Home > ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย

นักวิจัยชี้ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวภาคเหนือทำไม่ได้ ห่วงการรับมือสึนามิยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้น ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้ ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร

Read More

วสท.ยกระดับมาตรฐานอาคารต้านแผ่นดินไหว ลดภัยพิบัติ-สังคมปลอดภัยจากงานวิจัยสกสว.

วสท.โดยคณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม จัดสัมมนารับกฎกระทรวง และ มยผ.ที่ปรับปรุงใหม่จากข้อมูลงานวิจัย สกสว. หวังสร้างเสริมนวัตกรรมในการออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยมั่นใจ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในภาวะฉุกเฉิน หลังจากมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302-52) ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2552 และได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ หลายครั้ง ส่งผลต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบกับมีข้อมูลแผ่นดินไหวและผลการศึกษาทางธรณีวิทยาเพิ่มเติม กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้มอบหมายให้คณะผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวทำการศึกษาเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และข้อมูลในปัจจุบัน โดยมาตรฐานฉบับใหม่ล่าสุด คือ มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61 ล่าสุด วสท.ได้จัดการอบรม “กฎกระทรวงและมาตรฐาน มยผ. การออกแบบบบบบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่” นำทีมโดย ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. ซึ่งกล่าวว่าการปรับปรุงครั้งนี้มุ่งเน้นวิธีการวิเคราะห์การออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวให้สมบูรณ์มากขึ้นโดยเน้นประเด็นหลักที่สำคัญคือ ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมทั่วประเทศ ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พิจารณาแอ่งดินลึก ข้อกำหนดในการใช้โครงสร้างแบบความเหนียวจำกัด ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผนังอิฐก่อ การออกแบบฐานราก การให้รายละเอียดเหล็กเสริม วิธีการออกแบบโครงสร้างด้วยวิธีสเปกตรัม ผลตอบสนองและการปรับปรุงด้านอื่น ๆ “มาตรฐานวิชาชีพจะต้องปรับปรุงเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ซึ่งคณะวิจัยได้นำประสบการณ์มาทบทวนใหม่ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีมากขึ้น การสำรวจทำให้เราสามารถประเมินการสั่นสะเทือนได้ดีขึ้น และนำมาปรับข้อกำหนดการออกแบบใหม่ นอกจากนี้ผลการวิจัยก็ชี้ว่ามาตรฐานของต่างประเทศไม่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย” ด้าน รศ.

Read More