Home > Cover Story (Page 178)

วิถีโกลบอลแบรนด์

บมจ.ทียูเอฟต้องใช้เวลากว่า 20 ปี เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง หลังจากอยู่เบื้องหลังรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเป้าหมายปั้นแบรนด์องค์กร TUF ให้ติดตลาดโลก ความใฝ่ฝันของ บมจ.ทียูเอฟที่จะมีแบรนด์เป็นของตนเอง ของไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ มีมานานเท่ากับช่วงเวลา ทำงานของเขา แม้ว่าปีนี้จะมีอายุ 77 ปีแล้วก็ตาม อาหารทะเลแช่แข็งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยบริษัทรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เป็นสิ่งที่ไกรสรคาใจมานาน และพยายาม แสวงหาหนทางเพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเองในตลาดโลก แม้ว่า บมจ.ทียูเอฟจะมีแบรนด์จำหน่ายสินค้าในประเทศบ้างแล้วก็ตาม เช่น ฟิชโช่ (fisho) ซีเล็ค (sealect) และอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้งยี่ห้อนานามิ หรือดี-โกรว์ (d-grow) หรือ Aquafeed แต่ก็จำหน่ายอยู่ในประเทศ ในขณะที่ตลาดโลกต้องมีแบรนด์ใหม่ที่ต่างออกไป ทว่าหากจะเริ่มสร้างแบรนด์ใหม่โดยไม่มีใครรู้จักอาจเป็นหนทางที่ต้องใช้เวลาไม่น้อย ดังนั้นการเข้าซื้อกิจการบริษัทในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จอยู่ในตลาด ย่อมเป็นทางลัด จึงทำให้ทียูเอฟซื้อกิจการบริษัท Van Camp Sea-foods

Read More

TUF กระหายเติบโต

บมจ.ทียูเอฟ เป็นองค์กรเริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอีเล็กๆ ขยายไปเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่สามารถไปยึดพื้นที่ในตลาดโลกได้สำเร็จ จนทำให้บริษัทหาญกล้าวางเป้าหมายว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีรายได้ทะลุกว่า 2 แสนล้านบาท กว่า 35 ปี บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) โลดแล่นอยู่ในธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลที่มีรายได้หลักกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มาจากต่างประเทศ ทำให้วันนี้บริษัทอยู่ในระดับ TOP 5 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 20-25 เปอร์เซ็นต์ และเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ารายใหญ่ที่สุดในโลก การขึ้นไปอยู่ใน TOP 5 ตลาดโลกอาจเกินความคาดหมาย หากย้อนเวลาไปสู่รุ่นก่อตั้ง ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ประธานกรรมการ บมจ.ทียูเอฟ เพราะธุรกิจในช่วงเริ่มต้นเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ เป็นผู้ผลิตกุ้งสดแช่แข็งส่งออกไปฮ่องกงและมีลูกค้าต่างประเทศ รายหนึ่งกล่าวว่า “จากนี้ไปธุรกิจอาหารจะมีความสำคัญ” หลังจากนั้นธุรกิจของบริษัทเริ่มขยายรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิด กุ้ง ปลา หอย ปลาหมึก ในขณะนั้นมีโรงงานผลิตอยู่ 2 แห่ง

Read More

พลิกวิถี หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน

ว่ากันว่า คน “แปดริ้ว” หรือชาวจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นเป็นนักประดิษฐ์ เพราะไม่ว่าจะเป็น “ควายเหล็ก” หรือเครื่องยนต์ “เรือหางยาว” ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวไทยในอดีต ล้วนมีจุดกำเนิดมาจากที่นี่ กลุ่มเกษตรพัฒนา ผู้คิดค้นนวัตกรรม “รถเกี่ยวนวดข้าว” ก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่แปดริ้วเช่นกัน รถเกี่ยวนวดข้าวได้เข้ามาพลิกวิถีชาวนาไทย จากวลีดั้งเดิมที่ว่าต้อง “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” เวลาลงแขกช่วยกันเกี่ยวข้าว มาสู่ธุรกิจรับจ้างเกี่ยวข้าวโดยเครื่อง จักร ชาวนาสามารถลดกระบวนการทำนาให้ใช้ระยะเวลาสั้นลง ในทางตรงกันข้าม สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในปริมาณมากขึ้น “20 ปีที่ผ่านมา ถ้าประเทศไทยไม่ได้รถเกี่ยวข้าวจะไม่สามารถยืนเป็นอันดับ 1 ของผู้ส่งออกข้าวของโลกได้ เพราะเราไม่มีแรงงาน ไม่มีปัญญาที่จะทำให้ออกมาอย่างนี้ได้ เพราะรถเกี่ยวข้าวนี่แหละเป็นตัวหลักที่ทำให้ประเทศไทยสามารถยืนเป็น ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ได้ ขณะที่พม่าหรือเวียดนาม ก่อนหน้านี้ที่เขาไม่มีเครื่องมือยัง ใช้แรงคนอยู่ เขาจึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิต ได้” สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในกลุ่มเกษตรพัฒนา ให้ภาพกับ ผู้จัดการ 360 ํ จุดกำเนิดของกลุ่มเกษตรพัฒนา

Read More

เราเคยทำอะไรบ้างเพื่อรักษาแชมป์

สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในเครือเกษตรอุตสาหกรรม ถ้าเราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกข้าวนี่ ลำบากแน่นอน ต้องถามย้อนกลับว่า ที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรเกี่ยวกับการรักษาแชมป์บ้าง การที่เราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกนี่ เราก็ต้องดูแลเรื่องกระบวนการเพาะปลูกข้าวทั้งระบบ เรียกว่า... เราเคยไปดูไหมว่าชาวบ้านเขาปลูกข้าวกันอย่างไร เราเคยไปดูเรื่องกระบวนการจัดการเรื่องน้ำไหม เราเคยไปดูเรื่องเกี่ยวกับโรคพืชไหม เราเคยดูเรื่องของผลผลิตต่อไร่ไหม เคยมีใครเป็นเจ้าภาพในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บ้าง แม้แต่คนที่ทำพันธุ์ข้าว ทุกวันนี้ข้าวพันธุ์ถังละ 25 บาท เกวียนละ 2.5 หมื่นบาท ทำข้าวพันธุ์ตอนนี้ลำบาก ต้นทุนสูง ทำเรียบร้อยแล้วเงินไม่มี ต้องถือไว้ 45 วัน ถึงจะไปปลูกต่อได้ พอเงินไม่มี ก็ต้องยอมขาย ไร่ละ 8 พัน ยังไม่หักต้นทุนวัตถุดิบ เราจะเป็นแชมป์ เราเคยศึกษากระบวนการที่เราจะดูแลทั้งกระบวนการนี้อย่างไร แล้วเรามาบอกเราจะเป็นแชมป์ ที่ผ่านมาเราเป็นแชมป์ได้เพราะอะไร เพราะโชคช่วย แล้วเราก็ไม่เคยคิดจะรักษาแชมป์ นักมวยยังต้องฟิตซ้อม ต้องมีตารางฝึก ต้องอดอาหาร ต้องฝึก ต้องวิ่งวันละกี่กิโล

Read More

ทัศนะของคนค้าขายกับพม่า

“ในเรื่องการเกษตร หลายปีมานี้ผมนั่งถามตัวเอง แล้วก็ถามเพื่อนๆ ว่า พม่าเขาพัฒนาไปอย่างนี้ แม้ว่ายังต้องใช้เวลาแต่เขาก็พัฒนาไปเรื่อยๆ มีผลกับเรา เพราะว่าในตลาดข้าว มีซัปพลายเออร์อยู่แค่นี้ เราเป็นผู้หนึ่งที่ขายข้าวเข้ามาในตลาด แล้วตลาดก็อยู่แค่นี้ ค่อยๆ โต ไม่ได้โตมากหรอก วันนี้ในโลกนี้มีคนประมาณ 6 พันกว่าล้าน เกือบ 7 พันล้านคนที่ต้องกินข้าว ตอนนี้กลายเป็นว่าแต่ละประเทศที่เคยปลูกได้น้อยก็ปลูกได้มากขึ้น พอปลูกได้มากแล้วก็ขายเข้ามา ผมถามว่าเราจะเป็นที่ 1 ต่อไปนานที่สุดได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้มีเราเล่นอยู่เพียงคนเดียว คนอื่นเขาเข้ามาเล่นด้วย ในอุตสาหกรรมข้าวนี่นะ ในส่วนของโรงสีข้าวโดยหลักๆ แล้ว เราใช้เครื่องจักรของญี่ปุ่น ใช้ของซาตาเก้ แต่ตอนนี้หลายอย่างของเวียดนามดีกว่า หลายอย่างจีนดีกว่า เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว พัฒนาเร็ว วันนี้พอคุณคุยกันเสร็จ เขาก็บินไปถึงต้นทางแล้ว ฉันใดฉันนั้น พม่าก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในกรณีของเกษตรพัฒนา การส่งรถเกี่ยวนวดข้าวเข้าไปขายให้พม่าเท่ากับเป็นการช่วยคู่แข่งไหม ผมว่าไม่ เพราะถ้าเขาไม่ขาย คนอื่นก็ขาย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น วันนี้ต้องยอมรับว่าจีนเขามาแรงกว่าเรา ผมเลยดูว่า เมื่อทุกประเทศเขายกระดับพัฒนาขึ้นมาเรื่อย แต่ของเรานี่

Read More

เมื่อแชมป์เก่า มุ่งมั่นขอทวงตำแหน่งคืน

พม่ากำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในการยกระดับ “อุตสาหกรรมข้าว” ของตนเอง โดยมีเป้าหมายในการกลับคืนสู่ตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก และดูเหมือนปัจจัยหลายด้านก็กำลังเอื้อต่อย่างกาวของพม่าในเรื่องนี้ จอว์ จอว์ ทุนกำลังขะมักเขม้นศึกษาโครงสร้างรถเกี่ยวนวดข้าวล็อตใหม่ที่ญาติของเขา ดร.จอว์ จอว์ อ่อง (Kyaw Kyaw Aung) เพิ่งสั่งนำเข้ามาจากประเทศไทย เขาต้องเร่งทำความเข้าใจกลไกการทำงานของรถคันนี้ทั้งหมด เพื่อจะควบคุมและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับเจ้ารถคันนี้ จอว์ จอว์ ทุนจำเป็นต้องรู้จักรถเกี่ยวนวดข้าวคันนี้อย่างดี ก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวรอบใหม่ที่จะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อตอนต้นปีระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึง 21 เมษายน ที่ผ่านมา จอว์ จอว์ ทุนพร้อมกับทีมงานอีก 3 คน ประกอบด้วย จอว์ ซัวร์ วิน หรือจอซัว มินทเว หรือโกเป๊าะ และโซ ลวย อู หรือโซ ลวย ได้เดินทางมาฝึกงานที่โรงงานของบริษัทเกษตรพัฒนาอุตสาหกรรมในเครือเกษตรพัฒนาที่จังหวัดพิษณุโลก เกษตรพัฒนาคือกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถเกี่ยวนวดข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “แม่โขง” เจเนอเรชั่นใหม่

“ช่วงเวลา 10 ปี เป็นช่วงที่ได้ความรู้มากมาย เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน ความคิดต่างๆ เหมือนเรียนจบแล้วไปสมัครงานบริษัท มีเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มองย้อนกลับไป ผมสนุกกับการทำงาน ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ได้ทำงานใกล้ชิดกับคุณพ่อ ใกล้ชิดกับผู้บริหารอาวุโสหลายท่านร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อจนมาถึงผู้บริหารยุคใหม่ที่ผมมีโอกาสเชิญชวนได้ทำงานร่วมกัน ได้โอกาสเรียนรู้มากมาย เป็นคุณค่าของชีวิตของผมในช่วง 10 ปี" ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ 360 ํ ด้วยบุคลิกอ่อนน้อม สุภาพ ซึ่งได้รับถ่ายทอด “ยีน” จากเจริญ สิริวัฒนภักดี แบบ 100% วันนี้ฐาปนกลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มวัยไม่ถึงสี่สิบที่มีภาระบริหารบริษัทในเครือมากที่สุดถึง 106 บริษัท ดูแล 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ กลุ่มธุรกิจสุรา ทั้งสุราขาว สุราผสม

Read More

“โออิชิ” ยึดตู้แช่ ข้ามสายพันธุ์ ข้ามตลาด

ประมาณกันว่าคนไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคน เป็นลูกค้า "โออิชิ" มากกว่า 30 ล้านคน เป็นลูกค้าในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และเจาะเข้าถึงครอบครัว ประมาณกันว่าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcohol) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ถ้าไม่นับตลาดหลักๆ อย่างน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลังและโซดาแบ่งเป็นตลาดเครื่องดื่ม อัดลม 35,000 ล้านบาท เครื่องดื่มน้ำผลไม้เกือบ 10,000 ล้านบาท และเครื่องดื่มชาเขียวอีก 8,000 กว่าล้านบาท ทั้งสามกลุ่มคือเป้าหมายที่โออิชิกำลังเร่งส่งเครื่องดื่มข้ามสายพันธุ์จากฐานหลัก “ชาเขียว” เข้าสู่ตลาดที่มีเม็ดเงินเกือบ 60,000 ล้านบาท รออยู่และยังต้องการขยายสู่สินค้าไลน์ใหม่ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่บนชั้นตู้แช่ทั้งหมด เป็นเป้าหมายของ “ไทยเบฟ” ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อกิจการโออิชิกรุ๊ปเมื่อปี 2551 เพื่อรุกเข้าไปในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ที่เปรียบเสมือนบลูโอเชี่ยนตัวใหม่ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” นอกจากการมีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย การลดความเสี่ยงจากการปรับภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ในฐานะผู้ผลิต เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่แค่เหล้าเบียร์

Read More

Umbrella campaign น้ำ = เบียร์

“Umbrella campaign” ยุทธศาสตร์ใหม่ของเครื่องดื่มแบรนด์ “ช้าง” มีเบียร์เป็นกลุ่มสินค้าหลักในตลาดรวมที่มีเงินสะพัดมากถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดน้ำดื่มมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และตลาดโซดาอีกกว่า 5,000 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การทำตลาด 360 ํ ที่พลิกสถานการณ์ตามเงื่อนไขกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการคุมเข้มกิจกรรมผ่านการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาและดนตรี ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์หลักทางการตลาดของสินค้าเหล่านี้ไปเสียแล้ว การทุ่มเงินถึง 500 ล้านบาท เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ (Official Partnership) กับ 2 สโมสรฟุตบอลระดับโลก บาร์เซโลนาและเรอัล มาดริดระยะเวลา 3 ปี และงบทำการตลาด อีก 500 ล้านบาท ซึ่งไทยเบฟมีสิทธิ์นำทีม และโลโกของทั้งสองสโมสรมาใช้ในเชิงพาณิชย์กับผลิตภัณฑ์ของช้าง ต่อยอดจากทีมเอฟ เวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสัญญาผ่านมาแล้ว 7 ปีและต่อสัญญาอีก 2 ปี จึงเป็นความพยายามใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งดึงดูดกลุ่มลูกค้าแบบอยู่หมัด ภายใต้

Read More

จากนักปรุงสูตรลับสู่ “Mixologist”

อาณาจักรธุรกิจอันใหญ่โตของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มีจุดเริ่มจาก “สุราแม่โขง” เจริญเปลี่ยนจากคนขายของโชห่วยกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจเหล้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เส้นทางเริ่มต้นตั้งแต่การจัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งทำให้ได้รู้จักกับจุล กาญจนลักษณ์ ผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง และเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ จนสามารถยึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎรของกลุ่มเตชะไพบูลย์ ชื่อบริษัท “ที.ซี.ซี.กรุ๊ป” แท้จริงมาจากชื่อภาษาอังกฤษของทั้งสามคน คือ เถลิง จุลและเจริญ ว่ากันว่า เจริญสามารถกวาดเหล้าคู่แข่งทุกยี่ห้อ ไม่ว่าแม่โขง หงส์ทอง กวางทอง และแสงโสม เข้ามาอยู่ในกำมือ แต่สูตรการปรุง “แม่โขง” ยังเป็นสูตรลับที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ นอกจากจุล จนมาถึง “เดชพงศ์ กาญจนลักษณ์” ทายาทคนเดียวที่จบปริญญาโทวิศวกรรมจากสหรัฐอเมริกาและมารับช่วงต่อในการปรุงสูตรสุราให้ไทยเบฟเวอเรจ ความจริงแล้ว ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง ขณะที่จุลเป็นเพียงเภสัชกรที่ถูกขอยืมตัวมาจากกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านผลิตสุราในตอนนั้น ปี 2489 ประเสริฐออกจากโรงงานสุราบางยี่ขันพร้อมทั้งสูตรแม่โขงด้วย จนกลายเป็นเหตุพิพาทกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประเสริฐอ้างว่า สูตรแม่โขงเป็นของตัวเอง

Read More