Home > Cover Story (Page 176)

ปักหมุดทั่วโลกแก้เกมภาษีนำเข้า

การตั้งงบไล่ซื้อห้างค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศปีละ 20,000 ล้านบาท โดยเฉพาะดีลประวัติศาสตร์ที่ซีอาร์ซีกลายเป็นกลุ่มทุนค้าปลีกไทยเจ้าแรกที่บุกไปไกลถึงยุโรปอย่าง “ลา รีนาเซนเต” ขณะนี้เปิดแล้ว 11 สาขาและล่าสุดตกลงซื้อตึกขนาดใหญ่พื้นที่ 17,000 ตารางเมตร ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มูลค่า 8,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเป็นห้างค้าปลีกและจะเปิดให้บริการภายใน 3 ปีข้างหน้าการซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต ในอิตาลีครั้งนั้น ซีอาร์ซีต้องการก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าระดับโลกและก้าวสู่ “โกลบอล คอมปะนี”  โดยขยายแบรนด์ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล จากเดิม 3 แบรนด์ เป็น 4 แบรนด์ ประกอบด้วย เซ็นทรัล เซน โรบินสัน และ ลา รีนาเซนเต ครอบคลุมการทำตลาดทุกระดับ โดยวางให้ “เซ็นทรัล” เป็นแบรนด์ ท็อปออฟเอเชีย ส่วน “ลา รีนาเซนเต” เป็นแบรนด์ท็อปออฟเวิลด์ รองรับการขยายสาขาทั้งประเทศไทยและทั่วโลกในจีนเอง ซีอาร์ซีใช้เวลาในการขยายตลาดค่อนข้างนานเพราะไม่ใช่ตลาดที่ง่าย

Read More

กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ

 เป็นเรื่องไม่ยากที่จะเป็นเศรษฐีที่ดิน ถ้าต้นตระกูลคุณมีที่ดินในกรุงเทพฯ ทิ้งไว้ให้สัก 100 ไร่ หรือแค่ 10 ไร่ก็พอ สำหรับที่ดินใจกลางเมือง หรือแค่ 5 ไร่ สำหรับที่ดินกลางเมืองที่ติดรถไฟฟ้า หรือแค่ไร่เดียวก็พอ หากเป็นที่ดินติดสถานีรถไฟฟ้า ณ สยามสแควร์ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (Agency for Real Estate Affairs: AREA) ได้สำรวจราคาประเมินที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ปี 2554 พบว่าย่านสยามสแควร์ถือเป็นบริเวณที่มีที่ดินราคาสูงสุด โดยตกเฉลี่ยตารางวาละ 1.4 ล้านบาท หรือไร่ละ 560 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากราคาตลาดในปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ 640,000 บาทต่อตารางวา หรือ 256 ล้านบาทต่อไร่ด้วยความเป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะความเป็นแหล่งแฟชั่นสำหรับวัยรุ่นในเมือง บวกกับความเป็นย่านการค้าที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้ที่ดินในเชิงธุรกิจอย่างเข้มข้น เหล่านี้ล้วนส่งผลให้มูลค่าอสังหา ริมทรัพย์ของสยามสแควร์ได้รับการประเมินไว้สูงขึ้น ไม่เพียงมูลค่าตลาดของที่ดิน

Read More

ดิจิตอล เกตเวย์ ประตูสู่สยามสแควร์ของ “เจริญ”

 ปฐมบทของโครงการ “ดิจิตอล เกตเวย์” เริ่มต้นจากการประมูลพื้นที่โครงการ Center Point เดิม ในช่วงกลางปี 2550 ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยไม่เพียงพื้นที่ที่ทำการประมูลจะอยู่ในทำเลที่ถือได้ว่าดีที่สุดของสยามสแควร์ เพราะติดกับบันไดทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าสยาม แต่ความน่าสนใจยังเกิดจากกลุ่มผู้เข้าประมูลทั้ง 6 ราย ที่ต่างก็มุ่งมั่นในการชิงกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนเล็กเพียง 1 ไร่แปลงนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ระดับประเทศอันประกอบด้วยกลุ่มพันธุ์ทิพย์ พลาซา ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี, กลุ่มสยามพิวรรธน์ ร่วมกับเอ็มบีเค, กลุ่มธนายง, กลุ่มซีพี, กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มพรไพลิน ผู้เช่ารายเดิมสำหรับผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด ในเครือของบริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ของเจ้าสัวเจริญที่มีจุดขายอยู่ที่ความเป็น “ดิจิตอล ซิตี้” โดยผู้บริหารจุฬาฯ มองว่าเป็นสิ่งที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ว่ากันว่าการประมูลครั้งนี้ทำให้จุฬาฯ ได้รับผลตอบแทนสูงถึง 1,400 ล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ขณะที่ผลตอบแทนที่ “กลุ่มเจริญ” จะได้นั้นนอกจากพื้นที่ให้เช่าในย่านทำเลที่ดีที่สุด “แบรนด์ช้าง” ยังได้อยู่ในจุดโฆษณาที่มีสนนราคาแพงที่สุดจุดหนึ่ง ในสยามสแควร์ เพราะมี “ทราฟฟิก (traffic)” เข้าออกบริเวณนี้มหาศาลหลายคนเชื่อว่า จุฬาฯ ยังมีอีกเหตุผล (ไม่) ลับที่เลือกกลุ่ม เจ้าสัวเจริญ ก็เพราะต้องการหานายทุนหน้าใหม่เข้ามาเพิ่มในย่าน

Read More

“สถานีถัดไป” ของสยามสแควร์

 ถ้าเปรียบเป็นคนวัย 50 ปีคงเป็นวัยเริ่มต้น การทำใจสู่การเกษียณอายุและยอมรับต่อ “ความเสื่อม” ทั้งหลาย แต่สำหรับ “สยามสแควร์” ดูเหมือนความขลังในการเป็นศูนย์รวมวัยรุ่นและศูนย์รวมธุรกิจยังไม่เคยเสื่อมคลาย กลับยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอย่างหลัง จนต้องลุ้นว่า “สถานีหน้า” ณ ครึ่งศตวรรษใหม่ของสยามสแควร์จะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไรใครไม่รู้จัก “สยามสแควร์” ยกมือขึ้น...เงียบ!เคยมีคนกล่าวว่า คนกรุงเทพฯ ร่วมสมัยที่เกิด ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา โดยเฉพาะคนในวัย 40 ปีลงมาจนถึงวัย 14 ปี แทบทุกคนน่าจะเคยมีฉากตัวเอง กับสยามสแควร์อย่างน้อยสักครั้ง“เด็กสยามฯ” บางคนยอมรับว่า แม้จะเบื่อสยามสแควร์แต่ก็ยังนิยมนัดพบปะเพื่อนฝูงที่นี่บ่อยๆ เพราะยังไม่เห็นว่าจะมีที่ไหนที่เป็นแหล่งวัยรุ่นแท้จริง ได้เหมือนที่นี่ว่ากันว่า “สยามสแควร์” เป็นแหล่งเปิดกว้างให้วัยรุ่นได้แสดงออกอย่างอิสระมากที่สุดในประเทศไทย เป็นเสมือนโลกไร้กรอบที่พวกเขาสบายใจที่จะแสดงออกและค้นหาตัวตนของตัวเอง ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองหลวงของวัยรุ่น” และเป็นเสมือนแหล่งพักพิงสำหรับเหล่าวัยรุ่น ก่อนที่พวกเขาจะไปเติบโตตามสถานที่ต่างๆสยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าแนวราบเนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 1 ช่วงระหว่าง ถนนพญาไทและอังรีดูนังต์ (ระหว่างสี่แยกปทุมวันกับสามแยกเฉลิมเผ่า) เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินย่านปทุมวันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันเหลือพื้นที่ราว 1,153 ไร่สำหรับ “พื้นที่เขตพาณิชย์” หรือที่ดินสำหรับจัดหาผลประโยชน์เพื่อนำรายได้มาบำรุงการศึกษา มีอยู่ราว 385 ไร่ อยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (อ่านเพิ่มเติมใน “กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ”) โดยสยามสแควร์ถือเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในแง่มูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ และภาพลักษณ์การตลาด“สืบสานพระราชปณิธานของ ร.6 ซึ่งได้พระราชทานที่ดินให้จุฬาฯ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ให้เอาที่ดินไปหาผลประโยชน์เพื่อนำเงินรายได้มาบำรุงการศึกษา มีพระราชกระแสรับสั่งชัดเจนเลย ผู้บริหารยุคก่อนก็เลยตอบสนองด้วยการจัดสรรพื้นที่ให้เอกชนไปลงทุน” รองอธิการบดีจุฬาฯ

Read More

คิด หลังน้ำท่วม

50 ปี                      น้ำท่วมปี 2554 เป็นอุทกภัยที่สร้างความเสียหายมากที่สุดของประเทศไทยในรอบ 50 ปี45,000 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมปี 2554 ในไทยที่ประเมินโดยธนาคารโลก7 นิคมอุตสาหกรรม   เอาไม่อยู่ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร โรจนะ ไฮเทค บางปะอิน แฟคตอรีแลนด์ นวนคร และบางกระดี9,859 โรงงาน        ถูกน้ำท่วม660,000 คน          ต้องหยุดงาน30%                    

Read More

สรุปผลกระทบจากน้ำท่วมของฮะจิบังราเมน

 สรุปผลกระทบจากน้ำท่วมของฮะจิบังราเมน๏ 14 ตุลาคม 2554 ครัวกลางหยุดการผลิตสินค้า๏ 28 ตุลาคม 2554 ปิดร้านฮะจิบังราเมน ทั้ง 90 สาขา (อยู่ระหว่างรีโนเวท 1 สาขา)๏ 24 ธันวาคม 2554 เริ่มเข้าระบายน้ำที่ขังในโรงงาน ซ่อมแซมระบบประปา ไฟฟ้า เช็กความปลอดภัยในการผลิต ตรวจสอบและซ่อมแซมความเสียหายในโรงงาน๏ 11 มกราคม 2555 เริ่มการผลิตบางส่วนที่ครัวกลาง๏ 14 มกราคม 2555 เริ่มเปิด 7 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล๏ ปลายเดือนมกราคม 2555 กลับมาเปิดเพิ่มอีก 7 สาขา เป็น 14 สาขา๏ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เปิดเพิ่มได้อีก 6 สาขา เป็น 20 สาขา๏

Read More

ฮะจิบัง ราเมน แค่ 1 กระทบ 100

 หลังน้ำท่วมใหญ่ในเดือนตุลาคม 2554 ครัวกลางของฮะจิบังราเมนที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับโรงงานเกือบทั้งหมดในนิคม ร้านฮะจิบังราเมนใช้เวลาสั้นๆ เพียง 2 สัปดาห์ประกาศปิดครบ 91 สาขาที่มีทั่วประเทศ แต่กลับใช้เวลาถึงครึ่งปี กว่าจะกู้คืนโรงงานเพื่อให้กลับมาผลิตสินค้าส่งป้อนให้ทุกสาขาเปิดบริการได้อีกครั้ง ป้ายประกาศที่ติดไว้อย่างเป็นทางการที่หน้าร้าน มีข้อความ ที่พิมพ์ติดไว้เหมือนกันว่า“ขอขอบคุณผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่มาอุดหนุนร้านฮะจิบัง ราเมน เนื่องจากมีเหตุน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ทำให้ครัวกลางไม่สามารถผลิตวัตถุดิบให้กับทางร้านได้ ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงขอปิดบริการชั่วคราว จนกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมลดลงเป็นปกติ ทางร้านจะรีบเปิดให้บริการโดยทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย”สาเหตุที่ร้านฮะจิบังต้องปิดบริการชั่วคราวทั้งหมดก็เพราะ โรงงาน-ครัวกลางของไทยฮะจิบังที่นวนคร ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 ด้วยงบการลงทุน 180 ล้านบาท เฉพาะมูลค่าก่อสร้างตัวอาคารประมาณ 154 ล้านบาท สร้างขึ้นเพื่อใช้รองรับการผลิตวัตถุดิบป้อนร้านฮะจิบังราเมนได้เต็มที่ 100 สาขา ดังนั้นกรณีของไทยฮะจิบัง ต่อให้ป้องกันโรงงานจากน้ำท่วม ไว้ได้เหมือนบางโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร แต่การที่ซัปพลายเออร์ไม่สามารถส่งวัตถุดิบหลักที่จะทำบะหมี่เข้าโรงงานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแป้งสาลี ไข่ เกลือ และน้ำสะอาดเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต โอกาสที่จะเปิดร้านได้จึงเป็นศูนย์ แม้ว่าเกือบ 100 สาขาที่มีอยู่อาจจะไม่ถูกน้ำท่วมเลยก็ตามเมื่อน้ำท่วมและกรณีเกิดเหตุระเบิดในเมืองหาดใหญ่ ไทยฮะจิบังก็ได้รับผลกระทบเพียงแค่ยอดขายจากสาขาในพื้นที่ที่ตกลง เพียงแค่

Read More

“เทคโนโลยีกำลังนำพา ‘ผู้จัดการ’ ให้พุ่งทะยานไป”

 แม้จะมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการเว็บไซต์เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ (www.manager.co.th) แต่บทบาทความรับผิดชอบที่กว้างขวางกว่านั้นของวริษฐ์ ลิ้มทองกุล อยู่ที่การเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการพัฒนา New Media ส่วนใหญ่ของเครือผู้จัดการ ซึ่งทัศนะของเขาอาจช่วยขยายภาพของ “ผู้จัดการ” ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น“พัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีส่วนอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสื่อ เพราะนอกจากจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับไลฟ์สไตล์ใหม่ของผู้คนในสังคมด้วย”ประเด็นที่ท้าทายความสามารถของการบริหารสื่อนิวมีเดียก็คือ ภายใต้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รูปแบบทางธุรกิจ (business model) ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย เพราะแม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักพิมพ์และสื่อในระบบเก่าจะสามารถดำเนินธุรกิจด้วยดีมาอย่างยาวนานแต่หากไม่สามารถกำหนดหนทางว่าจะเดินต่อไปอย่างไร ก็จะกลายเป็นปัญหาได้อย่างง่ายดายการเปลี่ยนแปลงของสื่อในโลกดิจิตอลที่เกิดขึ้นจึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์ และความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่บริบทใหม่ความเป็นไปของ “ผู้จัดการ” นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านหนึ่งเกี่ยวเนื่องและเป็นผลพวงที่เกิดมีขึ้นจากแนวความคิดและวิสัยทัศน์ของ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งเครือผู้จัดการ ที่วางรากฐานสำหรับการพัฒนาไว้ตั้งแต่ต้นและดำเนินการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย“ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเครือผู้จัดการทั้งระบบ ในด้านหนึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับภาษิตที่ว่า ‘หมูบินได้’ ซึ่งก็คงไม่ผิดนัก” วริษฐ์เทียบเคียงก่อนขยายความว่า ไม่มีใครคาดคิดหรือตระหนักมาก่อนว่าหมูจะบินได้ แต่เมื่อลมพายุขนาดใหญ่พัดมา และหมูสามารถเข้าไปอยู่ในศูนย์กลาง ของพายุและใช้แรงดันของพายุพยุงตัวให้ลอยขึ้นมาได้ นี่คือปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับ “ผู้จัดการ”การวางรากฐานและระบบโครงสร้างภายในมานานกว่า 20 ปีของผู้จัดการ และประสบการณ์จากการบุกเบิกสื่อออนไลน์มานานกว่า 10 ปี ทำให้ “ผู้จัดการ” เป็นรายแรกๆ ที่ก้าวสู่ระบบข่าวดิจิตอล นอกจากจะทำให้ “ผู้จัด การ” ได้เรียนรู้และเผชิญกับปัญหายังค้นพบวิธีในการแก้ปัญหาด้วย“กระแสของโลกดิจิตอลก็เหมือนลมพายุที่กำลังพัดโถมเข้ามาสำหรับคนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะสร้างความกังวลใจ แต่สำหรับ “ผู้จัดการ” เราประเมินสิ่งเหล่านี้ในอีกมิติหนึ่ง โดยเราเห็นว่านี่คือโอกาสที่ไม่เคยเกิดมีขึ้นมาก่อน แต่ทั้งนี้เป็นเพราะเราได้เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับลมพายุนี้มาดีพอสมควรแล้ว”การปรากฏตัวขึ้นของ ASTV Manager for iPhone ที่เป็นแอปพลิเคชั่นอ่านข่าวสำหรับผู้ใช้ไอโฟนเวอร์ชั่นอัปเดต ใหม่ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ อาจเป็นหนึ่งในประจักษ์พยานที่สนับสนุนถ้อยแถลงของวริษฐ์ได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้แม้ว่าภายใต้บริบทที่เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารหลากหลายได้พัฒนาขึ้นตามลำดับขั้นของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนทำให้สื่อหลายสำนักเริ่มตระหนักและรับรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของโลกดิจิตอล แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการทุกรายจะประสบผลสำเร็จในการก้าวเข้าสู่โลกดิจิตอลแต่อย่างใด“อุปกรณ์ใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นเกือบจะเรียกว่าทุกวัน ซึ่งหมายความว่าเราต้องทำความเข้าใจและมีต้นทุนการผลิต ที่ต้องพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

Read More

Towards Mega Portal Digital Contents

 การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นที่ “ผู้จัดการ” ดูเหมือน ว่าได้กลายเป็น talk of the town ที่ดำเนินผ่านการคาดการณ์ และขยายผลไปอย่างรวดเร็ว ประกอบส่วนด้วยข้อเท็จจริงมาก บ้างน้อยบ้างไปในทิศทางต่างๆ ตามแต่ความสามารถในการรับรู้และเป้าประสงค์ของผู้สื่อสารหากแต่สำหรับในทัศนะของผู้นำองค์กรที่ชื่อ “จิตตนาถ ลิ้มทองกุล” การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญหรือดำเนินไปอย่างสุ่มเสี่ยงปราศจากทิศทาง เพราะบริบทใหม่ที่ “ผู้จัดการ” กำลังมุ่งมั่นให้ก้าวหน้าไปนี้เป็นผลลัพธ์ของตรรกวิธีและแนวความคิดที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมาแล้วอย่างรอบด้าน“สำหรับ ‘ผู้จัดการ’ ทุกๆ จังหวะก้าวดำเนินไปภายใต้ แนวความคิดที่ชัดเจน ควบคู่ไปพร้อมกับการประเมินจุดเด่นจุดด้อยเพื่อหาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด แต่ที่สำคัญมากก็คือการบริหารความเสี่ยงที่ต้องชัดเจนว่าทางเลือกของ ‘ผู้จัดการ’ มีความเสี่ยงเป็นศูนย์” จิตตนาถ ลิ้มทองกุล อธิบาย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยท่วงทำนองที่แจ่มชัดในเป้าหมายจังหวะก้าวของ “ผู้จัดการ” เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มุ่งแสวงหาโอกาสจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตของผู้คนในการรับรู้และบริโภคข่าวสารที่นอกจากจะต้องการ ความฉับไวในการนำเสนอแล้ว ยังต้องมีความหลากหลายของ เนื้อหาที่พร้อมจะเติมเต็มความใคร่รู้ ทั้งในมิติที่เป็นไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ หรือแม้กระทั่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมสันทนาการก็ตามข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ภายใต้การเติบโตและพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ส่งให้จำนวนผู้อ่านข่าวสารผ่านช่องทางของเว็บไซต์หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายมีเพิ่มมากขึ้น จนกล่าวได้ว่าล้ำหน้าแซงจำนวนยอดพิมพ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปนานแล้วการปรับเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นประเด็นที่ “ผู้จัดการ” ให้ความสนใจติดตามและศึกษาผ่านกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์และมีฐานข้อมูลในเชิงสถิติชี้วัดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเว็บไซต์ www.manager.co.th ที่มีผู้เข้าชมในแต่ละวันเฉลี่ยมากถึงกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างชัดเจนและย่อมส่งแรงกระเพื่อมเป็นผลกระทบมหาศาลต่อวงการสื่ออย่างไม่อาจเลี่ยงปรากฏการณ์ของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน อาจเย้ายวนให้ผู้ประกอบการสื่อจำนวนมากประสงค์ที่จะกระโจนเข้ามาร่วมแบ่งสรรและขอมีส่วนแบ่งจากโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการเหล่านี้หากแต่ในความเป็นจริง “โอกาส” ที่วางอยู่เบื้องหน้าอาจแปลงสภาพกลายเป็นเพียง “หลุมพราง” เพราะ “ความเข้าใจและความพร้อม” ต่างหากที่จะเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในโลกของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนนี้“พัฒนาการของเทคโนโลยีที่ปรากฏตัวอยู่เบื้องหน้าเราในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ ‘ผู้จัดการ’ ให้ความสำคัญและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสิ่งเหล่านี้มาโดยตลอด ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาสาระ (contents) ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้อ่านและพันธมิตรธุรกิจ”ประเด็นที่สำคัญมากประการหนึ่งที่หนุนนำให้ “ผู้จัดการ” ประกาศหมุดหมายครั้งใหม่ว่าด้วยการตั้งเข็มมุ่งสู่การเป็น Mega Portal Digital Contents อยู่ที่ความเชื่อและตระหนักอยู่เสมอว่า จุดแตกต่างระหว่าง “ผู้จัดการ” กับสื่อสารมวลชนของไทยรายอื่นๆ นอกเหนือจากความหลากหลายก็คือ ความเข้มข้นและน่าเชื่อถือของเนื้อหาสาระ (contents) ที่ “ผู้จัดการ” นำเสนอรากฐานของแนวความคิดว่าด้วย contents นี้เองที่เป็นประหนึ่ง “ปัจจัยพื้นฐานของโอกาส” ที่ทำให้ “ผู้จัดการ” สามารถเติมเต็มและเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้อย่างลงตัว เพราะภายใต้การบริหารธุรกิจในเครือ “ผู้จัดการ” ซึ่งประกอบส่วนด้วยสื่อหลากหลายช่องทางทั้งสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ ทีวี วิทยุ รวมถึง application ทำให้ “ผู้จัดการ” สามารถบูรณาการเนื้อหาผ่านสื่อได้ อย่างมีประสิทธิภาพศักยภาพที่เกิดขึ้นจากความแข็งแกร่งของการเป็นเว็บไซต์ข่าวอันดับหนึ่งที่มีคนอ่านมากที่สุดในเมืองไทยรวมถึงโครงข่ายของสื่อที่ครบถ้วนถือเป็นจุดแข็งของ “ผู้จัดการ” ในการต่อยอดธุรกิจภายใต้บริบทใหม่นี้ เพราะเมื่อผนวกเข้ากับ contents ที่มีคุณค่าของพันธมิตรทางธุรกิจ

Read More

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด

เป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ คือปลาโอดำ (Tonggol) และปลาโอลาย (Bonito) ผลิตประมาณ 6 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านกระป๋อง อย่างไรก็ดี บริษัทมีบทบาทในการผลิต 2 ส่วน คือรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) และผลิตให้กับสินค้าในเครือ แบรนด์ Chicken of the sea ในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการผลิตอย่างละครึ่ง 50:50 ผลิตภัณฑ์ 98% จะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก ส่งออกไปทุกทวีปทั่วโลก สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และตลาดเอเชีย ส่วนในประเทศขายเพียง 2% ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋องตราซีเล็คในน้ำมัน น้ำเกลือ และปลาทูน่าพร้อมปรุงตามสูตรอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานทูน่า ทูน่าผัดพริก

Read More