Home > ดิจิทัลวอลเล็ต

วัดพลังบิ๊กสะดวกซื้อ ชิงพื้นที่โกยดิจิทัลวอลเล็ต

การเปิดช่องให้ “ร้านสะดวกซื้อ” เข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยหยิบยกตัวอย่าง “เซเว่นอีเลฟเว่น” ทำให้ตลาดคอนวีเนียนสโตร์เกิดอาการคึกคัก เตรียมความพร้อมรองรับบิ๊กโปรเจกต์ของรัฐบาล ซึ่งประกาศจะเปิดให้ร้านค้าขึ้นทะเบียนในไตรมาส 3 และให้ประชาชนกว่า 50 ล้านคน เริ่มจับจ่ายไม่เกินไตรมาส 4 ปีนี้แน่นอน ขณะเดียวกัน แม้มีเสียงครหาถึงการออกแบบโครงการเอื้อธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเจ้าสัว แต่รัฐบาลอ้างว่า ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” มีสาขาทั่วประเทศราว 14,500 แห่ง แต่เป็นการลงทุนของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพียงครึ่งหนึ่ง ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ และเมื่อเทียบกับจำนวนร้านค้าขนาดเล็ก ร้านค้าย่อยจากฐานตัวเลขในโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลที่ผ่านมา ประมาณ 1.2 ล้านร้าน ตัวเลขจึงแตกต่างกันมาก แน่นอนว่า หากวัดพลังเทียบฟอร์มแบรนด์คอนวีเนียนสโตร์ทั้งหมดแล้ว เซเว่นอีเลฟเว่นถือป็นเบอร์ 1 มีเครือข่ายร้านทั้งสิ้น ณ ปี 2566 รวม 14,545 สาขา อยู่ในกรุงเทพฯ 6,235 สาขา และต่างจังหวัด 8,083

Read More

1 ปี ดันดิจิทัลวอลเล็ต 50 ล้านคน 5 แสนล้าน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ไม่ใช่แค่ความตื่นเต้นเมื่อพรรคเพื่อไทยเปิดเวที  ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน ตอน ONE TEAM FOR ALL THAIS : หนึ่งทีม เพื่อไทยทุกคน’ เผยโฉม 3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และ นายชัยเกษม นิติสิริ แต่ไฮไลต์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในสมรภูมิเลือกตั้งปี 2566 คือ การประกาศนโยบายเร้าใจชาวบ้าน แผนเติมเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้คนไทยใช้ซื้อของในชีวิตประจำวันจากร้านค้าในชุมชน เพื่อหมุนเวียนเม็ดเงินตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ ขณะที่รัฐบาลจะได้รายได้กลับคืนมาในรูปแบบของภาษี เวลานั้นพรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายให้คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital  Wallet) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 6 เดือน เพื่อจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิต ยกเว้นสินค้าอบายมุขและไม่สามารถซื้อของบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ แต่ใช้จ่ายได้เฉพาะกับร้านค้าชุมชนและบริการในรัศมี 4

Read More

ลุ้นผลลัพธ์ดิจิทัลวอลเล็ต เอกชนเร่ง “ยิ่งเร็ว ยิ่งดี”

10 เมษายน 2567 หลายฝ่ายคาดหวังทันทีที่เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) บอร์ดชุดใหญ่ ประกาศสิ้นสุดการรอคอย โดยวางไทม์ไลน์เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท จะส่งตรงถึงประชาชน 50 ล้านคนภายในไตรมาส 4 แน่นอน นายกฯ เศรษฐายังยืนยันผลบวกการอัดฉีดเม็ดเงินใส่ระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและกระจายทุกพื้นที่ จะเกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสการประกอบอาชีพของประชาชน ภาคธุรกิจจะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้ามากขึ้น นำไปสู่การจ้างงานสร้างอาชีพและเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาษี เป็นการวางหลักฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้ประเทศเตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ แน่นอนว่า ทั้งหมดคือโจทย์ที่รอผลลัพธ์ จะเกิดขึ้นจริงตามเป้าหรือไม่ ทั้งนี้ ก่อนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท เคยมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก่อนแล้วหลายโครงการในยุคสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (ปี 2560 - 2561) ชิมช้อปใช้ (ปี 2562) เราไม่ทิ้งกัน (ปี 2563)

Read More