Home > สุภัค หมื่นนิกร

สุภัค หมื่นนิกร กว่าจะเป็น Siam Steak สูตรสยามเบอร์เกอร์

“คุณแม่ผมสร้างแฮมเบอร์เกอร์ไทยเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว เวลานั้นคนไทยไม่รู้จักแฮมเบอร์เกอร์เลย เพราะเป็นเมนูอยู่ในโรงแรมห้าดาวมาตลอด อินเตอร์แบรนด์เพิ่งเข้ามาเมื่อสามสิบปีที่แล้ว แต่ห้าสิบปีที่แล้วคุณแม่ผมวางแฮมเบอร์เกอร์ในซูเปอร์มาร์เกต ปรากฏว่าขายไม่ได้ เพราะคนไทยไม่รู้จัก!!” สุภัค หมื่นนิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามอินเตอร์ฟาร์ม จำกัด ผู้บริหารกิจการ “สยามสะเต๊ค” (Siam Steak) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ย้อนเส้นทางการบุกเบิกตลาดครั้งแรกของ แจ่มจันทร์ หมื่นนิกร ก่อนปลุกปั้นแบรนด์ฟาสต์ฟูดสายพันธุ์ไทยและยืนหยัดฝ่าทุกมรสุมจนมาถึงปัจจุบัน จริงๆ แล้วเดิมแจ่มจันทร์เป็นนักแปลภาษาให้คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย หรือจัสแมกไทย (JUSMAGTHAI) ซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพในช่วงสงครามเวียดนาม และสังเกตเห็นว่า ทหารอเมริกันนิยมรับประทานเบอร์เกอร์เป็นอาหารหลักเกือบทุกมื้อ ขณะที่เบอร์เกอร์เป็นเมนูหารับประทานยากมากในประเทศไทย ยังไม่มีเชนร้านเบอร์เกอร์อินเตอร์แบรนด์เข้ามาบุกตลาด เธอจึงเห็นช่องทางการตลาด เกิดไอเดียอยากทำธุรกิจเบอร์เกอร์ อยากให้คนไทยรู้จักและลิ้มลองความอร่อยของเบอร์เกอร์รสชาติแบบไทยๆ แจ่มจันทร์ตัดสินใจขอเรียนวิชากับเชฟฝรั่งในโรงอาหารของจัสแมกไทย เพื่อปรุงสูตรเบอร์เกอร์ของตนเอง ใช้เวลา 1 ปีเต็ม พัฒนาเนื้อแพตตีใส่ในขนมปังเบอร์เกอร์ ตั้งชื่อว่า Siam Steak ทดลองวางขายตามซูเปอร์มาร์เกตต่างๆ แต่ขายแทบไม่ได้ “หลังจากวันนั้น คุณแม่ผมปิดห้องนั่งคิดอยู่ 3 วัน เกิดไอเดียว่า

Read More

สยามสะเต๊ค บุกช็อปโฉมใหม่ เร่งยอดเอาต์เล็ตพุ่งพรวด 30%

ท่ามกลางสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่แข่งขันดุเดือด “สยามสะเต๊ค” (Siam Steak) แบรนด์ฟาสต์ฟูดเก่าแก่ในรั้วโรงเรียนและมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยุคเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน เดินหน้าปรับกลยุทธ์รอบด้าน เพื่อรุกตลาดต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ก่อนเปิดศึกปูพรมสาขาครั้งใหญ่ในปีหน้า สุภัค หมื่นนิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามอินเตอร์ฟาร์ม จำกัด ผู้บริหารธุรกิจ “สยามสะเต๊ค” เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสยามสะเต๊คตั้งเป้าหมายแรกจะเร่งยอดขายของแต่ละเอาต์เล็ต เพราะวันนี้บริษัทมีธุรกิจ 2 โมเดลหลัก โมเดลแรกอยู่ในโรงเรียน ทั้งสาขาของบริษัทและสาขาแฟรนไชส์ ซึ่งแม้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนอาจลดลง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน คือ เด็กนักเรียนไม่ค่อยได้อาหารในปริมาณและคุณค่าที่เหมาะสม ซึ่งสยามสะเต๊คมีจุดเด่นตรงนั้น บริษัทจึงเร่งทำการตลาดในโรงเรียนมากขึ้น กลุ่มที่ 2 อยู่นอกโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา โดยมีร้านแฟรนไชส์ตามต่างจังหวัดและส่วนใหญ่เจอปัจจัยเศรษฐกิจซบเซา ขณะที่จำนวนคนในเทรดโซนบริเวณนั้นๆ ยังรู้จักแบรนด์น้อย ดังนั้น ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากกว่าการเปิดสาขา “การทำงานมีการปรับหลายส่วน ทั้งกลยุทธ์ทางการตลาด 1. กลยุทธ์ด้านออนไลน์ 2. การปรับ Corporate Image ภาพลักษณ์ใหม่

Read More

ปิด “ไดโดมอน” ธุรกิจร้านอาหารเสี่ยงตาย

การปิดแบรนด์ปิ้งย่างระดับตำนานยุค 90 “ไดโดมอน (Daidomon)” ถือเป็นสัญญาณเตือนผู้เล่นในสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร เรื่องการวางเกมและกลยุทธ์ทุกช่องทาง เพื่อชี้ขาดว่า แบรนด์ไหนจะอยู่รอดหรือเจ๊ง!! หากย้อนเส้นทางการเติบโตของไดโดมอน เริ่มต้นกิจการเมื่อปี 2526 โดยปักหมุดร้านแรกในสยามสแควร์ซอย 3 จากนั้นขยายสาขาย่านเอกมัย (สุขุมวิท 63) และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ซึ่งช่วงเวลานั้นได้รับความนิยมมาก จนมีการร่วมทุนกันของยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มสหพัฒนพิบูล เอ็มเค เรสโตรองต์ และไมเนอร์ฟู้ด ตั้งบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด เพื่อประกอบกิจการร้านอาหารปิ้งย่าง แบรนด์ “ไดโดมอน” เมื่อปี 2533 วันที่ 27 เมษายน 2544 บริษัทแปรสภาพบริษัทเป็น บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ไดโดมอนทยอยปิดสาขาเนื่องจากผลประกอบการขาดทุน และขายกิจการ 23 สาขาให้ บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่

Read More