วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
Home > PR News > วัน แบงค็อก ชู นวัตกรรม-ความยั่งยืน ตอกย้ำนโยบายวันสิ่งแวดล้อมโลก “Reuse Recycle”

วัน แบงค็อก ชู นวัตกรรม-ความยั่งยืน ตอกย้ำนโยบายวันสิ่งแวดล้อมโลก “Reuse Recycle”

วัน แบงค็อก เมืองอัจฉริยะแห่งความยั่งยืนสมบูรณ์แบบใจกลางกรุงเทพฯ ตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยหลักการของความยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกขององค์การสหประชาชาติ (UN) และกรุงเทพมหานครฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมนโยบายวันสิ่งแวดล้อมโลก Reduce (ลด) และ Recycle (รีไซเคิล) ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้และวัสดุที่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนให้มีคุณค่าเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day เพื่อให้ทั่วโลกตื่นตัวกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไข วัน แบงค็อก ในฐานะโครงการอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างจุดเปลี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero) และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ สะท้อนผ่านแนวคิด 3 แกนหลัก ได้แก่ การให้ความสำคัญกับผู้คน (People Centric) การยกระดับความยั่งยืน (Sustainability) และการใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะ (Smart City Living)

เพื่อตอกย้ำการเป็นโครงการต้นแบบสีเขียวที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนให้เทียบเท่าระดับสากล วัน แบงค็อก มุ่งสู่การเป็นโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย พร้อมมุ่งมั่นประหยัดพลังงาน จัดการของเสียและอากาศภายในอาคารได้อย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อให้ผู้ที่ใช้อาคารมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และยังจะดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านการก่อสร้างที่ยั่งยืนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงช่วงเปิดดำเนินการของโครงการฯ

วัน แบงค็อก กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนขึ้น พร้อมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่การออกแบบมาสเตอร์แพลนของโครงการฯ จนไปถึงขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ภายใต้แนวคิด Reuse และ Recycle อาทิ

o การลดขยะจากการก่อสร้าง โดยตั้งเป้านำขยะจากการก่อสร้างมากกว่า 75% กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล อาทิ การนำเทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคารในโครงการฯ ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.94 ตันหรือเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตก๊าซออกซิเจนจากต้นไม้ 540 ต้น อีกทั้งยังมีการนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการฯ

o การรีไซเคิลขยะเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคของคนงานก่อสร้าง ให้กลายเป็นปุ๋ย ผ่านเครื่อง Food Waste Composter ทำให้สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 1.2 ตันคาร์บอนต่อวัน หรือ 367 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ จำนวน 40,815 ต้น

o การรีไซเคิลน้ำเสีย ด้วยระบบบริหารจัดการน้ำอัตโนมัติที่สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำ ลดการใช้น้ำ (Reduce) และนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำทำให้มีคุณภาพดีขึ้น Wastewater Treatment Plant (Recycle) และนำไปใช้ในส่วนต่างๆ อาทิ ระบบรดน้ำต้นไม้ภายในโครงการฯ และระบบชำระล้างของสุขภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีไอโอที (IoT) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกและจัดการขยะรีไซเคิล ทำให้โครงการสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณขยะแบบเรียลไทม์ เพื่อนำเศษวัสดุที่เหลือใช้กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตช่วยให้สามารถลดปริมาณขยะที่สะสม และเมื่อโครงการเปิดดำเนินการ จะเพิ่มระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับปริมาณของขยะพร้อมแจ้งเตือนไปยังส่วนกลาง ทำให้ลดปัญหาขยะล้นถัง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัย

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการออกแบบพื้นที่สาธารณะ (Public Realm) ให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวมากถึง 50 ไร่เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของพื้นที่โครงการทั้งหมด เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้ทางเดินเท้าในโครงการ แทนการใช้รถยนต์ ลดมลภาวะทางอากาศ โดยพื้นที่ส่วนหน้าของโครงการตลอดแนวถนนพระรามสี่และถนนวิทยุ ถูกรังสรรค์ให้เป็นสวนสาธารณะสีเขียวขนาดใหญ่ (Linear Park) และมีระยะร่นจากทางเท้าเข้าไปยังตัวอาคาร 35 – 45 เมตร สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม ร่มรื่น ช่วยกรองฝุ่น และลดอุณหภูมิ

วัน แบงค็อก มุ่งมั่นสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ พร้อมเป็นต้นแบบโครงการสีเขียวที่ยั่งยืน

เศษคอนกรีตจากการตัดเสาหัวเข็มที่เหลือใช้มารีไซเคิลเป็นผนังหล่อสำเร็จรูป (Precast)