Home > ธุรกิจค้าปลีก (Page 6)

ค้าปลีก ดิ้น-สู้-ฟัด เร่งชิงพื้นที่เสริมจุดขาย

 ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการค้าปลีกไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่ามีความน่าสนใจและสะท้อนภาพการแข่งขันในธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นและทวีความหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปทุกขณะ การประกาศแผนการลงทุนของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่จะใช้เงินลงทุนจำนวนมากถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาทในการสร้าง Shopping District เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามในการช่วงชิงพื้นที่และสร้างจุดขายครั้งใหม่ ท่ามกลางการเปิดแนวรุกของคู่แข่งขันหลักจากเครือเซ็นทรัลที่ดำเนินต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การขยายตัวของเดอะมอลล์ กรุ๊ป และเครือเซ็นทรัลเป็นกรณีเปรียบเทียบที่น่าสนใจศึกษาอย่างมาก เพราะในขณะที่เครือเซ็นทรัลโดย เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN และเซ็นทรัลรีเทลคอร์ป CRC จะดำเนินมาตรการเชิงรุกด้วยการขึงตรึงพื้นที่ในเขตย่านที่มีศักยภาพสูงในทุกทิศทางของเมือง ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า พระราม 2 พระราม 3 แจ้งวัฒนะ รามอินทรา รัตนาธิเบศร์ รังสิต พระราม 9 รวมถึงกระจายตัวสู่หัวเมืองต่างจังหวัดอย่างกว้างขวาง เดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งจากเดิมเคยถูกปรามาสว่าเป็น “ห้างท้องถิ่นหัวเมือง” กลับพยายามเน้นภาพลักษณ์การเป็นผู้ประกอบการศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ หลังจากประสบความสำเร็จในการเบียดแทรกเข้ามาลงทุนในย่านสุขุมวิทด้วย ดิ เอ็มโพเรียม และตอกย้ำด้วยการร่วมลงทุนในสยามพารากอนในเวลาต่อมา ก่อนที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข่าวเกี่ยวกับการขยายการลงทุนใหม่ๆ ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป จะห่างหายไปจากหน้าสื่อหลัก ท่ามกลางความพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและการเสริมสร้างพันธมิตรธุรกิจ ก่อนที่จะเปิดแผนการลงทุนครั้งใหม่เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน พัฒนาการทางความคิดของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่สะท้อนออกมาตามแผนการลงทุนครั้งใหม่นี้

Read More

“เจริญ” รุกสงครามค้าปลีก ปั้น “โอเกนกิ-บีสมาร์ท”

 อาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี กำลังรุกขยายตัวอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการบุกเข้าสู่สมรภูมิตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดตัวธุรกิจดรักสโตร์สไตล์ญี่ปุ่น “โอเกนกิ” (OGENKI) และเร่งปูทางลุยคอนวีเนียนสโตร์ “บีเจซีสมาร์ท” (BJC SMART) หลังจากยึดเครือข่าย ทั้งศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างกลุ่มพันธ์ทิพย์พลาซ่า ดิจิตอลเกตเวย์ เกตเวย์เอกมัย และเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์ คอมมูนิตี้มอลล์ริมคุ้งน้ำเจ้าพระยาที่ใหญ่ที่สุดแม้ทิศทางของ “โอเกนกิ” ภายใต้การบริหารของบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ในเครือทีซีซีกรุ๊ป ยังเป็นการซุ่มขยายสาขา เนื่องจากอยู่ในช่วงทดลองตลาด เพื่อสรุปจุดเหมาะสมที่สุด ทั้งรูปแบบและขนาดร้าน ทำเล กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สินค้า และกลยุทธ์ต่างๆ แต่ถือเป็นการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากมีคู่แข่งรายใหญ่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นสองยักษ์เจ้าเก่า “บู๊ทส์และวัตสัน” ร้านเพรียวของกลุ่มบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ โปรเจ็กต์เอ็กซ์ตร้าของกลุ่มซีพีออลล์ ที่ปูพรมไปตามร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และล่าสุด ร้านซูรูฮะของเครือสหพัฒน์ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรง เพราะชูจุดขายดรักสโตร์สไตล์ญี่ปุ่นเหมือนกันร้านโอเกนกิสาขาแรกในย่านอโศกอยู่ห่างจากร้านซูรูฮะไม่กี่เมตร การจัดวางสินค้าเน้นกลุ่มสุขภาพและความงาม มีเภสัชกรและมุมตรวจสุขภาพ รวมทั้งเน้นบริการแบบ “One Stop Service” ไม่แตกต่างกัน นั่นจึงกลายเป็น

Read More