Home > Mekhong

จาก “แม่โขง” ถึง “รวงข้าว” ไทยเบฟฯ แก้เกมรุกธุรกิจเหล้า

แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” เดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจนอนแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า รายได้หลักของกลุ่มยังมาจากธุรกิจสุรามากกว่า 55% ตามด้วยธุรกิจเบียร์ 32% ขณะที่ธุรกิจกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์บวกธุรกิจอาหารมีสัดส่วนเพียง 13% หรือคิดจากรายได้รวม 9 เดือนในปีบัญชี 2560 (ต.ค.2559-มิ.ย.2560) 142,460 ล้านบาท มาจากธุรกิจสุราเกือบ 79,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจสุราเมื่อปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน มีรายได้จากการขาย 76,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 112 ล้านบาท โดยมีปริมาณขายเพิ่มขึ้น 2.3% เป็น 416.8 ล้านลิตร แต่กำไรสุทธิรวม 14,548 ล้านบาท ไม่เติบโต เนื่องจากกําลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ปรับตัวดีขึ้น และผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนไปบริโภคสุราขาว ซึ่งมีราคาขายและกําไรต่อขวดน้อยกว่าสุราสี แม้มีปริมาณขายเติบโตขึ้นก็ตาม นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจสุราพลิกหากลยุทธ์เพิ่มอัตรากำไร โดยเฉพาะในกลุ่มเหล้าขาวที่ไทยเบฟฯ ยึดครองตลาดทั้งหมด จากเม็ดเงินในตลาดสุราของประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดเหล้าขาวมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท และกลุ่มเหล้าสีอีกประมาณ

Read More

ตำนานเหล้าไทย “House of Mekhong”

 ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรก ณ ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร           การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน  หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรี ที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา           ต่อมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503           ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ 41 ล้านบาท และได้รับการต่อสัญญาอีก 10 ปี ตั้งแต่ปี 2513 อัตราค่าเช่าปีละ 55 ล้านบาทบวกส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25           สำหรับโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดสัมปทานปี

Read More

“แม่โขง” ปรับกลยุทธ์ บุกทุกช่องทางแจ้งเกิด

 หลังจากประกาศเปิดตัว “แม่โขง” ภาพลักษณ์ใหม่ เมื่อกลางปีที่แล้ว โดยเน้นขยายตลาดต่างประเทศกลุ่มยุโรปและอเมริกาได้ระยะหนึ่ง ปี 2556 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เตรียมกลยุทธ์ชุดใหญ่ เพื่อหันกลับมาเจาะกลุ่มนักดื่มชาวไทย  โดยเฉพาะความพยายามแจ้งเกิดแบรนด์ “แม่โขง” ในฐานะเหล้าไทยระดับพรีเมียมชนเหล้านอกทุกยี่ห้อ ตามแผนเป็นกลยุทธ์ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Repositioning) ตอบสนองไลฟ์สไตล์ระดับเวิลด์คลาส เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายนักดื่มทั้งหญิงและชายอายุ 25-35 ปี ระดับรายได้กลุ่ม A จากเดิมเป็นกลุ่มลูกค้ากว้างมาก ผู้ชายตั้งแต่วัยหนุ่มไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 50-70 ปี  ไม่จำกัดรายได้ การชูแพ็กเกจจิ้งใหม่ ตั้งแต่รูปแบบขวด ฝา การออกแบบฉลากและใช้ตัวหนังสือภาษาอังกฤษ เพื่อให้แบรนด์สื่อสารกับคนทั่วโลก เพิ่มช่องทางการจำหน่ายในโรงแรมห้าดาว และซูเปอร์มาร์เก็ตระดับไฮเอนด์ เช่น กูร์เมต์มาร์เก็ต วิลล่าซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านดิวตี้ฟรี การเปลี่ยนรูปแบบนำเสนอสู่กลุ่มเป้าหมาย (Representing) ผ่าน “แม่โขง ค็อกเทล” ที่ปัจจุบันมีแล้ว 10 สูตร โปรโมตที่โรงแรมระดับห้าดาว การเปิดแอพพลิเคชั่นแม่โขงค็อกเทล สำหรับไอแพดและไอโฟนตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย มีค็อกเทลที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย “Thai

Read More

แม่โขงรีเทิร์น

การประกาศนำสุรา “แม่โขง” กลับเข้ามาทำตลาดในปี 2555 ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจในการรีแบรนด์สุราไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี หลังจากเจอเหล้านอกไหลทะลักเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดสุราสี จนยอดขายลดวูบและหยุดจำหน่ายไปนานเกือบ 5 ปี ในปี 2548 ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด เคยเปิดเกม “Re-positioning” ครั้งแรกโดยใช้ “ค็อกเทล” เป็นตัวนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของแม่โขง ไม่ใช่เหล้าของผู้ชายวัย 40-50 ปี รสชาติบาดคอ ต้องผสม น้ำหรือโซดา แต่เปลี่ยนรูปแบบการดื่มเพื่อ หาลูกค้ากลุ่มใหม่ตามช่องทางผับ บาร์และโรงแรมระดับห้าดาว เป็นการปรับตำแหน่งทางการตลาดขึ้นเทียบชั้นเหล้านอกแบรนด์หรูอย่างเรดเลเบิ้ลในตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ปี 2550 แม่โขงสลัดภาพเก่า เปิดตัว “Mekhong” โฉมใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อลุยตลาดโลก เริ่มจากตลาดยุโรปที่ประเทศอังกฤษและสวีเดน ปีต่อมาแม่โขงขยายตลาดเข้าสู่โซน อเมริกา พร้อมกับเปิดตัวเบียร์ช้างในต่างประเทศอย่างเป็นทางการที่นิวยอร์กและลอสแองเจลิส โดยวางตำแหน่งเหล้าแบรนด์ พรีเมียมจากเมืองไทยและใช้กลยุทธ์การผสมเครื่องดื่ม “ค็อกเทล” เป็นตัวสื่อสารหลัก มีการว่าจ้างบริษัท

Read More