Home > ลังกาทวีป

อนุราธปุระ: ปฐมอาณาจักรแห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN  หลังจากที่ได้กล่าวถึง Mahavamsa หรือมหาวงศ์ ให้ท่านผู้อ่านได้ร่วมเดินทางย้อนประวัติศาสตร์ลังกาทวีปไปก่อนหน้านี้ หากจะไม่กล่าวถึงความเป็นไปแห่งอาณาจักรอนุราธปุระ ซึ่งถือเป็นอาณาจักรแรกๆ บนแผ่นดินลังกานี้เสียเลยก็ดูกระไรอยู่นะคะ อนุราธปุระได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรเริ่มแรกของศรีลังกา ที่สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าปานฑุกาภัย (Pandukabhaya) ในช่วง 377 ปีก่อนคริสตกาล ท่ามกลางเขตอาณาของเจ้าครองแคว้นน้อยใหญ่ที่ต่างพยายามขยายบทบาทอิทธิพลเหนือดินแดน แต่อาณาจักรแห่งอนุราธปุระก็ถือเป็นอาณาจักรที่ทรงพลานุภาพและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองสูงสุดของลังกาทวีปในช่วงนั้น ความรุ่งเรืองของอนุราธปุระดำเนินไปท่ามกลางความจำเริญของพุทธศาสนาอย่างยากจะแยกออกทั้งในมิติของวัฒนธรรม รูปแบบการปกครอง รวมถึงระบบกฎหมาย ซึ่งกรอบโครงความเชื่อและศรัทธาในพุทธศาสนาเช่นว่านี้ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบและปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่ลังกา ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ในอำนาจบารมีของกษัตริย์แห่งอนุราธปุระไปโดยปริยาย แต่การดำรงอยู่ของอนุราธปุระไม่ได้ดำเนินอยู่ท่ามกลางสุญญากาศแห่งอำนาจ หากอนุราธปุระต้องเผชิญกับการรุกรานจากอาณาจักรข้างเคียง โดยเฉพาะจากอาณาจักรในอินเดียใต้ ที่พยายามรุกคืบเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งกษัตริย์ของอนุราธปุระสามารถรบพุ่งมีชัยชนะเหนือกองกำลังจากอาณาจักรอินเดียใต้และฟื้นฟูอำนาจเหนือดินแดนได้หลายครั้ง แม้จะต้องดำเนินผ่านห้วงเวลายากลำบากแห่งสงครามกับผู้รุกราน แต่อาณาจักรอนุราธปุระก็สามารถจำเริญและดำรงอยู่ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 1,500 ปี (377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 1017) ซึ่งห้วงเวลาที่ยาวนานดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้อาณาจักรอนุราธปุระผลิตสร้างและส่งผ่านมรดกหลากหลายประการให้กับสังคมในยุคหลัง ความเป็นไปของอนุราธปุระซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสังคมเกษตรกรรม ทำให้การก่อสร้างระบบชลประทาน กลายเป็นสิ่งสื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จและก้าวหน้าของอาณาจักรโบราณแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยอ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำที่ช่วยให้พื้นที่แห้งแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลให้สังคมภายในอนุราธปุระเป็นไปในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงพอควร เพราะนอกจากจะเพาะปลูกข้าวได้ถึงสองครั้งต่อปีแล้ว ยังเพาะปลูกอ้อย งา และข้าวฟ่าง โดยเฉพาะในเขตแห้งแล้ง ไว้สำหรับเป็นแหล่งอาหาร ขณะเดียวกันก็สามารถเพาะปลูกฝ้ายเพื่อรองรับความต้องการเรื่องเครื่องนุ่งห่ม โดยผลผลิตส่วนเกินสามารถส่งออกเป็นสินค้าควบคู่กับอัญมณี ไข่มุก เครื่องเทศ แลกเปลี่ยนกับการนำเข้าเครื่องถ้วยเซรามิก เครื่องหอม ไวน์ และผ้าไหม ที่มาจากทั้งตะวันออกกลางและตะวันออกไกล ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งทำให้อาณาจักรอนุราธปุระสามารถสถาปนาความสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างประเทศเชื่อมโยงโลกตะวันออกและตะวันตกได้อย่างไม่ลำบากนัก

Read More

MAHAVAMSA: ตำนานประวัติศาสตร์แห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN เรื่องราวความเป็นไปและเหตุบ้านงานเมืองของแต่ละประเทศ นอกจากจะดำเนินไปท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุดและบ่อยครั้งที่ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาจำเริญควบคู่กับเรื่องเล่าและตำนานที่ถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ไปในคราวเดียวกันด้วย ต้นทางแห่งประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างประเทศของทั้งชาวสิงหลในศรีลังกา หรือแม้กระทั่งความจำเริญของพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ก็ดำเนินอยู่ในบริบทที่ไม่ได้แตกต่างจากความข้อนี้มากนัก หากแต่เรื่องเล่าและตำนานความเป็นไปเหล่านี้ได้รับการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดีให้ผู้คนในยุคหลังได้ศึกษาและสืบค้น ตำนานแห่ง Mahavamsa หรือที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยว่า “มหาวงศ์” ถือเป็นตำนานประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดฉบับหนึ่งของสังคมศรีลังกา เพราะเป็นการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่สมัยพุทธกาลไล่เรียงผ่านห้วงเวลาที่ยาวนานมาสู่ยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองในอาณาจักรอนุราธปุระ ที่จำเริญอยู่นับตั้งแต่ 377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราช 1017 กล่าวสิริรวมก็ถือว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวในช่วงกว่า 1,000 ปีของประวัติศาสตร์ศรีลังกายุคต้นไว้เลยทีเดียว ความสำคัญของมหาวงศ์ ในฐานะที่เป็นอภิมหาลำดับเหตุการณ์ (Great Chronicle) ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่เล่าขานความเป็นไปของปรากฏการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป ที่ประกอบส่วนด้วยประเด็นทางการเมืองและการทูตกับอาณาจักรรอบข้าง การแข่งขันช่วงชิงในราชสำนัก หากแต่มหาวงศ์ยังเป็นบันทึกว่าด้วยความจำเริญของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท และถือเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ที่รจนาขึ้นในภาษาบาลีที่ได้รับการยอมรับว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งอีกด้วย ต้นทางแห่งมหากาพย์ มหาวงศ์ ที่ยิ่งใหญ่นี้ เกิดขึ้นจากการรจนาของพระมหาเถระมหานามะแห่งอนุราธปุระ (Mahanama of Anuradhapura) เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในยุคสมัยของ Dhatusena ซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองอนุราธปุระในช่วงคริสต์ศักราช 455-473 โดยอาศัยข้อมูลทั้งจากพงศาวดาร และตำราต่างๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มารจนาในรูปแบบคาถา หรือบทกวีที่มีฉันทลักษณ์พรรณนาเหตุการณ์ความเป็นไปกว่า 3,000 โศลก ลำดับของเนื้อหาใจความของ มหาวงศ์ ไล่เรียงตั้งแต่เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเยือนลังกาทวีป ซึ่งความตอนนี้ถูกถ่ายทอดเป็นอรรถคาถาถึง 84

Read More