Home > CP (Page 5)

“ไทยเบฟ” เปิดศึก Food Street ชน “ซีพี”

 ฐาปน สิริวัฒนภักดี เปิดเกมรุกครั้งใหม่ ตั้งบริษัท FOOD of ASIA (FOA) ขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารภายใต้แบรนด์ที่ปลุกปั้นขึ้นเอง ที่สำคัญเตรียมโมเดลฟู้ดรีเทลบุกตลาดทุกช่องทาง เจาะทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและทุกเวลา ตามวิชั่น “ไทยเบฟเวอเรจ Always with you” ซึ่งทายาทคนสำคัญของเจริญ สิริวัฒนภักดี ถือเป็น “คีย์” สู่การเป็นบริษัทที่มีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แน่นอนว่า จากบริษัทเครื่องดื่มครบวงจร แม้มีพอร์ตธุรกิจอาหารแบรนด์ “โออิชิ” อยู่ในเครือ แต่เป็นกิจการที่ซื้อต่อจาก “ตัน ภาสกรนที” ในยุคแบรนด์ติดตลาดและค่อนข้างประสบความสำเร็จ ทำให้ฐาปนให้เวลาศึกษาและเน้นรายละเอียดของธุรกิจอาหารตัวใหม่รอบด้าน เพราะคู่แข่งล้วน “ทุนยักษ์ใหญ่” และเล่นอยู่ในตลาดยาวนาน นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท FOA เปิดเผย “ผู้จัดการ 360  ํ” ว่า FOOD of ASIA เกิดขึ้นจากวิชั่นของฐาปน ที่ต้องการสร้างธุรกิจอาหารที่สื่อสะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นอาเซียน รวมถึงเอเชีย โดยรวบรวมทีมงานและกำหนดโมเดลร้านอาหารที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าอย่างโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง ทุกระดับราคาและทุกช่วงเวลาของผู้บริโภค

Read More

ลุ้นวิกฤต “เทสโก้โลตัส” แผนซีพียึดตลาดค้าปลีก

 แม้ล่าสุด เดฟ ลูอีส ซีอีโอคนใหม่ของเทสโก้ออกมาประกาศแผนฟื้นฟูระยะแรก เพื่อกอบกู้วิกฤตครั้งใหญ่ แต่นั่นเป็นเพียงก้าวแรกและจนถึงล่าสุด บริษัทแม่ยังไม่ยืนยันชัดเจนว่า นโยบายของเทสโก้ในสหราชอาณาจักรจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของเทสโก้โลตัสในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร “ขาย” หรือ “ไม่ขาย” ตามแผนกอบกู้สถานการณ์ทางการเงิน ผลพวงจากปัญหาภายในเกี่ยวกับการรายงานผลประกอบการผิดพลาด ความเชื่อมั่นดิ่งเหวจนฉุดรายได้ยอดขายตกต่ำ ประกอบด้วยการปิดสำนักงานใหญ่และสาขาในประเทศอังกฤษที่ไม่ทำกำไร 43 สาขา พับแผนเปิดสาขาขนาดใหญ่อีก 49 สาขา ยกเลิกการจ่ายปันผล ยกเลิกเงินบำนาญพนักงาน ขายธุรกิจบรอดแบนด์และธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ Blinkbox รวมถึงขายธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูล “Dunnhumby” เดฟ ลูอีส ระบุด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่ต้องเผชิญกับความเป็นจริงของสถานการณ์ ซึ่งนี่เป็นเพียงก้าวแรกและยังมีอีกหลายเรื่องต้องทำ ก่อนหน้านี้ เกิดกระแสข่าวเกี่ยวกับหนทางหนีตายของเทสโก้ 3 แนวทาง ทางเลือกแรก คือ การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจเทสโก้โลตัสในภูมิภาคเอเชีย 3 ประเทศ คือ ไทย เกาหลี และมาเลเซีย เนื่องจากบริษัทสามารถระดมทุนได้จำนวนมาก ทางเลือกที่ 2 ขายหุ้นทั้งหมด หรือบางส่วนของธนาคารเทสโก้ แบงก์

Read More

จากอดีตสู่อนาคต “สยามแม็คโคร” ในร่มเงา ซีพี

 ย้อนกลับในปี 2532 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแม็คโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแม็คโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม  “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวนให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11

Read More

MAKRO บนยุทธศาสตร์ค้าปลีก CP

 หากมองย้อนกลับไปนับตั้งแต่ MAKRO กลายเป็นข่าวใหญ่และ talk of the town จากการถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ดีลที่มูลค่าสูงมากเป็นประวัติการณ์วงการธุรกิจไทยเมื่อกว่าหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ข่าวคราวของ MAKRO ห่างหายไปจากการนำเสนอในหน้าสื่อต่างๆ พอสมควร ในด้านหนึ่งเนื่องเพราะภาพลักษณ์และแนวคิดหลักของการขับเคลื่อนองค์กรแห่งนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนยุทธศาสตร์หลักของผู้นำองค์กรที่โดดเด่นและเข้มแข็งอย่างธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นด้านหลัก ขณะเดียวกัน MAKRO ยังต้องดำเนินการปรับโครงสร้างและจัดวางเข็มมุ่งใหม่ให้แหลมคมและสอดรับกับเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไปด้วยในคราวเดียว การเปิดตัวฉลองครบรอบ 25 ของสยามแม็คโคร เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงเป็นประหนึ่งการประกาศตัวและตอกย้ำแนวทางการรุกรบครั้งใหม่ในธุรกิจค้าปลีกไทย ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติของการเพิ่มจำนวน outlet ในลักษณะของการเพิ่มจำนวนสาขาอีกต่อไป หากหมายรวมลึกซึ้งไปถึงทุกช่องทางการจำหน่าย ที่ยังเปิดกว้างให้เข้าครอบครองด้วย การต่อสู้แข่งขันในสมรภูมิค้าปลีกไทย ไม่เพียงแต่จะอุดมด้วยข่าวความเคลื่อนไหวเปิดตัวสถานที่ตั้งของสาขาที่ขยายไปใหม่เท่านั้น หากยังอุดมด้วยวิสัยทัศน์ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ทางธุรกิจให้เข้าสู่บริบทใหม่ ที่มีความหนักหน่วงรุนแรงและส่งผลกระเทือนต่อทุกระนาบในระบบเศรษฐกิจอีกด้วย ตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ได้วางเข็มมุ่งที่จะปักหมุดและครอบครองพื้นที่สำหรับการขยายอาณาจักรค้าปลีกของกลุ่มซีพีไว้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรุกของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นแม็คโครจากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี)

Read More

“ซีพี” รุกนิวคอนเซ็ปต์ ไลฟ์สไตล์คอมแพคซูเปอร์ฯ

เกือบ  8 ปี บนเส้นทางการขยายเข้าสู่ช่องทางค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” โดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เป็นตัวขับเคลื่อนตามนโยบายใหญ่จากประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ มีการปรับเปลี่ยน Business Model หลายรอบ แก้จุดอ่อน หาจุดแข็ง และเสริมสิ่งเติมเต็มที่เหมาะสมกับโจทย์ทางการตลาด ล่าสุดยกเครื่องและเขย่าอีกรอบ โดยตั้งเป้าปี 2557 สร้างความแข็งแกร่งเพื่อเป็นผู้นำตลาด Food Retail ในเมืองไทยและยกขบวนหน้าร้านทุกโมเดลบุกตลาดโลกเต็มรูปแบบในปี 2558   ภายใต้จุดแข็งข้อสำคัญ คือการเป็น Food Convenience Store ที่ดีที่สุด จากจุดเริ่มต้น การเปิดเอาท์เล็ต “เอฟมาร์ท” จำหน่ายเนื้อสัตว์ หมู ไก่ ไข่ ขยายเป็น “ซีพีเฟรชมาร์ท” เปิดหน้าร้านที่มีสีสันมากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้า ไม่ใช่แค่เนื้อสัตว์ดิบๆ แต่พัฒนาเข้าสู่การเป็น “ห้องครัวของชุมชน”

Read More

“ซีพี ฟู้ดเวิลด์” โลกทั้งใบ ภายใต้ “แบรนด์” เดียว

 ความพยายามสร้างโมเดลธุรกิจค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องการบรรลุเป้าหมาย เพราะไม่ใช่แค่กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบอาหารที่มีมากมายอยู่ในมืออีกหลายสิบเท่า หลายร้อยเท่า และหลายพันเท่า แต่ยังเป็นการขยายช่องทางจำหน่ายและหน้าร้าน เพื่อกระจายสินค้าถึงมือกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั่วโลก  ปัจจุบันโครงสร้างค้าปลีกของซีพีแยกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มร้านอาหาร (Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา สแน็กทูโก และอีซี่สแน็ก ซึ่งกลุ่มนี้มีการขยายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเมนูอาหารยอดนิยม และล่าสุดขยายเพิ่มอีก 2 แบรนด์ คือ ข้าวขาหมู “โป๊ยก่ายตือคา” ข้าวไข่เจียว และเพิ่มร้าน Otop thai เข้ามาทดลองขายสินค้ากลุ่มอาหารโอท็อปจากชุมชนต่างๆ  อีกกลุ่ม คือค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ซึ่งช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการปรับและยกเครื่องหลายครั้งตั้งแต่เริ่มเปิดร้าน “ซีพีเฟรชมาร์ท” ทดลองตลาดเมื่อ 7 ปีก่อน และปรับใหม่อีกครั้ง แยกเป็น

Read More

“ปัญญาภิวัฒน์” โรงงานผลิต “คน” ของเครือซีพี

 ความรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มว่าจะมีอายุสั้นลง สถาบันการศึกษาจึงมีหน้าที่พัฒนาบุคลากร สอนให้ “คน” เป็น “คนที่ทำงานได้”“รับซาลาเปา ขนมจีบ เพิ่มไหมคะ” น้องฝึกงานวัยละอ่อนในร้าน 7-11 กล่าวก่อนรับเงินจากลูกค้าปัจจุบัน “น้องเทียน” เป็นนักศึกษาปี 3 จากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เธอเคยฝึกงานในร้าน 7-11 เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงปี 1 เช่นเดียวกับนักศึกษาทุกคณะ เพราะนี่คือกฎกติกาของสถาบันแห่งนี้ขณะที่ปี 2 คณะอื่นอาจเริ่มแยกย้ายไปฝึกในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียนในองค์กรต่างๆ ของเครือซีพี น้องเทียนยังคงได้ฝึกงานที่ร้าน 7-11 อีกเช่นเคย เพราะเธอเลือกเรียนสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ส่วนปี 3 เธอก็ยังคงต้องฝึกงานในร้าน 7-11 แต่ในฐานะนักเรียนที่พร้อมจะก้าวไปสู่ระดับผู้จัดการร้าน ก่อนที่จะแยกย้ายไปฝึกงานในส่วนสำนักงานในองค์กรของซีพีออลล์ “นี่อาจจะถือเป็นจุดอ่อนของเรา เพราะบางคนเห็นว่า ต้องฝึกงานในร้าน 7-11 ก็หันหลังไม่อยากมาเรียน หรือผู้ปกครองบางคนเห็นลูกต้องฝึกงานที่ร้าน ก็คิดว่าจบมาต้องทำงานที่นี่ เราก็พูดเรื่อยๆ ว่ามันไม่ใช่ แต่ ร้าน 7-11 เป็นจุดผ่านหนึ่งและสถานที่เรียนรู้แบบ

Read More

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ต่อยอดแนวคิด ธนินท์ ครบวงจร

  “ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในการก้าวสู่การเป็นผู้นำเกษตรโลก ภาคเกษตรของไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร เพราะทุกอย่างได้เอื้ออำนวยและผลักดันให้เกษตรกรไทยมีฐานะร่ำรวยขึ้น”     คำกล่าวของ “ธนินท์  เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาพร้อมความเชื่อที่ว่า โลกกำลังก้าวสู่ยุคของ “น้ำมันบนดิน” หรือ “พืชเกษตร” ซึ่งเป็นน้ำมันเลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ และเป็นพลังงานของเครื่องจักร      ส่วน “ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มองว่า ประเทศไทยอาจก้าวไปไม่ถึงจุดที่ธนินท์พูด เนื่องจากขาดคนที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย และประชากรรุ่นใหม่ในภาคเกษตรลดลงจนน่าเป็นห่วง       วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา “ซีพี” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร จึงได้ลงนามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” ขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ”นักจัดการเกษตร”

Read More

ซีพี เชื่อ แม็คโคร จะเป็นใบเบิกทางสู่เวทีโลก

 การที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “แม็คโคร” ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เป็นประโยชน์ทั้งต่อการดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์และประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบาย 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ การลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการศึกษาธุรกิจค้าปลีกอย่างละเอียด ธุรกิจค้าปลีกนั้นสามารถแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. Mall หรือ Department store 2. Hyper market 3. Convenience store 4. Wholesale หรือ ค้าส่ง ซึ่งรวมแล้วเรียกว่าค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกในไทยมีแนวโน้มที่ดี เพราะอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยมีแต่บวกกับบวก ความเสี่ยงในการซื้อกิจการแม็คโครนั้น ขณะนี้ยังมองไม่เห็น ที่สำคัญ แม็คโครมีสิทธิที่จะขยายการลงทุนไปได้ทั่วโลก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ

Read More

“ซีพี” เฉือนคู่แข่ง ฮุบ “แม็คโคร” กินรวบ

การทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นแม็คโครของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือ  ถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญล่าสุดของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก  แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และการเปิดหน้าร้าน ทั้งร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ขณะที่แม็คโครเป็นผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตัวเอง (Cash & Carry) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ร้านค้าปลีก ร้านโชวห่วย โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (โฮเรก้า) สถาบันการศึกษา และสำนักงานต่างๆ ในรูปแบบสมาชิกจำนวนมากกว่า

Read More