Home > Cover Story (Page 176)

ซีพียกเครื่องธุรกิจค้าปลีกปรับกระบวนทัพโกอินเตอร์

“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว” แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ  ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก  อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ

Read More

ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้สยามเซ็นเตอร์

 เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่สมการรอคอย หลังจากปิดปรับปรุงครั้งใหญ่นานถึง 6 เดือน “สยามเซ็นเตอร์” กลับมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางผู้คนที่รักและผูกพันกับสยามเซ็นเตอร์ที่มารอชมรูปโฉมใหม่หลังการปฏิวัติศูนย์การค้าแห่งนี้ ซึ่งใช้เงินลงทุนไปถึง 1,800 ล้านบาท ใช้เวลาเตรียมการทั้งหมดนานกว่า 18 เดือน และใช้เม็ดเงินในการฉลองเปิดตัวร่วม 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่ใช้ในการฉลองเปิดตัวสยามพารากอน  “เราเป็นผู้ปฏิวัติวงการค้าปลีกของเมืองไทยมาตลอด แต่ในครั้งนี้ เรามุ่งหวังว่าปรากฏการณ์สยามเซ็นเตอร์จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เวทีค้าปลีกระดับโลก เรามักได้ยินคนไทยพูดว่า อยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแห่งการชอปปิ้ง วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะบอกใครๆ ให้หันมามองว่าศูนย์กลางแห่งการชอปปิ้งสุดล้ำสมัยนั้นควรเป็นเช่นไร” ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวก่อนนำชม คอนเซ็ปต์ใหม่ของสยามเซ็นเตอร์ คือ เมืองแห่งไอเดียล้ำเทรนด์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศิลปะ แฟชั่น เทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ ตลอดจนแนวคิดและการออกแบบใหม่ๆ จากทั่วโลก โดยความโดดเด่นจะอยู่ที่ดีไซน์เอกลักษณ์ของร้านที่หาดูได้เฉพาะที่นี่ และดีไซน์สินค้าบางรายการที่มีขายเฉพาะที่นี่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะร้องขอให้แบรนด์ดังทั้ง 200 กว่าร้านค้า พร้อมใจร่วมมือกันผลิต “ความพิเศษ” ออกมาสำหรับสยามเซ็นเตอร์เป็นการเฉพาะ  หลายร้านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

Read More

สุเวทย์ ธีรวชิรกุล บริหารความเสี่ยงเพื่ออยู่รอด

 “การโตหวือหวา ล้มได้ง่าย คนขึ้นเร็วก็ล้มได้เร็ว เอ็มบีเคอยากขึ้นแล้วไม่ต้องลงและขยับขึ้นไปเรื่อยๆ”  ปี 2556 ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของ “เอ็มบีเคกรุ๊ป” เพราะเป็นปีแรกที่บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามสัญญาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ หรือที่หลายคนยังเรียกติดปากว่า “มาบุญครอง” ในอัตราสูงขึ้นหลายเท่า โดยระบุให้ผลประโยชน์ตอบแทนรวม 22,860 ล้านบาท พร้อมค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท รวมส่วนเพิ่มเติมอีก 5% กรณีรายได้ของเอ็มบีเคเกินกว่าที่ประเมินไว้  คิดเฉพาะค่าเช่าเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 85 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาท และยาวนานต่อเนื่องตลอดอายุสัญญา 20 ปี  นี่คือ “โจทย์” ข้อสำคัญที่กดดันให้ “สุเวทย์ ธีรวชิรกุล” ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ต้องรีบรีโนเวตศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ รอบใหม่ ลงทุนสร้าง “สกายวอล์ค” ระยะทาง 600 เมตร เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงกลางสี่แยกปทุมวันยาวไปจนถึงจุฬาฯ

Read More

การแข่งขันไม่มีวันหยุดยั้ง เศรษฐา ทวีสิน

20 กว่าปีบนเส้นทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้หลายคนมองการก้าวย่างของ “เศรษฐา ทวีสิน” มีทั้งทุน มีผู้ใหญ่คอยอุปถัมภ์ค้ำชู รวมถึงคอนเนกชั่นจากฝ่ายต่างๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) สามารถเติบโตกลายเป็น “แบรนด์” อันดับหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ มียอดขายมากกว่า 40,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ทะลุ 30,000 ล้านบาท  เศรษฐา คือส่วนสำคัญ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของไอเดียการใช้แผนการตลาดแบบหวือหวา ใส่สีสัน และฉีกนอกกรอบ ทำในสิ่งที่คู่แข่งไม่คิดและไม่ทำ  กลยุทธ์ธุรกิจของ “แสนสิริ” จึงมีความต่างและสร้างเกมน่าตื่นเต้นตลอดเวลา ขยายโครงการที่สร้างไลฟ์สไตล์โดนใจกลุ่มลูกค้าและครอบคลุมทุกเซกเมนต์ รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ๆ นิชมาร์เก็ตเจาะเฉพาะกลุ่ม และปิดยอดขายได้อย่างรวดเร็ว  ล่าสุด เศรษฐาในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ประกาศแผนดำเนินงานในปี 2556จะพัฒนา 45 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 61,000 ล้านบาท ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 24 โครงการ มูลค่ารวม

Read More

กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ แบงเกอร์หญิง ผู้พลิกภาพ SCB

 “คนเป็นสิ่งที่มีค่า และเป็นสิ่งที่สร้างยาก” กลางเดือนที่ผ่านมา แทบทุกธนาคารต่างก็ตบเท้าออกมาแถลงผลประกอบการ พร้อมกับแสดงทิศทางและวิสัยทัศน์ประจำปี 2556 ของธนาคารกันอย่างถ้วนหน้า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เองก็เช่นกัน  ในแง่ผลประกอบการ ปี 2555 ธนาคารไทยพาณิชย์การเติบโตที่เรียกได้ว่า เป็นที่น่าพอใจและสูงเป็นประวัติการณ์ โดยสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 2.173 ล้านล้านบาท ในเดือนกันยายน ทำให้แบงก์สีม่วงก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 3 ธนาคารที่มีสินทรัพย์สูงที่สุดของประเทศ และมูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) ณ สิ้นปี 2555 ของธนาคารไทยพาณิชย์ก็สูงไปถึง 617 พันล้านบาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในกลุ่มสถาบันการเงินได้สำเร็จ ขณะที่ผลงานในกลุ่มลูกค้าบุคคล SCB ก็สามารถครองอันดับ 1 ในตลาด ทั้งในแง่ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสินเชื่อ และรายได้  ความเติบโตอย่างโดดเด่นของ SCB เริ่มถูกจับตาและพูดถึงอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ส่วนหนึ่งน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นเพราะผลสัมฤทธิ์ของการปรับยุทธศาสตร์องค์กร ซึ่งหันมาเน้นให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า (Customer Centric) มากขึ้น

Read More

“เจริญ” ติดปีกขยายอาณาจักร โรดแมพ สู่ “โกลบอลมาร์เก็ต”

 กว่า 6 เดือน จากวันแรกในยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” ล่าสุด บอร์ดบริหารของบริษัทเอฟแอนด์เอ็นทั้ง 9 คน ซึ่งรวมถึง ลี เซียน หยาง ประธานเอฟแอนด์เอ็น เตรียมประกาศลาออกและขายหุ้นที่เหลืออยู่  เพื่อเปิดทางให้กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ และทีซีซีแอสเซ็ท เข้ามาบริหารแบบเบ็ดเสร็จ  ดีลการซื้อขายกิจการครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ให้ตระกูลสิริวัฒนภักดี ไม่ใช่แค่มูลค่าเม็ดเงินกว่า 3 แสนล้านบาท การต่อสู้ช่วงชิงหุ้นกับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่อย่างไฮเนเก้น โอยูอี และคิรินกรุ๊ป แต่ยังเป็นจังหวะก้าวสำคัญในการติดปีกขยายอาณาจักรธุรกิจตามโรดแมพ “Go to Global Company, Go to Global Market” ซึ่งเจริญวางนโยบายไว้อย่างชัดเจน  ปัจจุบัน ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ “ทีทีซีกรุ๊ป” ของเจริญ แบ่งโครงสร้างธุรกิจหลัก 5 สาย คือ สายธุรกิจเครื่องดื่ม มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ

Read More

ยุทธการฮุบหุ้น “เอฟแอนด์เอ็น”

 ยุทธการฮุบหุ้น “เอฟแอนด์เอ็น” 17 ก.ค. 2555 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เสนอผ่านบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ขอซื้อหุ้น “เอฟแอนด์เอ็น” จากผู้ถือหุ้นเดิม 22% คือ โอเวอร์ซี ไชนีสแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โอซีบีซี), เกรท อีสเทิร์น โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด (จีทีเอช) และรีรับเบอร์ คอมปะนี มูลค่ารวม 2,780 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 70,000 ล้านบาท  20 ก.ค. 2555 ไทยเบฟฯ เปิดศึกชิงซื้อหุ้น “เอฟแอนด์เอ็น” ที่ถือในบริษัท เอเชียแปซิฟิค บริวเวอรี่ (เอ พีบี) ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์และไฮเนเก้น ใน

Read More

เจริญ สิริวัฒนภักดี “บ่มเพาะ เนิบช้า แต่มั่นคง”

หากถามว่าอาณาจักรธุรกิจของ เจริญ สิริวัฒนภักดี มีขนาดและความกว้างใหญ่เพียงใด เราอาจจะต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษจำนวนมากอธิบายและแจกแจง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ข้อสรุปที่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่อย่างไร เนื่องเพราะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ขยายฐานและฝังรากทางธุรกิจออกไปไกล ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสุรา ไปจนถึงธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องหลากหลาย ทั้งเบียร์ น้ำตาล บรรจุภัณฑ์ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และอสังหาริมทรัพย์ ในนาม ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group “ผมดำเนินธุรกิจด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ธุรกิจที่ผมดำเนินการอยู่ ต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และครอบครัว ดังเช่นพลเมืองที่ดีคนหนึ่ง” เป็นทัศนะที่ เจริญ ได้แสดงไว้ในสารของผู้ก่อตั้ง หากประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า เจริญ-คุณหญิงวรรณา เริ่มต้นอาณาจักรธุรกิจด้วยสุรา ประเด็นว่าด้วยการหมักบ่ม และรอคอยผลลัพธ์ ที่ลงตัว คงเป็นส่วนหนึ่งในตรรกะและวิธีคิดในการบริหารจัดการทั้งครอบครัวและธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และดูเหมือนว่าผลพวงจากการบ่มเพาะอันยาวนานของ เจริญ-คุณหญิงวรรณา กำลังขยายและปรากฏผลเป็นประจักษ์พยานในโลกธุรกิจที่แผ่กิ่งก้านกว้างขวางครอบคลุม จากรากฐานที่มั่นคง “เมื่อรากฐานแข็งแรง ไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งการเติบโต” เป็นถ้อยความที่สะท้อนหลักแนวคิดพื้นฐานของ ทั้ง เจริญ-คุณหญิงวรรณา และบริษัทในเครือ

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “ฉับไว ได้ผลลัพธ์”

“วันนี้ยากที่สุด ผมอยากเห็นความรวดเร็วและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทุกแผนงาน”ความเคลื่อนไหวของตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยในช่วงหลายปีมานี้ ดูจะเต็มเปี่ยมด้วยสีสันที่น่าตื่นตาตื่นใจ และการขับเคี่ยวในชั้นเชิงทางธุรกิจที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย การวางยุทธศาสตร์เพื่อการรุกคืบและขยายธุรกิจประเภทเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) เป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่กำลังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของตลาดเครื่องดื่ม ไม่เฉพาะในบริบทประเทศไทยเท่านั้น แต่อาจสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในเวทีภูมิภาคอีกด้วย “ผมว่า วันนี้ยากที่สุด ช่วงที่ผ่านๆมาเราก็แก้ไปได้ดีที่สุด เพียงแต่วันนี้ผมมองว่า การถูกมอบหมายให้รับผิดชอบในภาระที่กว้างขึ้น ยิ่งจะใจร้อนยิ่งขึ้น อยากเห็นผลลัพธ์ที่ออกมา เหมือนอย่างทีมของผมในช่วงปีที่ผ่านมา ผมอยากเห็นความรวดเร็วและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ทีมท่องกันหลายรอบ Speed and Result  ทุกแผนงาน” เป็นความคิดรวบยอดของ ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่บอกกับ “ผู้จัดการ 360” เมื่อไม่นานมานี้ เป็นประหนึ่งบทนิยามทางยุทธศาสตร์ ก่อนที่ ไทยเบฟเวอเรจ จะรุกขยายธุรกิจด้วยเงินลงทุนถึง 2,800ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือกว่า 70,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 29% ของบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือ "เอฟแอนด์เอ็น"

Read More

อสังหาฯ เร่งสปีดปักธง เค้กก้อนใหม่ 3แสนล้าน

 แม้หลายฝ่ายมองธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ล่าช้า เนื่องจากปัญหาต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่แพงขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดแรงกระทบต่อการส่งมอบบ้านให้แก่ผู้ซื้อ รวมไปถึงความเสี่ยงเรื่องการปล่อยสินเชื่อสูงเกินมูลค่าแท้จริงของที่อยู่อาศัยจากการแข่งขันกันในกลุ่มสถาบันการเงิน  แต่ปี 2556 ต้องถือเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่ทุกบริษัท โดยเฉพาะในกลุ่มบิ๊กอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นแสนสิริ พฤกษา แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย แอลพีเอ็น พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค หรือควอลิตี้เฮาส์ ต่างหมายมั่นต้องการสร้างรายได้และยอดขายชนิดทุบสถิติ หลังจากผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 และเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปลุกยอดขายกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในปีที่ผ่านมา  ที่สำคัญ ทุกค่ายทุ่มงบลงทุนจำนวนมหาศาลขยายโครงการชนิดไม่หวั่นเกรงปัญหา “ฟองสบู่” และสรรหากลยุทธ์การแข่งขันเพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะการรุกแนวรบในสมรภูมิต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็น “พระเอก” ที่มีกำลังซื้อสูงและแนวโน้มเติบโตสวยหรูอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี  ตัวเลขล่าสุดพบว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศมีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 3 แสนล้านบาท อัตราเติบโต 15% และอีกกว่า 3 แสนล้านบาท อยู่ในตลาดต่างจังหวัด ซึ่งมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงมากกว่า 30-40%  ขณะเดียวกัน  ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

Read More