Home > Tea

ชาระมิงค์แตกยอด ร่วมกับอินเดีย เปิดโรงเรียนสอนชงชา The Asian School of Tea

ชาระมิงค์แตกยอด ร่วมกับอินเดีย เปิดโรงเรียนสอนชงชา The Asian School of Tea ส่งเสริมผู้สนใจ ชูการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมสู่ระดับโลก เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ร้านรามิโน่ คาเฟ่ ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายจักริน วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ชาระมิงค์ จำกัด ได้กล่าวว่า “ชาระมิงค์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจากการสำรวจและบุกเบิกไร่ชาของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ปัจจุบันชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ชาฝรั่งหรือชาดำ, ชามะลิ, ชากลุ่มสมุนไพร นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเป็นผู้ผลิตชาดำหรือชาฝรั่งแบบสากลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเนื่องจากชาระมิงค์มีไร่เป็นของตัวเอง จึงให้ความสำคัญกับการปลูกชา การผลิตชาแบบออแกนิค โดยได้รับ Certificate ของ USDA Organic ซึ่ง certified by One Cert. จากประเทศอเมริกา สำหรับภาพรวมในปี 2562 ชาระมิงค์ได้มีการทำตลาดเพิ่มขึ้น

Read More

อิชิตันเดินหน้าเต็มกำลัง สร้างกลยุทธ์รุกทุกช่องทาง

  หลังจากโออิชิแถลงผลประกอบการ รวมไปถึงกลยุทธ์การตลาดสำหรับศักราชใหม่ไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสำหรับโออิชิแล้วยังคงมุ่งมั่นไปที่ตลาดชาผลไม้ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อีกทั้งยังยืนยันความเป็นผู้นำตลาดรวมชาพร้อมดื่มด้วยส่วนแบ่ง 45 เปอร์เซ็นต์ และอีกค่ายที่ตัดสินใจแถลงข่าวตามมาติดๆ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่เรียกได้ว่ามักจะสร้างสีสันให้กับวงการชาพร้อมดื่มได้อย่างสนุก อิชิตันเองออกมาประกาศเป้าหมายในปีนี้ รวมถึงการเคลมว่าตนเองนั้นก็เป็นผู้นำของตลาดชาพร้อมดื่มด้วยส่วนแบ่ง 43.4 เปอร์เซ็นต์  กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจของอิชิตันคือเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในเรื่องของยอดขาย 7,500 ล้านบาท ที่จะต้องทำให้ได้เมื่อสิ้นสุดปี 2559 ซึ่งปี 2558 อิชิตันสรุปรายได้ประมาณที่ 6,400 ล้านบาท หากดูจากเป้าประสงค์ของอิชิตันแล้ว คล้ายจะแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารของอิชิตันจะมั่นใจในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยภาพรวมการแข่งขันของตลาดชาพร้อมดื่มในช่วงปีที่ผ่านมาดำเนินไปอย่างเข้มขัน และพบว่าจากข้อมูลตัวเลขการบริโภคชาพร้อมดื่มล่าสุดตลอดปี 2558 มีปริมาณการบริโภคชาพร้อมดื่ม (Volume) 470.7 ล้านลิตร ซึ่งขยายตัวขึ้น 0.7 เปอร์เซ็นต์  แม้ว่าในแง่มูลค่าของตลาดชาพร้อมดื่มปี 2558 อยู่ที่ 15,574 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอิชิตันถือครองส่วนแบ่งการตลาดไป 43.4 เปอร์เซ็นต์ โออิชิ 35.9 เปอร์เซ็นต์ เพียวริคุ 5.7 เปอร์เซ็นต์

Read More

อัตลักษณ์แห่งชา

 ความเป็นไปของชาจากศรีลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจศรีลังกาด้วยสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อีกทั้งผูกพันเชื่อมโยงผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากธุรกิจนี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังมีมิติที่น่าสนใจและควรบันทึกไว้เป็นข้อมูลอีกนะคะ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า Ceylon Tea มีคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างไรหรือ ถึงทำให้แปลกแตกต่างจากชาจากแหล่งอื่นๆ และสามารถสร้างเสริมอัตลักษณ์ของชา Ceylon ขึ้นมาได้ หากจะกล่าวอย่างรวบรัด ด้วยเพียงระบุว่า ปัจจัยด้านความชื้น สภาพอากาศที่เย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ส่งผลให้ชาซีลอนมีคุณภาพดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอธิบายกันให้มากความ แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากไปกว่านั้น และอาจเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้สามารถนำเงื่อนไขทางธรรมชาติมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อชาเดินทางมาถึงและเริ่มจะปักหลักฐานในศรีลังกานั้น ชาได้แพร่หลายและแตกยอดผลิใบอยู่ทั้งในจีน และอินเดีย โดยเฉพาะการเพาะปลูกเชิงพาณิชยกรรมใน Assam และ Darjeering มาก่อนหน้าแล้ว การเป็นผู้มาทีหลังในอุตสาหกรรมชาของศรีลังกา จึงดำเนินไปท่ามกลางข้อจำกัดทั้งในมิติของขนาดพื้นที่เพาะปลูกและการเบียดแทรกเข้าสู่การรับรู้ของตลาดในฐานะผู้ประกอบรายเล็กเจ้าใหม่ ยังไม่นับรวมถึงการช่วงชิงพื้นที่เพาะปลูกกับพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งและกระแสวัฒนธรรมของกาแฟ ที่กำลังถั่งโถมเข้าสู่ยุโรปอีกด้วย ประเด็นและมิติที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้กับอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ที่ทำให้วัฒนธรรมแห่งชาแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้มาใหม่อย่างศรีลังกาได้มีโอกาส “ผ่านเกิด” บนสังเวียนชาที่เข้มข้นระดับนานาชาติในเวลาต่อมา เพราะในขณะที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ กำลังรื่นรมย์อยู่กับรสชาติของชาจากแหล่งผลิตใน Assam Darjeering และแหล่งอื่นๆ อย่างเอิกเกริก พร้อมๆ

Read More