Home > Labor

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดาบสองคมของเศรษฐกิจไทย

ข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาคแรงงานไทย กำลังเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เฝ้ารอให้วาระนี้ถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และได้รับการอนุมัติเห็นชอบ ขณะที่บรรดานักลงทุนอาจกำลังวิตกว่าหากผลสรุปของที่ประชุม ครม. ไม่คัดค้าน และมีผลให้ค่าแรงอัตราใหม่ต้องบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2561 นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่การแข่งขันดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ สามารถมองได้ในหลากหลายมิติ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ คสช. มองว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้น่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในห้วงยามที่กำลังต้องการตัวกระตุ้น โดยก่อนหน้านี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า มีความเหมาะสม เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ปรับขึ้นมานานถึง 3 ปี และหากแรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น น่าจะส่งผลต่ออำนาจการซื้อของประชาชนมากขึ้น ผู้ประกอบการร้านค้าจะได้รับประโยชน์จากการขายสินค้าได้มากขึ้น เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ ผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ที่กำลังเสนอคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการเสนอให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยอัตรา 5-22 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 อัตรา ตามแต่ละพื้นที่ โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาทต่อวัน ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

Read More

พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 ความล้มเหลวในการบริหารนโยบาย?

การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว) เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ส่งผลสะเทือนต่อแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องหลากหลายแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนและตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลภายใต้การดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลิตซ้ำและละเลยที่จะเรียนรู้อีกด้วย สถานการณ์ของแรงงานต่างด้าวภายหลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ติดตามมาด้วยความตื่นตระหนกและหวาดวิตกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว เนื่องเพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุบทลงโทษในกรณีที่นายจ้างรับคนต่างด้าวทํางานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทํางาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ภาพของคลื่นแรงงานต่างด้าวที่ไหลบ่าเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดตามแนวและจุดผ่านแดนไทยกับเพื่อนบ้านปรากฏให้เห็นทันทีเมื่อข่าวการบังคับใช้กฎหมายนี้เผยแพร่ออกไป และทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องขาดแคลนแรงงานฉับพลัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการไปโดยปริยาย ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวได้รับการประเมินว่าในกรณีที่กระทบน้อยที่สุดจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.08 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอาจขยายความเสียหายไปสู่ระดับปานกลางที่ร้อยละ 0.2 ของ GDP คิดเป็นมูลค่า 2.84 หมื่นล้านบาท หรือในกรณีกระทบรุนแรงจะส่งผลเสียหายเป็นมูลค่า 4.65 หมื่นล้านบาท หรือในระดับร้อยละ

Read More