Home > Cover Story (Page 178)

เราเคยทำอะไรบ้างเพื่อรักษาแชมป์

สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในเครือเกษตรอุตสาหกรรม ถ้าเราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกข้าวนี่ ลำบากแน่นอน ต้องถามย้อนกลับว่า ที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรเกี่ยวกับการรักษาแชมป์บ้าง การที่เราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกนี่ เราก็ต้องดูแลเรื่องกระบวนการเพาะปลูกข้าวทั้งระบบ เรียกว่า... เราเคยไปดูไหมว่าชาวบ้านเขาปลูกข้าวกันอย่างไร เราเคยไปดูเรื่องกระบวนการจัดการเรื่องน้ำไหม เราเคยไปดูเรื่องเกี่ยวกับโรคพืชไหม เราเคยดูเรื่องของผลผลิตต่อไร่ไหม เคยมีใครเป็นเจ้าภาพในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บ้าง แม้แต่คนที่ทำพันธุ์ข้าว ทุกวันนี้ข้าวพันธุ์ถังละ 25 บาท เกวียนละ 2.5 หมื่นบาท ทำข้าวพันธุ์ตอนนี้ลำบาก ต้นทุนสูง ทำเรียบร้อยแล้วเงินไม่มี ต้องถือไว้ 45 วัน ถึงจะไปปลูกต่อได้ พอเงินไม่มี ก็ต้องยอมขาย ไร่ละ 8 พัน ยังไม่หักต้นทุนวัตถุดิบ เราจะเป็นแชมป์ เราเคยศึกษากระบวนการที่เราจะดูแลทั้งกระบวนการนี้อย่างไร แล้วเรามาบอกเราจะเป็นแชมป์ ที่ผ่านมาเราเป็นแชมป์ได้เพราะอะไร เพราะโชคช่วย แล้วเราก็ไม่เคยคิดจะรักษาแชมป์ นักมวยยังต้องฟิตซ้อม ต้องมีตารางฝึก ต้องอดอาหาร ต้องฝึก ต้องวิ่งวันละกี่กิโล

Read More

ทัศนะของคนค้าขายกับพม่า

“ในเรื่องการเกษตร หลายปีมานี้ผมนั่งถามตัวเอง แล้วก็ถามเพื่อนๆ ว่า พม่าเขาพัฒนาไปอย่างนี้ แม้ว่ายังต้องใช้เวลาแต่เขาก็พัฒนาไปเรื่อยๆ มีผลกับเรา เพราะว่าในตลาดข้าว มีซัปพลายเออร์อยู่แค่นี้ เราเป็นผู้หนึ่งที่ขายข้าวเข้ามาในตลาด แล้วตลาดก็อยู่แค่นี้ ค่อยๆ โต ไม่ได้โตมากหรอก วันนี้ในโลกนี้มีคนประมาณ 6 พันกว่าล้าน เกือบ 7 พันล้านคนที่ต้องกินข้าว ตอนนี้กลายเป็นว่าแต่ละประเทศที่เคยปลูกได้น้อยก็ปลูกได้มากขึ้น พอปลูกได้มากแล้วก็ขายเข้ามา ผมถามว่าเราจะเป็นที่ 1 ต่อไปนานที่สุดได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้มีเราเล่นอยู่เพียงคนเดียว คนอื่นเขาเข้ามาเล่นด้วย ในอุตสาหกรรมข้าวนี่นะ ในส่วนของโรงสีข้าวโดยหลักๆ แล้ว เราใช้เครื่องจักรของญี่ปุ่น ใช้ของซาตาเก้ แต่ตอนนี้หลายอย่างของเวียดนามดีกว่า หลายอย่างจีนดีกว่า เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว พัฒนาเร็ว วันนี้พอคุณคุยกันเสร็จ เขาก็บินไปถึงต้นทางแล้ว ฉันใดฉันนั้น พม่าก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในกรณีของเกษตรพัฒนา การส่งรถเกี่ยวนวดข้าวเข้าไปขายให้พม่าเท่ากับเป็นการช่วยคู่แข่งไหม ผมว่าไม่ เพราะถ้าเขาไม่ขาย คนอื่นก็ขาย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น วันนี้ต้องยอมรับว่าจีนเขามาแรงกว่าเรา ผมเลยดูว่า เมื่อทุกประเทศเขายกระดับพัฒนาขึ้นมาเรื่อย แต่ของเรานี่

Read More

เมื่อแชมป์เก่า มุ่งมั่นขอทวงตำแหน่งคืน

พม่ากำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในการยกระดับ “อุตสาหกรรมข้าว” ของตนเอง โดยมีเป้าหมายในการกลับคืนสู่ตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก และดูเหมือนปัจจัยหลายด้านก็กำลังเอื้อต่อย่างกาวของพม่าในเรื่องนี้ จอว์ จอว์ ทุนกำลังขะมักเขม้นศึกษาโครงสร้างรถเกี่ยวนวดข้าวล็อตใหม่ที่ญาติของเขา ดร.จอว์ จอว์ อ่อง (Kyaw Kyaw Aung) เพิ่งสั่งนำเข้ามาจากประเทศไทย เขาต้องเร่งทำความเข้าใจกลไกการทำงานของรถคันนี้ทั้งหมด เพื่อจะควบคุมและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับเจ้ารถคันนี้ จอว์ จอว์ ทุนจำเป็นต้องรู้จักรถเกี่ยวนวดข้าวคันนี้อย่างดี ก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวรอบใหม่ที่จะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อตอนต้นปีระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึง 21 เมษายน ที่ผ่านมา จอว์ จอว์ ทุนพร้อมกับทีมงานอีก 3 คน ประกอบด้วย จอว์ ซัวร์ วิน หรือจอซัว มินทเว หรือโกเป๊าะ และโซ ลวย อู หรือโซ ลวย ได้เดินทางมาฝึกงานที่โรงงานของบริษัทเกษตรพัฒนาอุตสาหกรรมในเครือเกษตรพัฒนาที่จังหวัดพิษณุโลก เกษตรพัฒนาคือกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถเกี่ยวนวดข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “แม่โขง” เจเนอเรชั่นใหม่

“ช่วงเวลา 10 ปี เป็นช่วงที่ได้ความรู้มากมาย เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน ความคิดต่างๆ เหมือนเรียนจบแล้วไปสมัครงานบริษัท มีเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มองย้อนกลับไป ผมสนุกกับการทำงาน ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ได้ทำงานใกล้ชิดกับคุณพ่อ ใกล้ชิดกับผู้บริหารอาวุโสหลายท่านร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อจนมาถึงผู้บริหารยุคใหม่ที่ผมมีโอกาสเชิญชวนได้ทำงานร่วมกัน ได้โอกาสเรียนรู้มากมาย เป็นคุณค่าของชีวิตของผมในช่วง 10 ปี" ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ 360 ํ ด้วยบุคลิกอ่อนน้อม สุภาพ ซึ่งได้รับถ่ายทอด “ยีน” จากเจริญ สิริวัฒนภักดี แบบ 100% วันนี้ฐาปนกลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มวัยไม่ถึงสี่สิบที่มีภาระบริหารบริษัทในเครือมากที่สุดถึง 106 บริษัท ดูแล 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ กลุ่มธุรกิจสุรา ทั้งสุราขาว สุราผสม

Read More

“โออิชิ” ยึดตู้แช่ ข้ามสายพันธุ์ ข้ามตลาด

ประมาณกันว่าคนไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคน เป็นลูกค้า "โออิชิ" มากกว่า 30 ล้านคน เป็นลูกค้าในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และเจาะเข้าถึงครอบครัว ประมาณกันว่าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcohol) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ถ้าไม่นับตลาดหลักๆ อย่างน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลังและโซดาแบ่งเป็นตลาดเครื่องดื่ม อัดลม 35,000 ล้านบาท เครื่องดื่มน้ำผลไม้เกือบ 10,000 ล้านบาท และเครื่องดื่มชาเขียวอีก 8,000 กว่าล้านบาท ทั้งสามกลุ่มคือเป้าหมายที่โออิชิกำลังเร่งส่งเครื่องดื่มข้ามสายพันธุ์จากฐานหลัก “ชาเขียว” เข้าสู่ตลาดที่มีเม็ดเงินเกือบ 60,000 ล้านบาท รออยู่และยังต้องการขยายสู่สินค้าไลน์ใหม่ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่บนชั้นตู้แช่ทั้งหมด เป็นเป้าหมายของ “ไทยเบฟ” ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อกิจการโออิชิกรุ๊ปเมื่อปี 2551 เพื่อรุกเข้าไปในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ที่เปรียบเสมือนบลูโอเชี่ยนตัวใหม่ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” นอกจากการมีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย การลดความเสี่ยงจากการปรับภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ในฐานะผู้ผลิต เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่แค่เหล้าเบียร์

Read More

Umbrella campaign น้ำ = เบียร์

“Umbrella campaign” ยุทธศาสตร์ใหม่ของเครื่องดื่มแบรนด์ “ช้าง” มีเบียร์เป็นกลุ่มสินค้าหลักในตลาดรวมที่มีเงินสะพัดมากถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดน้ำดื่มมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และตลาดโซดาอีกกว่า 5,000 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การทำตลาด 360 ํ ที่พลิกสถานการณ์ตามเงื่อนไขกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการคุมเข้มกิจกรรมผ่านการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาและดนตรี ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์หลักทางการตลาดของสินค้าเหล่านี้ไปเสียแล้ว การทุ่มเงินถึง 500 ล้านบาท เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ (Official Partnership) กับ 2 สโมสรฟุตบอลระดับโลก บาร์เซโลนาและเรอัล มาดริดระยะเวลา 3 ปี และงบทำการตลาด อีก 500 ล้านบาท ซึ่งไทยเบฟมีสิทธิ์นำทีม และโลโกของทั้งสองสโมสรมาใช้ในเชิงพาณิชย์กับผลิตภัณฑ์ของช้าง ต่อยอดจากทีมเอฟ เวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสัญญาผ่านมาแล้ว 7 ปีและต่อสัญญาอีก 2 ปี จึงเป็นความพยายามใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งดึงดูดกลุ่มลูกค้าแบบอยู่หมัด ภายใต้

Read More

จากนักปรุงสูตรลับสู่ “Mixologist”

อาณาจักรธุรกิจอันใหญ่โตของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มีจุดเริ่มจาก “สุราแม่โขง” เจริญเปลี่ยนจากคนขายของโชห่วยกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจเหล้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เส้นทางเริ่มต้นตั้งแต่การจัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งทำให้ได้รู้จักกับจุล กาญจนลักษณ์ ผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง และเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ จนสามารถยึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎรของกลุ่มเตชะไพบูลย์ ชื่อบริษัท “ที.ซี.ซี.กรุ๊ป” แท้จริงมาจากชื่อภาษาอังกฤษของทั้งสามคน คือ เถลิง จุลและเจริญ ว่ากันว่า เจริญสามารถกวาดเหล้าคู่แข่งทุกยี่ห้อ ไม่ว่าแม่โขง หงส์ทอง กวางทอง และแสงโสม เข้ามาอยู่ในกำมือ แต่สูตรการปรุง “แม่โขง” ยังเป็นสูตรลับที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ นอกจากจุล จนมาถึง “เดชพงศ์ กาญจนลักษณ์” ทายาทคนเดียวที่จบปริญญาโทวิศวกรรมจากสหรัฐอเมริกาและมารับช่วงต่อในการปรุงสูตรสุราให้ไทยเบฟเวอเรจ ความจริงแล้ว ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง ขณะที่จุลเป็นเพียงเภสัชกรที่ถูกขอยืมตัวมาจากกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านผลิตสุราในตอนนั้น ปี 2489 ประเสริฐออกจากโรงงานสุราบางยี่ขันพร้อมทั้งสูตรแม่โขงด้วย จนกลายเป็นเหตุพิพาทกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประเสริฐอ้างว่า สูตรแม่โขงเป็นของตัวเอง

Read More

เลียบเลาะ “บางยี่ขัน 2” House of Mekhong

ประตูโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เปิดต้อนรับ ผู้จัดการ 360 ํ เพื่อเก็บเกี่ยวประวัติศาสตร์การผลิตเหล้าไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี แม้ที่นี่ไม่ใช่โรงเหล้าแห่งแรกแต่ถือเป็นมรดกที่ตกทอดจาก “บางยี่ขัน” และปัจจุบันยังคงเป็นโรงงานผลิต “แม่โขง” ออกสู่ตลาดโลก ขณะที่ “แม่โขง” ขวดแรกผลิตที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางกอกน้อย ในเวลานั้นมีเป้าประสงค์เพื่อทดแทนการนำเข้าวิสกี้และบรั่นดีในช่วงกระแสชาตินิยม ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรกเดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคที่ประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503 ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ

Read More

แม่โขงรีเทิร์น

การประกาศนำสุรา “แม่โขง” กลับเข้ามาทำตลาดในปี 2555 ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจในการรีแบรนด์สุราไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี หลังจากเจอเหล้านอกไหลทะลักเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดสุราสี จนยอดขายลดวูบและหยุดจำหน่ายไปนานเกือบ 5 ปี ในปี 2548 ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด เคยเปิดเกม “Re-positioning” ครั้งแรกโดยใช้ “ค็อกเทล” เป็นตัวนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของแม่โขง ไม่ใช่เหล้าของผู้ชายวัย 40-50 ปี รสชาติบาดคอ ต้องผสม น้ำหรือโซดา แต่เปลี่ยนรูปแบบการดื่มเพื่อ หาลูกค้ากลุ่มใหม่ตามช่องทางผับ บาร์และโรงแรมระดับห้าดาว เป็นการปรับตำแหน่งทางการตลาดขึ้นเทียบชั้นเหล้านอกแบรนด์หรูอย่างเรดเลเบิ้ลในตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ปี 2550 แม่โขงสลัดภาพเก่า เปิดตัว “Mekhong” โฉมใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อลุยตลาดโลก เริ่มจากตลาดยุโรปที่ประเทศอังกฤษและสวีเดน ปีต่อมาแม่โขงขยายตลาดเข้าสู่โซน อเมริกา พร้อมกับเปิดตัวเบียร์ช้างในต่างประเทศอย่างเป็นทางการที่นิวยอร์กและลอสแองเจลิส โดยวางตำแหน่งเหล้าแบรนด์ พรีเมียมจากเมืองไทยและใช้กลยุทธ์การผสมเครื่องดื่ม “ค็อกเทล” เป็นตัวสื่อสารหลัก มีการว่าจ้างบริษัท

Read More