Home > craft

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ชวนนิสิต นักศึกษา ร่วมแข่งขันรายการ Reality Show “SACICT WAR CRAFT สงครามทำมือ”

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดแข่งขันออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยสู่สากล ประจำปี 2564 เฟ้นหาสุดยอดทีมออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานผ่านรายการ Reality Show “SACICT WAR CRAFT สงครามทำมือ” ออกอากาศทางช่องอมรินทร์ทีวี ชวนนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมรายการในรูปแบบทีม (ทีมละ 3 คน) เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ในรายการ Reality Show แห่งการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ได้ความรู้ พร้อมแจ้งเกิด ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 4 มิถุนายน 2564 รายการ “SACICT WAR CRAFT สงครามทำมือ” เป็นการสนับสนุนและพัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยให้ก้าวไกลเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและเวทีหัตถกรรมโลก เน้นการสร้างการรับรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้จากครูช่าง และกูรูด้านงานศิลปหัตถกรรมทั้งผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย โดยโจทย์ในปี 2564 จะเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมประเภทงานจักสาน ผ่านรูปแบบรายการโทรทัศน์ Reality

Read More

เครื่องเงินวัวลายภูมิปัญญาล้านนา เสน่ห์แห่งหัตถศิลป์เชียงใหม่

 แม้ว่าเชียงใหม่จะมีสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองขึ้นชื่อหลายอย่าง ทั้งร่มจากบ้านบ่อสร้าง งานแกะสลักไม้ของบ้านถวาย ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากอำเภอแม่แจ่ม แต่ยังมีอีกหนึ่งหัตถศิลป์ที่แอบซ่อนอยู่บนถนนสายสั้นๆ อย่างถนนวัวลาย คือเครื่องเงินที่หลายคนเรียกขานกันว่า “เครื่องเงินวัวลาย” นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาจากล้านนาที่ถูกส่งต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในครั้งที่สร้างความสัมพันธ์กับดินแดนพุกาม พร้อมทั้งมีการเจรจาขอช่างฝีมือเพื่อฝึกอาชีพให้กับชาวเชียงใหม่ นับแต่นั้นช่างฝีมือหัตถกรรมพื้นเมืองได้รับการฝึกฝนและสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าตากสินมหาราช และพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ร่วมกันขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ ในเวลานั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้างร่วม 20 ปี (พ.ศ. 2319-2339) เนื่องจากประชาชนหนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ตามป่าเขา นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนกลับเข้ามาอยู่ในเมืองเช่นเดิม หลังสงครามมีการกวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในเมืองเชียงใหม่ ทั้งหมอ โหร ช่างฝีมือ ทั้งนี้ยังมีการฝึกอาชีพให้ประชาชน ในครั้งนั้นเจ้าขันแก้ววัวลายในฐานะผู้นำของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกรอบๆ วัดหมื่นสาร ได้ส่งชาวบ้านวัวลายให้เข้าไปเรียนรู้การทำเครื่องเงินในคุ้มหลวงและทำสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในอดีตชาวบ้านในชุมชนวัวลายซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทั้งนี้เมื่อหมดช่วงฤดูทำนาชาวบ้านมักจะทำเครื่องเงินเป็นอาชีพเสริมซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากบรรพบุรุษ และแน่นอนว่าทำให้เกือบทุกหลังคาเรือนมีโรงงานขนาดเล็กที่เรียกว่า “เตาเส่า” สำหรับทำเครื่องเงิน ในยุคนั้นสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการค้า โดยหาซื้อแร่เงินจากพ่อค้าชาวจีนจากตัวเมืองเชียงใหม่นำมาตีขึ้นรูป ทั้งนี้ในระยะแรกผลิตภัณฑ์จากเครื่องเงินทำขึ้นเพื่อเป็นส่วยตามความต้องการของเจ้านาย ต่อมาเศรษฐกิจดีขึ้นมีการขยายตัวทางการค้ากับชาติอื่นมากขึ้น เครื่องเงินจึงถูกนำมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยน และเมื่อเจ้านายชั้นสูงเริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องทอง ทำให้สามัญชนสามารถใช้เครื่องเงินได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องเงินวัวลายในอดีตมักจะทำออกมาในรูปแบบของภาชนะ เช่น สลุง พาน

Read More