อมต่อการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ แต่ YouTube ยังต้องพยายามอีกมากถ้าต้องการจะกำจัดปัญหาข้อความแสดงความคิดเห็นเลวร้ายที่สร้างปัญหาให้กับเว็บไซต์  โดยเว็บไซต์เองได้ รวบรวมไฟล์วิดีโอที่ดูดีซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัท

Read More

อะไรคือเทคโนโลยี Cloud Computing

 คุณผู้อ่านอาจเคยได้ ยินคำว่า Cloud Computing กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับ Cloud Computing กันครับว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีที่มาที่ไปอย่างไรCloud Computing หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นหลักการที่ได้ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีด้าน Virtuali-zation หรือการสร้าง CPU (Central Processing Unit) เทียม เป็นการจำลองตัว CPU เล็กๆ ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ ได้ใช้งานตามต้องการหลักการทำงานที่เข้าใจง่ายๆ ของ Cloud Computing คือเอาทุกอย่างโยนเข้าไปที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ซึ่งพื้นที่เซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้ที่เราเปรียบได้เหมือนเมฆ (ซึ่งทำให้เป็นที่มาของคำว่า Cloud) เพราะฉะนั้นต่อไปเราไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์ราคาแพงๆ Spec แรงๆ ไว้ที่บ้าน แค่มีคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป RAM ไม่ต้องสูงมาก เวลาต้องการคำนวณหรือ ประมวลผลอะไรสูงๆ เราก็จะโยนไปฝากไว้ที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ในเซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้จะมี CPU จำนวนมากไว้คอยบริการ พวกนี้ถูกบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวเองได้ให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน หมายความว่างานไหนต้องการพลังประมวลผลเยอะๆ ก็จะแบ่งทรัพยากรมาจำลอง CPU ให้เยอะๆ งานไหนใช้การประมวลผลน้อยๆ ก็แบ่งทรัพยากรมาให้พอแค่รันโปรแกรมได้โดยไม่ติดขัดก็จะประหยัดทรัพยากรในการประมวลผลลงไปได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นก็อาจจะคล้ายๆ พวกร้าน Internet Cafe ที่ไม่มี Hard Disk ที่เครื่องลูกข่าย (Client) เลย เพราะข้อมูลทั้งหมดเราจะโยนไปอยู่ที่ Server ส่วนกลางหมด เวลาจะอัพโหลดเกม อัพโหลดโปรแกรมก็ลงที่ Server ส่วน กลางเครื่องเดียว แล้วก็แชร์การใช้งานไปยังเครื่องลูกข่ายทั้งหมดแทน เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีที่เป็นแค่การใช้งานระดับพื้นฐาน ที่ไม่มีการดึงข้อมูลจาก Hard Disk หนักๆ ตลอดเวลา Server เครื่องเดียวก็รองรับ Client ได้เป็นสิบเครื่องแล้ว ประหยัดค่า Hard Disk ไปได้อีกมาก มาย แถมยังควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์และไฟล์ต่างๆ

Read More

นครแห่งการศึกษา โอกาสหรือมหันตภัยทางปัญญาในภูฏาน

 เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ข่าวเรื่องแป๊ะเจี๊ยะได้เขย่าวงการศึกษาไทยอย่างหนัก แม้เราจะทราบว่าปัญหาดังกล่าวได้กัดกินการศึกษาไทยมานานแล้วก็ตาม ในขณะที่การศึกษาไทยก็ยังเดินต่อไปส่วนจะดีจะร้ายอย่างไรเราก็ต้องสู้กันต่อไป ส่วนจะสู้กับใคร ค่อยมาว่ากันทีหลัง ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงประเทศภูฏานกับการศึกษาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ช่วงที่ผมไปเยือนประเทศภูฏาน ผม และทีมงานของมหาวิทยาลัยรังสิตมีโอกาสได้เข้าพบบริษัท Druk Holding ซึ่งเป็นบริษัท ของรัฐบาลภูฏานที่ได้รับ Royal Charter ให้ เป็นบริษัทในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าจิกมี ผู้บริหารของ Druk Holding ได้สนทนา กับผู้บริหารของ Druk Holding เกี่ยวกับเมกกะโปรเจ็กต์ชื่อ Education City กล่าวคือบริษัทดรุกจะทำการปรับภูเขาระหว่างกรุงทิมพูและเมืองพาโรเพื่อสร้างเมืองการศึกษาโดยเชิญชวนให้มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม บริษัทห้างร้านมาเช่า และร่วมกันสร้างเมืองเพื่อนักเรียน โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวราวๆ 50 ปี ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงหลายประการด้วยกัน บริษัทดรุกหวังว่าการสร้างนครแห่งการศึกษาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศภูฏาน รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคทางตอนเหนือของเอเชียใต้ การฟังโปรเจ็กต์ดังกล่าวทำให้ผมเดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาหลายแห่งในภูฏานและพบปัญหาที่ประเทศของเขากำลังประสบอยู่การศึกษาในระดับประถมและมัธยม ศึกษาโดยรวมในเมืองใหญ่อย่างพาโรหรือทิมพู ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่างจากโรงเรียนในประเทศอื่นๆ นัก แม้ว่าอาจจะไม่มีอุปกรณ์มากเท่าที่ควร แต่ในชนบทของประเทศภูฏาน ปรากฏว่าคนจำนวนมากไม่มีการศึกษา โดยประชากรที่มีการศึกษาของภูฏานนั้นต่ำอย่างน่าตกใจ เพราะอยู่ที่ 47% และผู้หญิงเพียง 34% มีการศึกษา ในขณะที่เราด่าการศึกษาบ้านเรา ประเทศไทยมีประชากรถึง 92.6% ที่มีการศึกษาและอัตราส่วนระหว่างชายหญิงต่างกันราวๆ 2-4% แม้ไม่ได้สูงถึง 99% อย่างประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ นัก

Read More

ไตรภัค สุภวัฒนา “เสื้อเหมือนป้ายโฆษณา”

 “ไตรภัค สุภวัฒนา” หนึ่งในดีไซเนอร์ยุคแรกๆ ของ “ERR-OR DESIGN” ถือเป็นจุดขายและเอกลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เสื้อยืดธรรมดาไม่ธรรมดา เพราะลายเสื้อทุกชิ้นล้อเลียนและเสียดสีสังคม โดยเฉพาะการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม คอลเลกชั่น “Foodland” ซึ่งไม่ต่างจากอาชีพนักเขียนการ์ตูนที่ไตรภัคพยายามนำเสนอผลงานในฐานะนักเขียนการ์ตูนไทยท่ามกลางการ์ตูนญี่ปุ่นที่ล้นทะลักตลาด แม้มี “โทริยาม่า อากิระ” ซึ่งโด่งดังจากการ์ตูนเรื่อง “ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่” และ “ดราก้อนบอล” เป็นไอดอลในดวงใจก็ตาม“ผมทำเสื้อเพื่อบอกเล่าอะไรบางอย่าง เสื้อเป็นสื่ออย่างหนึ่ง เป็นป้ายโฆษณา เพื่อบอกความชอบส่วนตัว ผมสร้างเสื้อที่บอกความชอบและแสดงจุดยืน ผมคิด ถึงอาหารก่อน ผมต่อต้านบริโภคนิยม ผมนำเสนอลายข้าวหน้าหมู แต่เป็นข้าวหน้า หมูจานใหญ่มากที่คนกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ไม่รู้จักพอ เขียนถึงฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังให้วัยรุ่นที่กำลังเห่อว่าเรากินมันและเรากำลังถูกมันกินเช่นกัน”ทุกครั้งที่ทำลายเสื้อ ไตรภัคมักมีคำอธิบายเล็กๆ เพื่อสื่อทัศนคติ เป้าหมาย ไม่ใช่ยับยั้งระบบ เพราะในความจริง ตัวเขากินฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังๆ เช่นกัน แต่แนวคิด “Foodland” อยากให้เด็กวัยรุ่นมองอาหารต่างชาติราคาแพงเหล่านี้เป็นเพียงอาหารมื้อหนึ่งที่กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่ค่านิยม ไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่เครื่องประดับ กินแล้วดูเท่กว่าข้าวแกงจานละ 25 หรือ 30 บาทสำหรับคอลเลกชั่นใหม่ เขาเตรียมทำลายเสื้อนำเสนอทัศนคติเกี่ยวกับ “คนไร้บ้าน” เนื่องจากเป็นปัญหาที่สะท้อนสภาพ สังคมหลายอย่าง ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในระดับประเทศ การบริหารของ รัฐบาล การกระจายรายได้ที่ล้มเหลว ซึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้สึกจากการไปเฝ้าดูกลุ่มคนเหล่านี้ที่สนามหลวง เยาวราช แต่ทำเนื้อหาให้สนุกขึ้นแม้ไม่ใช่ลูกค้าทั้งหมดที่ชอบ ERR-OR DESIGN แต่เสื้อยืดสไตล์ไตรภัคนี่แหละ ที่มัดใจแฟนขาประจำได้ชะงัดนัก

Read More

ขบวนการมนุษย์ 5 สี Err-or design

 จากเด็กนักศึกษาขายเสื้อยืดแบกะดินแถวถนนข้าวสารเมื่อ 5 ปีก่อน วันนี้ “ERR-OR DESIGN” แปลงร่างกลายเป็นแบรนด์เสื้อยืดแนวกราฟกดีไซน์ที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น มีชอปในตลาดนัดจตุจักร ในย่านแฟชั่นสตรีทอย่างสยามสแควร์ ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เทอร์มินอล 21 และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 รวมทั้งกำลังบุกหนักขยายตลาดในต่างจังหวัดและตลาดออนไลน์ขบวนการมนุษย์ 5 สีที่หุ้นส่วนทั้ง 5 คนมักบอกกับใครๆ เริ่มจากหัวเรือใหญ่ วุฒิพณ สุขเจริญนุกูล หรือ “จิ๊ง” ซึ่งเวลานั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดไอเดียชวนเพื่อนคู่หู พัชรดนัย ศรีธนะขัณฑ์ หรือ “เป้า” และวิชญะ วิเศษสรรโชค หรือ “แนท” ลงขันทำเสื้อยืดขาย เริ่มจากการขายแบกะดินแถวถนนข้าวสาร ตลาดนัดจตุจักร เสื้อส่วนใหญ่ตอนนั้นใช้ลายกราฟิกที่ค้นจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ลายของนักออกแบบบ้างจนกระทั่งเรียนจบ จิ๊งไปฝึกงานที่บริษัท Drugstore the design guru ซึ่งเป็นบริษัทกราฟิกดีไซเนอร์ที่รวมกลุ่มพี่ๆ ที่จิ๊งชื่นชอบผลงานอย่างมากเขาเกิดความคิดว่าทำไมเมืองไทยไม่มีใครทำอย่างเมืองนอกที่นำเอากราฟิกดีไซน์มาต่อยอดบนเสื้อผ้าและให้เครดิตชื่อ เจ้าของผลงานเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้ารู้ ให้แฟนๆ ติดตาม ซึ่งนั่นกลายเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ “ERR-OR DESIGN” โดยดึงเพื่อนอีก 2 คนเข้ามาร่วมทีมคือ ชาติเชื้อ เชื้อชาติ หรือ “เดียร์” และ สิทธวัชร์ นิลศรี หรือ “นนท์”“จิ๊ง แนท เป้า เป็นเพื่อนเรียนอัส-สัมชัญด้วยกัน

Read More

วันดี กุญชรยาคง “โอกาสของชีวิตอยู่ที่เราสร้างขึ้นเอง”

 วันดี กุญชรยาคง จบบัญชีจากกรุงเทพการบัญชี จบมาไม่เคยทำบัญชีเป็นอาชีพ เพราะมองว่าเป็นงานที่ไม่มีอะไรท้าทาย จึงไปเรียนต่อกฎหมาย เคยทำงานขายแผงโซลาร์เซลล์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟใช้นี่คือประวัติย่อๆ จากวันดีที่ดูไม่อยาก เล่าย้อนอดีตมากเท่ากับพูดถึงสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกับที่ไม่เคยให้ข่าวว่าสามีเป็น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก (สุรพงษ์ จุลเจริญ) ซึ่งทำให้เธอมีตำแหน่งเป็นนายกสภากาชาดจังหวัดโดยปริยาย แต่ด้วยความผูกพันในหน้าที่ก็ยังคอยสนับสนุนกลุ่มแม่บ้าน ของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสถานะเป็นเหมือนลูกสาวใหญ่ของหลวงพ่อแคล้ว เจ้าอาวาสวัดดอนเมือง เพราะมีผู้ใหญ่แนะนำ ให้รู้จักมาหลายสิบปีก่อนหน้านั้นช่วงน้ำท่วมปี 2554 เลยมีหน้าที่ส่งไข่ ส่งข้าวกล่องไปช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนผ่านวัดดอนเมืองจำนวนมากมีลูกสาว 1 คนเรียนจบและทำงานเลี้ยงดูตัวเองแบบเดียวกับที่คุณแม่ทำช่วงปี 2548-2549 วันดีเคยตัดสินใจเกษียณจากการทำธุรกิจเพื่อไปใช้ชีวิตตามใจต้องการ“คิดว่าผู้หญิงทำงานถึง 50 ปีก็พอแล้ว ผู้หญิงต้องรักษาร่างกาย ตอนนั้นน้ำหนัก 70 กิโลกรัม พอหยุดงานก็ไปออกกำลังทุกวัน เข้าสปา ลดเหลือ 60 กิโล ไม่ได้ทำงานก็กลัวบ้าเหมือนกัน ต้องหากิจกรรมทำ ไปหอสมุดแห่งชาติ สนใจเรื่องอะไรก็ไปหาอ่าน ชอบที่มีสาระเติมเต็มความรู้ บทสัมภาษณ์ดีๆ ในนิตยสารก็อ่าน เพราะทำให้เราเข้าใจว่าแต่ละคนมีการดำเนินชีวิตแบบไหน”ธุรกิจที่วันดีทำไว้เลี้ยงตัวหลังเกษียณ หลักๆ ได้แก่ อาคาร Capital Residence ในซอยทองหล่อ เป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่าเน้นกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น

Read More

ทำบ้านทั้งหลังเป็นระเบียง

ในหนังสืออัตชีวประวัติปี 1932 ของ Frank Lloyd Wright บรมครูงานสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติตลอดกาล กล่าวว่า “เราพูดไม่ได้ว่าปลูกบ้านบนเนินเขาหรือบนอะไรก็แล้วแต่ บ้านหลังนั้นควรเป็นส่วนหนึ่งของเนินเขา เพื่อว่าเนินเขาและบ้านจะดำรงอยู่อย่างมีความสุข” สถาปนิกและนักออกแบบมากมาย โดยเฉพาะในยุคที่โลกอ่อนไหวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก พากันเห็นด้วยกับคำพูดนี้ จึงทำให้เราได้เห็นผลงานที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างสิ่งแวด ล้อมที่สร้างขึ้นกับที่ดินผืนนั้นในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การใช้สีที่กลมกลืน การออกแบบโคมไฟระย้ารูปกิ่งไม้ หรือโต๊ะทำด้วยไม้ซุง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งพยายามสร้างสรรค์งานให้กลมกลืน เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติมากขึ้น บ้าน Montana บนเนื้อที่ 1,200 เอเคอร์นี้ปลูกบนทำเลทองบริเวณที่ทุ่งหญ้าแพร์รีที่ยังเต็มไปด้วยความงดงามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มาบรรจบกับหุบเขาที่มีแม่น้ำ Gallatin ไหลผ่าน สถาปนิก David Lake กับมัณฑนากร Madeline Stuart ผู้มีผลงานแนวสร้างสรรค์ให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงออกแบบให้บ้านหลังนี้มีโครงสร้างตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ พูดง่ายๆ คือ ให้ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดทั้งรูปแบบ วัสดุก่อสร้าง และจิตวิญญาณของบ้านนั่นเอง Lake เล่าแรงบันดาลใจว่า “โครงการนี้ยึดคำขวัญ “ง่ายๆ ไม่สละสลวย” โดยเน้นงาน ออกแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

Read More

นิทรรศการเอดวาร์ด มุงค์ จิตรกรทันสมัย

ปลายปีที่แล้วได้ไปชมนิทรรศการ Edvard Munchou l’anti-Cri ที่ Pinacotheque แถวปลาซ เดอ ลา มาดแลน (Place de la Madeleine) มิใช่เพราะชื่นชอบผลงานของจิตรกรผู้นี้ แต่เพื่อหาคำตอบให้ตนเองว่าทำไมผลงานของเอดวาร์ด มุงค์จึงถูกขโมยบ่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้คำตอบ แต่จะให้ปักใจชอบ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น จะให้ไม่ชอบก็กระไรอยู่ เพราะผลงานจำนวนหนึ่งก็สวยทีเดียว หากไม่นับส่วนที่ดูน่ากลัว อดแปลกใจไม่ได้ว่าในฤดูใบไม้ร่วง 2011 ศูนย์ศิลป-วัฒนธรรมแห่งหรือชาติจอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) จัดนิทรรศการเอดวาร์ด มุงค์อีก จะไม่กระชั้นไปหน่อยหรือ หากก็ได้พบว่าเป็นนิทรรศ-การที่มองเอดวาร์ด มุงค์ในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงต้องตามไปดูให้เป็นที่ประจักษ์ เอดวาร์ด มุงค์ (1863-1944) เป็นชาวนอร์เวย์ ชีวิตเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ด้วยว่าเมื่ออายุ 5 ขวบ

Read More

สามอารมณ์ทดสอบ new BMW 320d

ฟ้ากว้าง ทางสวยที่เต็มไปด้วยเนินถนนสูงต่ำ ระหว่างเส้นทางตรัง-กระบี่ เหมาะสมกับการทดสอบรถสปอร์ตซีดาน the all-new BMW 320d สีแดงเพลิงคันใหม่หรูปราดเปรียวและโฉบเฉี่ยว เพียงเสียงสตาร์ทก็บ่งบอกเครื่องพลังทวินพาวเวอร์เทอร์โบ 4 สูบ วิ่งไปราวชั่วโมงถึงที่หมาย รถคันนี้กินน้ำมันดีเซลเพียง 22.7 กม.ต่อลิตรเท่านั้น ระดับการปล่อยของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาตรฐาน EU คือเฉลี่ยเพียง 117 กรัม/กิโลเมตร ความมั่นใจจากเครื่องยนต์ที่โดดเด่น เทคโนโลยี Twin Power Turbo 4 สูบ เร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งทันใจพุ่งจาก 0-100 กม/ชม.ใน 7.6 วินาที และสามารถเปลี่ยนระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดได้ฉับไว ถือเป็นค่ายรถยนต์แรก ที่ติดตั้งไว้ในรถพรีเมียมระดับกลาง เมื่อนึกอยากจะเปลี่ยนโหมดขับแบบสปอร์ตก็แค่ตบเปลี่ยนเกียร์ในระยะสั้นๆ ทำให้การขับรถคันนี้เร้าใจและนิ่มนวลตามใจต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกของ the all-new BMW 320d ตัวถังกว้างกว่าเดิมประมาณ +93

Read More

100 ปี “ไททานิค” มากกว่าเรื่องเรือล่ม

เรื่องราวของผู้โดยสาร 11 คน ต่างที่มาต่างจุดประสงค์ แต่เดินทางสู่จุดหมายเดียวกัน ทว่ากลับมีจุดจบบนเรือโดยสารลำเดียวกัน นี่คือเรื่องสั้นที่ชื่อ “หลายชีวิต” แต่สำหรับผู้โดยสารกว่า 1,500 ชีวิตที่จบชีวิตในเรือ “ไททานิค” นี่คือประวัติศาสตร์และโศกนาฏกรรมของโลก ที่ยังมีเรื่องราวของหลายชีวิตให้ค้นหา เมื่อ 15 ปีก่อนผู้คนทั่วโลกเริ่มรู้จักเรื่องราวของผู้โดยสาร บางส่วนบนเรือ “ไททานิค” ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับ James F. Cameron ซึ่งถ่ายทอดหายนะของเรือลำใหญ่ที่ได้ชื่อว่า เป็น สิ่งก่อสร้างเคลื่อนที่ได้ที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ภาพ Leonardo DiCaprio ในบทบาทของแจ๊ค ผู้โดยสารชั้น 3 กับ Kate Winslet ผู้สวมบทโรส สาวตระกูลผู้ดีอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้โดย สารชั้น 1 ที่ยืนกางแขนที่หัวเรือไททานิค และบทพูดของแจ๊คที่ยัง ประทับใจใครหลายคน “You jump, I jump” ยังเป็นฉากแห่ง

Read More