Home > Bangkok

มิวเซียมสยาม เปิดพื้นที่ประวัติศาสตร์ชวนชม Site Museum มิวเซียมใต้ดินแห่งแรกของไทย

มิวเซียมสยาม ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชวนคนไทยชม “มิวเซียมใต้ดินภายในสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (Site Museum)” ซึ่งถือเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในพื้นที่ขนส่งสาธารณะใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทยในบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ามหานครสถานีสนามไชยกับมิวเซียมสยาม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พื้นที่รอบบริเวณสถานีสนามไชยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เป็นแหล่งให้ความรู้กับคนไทยและนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางสัญจรผ่านไปมายังเส้นทางนั้น พร้อมเชิญชวนทุกคนมาค้นพบความเป็นมาของพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของกรุงเทพฯ โดยสามารถเข้าชมฟรีได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า “การจัดทำมิวเซียมใต้ดิน หรือ Site Museum ขึ้นเป็นความร่วมมือระหว่างมิวเซียมสยามกับ รฟม. และ บีอีเอ็ม มีจุดเริ่มต้นมาจากการขุดพบโบราณวัตถุหลากหลายประเภทระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกจัดแสดงอยู่ที่มิวเซียมสยามและภายในสถานีตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา การจัดทำนิทรรศการในครั้งนี้ได้พัฒนาพื้นที่บริเวณทางขึ้น-ลงภายในสถานีสนามไชยในรูปแบบ Site Museum และจัดทำนิทรรศการภายในสถานีรถไฟฟ้า และทำพื้นที่บริเวณนี้ให้กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะอีกแห่งที่สำคัญในการนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ประวัติศาสตร์พื้นที่ที่น่าภาคภูมิใจเผยแพร่ในรูปแบบของการนำเสนอแบบสมัยใหม่ที่ทุกคนสามารถศึกษาและเข้าใจได้ง่าย โดยนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวทำให้ผู้เข้าชมเห็นภาพได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ภายในนิทรรศการได้แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ประวัติพื้นที่บางกอก 2) กลุ่มวังท้ายวัดพระเชตุพน 3) การจำลองท้องพระโรงวังเก่าในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมดด้วยการใช้สัญลักษณ์ของวัตถุที่ค้นพบในชั้นดินที่ต่างกันไป

Read More

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

 นับตั้งแต่พุทธศักราช 2325 อันเป็นปีก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จวบจนวันนี้กรุงรัตนโกสินทร์ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวสำคัญที่ควรค่าแก่การจดจำมากมาย บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้การดำเนินงานของชมรม “KTC PR Press Club” จัดกิจกรรม “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น” เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยต่างๆ ผ่านสถานที่สำคัญที่ล้วนบอกเล่าและสะท้อนภาพอดีตได้เป็นอย่างดี ประเดิมตอนแรกไปก่อนหน้านี้เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ จาก “วังเดิม” สู่ “วังหลัง” ปูเรื่องราว ตำนาน และวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสิน สืบวิถีถิ่น “ธนบุรี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านสถานที่สำคัญสมัยกรุงธนบุรีที่เชื่อมโยงสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร วัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในสมัยกรุงธนบุรี รวมทั้งพระราชวังเดิม และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตามติดด้วยภาคสองในตอน “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3” เรียงร้อยประวัติศาสตร์การเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่างช่วงรัชกาลที่ 1-3 ผ่านสถานที่สำคัญที่เป็นดั่งตัวแทนของแต่ละช่วงเวลา อาทิ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร  กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1

Read More

โอ้… กรุงเทพฯ ๒๐๑๓ รัตนโกสินทร์ศก ๐๒๓๑

ความสำคัญของกรุงเทพมหานคร หากจะเปรียบในเชิงกายวิภาค ก็คงไม่ต่างจากการเป็นหัวใจที่พร้อมจะสูบและฉีดอณูของเม็ดโลหิตให้ไหลเวียนไปทั่วร่าง แต่ดูเหมือนว่าสุขภาพของหัวใจดวงนี้ กำลังพอกพูนด้วยปัญหา และกำลังรอคอยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งอาจหนักหนาถึงขั้นต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ก็คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ข้อเท็จจริงในชีวิตทางการเมืองของกรุงเทพมหานคร แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่เคยมี ประชากรชาวกรุงเทพมหานครทุกคนต่างหากที่กำลังจะชี้วัดความเป็นไปของกรุงเทพฯ ไม่ใช่ผู้อาสาที่รับสมอ้างว่าเป็นแพทย์ เพราะสุขภาพของกรุงเทพมหานคร ย่อมเกิดจากสุขอนามัยพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขอนามัยทางปัญญา ซึ่งจะสะท้อนออกมาเป็นแนวความคิดของคนกรุงเทพฯ เอง มีผู้เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่มีเจ้าของ เพราะคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกับพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างแท้จริง ลักษณะของ sense of belonging ที่ควรจะทำให้คนกรุงเทพฯ มีสำนึกความรับผิดชอบ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษากรุงเทพฯ กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากขึ้นเป็นลำดับ บทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในอนาคต ควรเป็นไปในฐานะของผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการให้คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะเท่านั้น หากหมายถึงการอำนวยความสะดวก ให้คนกรุงเทพฯ สามารถมีส่วนร่วมพัฒนา เพื่อวางรากฐานและปรับปรุงโครงสร้าง สำหรับการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะด้วย นอกจากนี้ การอำนวยประโยชน์และการผลิตสร้างสำนึกการมีส่วนร่วม ให้เกิดกับคนกรุงเทพฯ ทั้งมวล มิได้หมายถึงการลดช่องว่าง ด้วยการทำให้คุณภาพและมาตรฐานในการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครตกต่ำลง ในลักษณะ “เสื่อมทรามอย่างเท่าเทียม” หากแต่จะต้องเกิดจากการพัฒนา และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ให้เจริญก้าวหน้า และมีโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่และทรัพยากรอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นบันไดหนุนนำไปสู่พัฒนาการของการสร้างประชาสังคม ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนในการถกแถลง และร่วมกำหนดทิศทางของกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง และเป็นการพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน อย่างแท้จริงในอนาคต 

Read More