Home > มหาศิวราตรี

“โอม นมัส ศิวะ”

 Column: AYUBOWAN นัยความหมายของวันสำคัญที่ทำให้แต่ละสังคมหรือประเทศประกาศให้เป็นวันหยุดของทางราชการหรือภาคเอกชนในแต่ละพื้นที่ของโลก นอกจากจะสะท้อนมิติทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยแห่งความจำเริญงอกเงยทางศิลปวัฒนธรรม รวมถึงคุณค่าที่สังคมเหล่านั้นเชื่อถือและให้ความสำคัญใส่ใจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นภาพสะท้อนของความเคารพความแตกต่างของผู้คนในแต่ละสังคมให้ได้รับเกียรติและการยอมรับอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ให้ต้องถูกผลักออกไปเป็นส่วนเกินของสังคม ประเด็นที่ว่านี้ดูเหมือนว่าสังคมศรีลังกาซึ่งแม้จะมีประชากรชาวพุทธสิงหลมากกว่าร้อยละ 70-75 ของประชากรจำนวน 20 ล้านคนและให้ความสำคัญกับ “วันพระใหญ่” หรือวันพระจันทร์เต็มดวง (Poya Day) ของศาสนาพุทธให้เป็นวันหยุดราชการอย่างน้อยเดือนละครั้ง พร้อมกับการงดเว้นกิจกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาแล้ว ด้วยเหตุแห่งความเป็นพหุสังคมที่มีการเรียนรู้อดีต ทำให้วันสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการยอมรับและบรรจุให้เป็นวันหยุดราชการไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ศาสนาฮินดู ซึ่งมีชาวศรีลังกาทมิฬนับถืออยู่ประมาณร้อยละ 13-15 ของประชากรทั้งหมด ก็เป็นศาสนาที่มีวันสำคัญและได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในปฏิทินวันหยุดประจำปีของศรีลังกา ไม่น้อยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่ามีวันหยุดของศาสนาฮินดูในปฏิทินวันหยุดของศรีลังกาเฉลี่ย 2 เดือนต่อครั้งเลยทีเดียว วันสำคัญที่นำไปสู่วันหยุดครั้งล่าสุดของศาสนาฮินดูในศรีลังกา คือวัน Maha Shivaratri ที่เป็นวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดย ศิวราตรี แปลว่า ราตรีหรือค่ำคืนแห่ง (การบูชา) พระศิวะเจ้า ศิวราตรีเป็นเทศกาลสำคัญยิ่งวันหนึ่งในรอบปีของชาวฮินดู โดยพิธีศิวราตรีจะจัดขึ้นในช่วงวันแรม (กฤษณปักษ์) แรม 13 ค่ำ (กฤษณไตรโยทศี) หรือ แรม 14 ค่ำ (กฤษณจตุรทศี) ของเดือน

Read More