Home > ธุรกิจค้าปลีก (Page 5)

2559 จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย จุดจบไฮเปอร์มาร์เก็ต?

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจไทยในช่วงปลายปี 2558 ต่อเนื่องสู่ศักราชใหม่ปี 2559 นอกจากจะปกคลุมด้วยเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเชื่อว่าอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในระยะถัดจากนี้ไม่น้อยแล้ว ธุรกิจค้าปลีกไทยก็คงเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจติดตามและกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ความเป็นไปของธุรกิจที่เคยเชื่อกันว่าเป็นจักรกลสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้นนี้ถึงคราเสื่อมมนตร์เลยทีเดียว เพราะหากประเมินจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2556 ซึ่งธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่งมีมูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 13.4 รองจากภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 38.1 และมีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 3 รองจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม หรือมีจำนวนแรงงานกว่า 4 ล้านราย จากการจ้างงานของคนไทยอยู่ที่ 38 ล้านคนแล้ว ภาวะเศรษฐกิจไทยและธุรกิจค้าปลีกของไทยในช่วงเวลานับจากนี้อาจเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงหรือพ้นจากยุครุ่งเรืองไปแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์และคาดการณ์จำนวนไม่น้อยจะเชื่อว่าสถานการณ์โดยรอบจะเอื้อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี หากแต่สถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นอยู่จริงเบื้องหน้ากลับพบว่า ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมในปี 2558 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 3.2 จากเดิมที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 5 ตลอดช่วงเวลาจากปี 2553-2557  เหตุปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเดินทางมาถึงจุดที่ตีบตันในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่อยู่ในระดับกลางและล่างซึ่งถือเป็นฐานผู้บริโภคหลักของธุรกิจนี้ สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยต่างประเมินทิศทางของธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วงปี 2559 ว่าจะเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยและอาจชะลอตัวต่ำกว่าปีก่อนหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัย ที่ดูจะมีความจริงจังและมีน้ำหนักมากกว่าการโหมประโคมข่าวผลงานไร้ราคาที่พยายามอวดอ้างกันเสียอีก ฐานลูกค้าระดับ กลาง-ล่าง ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการอุ้มชูธุรกิจค้าปลีกไทยให้จำเริญเติบโตมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกำลังถูกข้อเท็จจริงจากสภาพเศรษฐกิจกัดกร่อนและทำลายให้อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะที่ด้อยหรือไม่มีกำลังซื้อ จากผลของปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประชากรในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทำให้รายได้ลดลงอีกด้วย ธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มซูเปอร์สโตร์

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ สมรภูมิของผู้เล่นใหม่

 ขณะที่บรรดายักษ์ค้าปลีกกำลังพุ่งเป้าสร้างอาณาจักร “มิกซ์ยูส” เงินทุนหลายหมื่นล้าน ดูเหมือนว่าตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าชุมชนยังเป็นสมรภูมิของผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาทดสอบฝีมืออย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นกลุ่มค้าปลีกที่มีอัตราขยายตัวสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดมีพื้นที่รวมทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากกว่า 1.1 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เกือบ 4 เท่าตัว ปี 2559 ยังคาดอีกว่าจะมีผู้ประกอบการต่อคิวเปิดโครงการใหม่นับสิบราย ไม่รวมกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่พยายามขยายไลน์ผูกขาดธุรกิจรีเทลทุกเซกเมนต์ อย่าง “ทีซีซีแลนด์” ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี หลังปรับกระบวนทัพหลายรอบ และวางแผนลงทุนระยะ 5 ปีข้างหน้า  ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อสยายปีกธุรกิจรีเทลในเครือ  ทั้ง “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ที่เดิมเริ่มต้นจากคอมมูนิตี้มอลล์ และขยายสู่โครงการมิกซ์ยูสเจาะทำเลเมืองท่องเที่ยว ปรับโฉมศูนย์การค้าอีก 3 แบรนด์ ได้แก่ ศูนย์การค้าเกตเวย์ ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ขณะที่เปิดตัว “บ็อกซ์ สเปซ” เพื่อรุกตลาดคอมมูนิตี้มอลล์อย่างจริงจัง สำหรับแบรนด์ บ๊อกซ์

Read More

ห้างญี่ปุ่นซุ่มกลยุทธ์ งัดแผนส่งท้าย-สู้ศึกปี 59

 กลุ่มทุนญี่ปุ่น ยักษ์ใหญ่ในสงครามค้าปลีกไทยกำลังส่งสัญญาณรุกตลาดครั้งสำคัญ  ทั้งการหวนคืนสมรภูมิศูนย์การค้าของกลุ่มอิออน โดยนำร่องเปิดตัว “อิออน ศรีราชา” โมเดลคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกของอิออนในไทย ขณะที่ “โตคิว” เร่งปลุกปั้นสาขา 2 ในศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค เจาะทำเลกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก การเตรียมยกเครื่องของห้างอิเซตัน รวมถึง “ทาคาชิมาย่า” ที่จะเปิดตัวบิ๊กโปรเจ็กต์พร้อมๆกับ “ไอคอนสยาม” ในปี 2560  ต้องถือว่าห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาบุกเบิกและฝังรากลึกในตลาดไทยอย่างยาวนานกว่า 50 ปี  เริ่มตั้งแต่ยุคไดมารู ประเดิมสาขาแรกในศูนย์การค้าราชประสงค์ หรือ “เซ็นทรัลเวิลด์” ในปัจจุบัน แต่ฝ่าด่านการตลาดแบบไทยๆ ไม่ได้และต้องปิดตัว แม้หนีไปเจาะทำเลใหม่ย่านศรีนครินทร์ จนกระทั่งปี 2528 ห้างยักษ์ญี่ปุ่นเข้ามาชิมลางตลาดพร้อมๆ กับ 3 ค่าย ประกอบด้วย “โซโก้” ที่เปิดยุทธศาสตร์สาขาแรกในอาคารอัมรินทร์พลาซ่า สี่แยกราชประสงค์ พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร, “โตคิว” ปักหมุดในมาบุญครองเซ็นเตอร์ สี่แยกปทุมวัน พื้นที่ร่วม 12,000 ตารางเมตร และ

Read More

“อิออน” รุกแนวรบใหม่ ขยายอาณาจักร

 30 ปีของ “อิออนกรุ๊ป” ในสมรภูมิค้าปลีกไทยฝ่าวิกฤตหลายรอบ เริ่มจากแผนบุกธุรกิจศูนย์การค้า “สยามจัสโก้” ก่อนเจอศึกแข่งขันดุเดือดจนต้องพลิกโหมดเข้าสู่โมเดลซูเปอร์มาร์เก็ต “จัสโก้” โดน “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เสียเวลาฟื้นฟูกิจการหลายปี ที่สุดแปลงร่างเป็นบริษัท อิออน ไทยแลนด์ จำกัด ล่าสุด ณ วันนี้ บริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นประกาศทุ่มเม็ดเงินเดินหน้าขยายอาณาจักรรอบใหม่ เพื่อเจาะธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบตามแผน Vision 2020 ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย (Asia’s No.1 Super-Regional Retailer) โดยวาง 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ เร่งขยายเข้าสู่ตลาดอาเซียน เจาะตลาดชุมชนเมือง จับกลุ่มเป้าหมายในยุคสังคมผู้สูงวัยที่มีกำลังซื้อสูงและเร่งขยายตลาดดิจิตอลตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ขณะเดียวกันอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกอิออนใช้เวลามากกว่า 46 ปี ขยายเครือข่ายบริษัทลูกเกือบ 200 บริษัท ใน 3 ธุรกิจหลัก ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจค้าปลีก กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจเงินทุน-ประกันภัย  แต่ต้องถือว่า ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจหลักและจุดเริ่มต้นสำคัญ ตั้งแต่ยุคที่ยังใช้ชื่อ ”จัสโก้ (JUSCO)” ก่อนมาประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่ “อิออน (AEON)”

Read More

พระราม 4 บูม “อสังหา-รีเทล” พรึ่บ

 แลนด์ลอร์ดรายใหญ่อย่าง “เครืออรรถกระวี” ประกาศปัดฝุ่นที่ดินของตระกูล ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ “สวนเพลิน มาร์เก็ต” แม้เหตุผลข้อหนึ่งเกิดจากเงื่อนไขใหม่ในกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่มากไปกว่านั้น ทำเลย่านพระราม 4 มีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้นและสามารถยกระดับเป็นเขตธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District: CBD) แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ  โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบ “มิกซ์ยูส” รวมมูลค่าหลายหมื่นล้านบนถนนพระราม 4 จะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่กลางปี 2559 เริ่มจากโครงการเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริเวณสี่แยกถนนรัชดาภิเษกตัดพระราม 4 จะมีทั้งอาคารสำนักงานสูง 12 ชั้น และโรงแรมขนาด 239 ห้อง มูลค่าโครงการกว่า 5,000 ล้านบาท ส่วนโครงการ 92 ไร่ หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดถนนวิทยุ หรือที่ดิน ร.ร.เตรียมทหารเดิม

Read More

“เซเว่นอีเลฟเว่น” รุกขยาย เครือข่ายออนไลน์กินรวบ

 ทิศทางธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีหลังนอกจากเจอปัจจัยลบหนักหน่วง ทั้งหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น กำลังซื้อลดต่ำลง ล่าสุดเหตุระเบิดกลางสี่แยกราชประสงค์ดับฝันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มลุกลามถึงสิ้นปี ส่งผลให้ทุกค่ายเร่งงัดกลยุทธ์ปลุกกำลังซื้อ โดยเฉพาะคอนวีเนียนสโตร์ที่มีลูกค้าระดับกลางและล่างเป็นกลุ่มหลัก แต่ต้องถือว่า “เซเว่นอีเลฟเว่น” มีจุดแข็งด้านเครือข่ายธุรกิจเหนือคู่แข่งหลายขุมมาก ล่าสุด ค่ายเทสโก้โลตัสประกาศยุบโมเดลร้านสะดวกซื้อ “365” และปิดสาขานำร่องทั้ง 5 แห่ง แม้อ้างเหตุผลข้อสำคัญ เพื่อหันมาโฟกัสโมเดลเอ็กซ์เพรส เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภคมากกว่าคอนวีเนียนสโตร์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งที่ทำเลร้าน 365 ล้วนอยู่ใจกลางเมืองและชุมชนหนาแน่น เช่น ประตูน้ำ ทองหล่อ จนต้องถอยกลับมาหาจุดแข็งเดิมเรื่องความหลากหลายและสินค้าราคาถูก  ที่สำคัญ การรุกตลาดของเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ใช่แค่หน้าร้านที่มีมากกว่า 8,500 สาขาทั่วประเทศ แต่ยังมีช่องทางออนไลน์ ซึ่งกำลังรุกขยายตลาดใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่และเปิดเซกเมนต์ใหม่อย่างเข้มข้นด้วย  ปัจจุบัน ภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีเครือข่ายธุรกิจสนับสนุนคอนวีเนียนสโตร์แบรนด์ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ และเป็นนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ บริษัท

Read More

“เจริญ” เปิดศึกระลอกใหม่ ไล่บี้เป้าหมายยึดตลาดรีเทล

 เจริญ สิริวัฒนภักดี ประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจนตั้งแต่เปิดตัวบิ๊กโปรเจ็กต์ “เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์” ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายใน 10 ปี โดยเร่งสร้างและขยายแบรนด์ค้าปลีกในอาณาจักร เพื่อผุดสาขาทั้งในไทยและบุกทุกประเทศของภูมิภาค แต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เจริญต้องปรับกระบวนทัพหลายรอบและดูเหมือนว่า ปี 2558 จะเป็นก้าวย่างสำคัญในการเปิดศึกค้าปลีกระลอกใหม่อย่างเต็มรูปแบบ   จากเดิม “ทีซีซีแลนด์” ที่มีวัลลภา และโสมพัฒน์ ไตรโสรัส เป็นผู้กุมบังเหียนหลักและแบ่งแยกทีมดูแลแบรนด์ค้าปลีกแต่ละแบรนด์ เจริญสั่งปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กลุ่มรีเทล โดยจัดตั้งบริษัทลูก ทีซีซีแลนด์ แอสเสท เวิลด์ รวมการบริหารงานกลุ่มค้าปลีกทุกแบรนด์และอยู่ภายใต้นโยบายการบริหารของทีซีซีแลนด์  ประกอบด้วย 1. เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์  2. เกตเวย์ เอกมัย 3. เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ 4. พันธุ์ทิพย์  ซึ่งล่าสุดมี 3 สาขาที่ประตูน้ำ งามวงศ์วาน และบางกะปิ 5.

Read More

ปิดฉาก “ลาดหญ้า” เซ็นทรัลซุ่มบิ๊กโปรเจกต์

 6 เมษายน 2558  ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า จะเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย ก่อนปิดฉากอย่างเป็นทางการ แต่เซ็นทรัลกรุ๊ปในฐานะเจ้าของที่ดินผืนใหญ่บริเวณนั้นเตรียมโปรเจกต์ลงทุนธุรกิจใหม่รับโครงการสถานีรถไฟฟ้าอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตั้งอยู่บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ตามแนวเส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งคาดว่าจะพลิกโฉมทำเลครั้งใหญ่ การปิดสาขาลาดหญ้าจึงเป็นเพียงเกมคั่นเวลารอจังหวะและลดการขาดทุนจากธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในภาวะซบเซา เพราะสภาพทำเลที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสงครามค้าปลีกย่านฝั่งธนบุรีได้ย้ายจุดยุทธศาสตร์สู่แนวรบด้านเจริญนครและริมฝั่งเจ้าพระยา  ที่สำคัญ ลาดหญ้าถือเป็นสมรภูมิค้าปลีกย่านวงเวียนใหญ่ที่กลุ่มเซ็นทรัลยึดหลักปักฐานมานานเกือบ 40 ปี ตั้งแต่ยุค 3 พี่น้อง ได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร จิราธิวัฒน์ บุกเบิกธุรกิจห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มจากสาขาวังบูรพา ราชประสงค์ สีลม ชิดลม จนกระทั่งมาเปิดห้างเซ็นทรัลสาขาลาดหญ้า ในปี 2524  ก่อนปรับโฉมและเปลี่ยนแบรนด์เป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า เมื่อปี 2540  เวลานั้น ไม่ว่าจะเป็น “เซ็นทรัล” หรือ

Read More

“คาเฟ่คอนวีเนียน” ยุทธศาสตร์ใหม่ของ ปตท.

 ยักษ์น้ำมัน ปตท. ใช้เวลาจัดกระบวนทัพธุรกิจค้าปลีกอยู่นานหลายปี แตกไลน์พัฒนาโมเดลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด  เปิดตัว “Joy Cafe Convenience” บุกสมรภูมิใหม่ชนเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์อย่าง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และคู่แข่งที่กำลังรุกหนัก ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” เปลี่ยนจากแนวรบ G-Store สู่การเจาะทุกเซกเมนต์ในสงครามค้าปลีก เพื่อสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลในกลุ่มธุรกิจ Non-oil ซึ่งมีส่วนต่างกำไรมากกว่าธุรกิจน้ำมันหลายเท่าตัว  ปัจจุบันเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักร ปตท. ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM ซึ่งบริษัทแม่จัดตั้งขึ้นมาภายหลังทุ่มทุนซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2555 ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่” เพิ่มโมเดลมินิซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ “จิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรชมาร์เก็ต” ก่อนพัฒนาเป็น “จิฟฟี่ พลัส ซูเปอร์มาร์เก็ต”  ขณะเดียวกันสร้างร้านค้าปลีกในกลุ่มร้านอาหารทั้งจิฟฟี่ คิทเช่น และจิฟฟี่ บิสโทร

Read More

“เป้าใหญ่” ของกลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้การนำของแม่ทัพชื่อ “ทศ”

หลังจากมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรมาตั้งแต่ปลายปี 2556 ในที่สุด แม่ทัพใหญ่คนใหม่แห่งเครือเซ็นทรัล “ทศ จิราธิวัฒน์” ก็ได้ออกมาเผยถึงยุทธศาสตร์ในการรุกรบที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น “ผู้นำ” สมรภูมิธุรกิจค้าปลีกและบริการของภูมิภาคภายใน 10 ปี  โดยก้าวแรกของการเตรียมตัวพิชิตเป้าซึ่งแม่ทัพคนใหม่มองว่าเป็นก้าวสำคัญเพราะเป็นรากฐานในการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ การปรับองค์กรและจัดทัพผู้นำในแต่ละกลุ่มธุรกิจ (Business Unit) ใหม่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในรอบ 28 ปี สมกับเป็นก้าวแรกของ “บทถัดไป” ของกลุ่ม อันเป็นคอนเซ็ปต์งานแถลงเปิดตัวกองทัพผู้บริหารระดับสูงร่วม 20 ชีวิต เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เพื่อให้สื่อมวลชนรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ในงานแถลงข่าวครั้งนี้จึงมีรูปแบบที่แตกต่างจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด จากที่ผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลทั้ง 5 กลุ่มจะขึ้นมานั่งร่วมกับอดีตประธานกรรมการบริหาร สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ในการแถลงวิสัยทัศน์ของเครือฯ ก่อนจะโยนให้ผู้บริหารแต่ละกลุ่มธุรกิจลงรายละเอียด  มาปีนี้ ทศขึ้นมาแถลงวิสัยทัศน์บนเวทีเพียงคนเดียว โดยมีผู้บริหารระดับสูงหลายสิบชีวิตให้กำลังใจอยู่ด้านข้าง โดยทศให้เหตุผลทีเล่นทีจริงในการจัดงานรูปแบบใหม่ว่า เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้นและเหมือนกับการแถลงของ “สตีฟ จ็อบส์”  การปรับทัพของกลุ่มเซ็นทรัลครั้งนี้ ไล่มาตั้งแต่ระดับบนสุดคือ ตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด โดยได้แต่งตั้งสุทธิชัย จิราธิวัฒน์

Read More