Home > กรมธนารักษ์

คุณค่าแห่งโอกาสการเรียนรู้เพื่อผู้พิการ

  “ดีใจค่ะ ดีใจมาก” คำตอบจากน้องพลอย เด็กหญิงผู้พิการทางสายตาที่มาร่วมกิจกรรมในงาน “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-16 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยกรมธนารักษ์จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559  นับเป็นครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์เหรียญที่จัดนิทรรศการพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางหู ได้เข้าชมและเรียนรู้วิวัฒนาการเงินตราของไทย และแน่นอนว่าเป็นครั้งแรกของน้องพลอยเช่นกัน  รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ดังขึ้นในงาน ไม่ได้แค่สร้างความสุขให้อวลอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น หากแต่ยังสร้างความอิ่มเอมให้กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังของพิพิธภัณฑ์เหรียญอย่างไร้ท์แมนอีกด้วย  โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่จัดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับผู้พิการ ทั้งการสร้างเหรียญในจินตนาการด้วยการวาดภาพจากอุปกรณ์พิเศษ การปั้นเหรียญจากดินปั้น การฝนลวดลายภาพนูนต่ำ การวาดรูปร่างสิ่งของแลกเปลี่ยนจากการคลำของจริง และการปั๊มลวดลายของเหรียญในอดีตลงบนแผ่นพับ  และแม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้นที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้พิการจึงสั้นนัก ทั้งนี้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึงและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้สะดวกแล้ว แต่ลักษณะของการจัดแสดงเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีไว้รองรับผู้พิการด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงประเด็นการให้โอกาส ที่คนส่วนใหญ่มักจะหยิบยื่นให้แก่ผู้พิการแล้ว รูปแบบที่มักถูกเลือกใช้คือการแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การเลี้ยงอาหารและกิจกรรมสันทนาการตามมูลนิธิ หรือในรูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหากวิเคราะห์ในด้านของมูลค่าแล้ว คุณค่าของสิ่งเหล่านี้มักจะค่อยๆ ลดลงไปตามกาลเวลา แต่คงไม่ใช่กับการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ผู้บริหารบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด อย่างอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ มองว่า “การสร้างโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์ แม้จะไม่สามารถตีค่าออกมาในรูปแบบของเงินได้ แต่เป็นคุณค่าของการเรียนรู้สำหรับผู้พิการและเป็นคุณค่าของความพยายามในการสร้างสรรค์”  แม้ในกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเพียงนิทรรศการชั่วคราว แต่ในอนาคตอุปถัมป์เล่าว่า

Read More

กรมธนารักษ์จัดนิทรรศการสำหรับผู้พิการ ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ

  กรมธนารักษ์ร่วมเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดนิทรรศการและกิจกรรม “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตรา ระหว่างวันที่ 9-16 สิงหาคม 2559 ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ ถนนจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ ว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กรมธนารักษ์จึงจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติ โดยพิพิธภัณฑ์เหรียญซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการออกแบบเพื่อรองรับผู้เข้าชมทุกประเภทรวมทั้งกลุ่มผู้พิการด้วย ขณะนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมการจัดแสดงวิวัฒนาการเงินตรา ในบริเวณอาคารชั้น 1 และอยู่ในระหว่างปรับปรุงการจัดแสดงบนชั้นที่ 2 และ 3 โดยจะแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2560 ที่จะถึงนี้ และเชื่อมั่นว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตราที่ใหญ่และมีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยจัดแสดงตั้งแต่จุดกำเนิดของเงินตราเรื่อยมาจนถึงเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญกษาปณ์จากนานาประเทศทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ ซึ่งหาชมจากที่ไหนไม่ได้ ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเงินตรากับกลุ่มผู้พิการ

Read More

พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว

 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) มีข่าวเหรียญ 10 บาท ที่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เพียง 100 เหรียญ ซึ่งอยู่ที่กรมธนารักษ์จำนวน 60 เหรียญ ส่วนอีก 40 เหรียญนั้นได้มีการแจกให้กับผู้ร่วมการประชุม Mint Directors Conference (MDC) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีคนไทยได้รับแจกเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวน 20 คน และมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวนหนึ่งอยู่ในตลาดของนักสะสม  ขณะเดียวกันข่าวนี้อาจปลุกจิตวิญญาณของนักล่าสมบัติที่มีอยู่ในตัวของใครอีกหลายคน เมื่อมีนักล่าสมบัติชาวอังกฤษค้นพบเหรียญโบราณ 3 เพนนีของอังกฤษ ซึ่งเป็นเหรียญที่หายาก ผลิตในปี ค.ศ. 1652 ที่ถูกพบเจอบริเวณทุ่งนาของเกษตรกรรายหนึ่ง และถูกนำไปเปิดประมูลในราคาสูงถึง 1.6

Read More

พิพิธบางลำพู ประวัติศาสตร์รื่นรมย์ของชุมชน

 บางลำพู ชุมชนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์เรื่องราวทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก่อให้เกิดความแตกต่างในวิถีชีวิตของผู้คนในย่านบางลำพู มนต์เสน่ห์ที่แอบแฝงอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือร้านรวงริมถนนในรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่นับวันจะค่อยๆ ทยอยเลือนหายไปตามกาลเวลา หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนจากรุ่นสู่รุ่น ทว่าการย้อนรอยแห่งอดีตที่หาดูได้ยาก กลับถูกรวบรวมและจัดแสดงไว้ในที่แห่งนี้ พิพิธบางลำพู การปรับใช้สถานที่เก่าซึ่งเคยถูกทิ้งร้างนานกว่าสิบปี กรมธนารักษ์จับเอาอาคารเก่าที่เคยเป็นโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช มาปัดฝุ่นและแต่งแต้มให้เป็นสถานที่ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่ภารกิจหลักทั้ง 5 ด้านของกรมธนารักษ์ และเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านบางลำพู “กรมธนารักษ์ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งเป็นโรงพิมพ์คุรุสภาและเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอาคารจากกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งของกรมธนารักษ์” นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว “กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าชม” พื้นไม้ขัดมันจนขึ้นเงาของพิพิธบางลำพู ให้ความรู้สึกเหมือนเราไปเยี่ยมชมห้องสมุดโรงเรียนสมัยยังเป็นเด็กน้อยก็ไม่ปาน  อาคารแบบบาวเฮาส์ หรือ International Style รูปทรงตัว L ที่ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ แบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนบริเวณชั้น 1 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องตามประวัติศาสตร์ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษามหาราชินี  เจ้าหน้าที่พิพิธบางลำพูในชุดราชปะแตน ชุดที่ถือกำเนิดในสยามประเทศในปี

Read More