Home > เชียงใหม่

ท่องเที่ยวชี้ชะตา ค้าปลีกเชียงใหม่ดิ้นสู้ฟัด

หลังศูนย์การค้าชื่อดัง “พรอมเมนาดา (Promenada)” ประกาศปิดตัวแบบฟ้าผ่าเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งค่าย “เซ็นทรัลพัฒนา” ที่มีสาขาในเมืองเชียงใหม่ 2 แห่ง และกลุ่มเอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของโครงการ เม-ญ่า (MAYA) ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ต่างต้องเร่งวางเกมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังถาโถมเข้ามาไม่สิ้นสุด แถมต้องลุ้นอีกว่า ธุรกิจท่องเที่ยวจะกลับมาเติบโตเหมือนช่วงก่อนโควิดเมื่อใด ทั้งนี้ ตามหนังสือแจ้งการปิดศูนย์การค้าพรอมเมนาดา เชียงใหม่ ชั่วคราว ระบุสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเกินกว่ารายรับมาตลอด 3 ปี จนไม่อาจแบกรับได้อีก จำเป็นต้องปิดศูนย์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 จนกว่าจะได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุน แน่นอนว่า หากย้อนกลับไปช่วงปี 2556 วงการค้าปลีกต่างตื่นเต้นกับแผนผุดบิ๊กโปรเจกต์ “พรอมเมนาดา” ของกลุ่มอีซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรืออีซีซีกรุ๊ป เพราะถือเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จมากในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แถบยุโรปกลางและตะวันออก ก่อตั้งเมื่อปี 2534 และประเดิมโครงการแห่งแรกในประเทศโปแลนด์และขยายเรื่อยมา กระทั่งปี 2548 เริ่มบุกเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน โดยปักหมุด 2

Read More

เครื่องเงินวัวลายภูมิปัญญาล้านนา เสน่ห์แห่งหัตถศิลป์เชียงใหม่

 แม้ว่าเชียงใหม่จะมีสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองขึ้นชื่อหลายอย่าง ทั้งร่มจากบ้านบ่อสร้าง งานแกะสลักไม้ของบ้านถวาย ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากอำเภอแม่แจ่ม แต่ยังมีอีกหนึ่งหัตถศิลป์ที่แอบซ่อนอยู่บนถนนสายสั้นๆ อย่างถนนวัวลาย คือเครื่องเงินที่หลายคนเรียกขานกันว่า “เครื่องเงินวัวลาย” นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาจากล้านนาที่ถูกส่งต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในครั้งที่สร้างความสัมพันธ์กับดินแดนพุกาม พร้อมทั้งมีการเจรจาขอช่างฝีมือเพื่อฝึกอาชีพให้กับชาวเชียงใหม่ นับแต่นั้นช่างฝีมือหัตถกรรมพื้นเมืองได้รับการฝึกฝนและสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าตากสินมหาราช และพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ร่วมกันขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ ในเวลานั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้างร่วม 20 ปี (พ.ศ. 2319-2339) เนื่องจากประชาชนหนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ตามป่าเขา นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนกลับเข้ามาอยู่ในเมืองเช่นเดิม หลังสงครามมีการกวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในเมืองเชียงใหม่ ทั้งหมอ โหร ช่างฝีมือ ทั้งนี้ยังมีการฝึกอาชีพให้ประชาชน ในครั้งนั้นเจ้าขันแก้ววัวลายในฐานะผู้นำของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกรอบๆ วัดหมื่นสาร ได้ส่งชาวบ้านวัวลายให้เข้าไปเรียนรู้การทำเครื่องเงินในคุ้มหลวงและทำสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในอดีตชาวบ้านในชุมชนวัวลายซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทั้งนี้เมื่อหมดช่วงฤดูทำนาชาวบ้านมักจะทำเครื่องเงินเป็นอาชีพเสริมซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากบรรพบุรุษ และแน่นอนว่าทำให้เกือบทุกหลังคาเรือนมีโรงงานขนาดเล็กที่เรียกว่า “เตาเส่า” สำหรับทำเครื่องเงิน ในยุคนั้นสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการค้า โดยหาซื้อแร่เงินจากพ่อค้าชาวจีนจากตัวเมืองเชียงใหม่นำมาตีขึ้นรูป ทั้งนี้ในระยะแรกผลิตภัณฑ์จากเครื่องเงินทำขึ้นเพื่อเป็นส่วยตามความต้องการของเจ้านาย ต่อมาเศรษฐกิจดีขึ้นมีการขยายตัวทางการค้ากับชาติอื่นมากขึ้น เครื่องเงินจึงถูกนำมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยน และเมื่อเจ้านายชั้นสูงเริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องทอง ทำให้สามัญชนสามารถใช้เครื่องเงินได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องเงินวัวลายในอดีตมักจะทำออกมาในรูปแบบของภาชนะ เช่น สลุง พาน

Read More