Home > Darunee Sae-Liew (Page 2)

ช่วยกันลดกินเนื้อวัวเพื่อคุณ … เพื่อโลก

Column: Well – Being ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เนื้อวัวเป็นวัตถุดิบสำคัญในอาหารของชาวอเมริกัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติที่กินเนื้อวัวมากที่สุดในโลกประมาณ 58 ปอนด์ต่อคนต่อปี (ขณะที่คนทั่วโลกกินเนื้อวัวเฉลี่ยเพียง 14 ปอนด์ต่อคนต่อปี) แม้ว่าบางคนจะยังคงสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเนื้อวัวชนิดขาดไม่ได้ แต่ก็มีหลักฐานแจ้งชัดที่ชี้แนะว่า การลดกินเนื้อวัวจะเป็นคุณกับตัวคุณเองและโลกของเรา นิตยสาร Prevention จึงประกาศโครงการรณรงค์ลดการกินเนื้อวัวว่า นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 เป็นต้นไป ครัวของนิตยสารเล่มนี้จะไม่สร้างสรรค์สูตรอาหารใหม่ที่มีเนื้อวัวเป็นส่วนประกอบอีกต่อไป และจะหันไปเน้นโปรตีนชนิดอื่นแทนโดยให้เหตุผลว่า ... เนื้อวัวสร้างปัญหาให้โลก ผลการศึกษาปี 2018 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฟันธงว่า การเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ การผลิตปศุสัตว์ต้องใช้พื้นที่การทำฟาร์มของโลกถึงร้อยละ 83 แต่สามารถผลิตแคลอรีรวมได้เพียงร้อยละ 18 และผลิตโปรตีนรวมเพียงร้อยละ 37 ซ้ำร้ายกว่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ฟาร์มทั้งหมดดังกล่าวจะสร้างความยั่งยืนให้โลกได้ ผลการศึกษาปี 2016 กล่าวว่า อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวทำให้เกิดการทำลายป่าในลุ่มน้ำแอมะซอนถึงร้อยละ 80 โดยทั่วไปแล้ว โลกต้องรับภาระหนักหน่วงกว่าการผลิตแหล่งโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่นๆ มาก ได้แก่ เนื้อหมู และสัตว์ปีก ที่สำคัญมีธุรกิจน้อยรายมากที่ใช้แนวทางยั่งยืน เช่น การเลี้ยงสัตว์ที่มีการจัดการ ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต้องดำเนินควบคู่กันไป เนื้อแดงซึ่งในสหรัฐอเมริกามักหมายถึงเนื้อวัว สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

Read More

ระวังผมร่วงหลังหายป่วยโควิด-19

Column: Well – Being ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักหน่วงของโรคโควิด-19 เรามักได้รับรายงานข่าวว่า มีคนจำนวนไม่น้อยทุกข์ทรมานจากภาวะแทรกซ้อนหลังจากถูกแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เช่น บางคนไอเรื้อรัง ขณะที่อีกหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ บางคนโชคดีที่รู้สึกสบายดี แต่มีผู้หายป่วยจากโควิด-19 แล้วกำลังปวดหัวกับปัญหาผมร่วงเช่นกัน นิตยสาร Prevention รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาชิกของ Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้ป่วยเป็นโควิด-19 ได้เปิดเวทีให้สมาชิกผู้มีประสบการณ์ผมร่วงเป็นเวลาหลายเดือน หลังหายป่วยจากโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ “ฉันป่วยหนักเป็นโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันหายป่วยได้ แต่ตอนนี้ฉันกำลังวิตกเกี่ยวกับผลที่ตามมา” สมาชิกคนหนึ่งเขียนเล่า “ผมของฉันร่วงมากเหลือเกิน และฉันก็กลัวเกินกว่าที่จะแปรงผมด้วย” สมาชิกอีกคนหนึ่งเล่าว่า “ตอนนี้ผมร่วงมาก ฉันป่วยเมื่อปลายเดือนมีนาคม อาการผมร่วงค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ” อีกคนหนึ่งเสริมขึ้นว่า “ปกติฉันเป็นคนผมหนา แต่ตอนนี้เวลารวบผมแล้วผูกเป็นหางม้า ความหนาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยหนา” จดหมายข่าวเพื่อการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน JAMA ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม วิเคราะห์ข้อมูลจากคนไข้ 143 รายผู้ป่วยเป็นโควิด-19 และพบว่าร้อยละ 44 กล่าวว่า พวกเขามี “คุณภาพชีวิตที่แย่ลง” มีรายงานว่าพวกเขาทุกข์ทรมานจากอาการเรื้อรังรูปแบบต่างๆ เช่น อ่อนล้า หายใจขัด

Read More

ขนคุด …น่ารำคาญ ต้องกำจัดทิ้ง?

Column: Well – Being ขนคุดเป็นลักษณะของเส้นขนที่บิดตัวม้วนกลับลงไปใต้ผิวหนังหลังจากที่คุณโกน ถอน หรือแวกซ์ขน ทำให้เกิดเป็นตุ่มนิ่มๆ ที่คุณรู้สึกรำคาญเมื่อไปสัมผัสเข้า “ขนคุดเกิดขึ้นเมื่อปลายเส้นขนไม่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมา แต่กลับมุดหัวกลับลงไปใต้ผิวหนังแทน” ดร.โจชัว ซีชเนอร์ แห่งโรงพยาบาลเมาต์ไซนาย นิวยอร์กซิตี อธิบาย “ภาวะนี้สามารถนำไปสู่อาการตุ่มแดงซึ่งมักติดเชื้อได้” “ที่เป็นอย่างนี้เพราะในบางกรณี ผิวหนังระบุว่าเส้นขนนั้นเป็น สิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้าน” ดร.ไอฟ์ เจ. ร็อดนีย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติม ในกรณีที่เกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของอาการไม่พึงประสงค์มากมาย เช่น ผิวหนังแดงและระคายเคือง เกิดเป็นตุ่มเล็กๆ ที่มองเห็นเส้นขนหรือหัวหนองอยู่ตรงกลาง ทำให้คุณรู้สึกเจ็บและตุ่มนั้นมีลักษณะนุ่มนิ่มแถมยังคันอีกต่างหาก นิตยสาร Prevention ให้ความกระจ่างดังนี้ ทำไมจึงเป็นขนคุด? ดร.ซีชเนอร์อธิบายต่อไปว่า ขนคุดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนอาจมีความโน้มเอียงที่จะเป็นมากกว่าคนอื่น เช่น คนที่มีเส้นขนหยิกหรือหนา เสี่ยงจะเป็นขนคุดมากกว่า เพราะรูปร่างตามธรรมชาติของเส้นขนของพวกเขา “บางครั้งสภาพขนหยิกนั้นไม่เคยงอกโผล่พ้นรูขุมขนขึ้นมาบนผิวหนังด้วยซ้ำ” ดร.ร็อดนีย์กล่าวเพิ่มเติม “มันกลับม้วนตัวมุดกลับลงไปเป็นตุ่มกลมอยู่ภายใต้ผิวหนัง” นอกจากนี้ นิสัยการดูแลตนเองโดยทั่วไป ซึ่งรวมทั้งการโกนหนวด การถอน หรือการแวกซ์ขน ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดขนคุดด้วย โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ใบมีดโกนอันเก่า หรือดึงผิวหนังจนเรียบตึงเพื่อให้โกนขนให้ใกล้โคนขนมากขึ้น หรือโกนย้อนแนวที่ขนขึ้นตามธรรมชาติ ขนคุดชอบขึ้นที่ไหนบ้าง? ดร.ซีชเนอร์เปิดเผยว่า ขนคุดเกิดบนผิวหนังส่วนไหนก็ได้ที่ถูกถอน โกน

Read More

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ “ต้อกระจก”

Column: Well – Being เมื่อถามคนส่วนใหญ่ว่า พวกเขารู้อะไรเกี่ยวกับโรค “ต้อกระจก” บ้าง คุณอาจได้ยินคำตอบที่ผสมผสานกันของคำว่า “ปัญหาทางสายตา” “มองเห็นเบลอ ๆ” และ “โรคคนแก่” ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันผู้มีอายุ 80 ปีล้วนรู้จักต้อกระจกกันดี จริงๆ แล้ว “ต้อกระจก” คืออะไร? คลินิกเมโยให้คำจำกัดความว่า ภาวะ “ต้อกระจก” เป็นอาการขุ่นมัวที่เกิดขึ้นกับเลนส์แก้วตาของคุณ ซึ่งปกติแล้วจะใส เฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยต้อกระจกรายใหม่ราว 2 แสนรายในแต่ละปี และก่อให้เกิดปัญหาการอ่านหนังสือ การขับรถ (โดยเฉพาะเวลากลางคืน) และแม้แต่การจดจำการแสดงออกทางสีหน้า อาการของโรคต้อกระจกมีทั้งสภาวะการมองเห็นขุ่นมัว เบลอ หรือมีความไวต่อแสง และมองเห็น “รัศมี” โดยรอบดวงไฟ ความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจก ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รวมทั้งผู้เป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นไปได้ที่คุณอาจเกิดภาวะต้อกระจกที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น โดยจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40 ปี แต่อาจไม่เป็นปัญหาต่อการมองเห็นจนกระทั่งคุณมีอายุ 60

Read More

ไขปริศนา ทำไมยุงถึงรุมกัดคุณมากกว่าคนอื่น?

Column: Well – Being ทุกคนคงจำประสบการณ์ถูกยุงกัด ที่ต้องเกาคันคะเยอจนเป็นตุ่มหรือผื่นแดงปวดแสบปวดร้อนได้ดี แต่คุณคงรู้สึกว่า ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานนี้มากกว่าผู้คนรอบข้าง ดร.เบน ฮอทเทล ผู้จัดการฝ่ายบริการเทคนิคของบริษัทออร์คิน ยืนยันว่า ความรู้สึกนี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณคิดไปเอง “มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า คนบางคนดึงดูดยุงมากกว่าคนอื่น” เจ้ายุงดูดเลือดอยู่ได้เพราะมนุษย์ แต่มีเฉพาะยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคน “เพื่อให้มันมีโปรตีนมากพอสำหรับผลิตไข่” ดร.โรเบอร์โต เอ็ม. เพอไรรา นักกีฏวิทยาและนักวิทยาศาสตร์วิจัยแมลงร่วมกับมหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบาย “ยุงตัวผู้ไม่เคยกัดคน แต่พวกมันต้องการน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงาน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกมันจึงดูดกินน้ำหวานเกสรดอกไม้” ดร.เอ็ดเวิร์ด วอล์คเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านกีฏวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า ยุงมีความสามารถเฉพาะตัวในการดมกลิ่นคาร์บอนไดออกไซด์ที่คุณหายใจออกมา และ “มีความเป็นเลิศ” ในการรับรู้สิ่งต่างๆ เช่น ความชุ่มชื้นที่ออกมากับลมหายใจของคุณเช่นกัน นักกีฏวิทยาผู้ศึกษายุงกล่าวว่า การที่คนบางคนดึงดูดยุงได้มากกว่าคนอื่นนั้น ยังไม่เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งทั้งหมด แม้ว่าจะมีงานวิจัยมากมายที่ส่งผลถึงทฤษฎีที่แน่ชัดได้ นิตยสาร Prevention เสนอบทความไขปริศนาว่า ทำไมบางคนจึงดึงดูดยุงได้มากกว่าคนอื่น ... เพราะ เหงื่อออกมาก ยุงเสพติดกรดแลคติก ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่ผิวหนังของคุณผลิตขึ้นมาเช่นเดียวกับร่างกายส่วนอื่นๆ ดร.วอล์คเกอร์อธิบายว่า “ยุงมีตัวรับ (receptor) ที่ทำให้มันช่ำชองการค้นหากรดแลคติกเป็นพิเศษ” บางคนร่างกายสามารถผลิตกรดแลคติกได้มากกว่าคนอื่นๆ จึงดึงดูดยุงให้มารุมกัด แต่คุณมีแนวโน้มจะผลิตกรดแลคติกมากขึ้นเมื่อคุณเหงื่อออกด้วย เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ ปัจจัยที่มีผลไม่ได้เกี่ยวกับการออกเหงื่อเพียงอย่างเดียว ดร.แนนซี ทรอยยาโน

Read More

ฟื้นความจำได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

Column: Well – Being วันหนึ่งขณะคุณออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน คุณรู้สึกมีมือมาแตะที่ต้นแขน พร้อมเสียงคุ้นเคยเอ่ยเรียกชื่อคุณ เมื่อหันกลับไปดูก็พบว่าคนคนนี้ยิ้มให้ จริงๆ แล้วคุณรู้จักเธอดีเพราะรู้จักกันมานานปี แต่ได้ลืมเลือนชื่อของเธอไปเสียแล้ว คุณทำได้เพียงพึมพำว่า “เฮ้ ... เธอ” ก่อนคุณจะค้นหาในกูเกิลหัวข้อ “สัญญาณอาการสมองเสื่อม” ขอให้เชื่อมั่นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านความจำ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสูงวัยที่เกิดขึ้นตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อคุณรู้สึกถึงปัญหาการนึกหาคำพูด หรือการสูญเสียโฟกัสไปชั่วขณะ เช่น คุณถามตัวเองว่า “นี่ฉันเดินเข้ามาในครัวทำไมนะ?” ดร. โจเอล คราเมอร์ ผู้อำนวยการโครงการประสาทจิตวิทยาสูงวัยและความจำ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย อธิบายว่า “ทักษะด้านความจำหลายอย่างของเรา เช่น การทำงานพร้อมกันหลายอย่างในเวลาเดียวกัน หรือความเร็วการประมวลผลของสมอง พัฒนาถึงขีดสูงสุดช่วงอายุราว 30 ปี จากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น” แต่นิตยสาร Prevention แย้งว่า กระบวนการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป ด้วยการเลือกวิถีชีวิตอย่างชาญฉลาด ทำให้คุณสามารถฝึกสมองได้ใหม่เพื่อให้ยังคงความเฉียบคมและมีโฟกัสอยู่เสมอ โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำที่น่าสนใจดังนี้ พยายามนึกให้ได้ก่อนค้นหาในกูเกิล อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ช่วยสุดวิเศษที่จะบอกชื่อดาราที่คุณนึกชื่อไม่ออกทั้งที่ติดอยู่ตรงปลายลิ้นนี่เอง แต่ยุคสมัยในเวลานี้ทำให้คุณเกิดภาวะ digital amnesia (ภาวะความจำเสื่อม เพราะพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมครึ่งหนึ่งของคนรุ่นเราไม่สามารถโทรหาลูกๆ หรือโทรเข้าสำนักงานได้ โดยปราศจากการเปิดรายชื่อในโทรศัพท์มือถือ ดร.

Read More

8 สาเหตุทำคุณถ่ายปัสสาวะขัด

Column: Well – Being การถ่ายปัสสาวะปวดแสบปวดร้อนหรือที่เรียกว่าถ่ายปัสสาวะขัด จัดได้ว่าเป็นอาการที่สร้างความรำคาญใจและน่าอายได้มากที่สุดอาการหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ว่าอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือคันและระคายเคืองผิวหนัง หรือต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง ... เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมจึงถ่ายปัสสาวะขัด? ข่าวดีคือ ตัวร้ายที่เป็นสาเหตุของการถ่ายปัสสาวะขัดมักเป็นตัวเดียวกันไม่มีอะไรซับซ้อน และแม้ว่าคุณกำลังเผชิญกับสาเหตุการถ่ายปัสสาวะขัดที่ไม่ได้มาจากสาเหตุร่วมโดยทั่วไป ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีรักษาที่ถูกต้องต่อไป ด้วยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งแพทย์ตรวจเท่านั้น ถ้าคุณสงสัยว่า ทำไมจู่ๆ จึงถ่ายปัสสาวะขัด นิตยสาร Prevention นำเสนอเหตุผล 8 ประการที่เป็นไปได้ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญดังนี้ (1) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ถ้าคุณต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ (แต่คุณไม่ต้องการ เพราะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนและปัสสาวะขัด หรือในทุกครั้งที่มีปัสสาวะไหลออกมา) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI) ดร. ไมเคิล อิงเบอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปัสสาวะ อธิบายว่า “สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงคือ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดมากที่สุดของโรคติดเชื้อทั้งหมด และผู้หญิงร้อยละ50-60 ล้วนเคยเป็นโรคนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต” นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ชายจะไม่เป็น UTI แต่ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายราวร้อยละ 30 ... ทำไม? ดร. เดวิด

Read More

อดนอนแค่ 5 คืน ส่งผลถึงขั้นคิดลบ

Column: Well – Being การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sleep Research ระบุว่า การอดนอนเพียงคืนละ 5 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ส่งผลกระทบให้เกิดความคิดเชิงลบในชีวิตประจำวัน นิตยสาร Prevention รายงานการศึกษาชิ้นนี้ด้วยการเพิ่มเติมว่า การนอนพักผ่อนให้เพียงพอประมาณคืนละ 7- 9 ชั่วโมง ไม่เพียงเพิ่มโอกาสให้คุณเกิดความรู้สึกเชิงบวก แต่ยังอาจช่วยให้คุณมีความจำและเล่นกีฬาได้ดีขึ้นด้วย Journal of Sleep Research ให้รายละเอียดว่า นักวิจัยรับสมัครผู้เข้าร่วมการทดลอง 42 คน ในภารกิจนานสองสัปดาห์นี้ โดยให้พวกเขาแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อรูปภาพ 90 รูป ซึ่งประกอบด้วยรูปที่น่าพึงพอใจ รูปที่เป็นกลาง และรูปที่ไม่น่าพึงพอใจ หลังจากพวกเขาได้นอนพักผ่อนตามปกติ 5 คืน จากนั้นจึงทดสอบปฏิกิริยาของพวกเขาอีกครั้งหลังจากถูกจำกัดการนอนเพียงคืนละ 5 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 คืนติดต่อกัน ก่อนเริ่มการศึกษา พวกเขาต่างยืนยันว่า ปกติแล้วพวกเขานอนคืนละ 7-9 ชั่วโมง

Read More

เป็น โควิด-19 เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน?

Column: Well – Being ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างไม่หยุดยั้งของโรค โควิด-19 ที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจอย่างน่ากลัวนั้น ปรากฏว่าแพทย์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยอาการหนักต้องต่อสู้กับอาการลิ่มเลือดอุดตัน เป็นการเพิ่มความซับซ้อนอย่างหนักหน่วงให้กับความเจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมานอยู่แล้ว ผลการวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ที่น่าสนใจคือ การศึกษาจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 โดยนักวิจัยพบลิ่มเลือดอยู่ในปอดและบริเวณใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบลิ่มเลือดบริเวณใต้ผิวหนังของผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย นิตยสาร Prevention นำเสนอบทความน่าสนใจชิ้นนี้ว่า การศึกษาผู้ป่วย โควิด-19 ในห้องไอซียู 184 คนที่เนเธอร์แลนด์ พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism หรือ VTE) ซึ่งมักเป็นอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ผู้ป่วยร้อยละ 25 มีอาการลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism หรือ PE) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดบางส่วนแตกตัวแล้วไหลเข้าสู่ปอด นักวิจัยสรุปว่า โดยรวมแล้วผู้ป่วยในห้องไอซียูร้อยละ 31 มีอาการแทรกซ้อนจากภาวะลิ่มเลือดนี้ค่อนข้างสูง ตัวอย่างกรณีนี้คือ ดาราชื่อดังแห่งบรอดเวย์ นิค คอร์เดโร

Read More

เติมผงคอลลาเจนในอาหารดีไหม?

Column: Well – Being ปัจจุบันคุณอาจรู้ถึงความแตกต่างระหว่างผงโปรตีนกับชาเขียว และคุณอาจสามารถบอกความแตกต่างระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันอะโวคาโด ในยุคของการเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ชื่อว่าดีและมีประโยชน์ให้อยู่ในรูปของ “ผง” นั้น คุณคงเคยรับรู้เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งในตลาดเวลานี้ นั่นคือ ผงคอลลาเจน ซึ่งคุณคงคุ้นเคยว่าเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แต่บรรดาคนมีชื่อเสียงและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเพื่อสุขภาพกำลังสนับสนุนเต็มที่ให้มีการกินเข้าสู่ร่างกายด้วย และคุณอาจเคยเห็นเพื่อนร่วมงานตักผงคอลลาเจนผสมในกาแฟหรือสมูทตี้ด้วยซ้ำ คอลลาเจนคืออะไร นิตยสาร Shape รายงานว่า นพ.โจเอล ชเลซิงเกอร์ แพทย์โรคผิวหนังแห่งรัฐเนบราสกากล่าวว่า คอลลาเจนได้ชื่อว่าเป็นโปรตีนมหัศจรรย์ที่ช่วยให้ผิวคงสภาพเต่งตึงและเรียบลื่น ทั้งยังช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงด้วย คุณจะพบโปรตีนตัวนี้ได้ตามธรรมชาติในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และกระดูก ในร่างกายของเรา ซึ่งมีปริมาณคอลลาเจนคิดเป็นร้อยละ 25 ของมวลร่างกายโดยรวม โดยเหตุที่ร่างกายชะลอการสร้างคอลลาเจน ซึ่งชเลซิงเกอร์ให้ข้อมูลว่า การชะลอนี้อยู่ที่อัตราร้อยละ 1 ต่อปี โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี ทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นมาเยือน และข้อต่ออาจไม่ยืดหยุ่นเหมือนเคย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีผู้คนมากมายพยายามเพิ่มปริมาณคอลลาเจนในร่างกาย ด้วยการหันไปหาแหล่งคอลลาเจนจากภายนอก เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือครีม ซึ่งได้คอลลาเจนจากวัว ปลา ไก่ และสัตว์ชนิดอื่นๆ คอลลาเจนกินได้ให้ประโยชน์อะไรบ้าง “โดยเหตุที่คอลลาเจนในพืชและสัตว์ ไม่เหมือนคอลลาเจนที่พบในร่างกายของเราอย่างแน่นอน แต่มันได้บ่งชี้ว่า ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผิวหนังได้เมื่อผสมผสานกับส่วนประกอบเพื่อความอ่อนเยาว์ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่นๆ” ชเลซิงเกอร์อธิบาย “ขณะที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทคอลลาเจน เครื่องดื่ม และผงต่างๆ

Read More