Home > Cover Story (Page 155)

โอ ช้อปปิ้ง เปิดกลยุทธ์รุกตลาดโฮมช้อปปิ้ง

 “เราจะรู้ว่าลูกค้าเราคือใคร เราจะนำเสนออย่างง่ายๆ และให้ลูกค้าเข้าใจ โปรดักส์เรามากที่สุด”               คำกล่าวของ ซอง นัก เจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด หรือ โอ ช้อปปิ้ง ในงานแถลงผลความสำเร็จ หลังจับมือกับวาโก้ ผู้นำเบอร์หนึ่งตลาดชุดชั้นในไทย เปิดตลาดสินค้าแฟชั่นผ่าน ทีวี โฮมช้อปปิ้ง สร้างสถิติยอดขายสูงสุดในกลุ่มชุดชั้นใน โดยมียอดขายโตขึ้น 200% หลังจากบริษัทออกอากาศขายชุดชั้นในวาโก้มา  3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.57)              ในขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าทั้งหมดประมาณกว่า 300 รายการ โดยกลุ่มที่สามารถทำยอดขายได้สูงในช่วงครึ่งปีแรก คือกลุ่มชุดชั้นใน เครื่องสำอาง อาหารเสริม เครื่องประดับและแฟชั่นสตรี มีสัดส่วน 28%,

Read More

วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ ปรับฐาน

 ช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ปรับฐานการลงทุนครั้งใหญ่ เป็นก้าวจังหวะที่รวดเร็วฉับไว แต่ทุกเกมล้วนอยู่บนพื้นฐานการคิดคำนวณปัจจัยต่างๆ ซึ่งหวังผลทั้งระยะสั้นและการยึดกุมธุรกิจในระยะยาว ดีลแรก วิชัย ทองแตง ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ผนึกเป็นพันธมิตรกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดแนวรบธุรกิจเพย์ทีวี โดยลงนามสัญญาข้อตกลงการรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบัน  ทั้งนี้ บริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด จะเข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี

Read More

ซีทีเอช-แกรมมี่ เกมรุก “ผูกขาด-กินยาว”

 หลังจากดีเดย์ประกาศสงครามเพย์ทีวีพร้อมกัน 3 ค่ายเมื่อ 3 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นกล่องดาวเทียม GMM Z ของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, กล่อง Sun Box จากค่ายอาร์เอส หรือการปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ของ “เคเบิลไทยโฮลดิ้ง” ดึงขาใหญ่อย่าง “วิชัย ทองแตง” และ “ยิ่งลักษณ์ วัชรพล” เข้ามาเสริมทัพความแข็งแกร่งแปลงร่างเป็น “ซีทีเอช” แต่สุดท้ายได้รับบาดเจ็บถ้วนหน้า จนต้องพลิกสถานการณ์เพื่ออยู่รอดและคืนชีพอีกครั้ง การประกาศความร่วมมือระหว่างบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด บริษัทลูกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบันผ่านวิธีแลกหุ้นระหว่างกัน คือ ซีทีเอช แอล

Read More

มหากาพย์ “เพย์ทีวี” วังวนของมิตรและศัตรู

 เส้นทางมากกว่า 20 ปี เปลี่ยนผ่านจากยุคธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกสู่สงครามกล่องเต็มรูปแบบ แท้จริงแล้วมีผู้เล่น “ขาใหญ่” และ “หน้าเดิม” อยู่ไม่กี่ราย เริ่มตั้งแต่ปี 2532 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จับมือกับ วิลเลียม ไลล์มอนซัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้บริหารบริษัท เคลียร์วิว ไวร์เลส จำกัด ก่อตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด หรือ “ไอบีซี” ไอบีซีคว้าสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก จากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยให้บริการผ่านคลื่น, บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (เอ็มเอ็มดีเอส) ผ่านระบบไมโครเวฟ และจานรับสัญญาณดาวเทียม เครือข่ายเคยู-แบนด์ ทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2532 เป็นเวลา 20 ปี จนถึงวันที่ 16 เม.ย. 2552 และมีการขยายระยะเวลาสัมปทานอีก

Read More

เลาะริมตลิ่งเจ้าพระยา แลนด์แบงก์สู่คอมมูนิตี้มอลล์

 ย้อนหลังไปราว 6-7 ปีที่แล้ว การเดินทางจากจังหวัดนนทบุรีมายังกรุงเทพฯ เส้นทางทางน้ำถือเป็นเส้นทางที่กำหนดเวลาได้แน่นอนกว่าทางบก ที่ต้องเสี่ยงเจอกับปัญหาการจราจรติดขัด หรือมลพิษจากไอเสียรถ เรือด่วนเจ้าพระยาคือหนึ่งในตัวเลือกอันดับแรกที่แม้จะไม่รวดเร็วเท่าพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และล้อยาง แต่เสน่ห์สองข้างทางริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ชวนมองตลอดเส้นทาง ช่วยลดความน่าเบื่อในการเดินทางลงได้เยอะ บ้านเรือนไม้ริมน้ำสีขาว สีฟ้า ที่ยกพื้นสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมเวลาที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่งทำกิจวัตรประจำวันกันนอกชาน ยิ่งเชิญชวนให้อยากจะเข้าไปสัมผัสประสบการณ์หรือมีบ้านริมน้ำกับเขาบ้าง ทิวทัศน์ริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งไม่ทำให้อารมณ์ครึ้มใจจางลงได้เลยแม้จะถูกน้ำกระเซ็นใส่หน้ายามที่เรือกระทบคลื่นที่เกิดจากเรือบรรทุกสินค้าที่แล่นสวนไป  ปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากทั้งกลุ่มทุนทั้งในและนอกประเทศ ทั้งทุนใหญ่ทุนเล็ก จะส่งผลให้วิวทิวทัศน์ริมตลิ่งเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงไปบ้าง บางพื้นที่จะเปลี่ยนแปลงจากบ้านไม้ไปสู่อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ในบางพื้นที่ถึงจะมีการพัฒนาแต่ก็ยังพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะรักษาสไตล์เดิมๆ เอาไว้  การแข่งขันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ริมแม่น้ำขนาดใหญ่ นอกจากทุนที่หนาแล้วยังอาจจะต้องอาศัยโครงข่ายทางธุรกิจในการดำเนินการ และเมื่อสู้ราคาที่ดินไม่ไหว ทำให้ต้องมองย้อนกลับมายังพื้นที่ริมน้ำขนาดเล็กที่เป็นแลนด์แบงก์ดูจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่ไม่น้อย เมื่อทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาอย่าง ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุภัทราเรียลเอสเตท จะปั้นท่ามหาราชที่เดิมทีเป็นท่าเรือเอกชนรายเดียวบนเกาะรัตนโกสินทร์ ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ที่ชื่อว่า “ท่ามหาราช”  บนเนื้อที่ 3 ไร่ของโครงการนี้ ถูกออกแบบในสไตล์โคโลเนียลฟิวชั่น แบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 7 อาคารและจับเอาไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่มีความผูกพันกับสายน้ำมาใส่เอาไว้ในตลาดติดแอร์แห่งนี้ ตั้งแต่ร้านอาหารเครื่องดื่ม แฟชั่นและความงาม ตลาดพระ มวยไทย พื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะ

Read More

ไพร์มแอเรียบูม ดันราคาที่ดินริมน้ำสูง 300 เปอร์เซ็นต์

 แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำที่เปี่ยมไปด้วยตำนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝั่งริมแม่น้ำเป็นที่ตั้งวังของเจ้านายพระองค์ต่างๆ และวัดวาอาราม หรือสถานที่ราชการสำคัญ แผนพัฒนาของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นโครงการสะพานเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ อีกทั้งแผนการพัฒนาของภาคธุรกิจเอกชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะจัดทำ “แผนแม่บทวิสัยทัศน์แห่งแม่น้ำเจ้าพระยา” โดยมีไอคอนสยามเป็นแม่งาน ซึ่งโครงการที่กำลังดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2555-2563 รวมกันแล้วมีมูลค่าถึง 142,000 ล้านบาท ระยะทางยาวกว่า 10 กิโลเมตร ของริมแม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ทำเลริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลับมาเป็นที่สนใจของกลุ่มนักลงทุนและดึงดูดผู้อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่กลุ่มทุนให้ความนิยม จนกระทั่งซัปพลายเริ่มลดลง ส่งผลให้ราคาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ปรับตัวสูงขึ้นถึง 300 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 3 ปี นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำที่มีศักยภาพเริ่มลดลง ทำให้ราคาที่ดินบริเวณนั้นปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งราคาที่ดินฝั่งธนบุรีช่วงปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่ประมาณ 110,000 บาทต่อตารางวา และราคาขยับเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วง

Read More

กินตามน้ำ เจ้าพระยา…เสน่ห์ที่ขายได้

 เจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชาวสยามมานานหลายชั่วอายุคน ผู้คนหลายยุคหลายสมัยต่างได้รับประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ ตั้งแต่ใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร เส้นทางคมนาคม ขนส่ง หรือท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ  ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บ้านเรือนไม้ที่นิยมปลูกกัน เพราะความสะดวกในการเดินทางและช่วยสร้างความร่มรื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัย กาลสมัยที่เปลี่ยนไปกอปรกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและเทคโนโลยี ทำให้บ้านไม้ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ค่อยๆ เก่าและทรุดโทรมลงตามกาล ถูกแทนที่ด้วยอาคารปูนซีเมนต์สมัยใหม่ เสน่ห์แห่งสายน้ำที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลางอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาถูกนำมาเป็นจุดขายทางธุรกิจ ตั้งแต่ร้านอาหารริมน้ำ ร้านกาแฟ แหล่งชอปปิ้ง ไปจนกระทั่งอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม หรือโรงแรม การพัฒนาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กลุ่มทุนใหญ่เริ่มสยายปีกเกือบจะเต็มน่านน้ำ ต่างแข่งกันส่ง Big Project ฝังเสาเข็มลงบนผืนดินริมตลิ่งกันเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม คอนโดมิเนียม ชอปปิ้งมอลล์ การเติบโตของธุรกิจริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาหลายปี จนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ทางธุรกิจ ส่งผลพลอยได้เป็นระลอกคลื่น เริ่มจากเจ้าของที่ดิน บริษัทนายหน้าซื้อขายที่ดิน หรือนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ สถาปนิก และผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยบรรดานักลงทุนอ้างถึงความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการที่อยู่อาศัยพร้อมบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น  ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมย่อมเรียกผึ้งให้บินมาดอมดมดูดกินน้ำหวานได้ง่าย เทรนด์ใหม่ของตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ราคาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นหลายเท่าตัว  เมื่อนักลงทุนเริ่มยึดหัวหาดโปรเจกต์ขนาดเล็กจนถึงเมกะโปรเจกต์ ทยอยเติบโตแข่งกัน ตึกสูงใหญ่ระฟ้ากลายเป็นภูมิทัศน์ยามค่ำคืนคู่ไปกับสายน้ำที่ไหลไปทางเดียวกัน สิ่งปลูกสร้างที่มากขึ้นในเวลาไม่นาน ก่อให้เกิดชุมชนขนาดย่อมๆ ระดับไฮเอนด์ ธุรกิจอื่นๆ อย่างภัตตาคาร ร้านอาหาร กระทั่งศูนย์การค้าแนวราบ ก็ตั้งขบวนตามมาชนิดหายใจรดต้นคอ ความต้องการในปัจจัยสี่ของมนุษย์ทำให้เกิดช่องทางในการสร้างรายได้มากมาย ความหอมหวานจากผลกำไรที่จะตามมา ทำให้ง่ายที่จะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจ

Read More

BEAUTY ทุ่มงบ ชิงตลาดความงามแสนล้าน

 ธุรกิจความงามในประเทศไทย เติบโตควบคู่กับความสวยงามที่เพิ่มขึ้นของหญิงสาว ในขณะที่เครื่องสำอางกลายเป็นสินค้าที่มีความจำเป็น กำลังซื้อผู้บริโภคไม่มีถอย แม้จะประสบภาวะเศรษฐกิจจากปัจจัยต่างๆโดยเฉพาะด้านการเมือง แต่กระนั้นก็ไม่อาจหยุดความอยากสวยอยากงามได้            จากพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ มาก จนกลายเป็นสินค้าจำเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง และมีความถี่ในการซื้อ ตลอดจนความหลากหลายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อบุคคล            นพ.สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) (BEAUTY) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิว ได้เปิดเผยว่า ตลาดเครื่องสำอางมีมูลค่าการตลาดประมาณ125,000 ล้านบาท และคาดว่า ในปีนี้ ตลาดมีแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 7-8% โดยตลาดเครื่องสำอางช่วงครึ่งปีหลัง จะมีความคึกคักมาก และเป็นช่วงไฮซีซันของตลาดเครื่องสำอาง          “แม้ในช่วงครึ่งปีแรกภาวะเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัว และมีผลกระทบให้ยอดขายในหลายภาคธุรกิจมีการปรับลดลงบ้าง แต่ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ BEAUTY ยังคงเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้และอยู่ในระดับที่สูงกว่าภาคธุรกิจเครื่องสำอางโดยรวม ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มศักยภาพด้านการขายให้กับบุคลากร การปรับกลยุทธ์ทางการขายของ SHOP

Read More

ซูเปอร์มาร์เก็ตความงาม ธุรกิจต่อยอด Beauty

 สำนวนไทยที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” อาจตอบโจทย์ตลาดธุรกิจความงามไทยได้ดีว่า เพราะเหตุใด ตลาดความงามบ้านเรา จึงมีการเติบโตที่สูง วิกฤตใดๆ ก็ไม่ส่งผลให้ธุรกิจความงามสะทกสะท้านได้ ตราบใดที่คนยังให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงาม   ท่ามกลางการแข่งขันอย่างสูงของผู้ประกอบการ และหนึ่งในนั้นคือ บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) โดยการบริหารของ นพ. สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) จากหมอเชียงใหม่ที่หันมาเอาดีด้านการขายเครื่องสำอางจนร่ำรวย ธุรกิจที่เติบโตอย่างโตเนื่อง จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น และก้าวเข้ามาเป็นบริษัทมหาชนในปี 2555 ด้วยทุนจดทะเบียน 300,000,000  บาท นพ.สุวิน จบแพทย์เชียงใหม่ปี 2534 รุ่นที่ 28 แต่หันมาเอาดีทางด้านขายเครื่องสำอางจนร่ำรวย โดยในช่วงปี 2541-2542 เปิดร้านเครื่องสำอางเล็กๆ ชื่อว่า “นีโอ” ย่านสยามสแควร์ ก่อนจะขึ้นห้างมาบุญครองใช้ชื่อใหม่ “โมนา” และเปลี่ยนชื่อร้านอีกครั้งเป็น “คอสเมดา” แต่กิจการก็ยังไม่ได้หวือหวาเป็นที่จับตามองมากนัก จุดพลิกผันสำคัญเกิดขึ้นใน

Read More

ตลาดความงาม ที่ไม่เคยหยุดสวย

 ตลาดเครื่องสำอาง ตลาดที่มีการแข่งขันสูง จากมูลค่าการตลาดกว่าหนึ่งแสนล้านบาท แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจหรือการเมืองจะเป็นอย่างไร ก็ไม่สามารถฉุดหรือส่งผลต่ออัตราการเติบโตของตลาดความงามลดลงได้ หากแต่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคมองว่าสินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันไปแล้ว และถือเป็นเรื่องปกติถ้าจะกล่าวว่า ตลาดกลุ่มนี้โตกว่าจีดีพีของประเทศ  ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ อาจจะมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้บริโภคคำนึงถึงบุคลิกภาพของตนมากขึ้น, สินค้ามีนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น, การเติบโตของสังคมเมือง ทำให้แรงซื้อมีมากขึ้น, การเติบโตของ Social Network, การที่ผู้บริโภคเน้นสินค้าหลากหลายขึ้น โดยยึดติดแบรนด์น้อยลง และมุ่งเน้นไปทางด้านคุณภาพและราคามากขึ้น และด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจเครื่องสำอางมีการเติบโตไปเรื่อยๆ ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงของผู้ประกอบการ 7-8 ราย เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเบอร์หนึ่งอย่าง Oriental  Pincess, ตามด้วย Cute Press, BEAUTY, KARMARTS เป็นต้น โดยทุกค่ายต่างต้องทุ่มงบลงทุนในด้านต่างๆ แบบครบวงจรพร้อมงัดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ทั้งด้านราคา การตลาด เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่ง ไม่ว่าทั้งแบรนด์ไทยหรือแบรนด์ต่างชาติที่ทะลักเข้ามาช่วงชิงตลาดในไทย  ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์สร้างความงาม (Make up) สวยภายนอกยังมีแนวโน้มเติบโต ในขณะเดียวกันสวยภายใน กลุ่ม skin care

Read More