Home > ประเทศศรีลังกา (Page 2)

ภาษา “ทมิฬ”

 Column: AYUBOWAN ช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สังคมไทยดูจะอยู่ในช่วงพักร้อนยาวจากปฏิทินวันหยุดต่อเนื่องในเทศกาลงานพิธีหลากหลาย ซึ่งไม่แตกต่างจากความเป็นไปของศรีลังกามากนัก เพราะหลังจากผ่านช่วง Avurudu หรือปีใหม่ของทั้งชาวสิงหลและทมิฬที่ไล่เรียงตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน และหยุดยาวต่อเนื่องกว่าที่สังคมและภาคธุรกิจจะกลับเข้าสู่การทำงานปกติก็ล่วงเลยไปจะถึงสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว เหตุที่เป็นดังนั้นก็เพราะนอกจากช่วง Avurudu จะนับเป็นช่วงเวลาของครอบครัวที่ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยวและใช้เวลากับครอบครัวแล้ว บรรษัทห้างร้านก็ถือโอกาสให้เป็นช่วงเวลาของการสังสรรค์ภายใน ยังไม่นับรวมถึงกิจกรรมของแต่ละชุมชนและกลุ่มสมาคมชมรมที่จัดตารางกิจกรรมหนาแน่นไปตลอด 2-3 สัปดาห์ ครั้นพอเข้าสู่ช่วงเดือนพฤษภาคม การประดับโคมประทีปเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองในเทศกาลวันวิสาขบูชา หรือ Vesak ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่สำคัญของชาวพุทธก็เริ่มดำเนินทอดยาวไปอีก ไม่ต่ำกว่า 3-4 สัปดาห์ เรียกได้ว่าหลังจากผ่านช่วงเวลาสนุกหรรษาเถลิงศกใหม่ก็มาถึงงานบุญงานกุศล เพื่อเป็นพุทธบูชาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของสังคมชาวพุทธและความเป็นพหุสังคมของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อเข้าถึงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนสำคัญแห่งการถือศีลอดของผู้นับถือศาสนาอิสลาม (Holy Month of Ramadan) โดยในปีนี้เริ่มเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะประกอบส่วนด้วยวัตรปฏิบัติของชาวมุสลิมแต่ละท่านแล้วยังมีกิจกรรมแวดล้อมของกลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศลเข้าร่วมด้วย ท่ามกลางการเฉลิมฉลองและพิธีกรรมที่หลากหลายของผู้คนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมศรีลังกา วันที่ 6 มิถุนายนปีนี้ก็นับว่าเป็นวันสำคัญไม่น้อยสำหรับชาวทมิฬ และผู้ใช้ภาษาทมิฬทั้งในศรีลังกาและอีกกว่า 80 ล้านคนทั่วโลก เพราะหากย้อนกลับไปในปี 2004 รัฐสภาอินเดียได้ลงมติยกสถานะภาษาทมิฬให้เป็น Classical Language ของอินเดีย ซึ่งถือเป็นภาษาแรกในภาษาราชการจำนวน 22 ภาษาของอินเดียที่ได้รับสถานะที่ว่านี้ แม้ว่าในอินเดียจะมีผู้ใช้ภาษาทมิฬอยู่เพียงประมาณ 70 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวมกว่า 1,200 ล้านคนก็ตาม นัยความหมายของการเป็น Classical Language หรือภาษาคลาสสิกในด้านหนึ่งก็คือการยอมรับว่าภาษาทมิฬมีส่วนเป็นรากฐานให้กับภาษาอื่นๆ และมีคุณค่าในมิติของวรรณกรรม

Read More

LAUGFS: เสียงหัวเราะที่ดังขึ้นของศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN แม้ว่าความเป็นไปทางเศรษฐกิจของศรีลังกา จะดำเนินอยู่ภายใต้บริบทของบรรษัทที่มีรากฐานและอดีตกาลยึดโยงอยู่กับมรดกแห่งความจำเริญเติบโตจากยุคอาณานิคม ที่ให้ภาพลักษณ์เป็นประหนึ่งกลุ่มทุนธุรกิจผูกขาดไม่กี่กลุ่มตระกูลและเครือข่าย แต่การปรากฏตัวขึ้นของ LAUGFS เมื่อปี 1995 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา กลับให้ภาพที่แปลกแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ขณะที่จังหวะก้าวและแนวความคิดของ W. K. H. Wegapitiya ก็ช่วยจุดประกายความคิดความฝันให้กับสามัญชนคนตัวเล็กๆ ที่จะงอกเงยขึ้นท่ามกลางโครงสร้างใหญ่ที่ปกคลุมบริบทความเป็นไปในสังคมธุรกิจของศรีลังกาด้วย W. K. H. Wegapitiya หรือชื่อเต็ม Wegapitiya Kattiyage Hemachandra Wegapitiya ในวัย 53 ปี (เกิด 1963) ผ่านการใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในชนบทที่เมือง Balangoda ของอำเภอ Ratnapura (รัตนปุระ) ซึ่งแม้ว่าครอบครัวของเขาจะมีที่ดินปลูกชาแต่ด้วยจำนวนปากท้องของผู้คนในครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพี่น้องรวมกันถึง 9 คน ยังไม่นับรวมภาวะวิกฤตเรื่องการขาดแคลนอาหารของศรีลังกาในช่วงทศวรรษ 1970 นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องราวฉากชีวิตที่จะผ่านมาได้โดยง่ายเลย Wegapitiya เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนระดับตำบลจนจบการศึกษาชั้น O-Level หรือมัธยมต้น ก่อนที่พ่อของเขาซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวจะเสียชีวิต และทำให้เขาต้องพักอาศัยอยู่กับพี่สาวที่แต่งงานออกเรือนไปมีครอบครัวอยู่ที่ Kegalle พร้อมกับเข้าศึกษาต่อในชั้น A-Level

Read More

มรดก warehouse สู่ยักษ์ค้าปลีก

 Column: AYUBOWAN ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของศรีลังกาคงไม่สมบูรณ์หากไม่เอ่ยถึงชื่อของ Cargills บรรษัทผู้ผลิต และประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ที่มีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นเสมือนหนึ่งโรงครัวให้กับผู้คนในดินแดนแห่งนี้ ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG: Fast-moving consumer goods) อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ จุดเริ่มต้นของ Cargills ในด้านหนึ่งไม่แตกต่างจากความเป็นไปของบรรษัทรายใหญ่แห่งอื่นๆ ที่โลดแล่นอยู่ในศรีลังกา ซึ่งต่างเป็นผลผลิตหรือมรดกที่สืบเนื่องมาจากนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาแสวงประโยชน์พร้อมๆ กับเจ้าอาณานิคม และลงหลักปักฐานเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่ในรายละเอียดทางธุรกิจของ Cargills อาจแตกต่างจากกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นๆ ตรงที่ Cargills เติบโตขึ้นจากการเป็นคลังนำเข้าสินค้าและธุรกิจค้าส่งกระจายสินค้า มากกว่าที่จะเป็นผู้แทนหรือนายหน้าค้าเงินตราและชาออกไปสู่ตลาดโลก ซึ่งเป็นคุณลักษณะหลักของผู้ประกอบการในช่วงอาณานิคม ประวัติการณ์ของ Cargills เริ่มขึ้นเมื่อ William Miller และ David Sime Cargill เปิดดำเนินธุรกิจคลังสินค้า เพื่อนำเข้าและค้าส่งสินค้าจากต่างประเทศป้อนสู่ความต้องการบริโภคของผู้คนในตลาดศรีลังกา ที่บริเวณท่าเรือโคลัมโบ เมื่อปี 1844 หรือเมื่อ 172 ปีที่แล้ว  โดยสถานที่ตั้งกิจการค้าดังกล่าวได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “House of Cargills” กลายเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อเรื่องราวความเป็นไปของ Cargills หากยังสะท้อนวิถีของการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของศรีลังกาจากยุคอาณานิคมสู่การเป็นเอกราช สังคมนิยม สาธารณรัฐจนถึงตลาดเสรีในปัจจุบันด้วย ลำดับขั้นของการพัฒนา Cargills ก้าวไปสู่หลักไมล์สำคัญอีกขั้นเมื่อนักธุรกิจชาวทมิฬนาม

Read More

“โอม นมัส ศิวะ”

 Column: AYUBOWAN นัยความหมายของวันสำคัญที่ทำให้แต่ละสังคมหรือประเทศประกาศให้เป็นวันหยุดของทางราชการหรือภาคเอกชนในแต่ละพื้นที่ของโลก นอกจากจะสะท้อนมิติทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยแห่งความจำเริญงอกเงยทางศิลปวัฒนธรรม รวมถึงคุณค่าที่สังคมเหล่านั้นเชื่อถือและให้ความสำคัญใส่ใจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นภาพสะท้อนของความเคารพความแตกต่างของผู้คนในแต่ละสังคมให้ได้รับเกียรติและการยอมรับอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ให้ต้องถูกผลักออกไปเป็นส่วนเกินของสังคม ประเด็นที่ว่านี้ดูเหมือนว่าสังคมศรีลังกาซึ่งแม้จะมีประชากรชาวพุทธสิงหลมากกว่าร้อยละ 70-75 ของประชากรจำนวน 20 ล้านคนและให้ความสำคัญกับ “วันพระใหญ่” หรือวันพระจันทร์เต็มดวง (Poya Day) ของศาสนาพุทธให้เป็นวันหยุดราชการอย่างน้อยเดือนละครั้ง พร้อมกับการงดเว้นกิจกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาแล้ว ด้วยเหตุแห่งความเป็นพหุสังคมที่มีการเรียนรู้อดีต ทำให้วันสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการยอมรับและบรรจุให้เป็นวันหยุดราชการไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ศาสนาฮินดู ซึ่งมีชาวศรีลังกาทมิฬนับถืออยู่ประมาณร้อยละ 13-15 ของประชากรทั้งหมด ก็เป็นศาสนาที่มีวันสำคัญและได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในปฏิทินวันหยุดประจำปีของศรีลังกา ไม่น้อยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่ามีวันหยุดของศาสนาฮินดูในปฏิทินวันหยุดของศรีลังกาเฉลี่ย 2 เดือนต่อครั้งเลยทีเดียว วันสำคัญที่นำไปสู่วันหยุดครั้งล่าสุดของศาสนาฮินดูในศรีลังกา คือวัน Maha Shivaratri ที่เป็นวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดย ศิวราตรี แปลว่า ราตรีหรือค่ำคืนแห่ง (การบูชา) พระศิวะเจ้า ศิวราตรีเป็นเทศกาลสำคัญยิ่งวันหนึ่งในรอบปีของชาวฮินดู โดยพิธีศิวราตรีจะจัดขึ้นในช่วงวันแรม (กฤษณปักษ์) แรม 13 ค่ำ (กฤษณไตรโยทศี) หรือ แรม 14 ค่ำ (กฤษณจตุรทศี) ของเดือน

Read More

สายสัมพันธ์ชาวเกาะ

 Column: AYUBOWAN การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากำลังผลิดอกออกผลไปในทิศทางที่ทำให้ศรีลังกาทวีความน่าสนใจสำหรับนานาประเทศไม่น้อย ไม่เฉพาะในมิติของความสามารถในการจัดการและเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น หากยังประกอบส่วนด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจที่พร้อมจะพัฒนาไปได้อีกไกล รายงานข่าวการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างและประจักษ์พยานที่ดีในกรณีที่ว่านี้ อีกทั้งยังสร้างแรงกระตุ้นสำหรับพัฒนาการทางสังคมครั้งใหม่ให้กับดินแดนแห่งนี้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีลักษณะร่วมทางภูมิศาสตร์ในฐานะที่เป็นเกาะของทั้งสองประเทศนี้ แม้จะเกี่ยวเนื่องกันมายาวนานทั้งในมิติที่ต่างก็อยู่ในเครือจักรภพ (Commonwealth) และ John Key ก็เคยเดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2013  แต่การเดินทางเยือนครั้งล่าสุดของ John Key นับเป็นจังหวะก้าวครั้งใหม่ในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของสองประเทศ พร้อมกับการส่งสัญญาณการสานสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างหลากหลายและรอบด้านจากนิวซีแลนด์เข้าสู่ศรีลังกา “ศรีลังกาคือแสงที่เจิดจรัสของภูมิภาคเอเชีย” เป็นคำกล่าวสรุปของ John Key ที่บ่งบอกนัยความหมาย และทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายของนิวซีแลนด์ต่อประเทศที่อุดมด้วยโอกาสและพร้อมจะรองรับการลงทุนจากนิวซีแลนด์แห่งนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงคาบเกี่ยวกับกำหนดการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำนิวซีแลนด์ครั้งนี้ก็คือ การสื่อโฆษณาทั้งโดยนิวซีแลนด์และออสเตรเลียผ่านโซเชียลมีเดีย ว่าด้วยการเปิดรับสมัครและคัดสรรชาวศรีลังกาที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะทาง ทั้งวิศวกร แพทย์ พยาบาล รวมถึงผู้มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และไอทีให้เข้าไปทำงานและพำนักในประเทศทั้งสอง ขณะเดียวกันสถานศึกษาจากทั้งสองประเทศก็พยายามสื่อสารถึงโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับ O Level และ A Level ในศรีลังกาให้มาศึกษาต่อในนิวซีแลนด์และออสเตรเลียด้วย อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำการศึกษาและโอกาสใหม่ในชีวิตมาผูกให้เกิดเป็นกระแสสำนึกและความตระหนักรู้ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความนิยมในแบรนด์ “นิวซีแลนด์” ไปในคราวเดียวกัน ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ John Key ในการเดินทางเยือนศรีลังกาครั้งนี้อยู่ที่กำหนดการเปิดศูนย์เกษตรกรรมสาธิต Fonterra

Read More

JKH: เสาหลักธุรกิจศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN แม้ว่าศรีลังกาจะประกาศและได้รับสถานะการเป็นรัฐเอกราชที่พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1948 หากแต่ร่องรอยจากอิทธิพลทางการค้าที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคอาณานิคมที่ยาวนานกลับหยั่งรากลึกและขยายโอกาสครอบคลุมองคาพยพทางธุรกิจและเศรษฐกิจของศรีลังกาอย่างไม่อาจเลี่ยง ภาพแห่งความจำเริญที่ดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของอดีตบรรษัทที่ประกอบการโดยนักธุรกิจชาวอังกฤษในครั้งกาลเก่า ไม่เพียงแต่ปรากฏให้เห็นอดีตที่รุ่งเรือง แต่กำลังผลักดันศรีลังกายุคใหม่ให้ก้าวหน้าไปไกลอีกด้วย มรดกของบรรษัทจากอังกฤษในอดีตที่ยังปรากฏให้เห็น และขยายตัวครอบครองบริบททางธุรกิจของศรีลังกาอย่างกว้างขวางและทรงพลังที่สุดในห้วงยามปัจจุบัน คงไม่มีองค์กรใดจะโดดเด่นเท่ากับความเป็นไปของ John Keells Holdings ที่แผ่ขยายกิ่งก้านสาขาทางธุรกิจปกคลุมพื้นที่ตั้งแต่กิจการโรงแรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โลจิสติกส์และขนส่ง มาจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเครื่องดื่ม เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการให้บริการด้านสารสนเทศและการเงิน เรียกได้ว่ามีธุรกิจครอบคลุมวิถีชีวิตเกือบจะทุกระนาบของสังคมศรีลังกาเลยทีเดียวก็ว่าได้ ยังไม่นับรวมการเป็นบรรษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ศรีลังกา ที่มีมูลค่าการตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและยังจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (1994) ซึ่งนับเป็นองค์กรธุรกิจจากศรีลังการายแรกที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ประวัติความเป็นมาของ John Keells Holdings หรือ JKH เริ่มต้นขึ้นในปี 1870 จากนักธุรกิจสองพี่น้องชาวอังกฤษ Edwin และ George John ริเริ่มจัดตั้งบริษัทผู้แทนการค้าและโบรกเกอร์ในนาม E.John & Co. เพื่อดำเนินการเป็นผู้แทนการค้าชาและส่งออกชาจากดินแดนอาณานิคมไปยังตลาดโลก ธุรกิจของ E.John & Co. เติบโตไปพร้อมกับการดำเนินไปของทั้งอาณานิคมอังกฤษและกิจการชาในดินแดนแห่งนี้ กระทั่งในปี 1948 เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช E.John & Co.

Read More

เศรษฐีศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ อย่างศรีลังกาในช่วงหลังสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ อาจทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าจักรกลที่หนุนนำทางเศรษฐกิจของดินแดนแห่งนี้คงเป็นผลจากแรงกระทำและกระตุ้นของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) แต่โดยลำพัง หากแต่ในความเป็นจริงศรีลังกามีบรรษัทและนักธุรกิจที่ประกอบการและดำเนินธุรกิจหนุนนำสังคมให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่จำนวนไม่น้อยเลยนะคะ หนึ่งในจำนวนนักธุรกิจที่โดดเด่นและถือว่าเป็นผู้มีบทบาทอิทธิพลในสังคมเศรษฐกิจศรีลังกามากที่สุดรายหนึ่งในทำเนียบนักธุรกิจศรีลังกา คงต้องยกให้ Don Harold Stassen Jayawardena (D.H.S. Jayawardena) หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า Harry Jayawardena เป็นนักธุรกิจลำดับต้นๆ ที่ทุกคนจะต้องนึกถึง ลำดับชีวิตของ Harry Jayawardena ในวัย 73 ปี (เกิด 17 สิงหาคม 1942) เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานในบรรษัทค้าใบชาจากอังกฤษซึ่งควบคุมกลไกทางเศรษฐกิจของดินแดนอาณานิคมแห่งนี้ ก่อนที่จะผันตัวเองมาสู่ภาคราชการด้วยการเป็นผู้จัดการแผนกชา (Tea Department) ในวิสาหกิจการค้าแห่งรัฐ ที่ทำหน้าที่ผูกขาดกิจกรรมทางการพาณิชย์ของศรีลังกาในยุคหลังอาณานิคมไว้อย่างเบ็ดเสร็จ ความเปลี่ยนแปลงในแนวนโยบายจากเศรษฐกิจที่ควบคุมโดยรัฐไปสู่การค้าเสรีนับตั้งแต่ช่วงปี 1977 ของ Junius Richard Jayewardene (นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีศรีลังกา ระหว่างปี 1977-1989) กลายเป็นข้อต่อและจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญให้กับวิถีชีวิตของ Harry Jayawardena ก่อนการสร้างอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา Harry

Read More

สื่อ: เสรีภาพและการคุกคาม

 Column: AYUBOWAN เดือนมกราคมที่ผ่านมาดูเหมือนว่า แวดวงการทำงานของสื่อในสังคมไทยจะถูกตั้งคำถามและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม รวมถึงมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพอย่างกว้างขวาง ซึ่งคงทำให้นักวิชาชีพสื่อสารมวลชนในประเทศไทยต้องให้ความสนใจและทบทวนบทบาทและภาพลักษณ์ที่ผ่านมาพอสมควร การรณรงค์ในช่วงก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะด้วยถ้อยวลี “Journalism is not a crime” หรือ “เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพของสังคม” ดูจะกลายเป็นการรณรงค์ที่ไร้น้ำหนักและถูกผลักให้ห่างจากสังคมโดยรวมออกไปไกลขึ้นทุกขณะ ไม่ต้องกล่าวถึงภาพลักษณ์โดยรวมของสื่อมวลชนไทยถูกเหมารวมจากประพฤติกรรมและท่วงทำนองที่กลายเป็นการคุกคามและละเมิดสิทธิของผู้อื่นเสียเองอีกต่างหาก แต่สำหรับสังคมศรีลังกา เดือนมกราคมที่ผ่านมา วงการสื่อสารมวลชนที่นี่ได้จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์และเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ซึ่งถูกคุกคามด้วยการลอบสังหาร อุ้มหาย และประทุษร้ายต่อชีวิต ในนาม “Black January” เพื่อกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงความรุนแรงอีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เหตุที่คณะจัดกิจกรรมเลือกเดือนมกราคม มาเป็นหลักในการรณรงค์ให้ยุติการคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อก็เนื่องเพราะในช่วงเดือนมกราคมระหว่างปี 2008-2010 มีเหตุการณ์คุกคามสื่อรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประทุษร้ายต่อผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ Lal Hemantha Mawalage ในปี 2008  ยิ่งไปกว่านั้น และเป็นกรณีที่หนักหน่วงและกระตุ้นความรู้สึกร่วมคงเป็นผลมาจากการลอบสังหาร Lasantha Wickrematunga บรรณาธิการ Sunday Leader เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2009 และการอุ้มหาย Prageeth Ekneligoda คอลัมนิสต์และการ์ตูนนิสต์การเมืองคนดังของศรีลังกา เมื่อวันที่ 24

Read More

KALPITIYA: จุดหมายใหม่การท่องเที่ยว

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของ Puttalam และภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเร่งระดมสรรพกำลังในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในภาคการผลิต อุตสาหกรรมและพลังงานเท่านั้น  หากแต่ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ประกอบส่วนด้วย Lagoon ขนาดใหญ่ ชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกำลังได้รับการประเมินศักยภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายจะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการยกระดับและเร่งพัฒนาเพื่อเชื้อเชิญนักธุรกิจผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจากทั้งภายในและภายนอกประเทศให้เข้ามาลงทุนในระยะที่ผ่านมาอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่เขต Kalpitiya หมู่บ้านชาวประมง ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโคลัมโบทางทิศเหนือ 160 กิโลเมตร และมีประวัติการณ์เชื่อมโยงกับการค้าทางทะเลและการเป็นจุดพักเรือมาตั้งแต่อดีตกาล ยังไม่นับรวมถึงการเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้ทั้งโปรตุเกสและดัตช์ เจ้าอาณานิคมต่างลงหลักปักฐาน และสถาปนาให้ Kalpitiya เป็นที่มั่นที่อุดมด้วยป้อมค่าย พร้อมกับส่งผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมและทิ้งร่องรอยแห่งมรดกทางประวัติศาสตร์นี้ไว้ในนาม Dutch Bay จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ภูมิประเทศซึ่งเป็นแหลมทอดยาวไปกว่า 48 กิโลเมตรและมีความกว้าง 6-8 กิโลเมตรขนาบข้างด้วย Puttalam Lagoon ทางด้านตะวันออกและมหาสมุทรอินเดียทางชายหาดด้านตะวันตก ควบคู่กับการมีเกาะแก่งแวดล้อมอีกกว่า 14 แห่ง ทำให้ Kalpitiya กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และกลายเป็นจุดขายที่น่าสนใจไม่น้อย  ความพยายามที่จะพัฒนาให้ Kalpitiya เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่หนึ่งใน 15 แห่งของศรีลังกานี้ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติมาตั้งแต่เมื่อปี 2003 และเริ่มมีกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสันทนาการขยับขยายเข้ามาจับจองพื้นที่กว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมดใน Kalpitiyaในรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป กระบวนการไล่รื้อหรือผลักดันชาวบ้านดั้งเดิมออกจากพื้นที่ เพื่อรวบรวมที่ดินมาพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500

Read More

PUTTALAM: จากนาเกลือสู่แหล่งพลังงาน

 Column: AYUBOWAN ฉากแห่งวิถีชีวิตบนทางหลวงหมายเลข A3 ที่เริ่มต้นจากชายขอบตอนเหนือของกรุงโคลัมโบเลียบเลาะชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือก่อนสิ้นสุดสู่จุดหมายที่เมือง Puttalam รวมระยะทางกว่า 130 กิโลเมตรกำลังปรับเปลี่ยนโฉมหน้าและเพิ่มเติมบทบาทความสำคัญขึ้นอย่างช้าๆ แต่น่าสนใจยิ่ง Puttalam เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขตจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (North Western หรือ Wayamba Province) ที่มีประวัติการณ์ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 2,500 ปี หรือตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจ้าชายวิชัยอพยพผู้คนจากแผ่นดินใหญ่ในชมพูทวีปเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสถาปนาวงศ์กษัตริย์ ตัมพปาณี (Tambapanni หรือ Thambaparni) และถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติการณ์ชนชาติของศรีลังกาบนแผ่นดินลังกาทวีป ในอาณาบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ Puttalam ในปัจจุบัน ชื่อของ Puttalam เชื่อว่ามาจากรากฐานในภาษาทมิฬที่ว่า Uppuththalam โดย Uppu หมายถึงเกลือ และ Thalam มีความหมายว่า แหล่งผลิต ก่อนที่จะกร่อนเสียงเหลือเพียง Puttalam ในเวลาต่อมา แต่มรดกจากที่มาและต้นทางของชื่อบ้านนามเมืองที่ว่านี้ ไม่ได้หล่นหายหรือมลายสูญลงไป ด้วยเหตุที่ข้อเท็จจริงสำคัญก็คือ Puttalam เป็นแหล่งผลิตเกลือแหล่งใหญ่ของศรีลังกา และยังดำเนินความสำคัญอยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเกลือทะเลที่หล่อเลี้ยงสังคมศรีลังกาเลยทีเดียว อุตสาหกรรมการผลิตเกลือที่ Puttalam ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพราะนอกจากจะเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารแล้ว ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือศรีลังกามีปริมาณการบริโภคเกลือมากถึง

Read More