Home > 2012 (Page 15)

ตำนานวันสารทกับจังหวัดกำแพงเพชร

“สารท” คือเทศกาลงานบุญในวันสิ้นเดือน 10 งานบุญวันสารทของไทยปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัย โดยศาสนาพราหมณ์เข้ามายังประเทศไทย คนไทยจึงได้รับประเพณีวันสารทมาด้วย เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีช่วงวันหยุดยาว เพื่อนสนิททำงานอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชวนให้ไปเที่ยวที่นั่น เพราะเขาต้องคอยดูแลพื้นที่ที่รับผิดชอบให้มีความสงบเรียบร้อย เมื่อไปอยู่ในพื้นที่ทำให้ได้รู้ว่านอกจากความเจริญด้านสาธารณูปโภค ถนนหนทาง ไฟฟ้าสว่างไสว เหมาะเป็นเมืองท่องเที่ยวแล้ว อาหารการกินของฝากที่มีชื่อเสียงของที่นี่ยังมีอีกมากมาย อย่างไก่อบฟางโพธิ์พระยา ที่คนต่างถิ่นกล่าวขวัญ ยิ่งเมื่อได้เข้าไปในตลาดสดโดยเฉพาะในช่วงบ่ายแล้ว มีแผงร้านค้าทำน้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก ได้อร่อยปากทีเดียว มีโอกาสไปเดินเล่นที่ตลาดร้อยปีสามชุกเห็นมีร้านค้าขยายไปกว่าแต่ก่อนมากมาย จนข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งตรงข้าม มีสินค้าของกิน ของฝาก ของใช้ เลียนแบบโบราณเต็มไปหมด ริมแม่น้ำยังมีเรือเมล์แดงจอดไว้ให้ชม ซึ่งเมื่อก่อนวิ่งจากสุพรรณบุรีหรือจังหวัดแถบนั้นมาสู่ท่าเตียน ที่ปู่ย่าตายายจะกะเตงหิ้วชะลอมของฝากไปให้ลูกหลาน สิ่งคุ้นตาและยังจดจำได้คือตะกร้าเชี่ยนหมาก นั่งชั้นบนของเรือ นั่งๆ นอนๆ คุยกันไป ตำหมากกินกันไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย ที่สะดุดตาคืออาหารการกิน นอกจากเป็ดพะโล้ ข้าวห่อใบบัว ปลาช่อน ปลาสลิดแดดเดียว ขนมหวานต่างๆ แล้วยังมีขนมกระยาสารท แม้จะไม่ใช่เทศกาลสารท ทำให้นึกถึงกล้วยไข่ของกำแพงเพชร ที่รับประทานกับกระยาสารททำให้อร่อยลิ้นขึ้นมาก นึกอยากไปเที่ยวขึ้นมาทันที จังหวัดกำแพงเพชรมีการจัดงานบุญซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียง

Read More

Dine in the Dark ลองตาบอดกันสักมื้อ

สำหรับคนตาดี ความมืดนั้นมักจะมืดกว่าที่เคยคาด แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นหาได้มืดอย่างที่ใครคิด สำหรับคนตาดี ความมืดอาจทำให้รู้สึกกลัว แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นมีความงาม ถ้าจะให้คนตาดีเข้าใจคนตาบอดอาจมีเพียงทางเดียวคือต้องลองให้พวกเขาตาบอดดูสักครั้ง “อยากบอกคนทั่วไปว่า คนตาบอด ก็คือคนคนหนึ่ง เรายังปกติดีอยู่ เราแค่มองไม่เห็น เราไม่ต้องการให้ปฏิบัติกับเราจนพิเศษมากเกินไป แค่ช่วยเติมเต็มในสิ่งที่เราขาดหาย แค่ช่วยเป็นตาแทนเราในบางเวลา ไม่ต้องมาทำเหมือนเราทำอะไรเองไม่ได้” ไกด์น้องกล่าว “น้อง” อายุ 32 ปี เธอเคยเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ก่อนจะมารับหน้าที่เป็นบริกรประจำร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า Dine in the Dark ซึ่งเป็นร้านอาหารภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ “ดินเนอร์ในความมืดมิด” ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Dine in the Dark หรือ DID เป็นร้านอาหารที่ขายคอนเซ็ปต์การทานอาหารภายใต้ “โลกมืด” ราว คนตาบอด และมีบริกรเป็นคนตาบอดคอยให้บริการ โดย มร.เบนจามิน บาสกิ้นส์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำร้านนี้ อธิบายว่าคอนเซ็ปต์นี้ได้รับความนิยม มานานกว่า 10

Read More

“บ้านนพวงศ์” จับตำนานมาปั้นมูลค่า

“ความโบราณ” จะถูกลดคุณค่าเป็นเพียง “ความเก่า” ทันทีที่ไร้ซึ่งเรื่องราวเชื่อมร้อย “อดีต” กับวัตถุแห่งความทรงจำ แต่กลับมี “มูลค่า” ขึ้นทันที เมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกันเป็นตำนาน ถึงจะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ก็ตามที ท่ามกลางความแออัดของรถราบนถนนราชดำเนินกลาง ถนนสายนี้ไม่ได้มีแต่ภาพอดีตความวุ่นวายทางการเมือง แต่ยังอบอวลไปด้วยอดีตทางสังคม ที่สวยงาม เพียงแค่หลบหนีความจอแจบนท้องถนนใหญ่เข้าไปในซอยดำเนินกลางใต้ จนไปหยุดยืนอยู่หน้าบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลสีครีมหลังหนึ่ง กลิ่นอาย บ้านโบราณเบื้องหน้าบวกกับบรรยากาศเงียบสงบละแวกนั้น อาจทำให้หลายคนเผลอรู้สึกราวกับได้หลุดเข้ากระจกย้อนเข้าไปอยู่อีกภพ ณ ปัจจุบัน “บ้านนพวงศ์” เป็นโรงแรมบูติกสไตล์บ้านไทยโบราณ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนในปีที่ผ่านมา “นพวงศ์” เป็นชื่อราชสกุลซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 1 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติกับเจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมหลวงบริจาภักดี ศรีสุดารักษ์) มีบุตรธิดารวม 21 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ มีบุตรธิดาอีกมากมาย

Read More

ภูฏาน เมื่อเข็มนาฬิกากลับมาหมุนในดินแดนที่เวลาหยุดนิ่ง

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้เดินทางไปราชอาณาจักรภูฏานเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้รับหนังสือเชิญจากสภาหอการค้าภูฏานให้ไปร่วมงานการศึกษาของภูฏาน นอกจากนี้ทางมหา วิทยาลัยยังได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยในประเทศภูฏานและหน่วยราชการต่างๆให้เข้าพบ หลังจากที่ผมได้รับเลือก ยอมรับว่ากังวลพอสมควร แม้จะเคยใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศมานานแต่ก็อดเครียดไม่ได้ เพราะผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับราชอาณาจักร ภูฏานมากไปกว่าที่เคยอ่านในหนังสือไม่กี่เล่ม และจากนักศึกษาภูฏานที่ผมสอนอยู่ เนื่องจากไปทำงานไม่ใช่ไปเที่ยว จึงต้องเตรียมพร้อมเป็นพิเศษ เริ่มจากให้นักศึกษาภูฏานสอนผมว่าขนบธรรมเนียมตั้งแต่การทักทาย การเจรจา การรับประทานอาหารเป็นอย่างไร จนกระทั่งไปพบท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ ซึ่งผมนับถือเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านเคยไปภูฏาน มาก่อน ท่านอาจารย์เมตตามากขนาดเอา คู่มือเกี่ยวกับประเทศภูฏานมาให้ผมท่อง จึงมีสภาพเหมือนเด็กเตรียมเอ็นทรานซ์อีกครั้ง หลังจากเตรียมตัวพร้อมบ้างไม่พร้อมบ้าง ผมก็เดินทางไปภูฏานโดยมีกำหนดเดินทาง 6 วัน จับพลัดจับผลูกลาย เป็น 7 วัน แต่เป็น 7 วันที่ผมได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมายจนขอเอามาเล่าเป็น 5 ตอนด้วยกัน การเดินทางไปภูฏานประสบปัญหา ตั้งแต่เริ่มออกตัว เนื่องจากเครื่องบินต้องออกตอน 7 โมงเช้า แต่ได้รับโทรศัพท์จาก สายการบินดรุกแอร์ว่าเครื่องบินจะดีเลย์ เนื่องจากพายุฝนและหมอกที่ตกหนักในเมืองพาโร ผมไม่ได้คิดอะไรมาก เนื่องจากดีเลย์ก็ดีผมจะได้ตื่นสาย แต่กว่าคณะของ ผมจะได้ออกเดินทางคือ

Read More

ถนนสาย 30A มุ่งสู่ดินแดนมหัศจรรย์แห่ง Panhandle

ขับรถเลียบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกให้ใช้เส้นทาง หลวง 30A ชื่นชมประติมากรรมทางธรรมชาติริมฝั่งทะเล ณ ดินแดนด้ามกระทะ (Panhandle) แห่ง มลรัฐฟลอริดา ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฟลอริดายาวประมาณ 320 กิโลเมตร และ กว้างประมาณ 80-160 กิโลเมตร ส่วนเหนือติดกับรัฐแอละบามา ส่วนตะวันออกติดกับรัฐจอร์เจีย และส่วนใต้ติดอ่าวเม็กซิโก ในปัจจุบันหากได้ยินใครกล่าวถึงดินแดนทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงเหนือของฟลอริดา ขอให้เข้าใจว่าหมายถึงส่วนด้ามกระทะนี้เช่นกัน ซึ่งในประวัติศาสตร์ดินแดนส่วนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Apalachicola รวมถึงพื้นที่บางส่วนของรัฐแอละบามา รัฐมิสซิสซิปปี และรัฐหลุยเซียนา ล้วนเคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษนานถึง 20 ปีในช่วงปี 1763-1783 และอยู่อาณานิคมของสเปนในช่วงปี 1783-1821 ยาวนานถึง 38 ปี ทางหลวงหมายเลข 30A เป็นทางหลวงเลียบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกช่วงด้ามกระทะเป็นระยะทางยาวทั้งสิ้น 46 กิโลเมตร อยู่ในเขตวอลตัน เป็นเส้นทางที่มีทัศนียภาพสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคนที่มาเยือนดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสเขียวมรกต ตัดกับท้องฟ้าสีคราม ความสวยงามติดอันดับโลก ป่าเนินทราย (Dune Forest)

Read More

คดี Lee Gao Hui กับทางเลือกระหว่างความซื่อสัตย์กับความร่ำรวย

กลางปีนี้ ศาลในประเทศนิวซีแลนด์จะตัดสิน คดีที่เป็นที่ฮือฮาของประชาชนชาวนิวซีแลนด์ในขณะนี้ คดีมีชื่อว่า R v Hui ซึ่งผู้ต้องหาในคดีนี้ก็คือ ลี เกา ฮุย นักธุรกิจชาวนิวซีแลนด์เชื้อชาติจีน สาเหตุที่คดีของฮุยเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจสูงนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะคดีในประเทศนิวซีแลนด์ที่ฮือฮาส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เกี่ยวกับการตีความกฎหมายที่ทนายของจำเลยตีความได้มหัศจรรย์ มาก จนผู้พิพากษาไม่กล้าตัดสินจำเลยว่า ผิด ทั้งๆ ที่หลักฐานทนโท่ ตัวอย่างเช่นคดีไฟน์เบิร์ก (R v Fineberg) ในคดีนี้ผู้ต้องหาฆ่าคนตายในเรือกลางทะเล แต่กฎหมาย เขียนเอาไว้ว่าผู้ต้องหาจะมีความผิดเมื่อเขาฆ่าคนตาย “บนพื้นดินนิวซีแลนด์” ทนายของไฟน์เบิร์กจึงเถียงว่าไฟน์เบิร์กไม่ผิด เพราะเขาฆ่าคนตายในทะเลไม่ได้ฆ่าคนตายบนพื้นดิน ผู้พิพากษาเจอไม้นี้เข้าไปก็ผงะ ทั้งๆ ที่ รู้ว่าผู้ต้องหาฆ่าคนตายจริงๆ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะตัดสินว่าผิดได้หรือไม่ คดีอีกแบบหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจสูงมาก เป็นคดีที่ดูแล้วหลักฐานที่ผู้ต้องหากระทำผิดนั้นชัดเจน แต่ด้วยความเลินเล่อของฝ่ายตำรวจในขณะรวบรวมหลักฐานทำให้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหากระทำผิด แบบพ้นสงสัยได้ เช่น คดีฆาตกรรมครอบครัวเบน (The Queen v Bain) ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าเดวิด เบน ผู้ต้องหาในคดีฆ่าพ่อแม่พี่น้อง ทั้งครอบครัวจริงๆ รูปคดีของ ฝ่ายตำรวจก็คือ

Read More

สิทธิบัตรยา vs สิทธิประชาชน บททดสอบยากๆ ของอินเดีย

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียได้รับการขนานนามว่า “pharmacy of the South” หรือ คลังยาของประเทศยากจน เพราะอินเดียเคยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกยาราคาถูกที่จำเป็นแก่การรักษาโรคร้ายแรงหลายชนิดแก่ประเทศกำลังพัฒนาในหลายทวีป ด้วยเหตุที่อุตสาหกรรมยาของอินเดียไม่เคยต้องอยู่ในกรอบของสิทธิบัตรยา บริษัทยาในอินเดียจึงสามารถผลิตและส่งออกยาสามัญในราคาที่ถูกกว่ายาต้นฉบับ 20-40 เท่า แต่นับจากปี 2005 เป็นต้นมา อินเดียต้องผันตัวมาอยู่ใต้กรอบกติกาของ สิทธิบัตรยา อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเข้าเป็นภาคีสมาชิก WTO กระนั้น หากดูวิธีที่อินเดียต่อกรกับบริษัทยายักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Novartis และ Bayer ย่อมพบว่าอินเดียยังไม่ยอมจำนนง่ายๆ กับเรื่องของสิทธิบัตรยา อินเดียเริ่มบังคับใช้กฎหมายสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี 1911 ดังที่เรียกว่า Indian Patents and Design Act หลังประกาศเอกราชจากอังกฤษได้มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเอาเมื่อปี 1970 และกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมากฎหมายสิทธิบัตรของอินเดียปฏิเสธการออกสิทธิบัตรแก่ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา โดยยอมออกสิทธิบัตรให้เฉพาะกรรม วิธี ในกรณีของยา นั่นหมายถึงผู้ผลิตที่ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือผู้ทรงสิทธิ (patentee) สามารถผลิตยาตัวเดียวกันได้ด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างไปและจำหน่าย ในท้องตลาดได้อย่างถูกกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ นอกจากบริษัทยาของอินเดียจะสามารถผลิตยาสามัญ (generic drug)

Read More

Machikon

Machikon คำนี้กำลังเป็นคีย์เวิร์ดที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งที่สุดคำหนึ่งในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไปจนถึงคนวัยทำงานช่วงอายุ 20-40 ปีทั่วประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่คนต่างวัยจำนวนไม่น้อยกลับพิศวงและไม่สามารถแม้กระทั่งคาดเดาความหมาย ของคำศัพท์ใหม่นี้ได้เสียด้วยซ้ำ แต่นับจากนี้อีกไม่ช้าไม่นาน Machikon มีแนวโน้มจะกลายเป็นที่รับรู้ในวงกว้างเนื่องด้วยกระแสความนิยมที่รุกคืบสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในบางบ่ายของวันหยุดสุดสัปดาห์และวันนักขัตฤกษ์ ที่จู่ๆ ใจกลางของเมืองใหญ่ก็ขวักไขว่ไปด้วยหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นถือแผนที่เดินตามหาบางสิ่งกันอย่างขะมักเขม้น มีหลักฐานพออ้างอิงได้ว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2004 ที่เมือง Utsunomiya จังหวัด Tochigi ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ประสบผลสำเร็จ และกลายเป็นต้นแบบกระจายสู่เมืองอื่นๆ ทั่วญี่ปุ่นจนกระทั่งเกิดคำแสลง Machikon นี้ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้วโดยการสมาสคำ “machi” ซึ่งแปลว่าเมืองเข้ากับ “kon” ที่ย่อมาจากคำว่า goukon อีกที บางครั้งก็ยากที่จะเชื่อว่าสังคมญี่ปุ่นยังคงรากฐานของทัศนคติในบางเรื่องที่ล้าหลังเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นในปัจจุบันดูขัดแย้งกับภาพลักษณ์ ของประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น มุมมองในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมของ สตรีก็ดี หรือการดำรงอยู่ของบรรดาแม่สื่อแม่ชักที่กระตือรือร้นเป็นธุระจัดหาคู่ดูตัวตามประเพณีเก่าแก่ซึ่งทำรายได้เป็นกอบเป็นกำก็ดี อย่างไรก็ตามในระยะหลังๆ กิจกรรมของแม่สื่อดูแผ่วเบาลงไปทุกขณะ นั่นอาจเป็นเพราะระดับการศึกษาของผู้หญิงญี่ปุ่นสูงขึ้นส่งผลให้สถานภาพทางสังคมและเศรษฐานะสูงตามซึ่งแปรผกผันกับอัตราการแต่งงานของคู่บ่าวสาวที่รู้จักกันผ่านพิธีดูตัวด้วยสนนราคาอันสูงลิ่ว ด้วยเหตุนี้พิธีดูตัวจึงค่อยๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่การนัดพบของหนุ่มสาวรูปแบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแม่สื่อ ผู้ซึ่งไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบผลการจัดหาคู่แต่อย่างใด ดังนั้นพิธีรีตองตามแบบแผนเดิมจึงถูกตัดออกไปกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยการนัดเลี้ยง สังสรรค์กันในหมู่เพื่อนฝูงตามร้านอาหารภายใต้เงื่อนไขการแนะนำเพื่อนใหม่ให้เพื่อนในกลุ่มได้รู้จักซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแต่ให้ประสิทธิผลสูงขึ้นที่เรียกกันว่า goukon ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้มีคู่รักหรือสามีภรรยา หลายต่อหลายคู่ที่เริ่มต้นจาก

Read More

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่

ตอนแรก เขาเปียกมะล่อกมะแล่ก เพราะฝนที่ตกกระหน่ำ ลงมาอย่างหนัก ขณะนั่งรถเปิดประทุนไปตามถนน Champs-Elysee เพื่อเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง จากนั้นเครื่องบินประจำตำแหน่งของเขาถูกฟ้าผ่า หลังจากเพิ่งบินออกจากฝรั่งเศส เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงเบอร์ลิน ทำให้ต้องบินกลับไปยังปารีสอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินลำใหม่ แม้ว่า Francois Hollande ซึ่งสาบาน ตนเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในพิธีสาบานตนที่จัดขึ้นอย่างสมถะที่พระราชวัง Elysee Palace ประกาศว่า เขาจะเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ “ปกติธรรมดา” แต่เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกที่เขาได้เป็นประธานา ธิบดีฝรั่งเศสก็ไม่ปกติธรรมดาเสียแล้ว อย่างไรก็ตาม Hollande มิได้แสดงอาการสะทกสะท้านและยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นประธานา ธิบดีที่ “สง่างามแต่เรียบง่าย” ตามที่เขาตั้งใจ Hollande เคร่งขรึมสุขุมคล้ายกับประธานาธิบดีที่มาจากพรรค Socialist เพียงคนเดียวของฝรั่งเศส นั่นคือ Francois Mitterrand ก่อนที่ Hollande จะเป็นผู้มาทำลายสถิตินี้ ด้วยการ ก้าวขึ้นบันไดพระราชวัง Elysee Palace ในฐานะประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมคนที่ 2 เขาโบกมืออำลา

Read More

จีนบนเวทีการค้าโลก มุมมองจาก CP

จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO มาตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งขณะนั้นจีนมีปริมาณการนำเข้าและส่งออกอยู่ที่ 5.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 4.4% ของการค้าโลก ในทศวรรษที่ผ่านมาการนำเข้าและส่งออกของจีนเติบโตในอัตรา 18.3% และ 17.6% ตามลำดับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ GDP ของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยปรากฏว่าในปี 2554 ที่ผ่านมาปริมาณการนำเข้า และส่งออกของจีนเท่ากับ 3.64 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อก่อนเข้าเป็นสมาชิก WTO ถึง 7 เท่า และมีส่วนแบ่งทางการค้าโลกเพิ่มขึ้นถึง 6% ก้าวสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก เป็นประเทศที่มีการนำเข้าสูงสุดอันดับ 1 และการส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รัฐบาลจีนได้ดำเนินยุทธศาสตร์ “การเติบโตอย่างมั่นคง- การปรับโครงสร้าง และแสวงหาความสมดุล” (Steady growth, structural adjustment and balance-seeking) เพื่อรองรับการค้าต่างประเทศ

Read More