Home > สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

NIA เผยงานวิจัยเพื่อสุขภาพและสุขภาวะ โอกาสสตาร์ทอัปสร้างนวัตกรรมรับมือ

เศรษฐกิจและสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างไม่อาจเลี่ยง จากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมามักจะสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบบริการสุขภาพของประเทศ และอย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคนของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คน อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศรษฐกิจด้านสุขภาวะ GenZ ตอบสนองต่อสินค้าและบริการดิจิทัลด้านสุขภาพสูงกว่าคนกลุ่มอื่นถึง 2 เท่า และยินดีแลกเปลี่ยน เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพเชิงลึกของตนเองกับส่วนลดบริการด้านสุขภาพมากขึ้น “ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลากหลายประการ โดยข้อมูลจากคลังข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานถึงความเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช ซึ่งพบว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 จากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช 1.3 ล้านคนในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 2.4 ล้านคน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบได้ในทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวล อีกทั้งยังป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำร้ายตัวเอง”

Read More

NIA-TED Fund หนุน “ฮารุนะ” สตาร์ทอัปไทยไปไกลระดับยูนิคอร์น

Global Wellness Institute (GWI) คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพทั่วโลกจะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 230 ล้านล้านบาท และหากย้อนไปปี 2562 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 4.9 ล้านล้านดอลลาร์ ปี 2563 มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 145 ล้านล้านบาท นอกจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและธุรกิจสปาที่เป็นตัวเอกในอุตสาหกรรมนี้ ปัจจุบันการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นการดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเองในลักษณะการป้องกัน สร้างภูมิต้านทาน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรค และยังเป็นการฟื้นฟูความเสื่อม โพรไบโอติก คือ อีกหนึ่งตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโต ปัจจุบันตลาดโพรไบโอติกมีมูลค่าสูงถึง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ยังมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2568 โดยมีอัตราความเจริญเติบโตต่อปีสูงถึง 8.3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตลาดโพรไบโอติกในไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.1 พันล้านบาทต่อปี สตาร์ทอัป ถูกกำหนดเป็นแผนสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับชาติ มีการผลักดันกฎหมยและสิทธิประโยชน์ให้เอื้อต่อผู้ทำธุรกิจ

Read More