Home > มัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ

ทุนใหญ่แห่ยึด รร.นานาชาติ “โสภณพนิช” ดัน “โชรส์เบอรี” บุกจีน

บรรดาทุนใหญ่ เศรษฐีตระกูลดัง แห่กระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีนักเรียน 30,000-40,000 คน และมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุดจากจำนวนใบจองที่นั่ง “Waiting List” ในโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดังอีกนับร้อยรายชื่อในแต่ละแห่ง แม้ค่าเล่าเรียนจะสูงกว่า 500,000-600,000 บาทต่อปี บางแห่งสูงเฉียดล้านบาทต่อปีก็ตาม ประมาณกันอีกว่า แม้ก่อนหน้านี้ โรงเรียนนานาชาติหลายแห่งยอมถอดใจ เลิกกิจการ เพราะไม่สามารถแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ล่าสุดยังมีโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมากถึง 200 โรง และเชื่อว่าจะเปิดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ผู้ปกครองต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของโรงเรียนทั่วไป ชาลี โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ กล่าวว่า ตลาดโรงเรียนนานาชาติยังมีการเติบโต แม้มีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ปกครองเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะเห็นชัดเจน เมื่อมีโรงเรียนนานาชาติระดับกลางหลายแห่งเลิกลงทุน เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน หลักสูตร ครูอาจารย์ และชื่อเสียงของโรงเรียนแม่จากต่างประเทศ ชาลีเปรียบเทียบกับ “โชรส์เบอรี” ซึ่งกลุ่มโสภณพนิช ตัดสินใจร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ประเทศอังกฤษ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000

Read More

ธุรกิจการศึกษา “บูม” กลุ่มทุนแห่ขยาย ต่อยอดอาณาจักร

ธุรกิจการศึกษาพุ่งติดทอปเท็นดาวรุ่งในปี 2560 โดยประเมินเม็ดเงินคร่าวๆ มูลค่ากว่าแสนล้านบาทและมีกลุ่มทุนแห่ลงทุนสินทรัพย์อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มแข่งขันกันสูงจากการสอบวัดระดับของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทย ขยายฐานการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยสำรวจเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาเฉพาะช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ในระดับก่อนอุดมศึกษาจากผู้ปกครองทั่วประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโต 2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท แยกเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ อีก 800 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการศึกษาที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 302 ราย มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี

Read More