วันอังคาร, เมษายน 16, 2024
Home > Attitude > บุญชัย เบญจรงคกุล “ผมเป็นผู้เกื้อกูลศิลปะ ไม่ใช่คนเสพศิลปะ”

บุญชัย เบญจรงคกุล “ผมเป็นผู้เกื้อกูลศิลปะ ไม่ใช่คนเสพศิลปะ”

ชื่อของ “บุญชัย เบญจรงคกุล” กลับมาสู่ความสนใจและเป็นประเด็น ทอล์คออฟเดอะทาวน์ของผู้คนในทุกสังคมอีกครั้ง จากการประกาศแต่งงานครั้งใหม่กับว่าที่ภรรยาคนที่ 6 ซึ่งเป็นดารานักแสดงผู้โด่งดังนาม “ตั๊ก บงกช คงมาลัย”

แต่ชีวิตของ บุญชัย เบญจรงคกุล มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่

แม้ว่า เขาจะมีบุคลิกนิ่มนวล ประนีประนอม แต่ชีวิตที่ผ่านมาของเขา กลับต้องเผชิญความยากลำบากทางความคิดมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งภายใต้นิยามของคำว่า “พี่ใหญ่” ที่ต้องรับผิดชอบ ดูแลและแก้ปัญหาหนี้สิน รวมถึงการสืบทอดกิจการของตระกูล ถือเป็นความท้าทายที่เขาต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
 
เขาเกิดในย่านคนจีน ซอยตรอกโรงเลี้ยงเด็ก เป็นช่วงของการก่อร่างสร้างตัวของ ครอบครัวที่เริ่มต้นจากการค้าขายและต่อมา ขยายกิจการในแนวราบออกไปมากมาย ประสบการณ์ในวัยเด็ก ที่ได้จากการทำธุรกิจ ของพ่อและแม่จึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของ เขาโดยตรง
 
บุญชัย เคยกล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าสนใจว่า “พ่อจะไม่สอนพวกเราแบบตรงๆ อย่างเวลาที่ท่านไปไหน ไปค้าขาย หรือไปคุย ธุรกิจกับใคร ท่านจะพาพวกเราไปหมด ตอน เด็กๆ ก็คิดว่าเป็นส่วนเกิน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ เราได้เรียนรู้มาตลอด”
 
แต่ในขณะเดียวกัน วิธีการของพ่อ ซึ่งดำเนินไปในแบบที่บุญชัย เรียกว่า hard knock คือ ให้เรียน รู้ด้วยตัวเอง “ท่านไม่บอกว่าสอนเรา ท่านจะใช้ วิธีสอนเหมือนกับสอนนาวิกโยธิน” ก็ทำให้บุญชัยมีจังหวะที่ต้องขัดแย้งกับพ่อของเขาอยู่เป็นระยะเช่นกัน
 
ช่วงเวลาหนึ่งของการเรียนรู้ บุญชัยได้ รับมอบหมายให้ไปขายประกันภัย ซึ่งนอกจากจะเป็นงานที่ไม่ถนัดแล้ว ยังเป็นงานที่ยากที่สุด แต่เป็นบทเรียนทางธุรกิจที่ดีที่สุดแก่เขาบทหนึ่ง
 
ขณะที่แม่ ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดและช่วยหล่อหลอมประสบการณ์ทางธุรกิจให้แก่บุญชัย โดยเฉพาะในช่วงของการก่อร่างสร้างกิจการของครอบครัว ด้วยการเป็นทั้งเจ้าของกิจการโรงน้ำแข็งและเจ้าของตลาดสดท่าดินแดง
 
แม่ของเขาสร้างตลาดสดท่าดินแดง ในย่านฝั่งธนบุรี เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว โดยใช้โมเดลของการพัฒนาที่ดิน บวกผสมกับสร้างชุมชนย่อยๆ คือ เป็นทั้งแหล่งค้าขาย และที่พักอาศัย ด้านบนเป็นแฟลตให้เช่า รอบ ด้านเป็นอาคารพาณิชย์ล้อมรอบ และมีพ่อค้า แม่ค้ามาแลกข้าวของเครื่องใช้
 
“ตอนเด็ก เมื่อถึงวันหยุด แม่ส่งให้พวกเราไปยืนในตลาดสดท่าดินแดง ทำหน้าที่ แลกคูปองให้กับพ่อค้าแม่ค้า แจกให้ลูกค้าเพื่อมาแลกของใช้ เราก็คิดว่าทำไมเราไม่ได้ไปเที่ยว ไปดูหนัง เหมือนคนอื่น แต่นั่นคือการสอนเราให้รู้เรื่องของกลไกการตลาดในอีกรูปแบบหนึ่ง” บุญชัย เคยรำลึกความหลังให้ ผู้จัดการ 360 ฟัง
 
หลังเรียนจบด้านบริหารธุรกิจ จากบอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ บุญชัย กลับมาช่วยกิจการของครอบครัว ซึ่งน่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ แม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้ตามแนวทางที่ต้องหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง แต่ดูเหมือนเวลาของการเรียนรู้ของบุญชัย จะสั้นกว่าที่คิด เพราะ ยังไม่ทันที่เขาจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากสุจินต์ เบญจรงคกุล ผู้เป็นพ่อ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว สุจินต์ ก็ล้มป่วยลงและจากไปพร้อมกับการทิ้งภาระหนี้สินจำนวนกว่า 300 ล้านบาท ให้เด็กหนุ่มในวัย 27 ปี เป็นผู้สานต่อ
 
“ช่วง 2 ปีสุดท้ายที่พ่อป่วยเป็นมะเร็ง ที่ตับ พูดไม่ได้แล้ว ช่วงเวลาถ่ายทอดก็ไม่มี ที่สำคัญเป็นช่วงที่บริษัทมีหนี้สิน เวลาจึงหมด ไปกับการทำงานใช้หนี้ ไม่มีเวลาเรียนรู้”
 
บุญชัยใช้เวลาถึง 7 ปีเต็มกับการแก้ปัญหา ที่ต้องมีทั้งการขายทอดกิจการบางอย่างออกไป บุญชัยไม่เพียงแต่จะกอบกู้วิกฤติ ในครั้งนั้น แต่ยังเป็นช่วงที่เขาสามารถพาองค์กรผ่านวิกฤติครั้งนั้นไปได้ และนำยูคอม ก้าวไปสู่ยุคของการเติบโตมากที่สุดยุคหนึ่ง
 
วันที่บุญชัยเข้าไปเริ่มงานที่ยูคอม เป็น ช่วงที่สุจินต์ได้บริหารกิจการนี้มาแล้ว 20 ปี ธุรกิจหลัก คือ การเป็นตัวแทนขายอุปกรณ์วิทยุกับหน่วยงานภาครัฐ ที่จำเป็นต้องติดต่อ กับเจ้าของกิจการโดยตรง ช่วงที่สุจินต์ล้มป่วย จึงเป็นช่วงตกต่ำที่สุดของยูคอม
 
หลังจากพ่อเสียชีวิตไปได้ 1 ปี บุญชัย จึงเริ่มแก้ปัญหาด้วยการว่าจ้างมืออาชีพ 10 กว่าคน เข้ามาร่วมงาน เพื่อสานต่อกิจการของยูคอม ที่จำเป็นต้องใช้สายสัมพันธ์ที่ ต่อเนื่อง
 
“เพราะวันที่พ่อเสียชีวิต ท่านได้นำหลายอย่างไปพร้อมกับท่านด้วย เช่น คอนเนกชั่นต่างๆ ก็จากไปพร้อมกัน”
 
การทำงานร่วมกับมืออาชีพของบุญชัย ในช่วงของการกอบกู้กิจการของยูคอม นับได้ว่าเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมมากๆ เนื่องจากยูคอมเองมีการขยายทั้งผลิตภัณฑ์ ตลาด เพื่อรองรับกับการขยายตัวเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังคน และต้องการฐานการเงินที่ใหญ่ขึ้น
 
“สำหรับบริษัทห้องแถว การที่เรามีมืออาชีพด้านการเงิน เวลาไปคุยกับแบงก์ ดูแล้วดี เวลาไป present งานเพื่อขอเป็นเอเย่นต์ สินค้าก็ดูดี เป็นคนวัยเดียวกัน เวลา ไปไหนไปเป็นกลุ่ม ดูแล้วหนักแน่น สร้างความน่าเชื่อถือได้”
 
การประสบความสำเร็จ จากการใช้มืออาชีพในครั้งนั้น กลายเป็นจุดเริ่มของการ ขยายธุรกิจ และการเข้าสู่การทำงานร่วมกับมืออาชีพอย่างเข้มข้นในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือ การระดมทุนจากตลาดหลัก ทรัพย์ “เป็นช่วงที่เราจำเป็นต้องมีมืออาชีพ เพราะเขาจะไม่สนับสนุนบริษัทที่บริหารงานโดยครอบครัว เพราะกลัวจะไม่มีความโปร่ง ใส ไม่มีความคล่องตัว ไม่มีการขยายแนวคิด ทำให้เราเลี่ยงไม่ได้”
 
ความมั่งคั่งที่ได้มาจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ชนิดที่ไม่เคยมีกลุ่มทุนธุรกิจไหน เคยทำได้มาก่อน ทำให้บุญชัย และภูษณ ปรีย์มาโนช มืออาชีพเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้ใช้ช่วงเวลาเหล่านั้น ร่วมกันขยายเขตแดนของธุรกิจในแนวกว้างออกไปมากมาย
 
“ตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่า ต้องใหญ่ ต้องยึดตลาดให้มากที่สุด ต้องมีธุรกิจครบวงจร เราไปซื้อธุรกิจที่โรมาเนีย อินเดีย พม่า เราคิดว่ามันถึงเวลาของธุรกิจเอเชียแล้ว คิดอย่างนั้นจริงๆ”
 
ในจำนวนนี้ยังรวมไปถึงการเป็นนักธุรกิจไม่ถึง 100 รายในเอเชีย และเป็น 1 ใน 3 เจ้าของธุรกิจของเมืองไทยที่ได้เป็นเจ้าของเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว 8 ที่นั่ง มูลค่า 4 ล้านเหรียญ หรือ 100 ล้านบาท บุญชัยซื้อมาจาก บริษัท Rathean ขายอุปกรณ์เรดาร์ ที่ยูคอมเป็นตัวแทนอยู่
 
“เราอหังการมาก เราซื้อเครื่องบินเจ็ท ส่วนตัว เพื่อบินไปที่ต่างๆ เวลาที่เราต้องการ takeoff และลงเวลาที่เราต้องการ” บุญชัยเล่าถึงยุคเฟื่องฟูในอดีต
 
จากเจ้าของกิจการที่เคยร่ำรวยติดอันดับ 4 ของเมืองไทย กลายเป็นเจ้าของหนี้สินก้อนใหญ่ เหลือทรัพย์สินที่มีมูลค่าแค่ 10% ของสินทรัพย์ที่เคยมีอยู่เดิม ทางออกเดียวของเขาคือ การขายหุ้น บางส่วนให้กับพาร์ตเนอร์ข้ามชาติเข้ามาช่วย เพราะมันไม่ได้หมายถึงเงินทุนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการ เตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตที่แทคกำลังเผชิญ
 
แต่บังเอิญว่า แนวคิดของ บุญชัย เป็นความคิดที่ตรงข้ามกับมืออาชีพอย่างภูษณ ที่นับตั้งแต่แทคเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ บุญชัยได้มอบหมายให้บริหารธุรกิจของแทคมาตลอด 10 ปี ที่ไม่อยากสูญเสียอำนาจ และไม่เชื่อว่าพันธมิตรข้ามชาติจะเป็นคำตอบ
 
ความคิดขัดแย้งระหว่างเจ้าของกิจการ และมืออาชีพ ได้นำไปสู่ปฏิบัติการยึดอำนาจในบริษัทแทคของบุญชัย กลับคืนจากมืออาชีพ เพราะแทคเป็นกิจการที่เป็น อู่ข้าวอู่น้ำที่เชื่อมโยงโดยตรงกับยูคอม การสูญเสียแทคย่อมเหมือนกับสูญเสียยูคอม กิจการของตระกูลเบญจรงคกุลและเป็นธุรกิจ ที่เขาสร้างขึ้น 40 ปี
 
ปี 2543 เป็นปีที่ยูคอมดำเนินกิจการครบรอบ 40 ปี และเป็นปีที่บุญชัยทำงานมาแล้ว 20 ปี เท่าๆ กับที่พ่อเขาทำมา และจะเป็นปีที่บุญชัยต้องกลับมารับช่วงกิจการต่อจากมืออาชีพ
 
แต่การกลับมาของเขาในฐานะของพี่ใหญ่ ไม่เหมือนกับการรับช่วงกิจการ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นการรับช่วงกิจการยากลำบากมากๆ สำหรับองค์กรที่มีภาระหนี้สิน หลายหมื่นล้านบาท และเป็นองค์กรที่ถูกปกครองโดยมืออาชีพมาเกือบ 10 ปี ที่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญและเห็นประโยชน์ของมืออาชีพมากกว่าเจ้าของกิจการ
 
สิ่งแรกที่บุญชัยทำหลังจากได้เทเลนอร์มาเป็นพันธมิตร ก็คือ การสร้างความคิดเห็นร่วมกันของผู้บริหารของแทคทั้งหมด เพื่อตอบรับต่อการมาของเทเลนอร์
 
“ผมพูดกับผู้บริหารทั้งหมดสามร้อยกว่าคนไว้ตั้งแต่แรกเลยว่า เราไม่ใช่เจ้าของกิจการอีกแล้ว แต่เป็นลูกจ้าง ผมก็เป็นลูกจ้าง และการแข่งขันที่เรากำลังเผชิญไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป”
 
แม้ในวันที่ บุญชัยจะไม่ใช่เจ้าของกิจการ แต่ชีวิตของเขาก็ไม่ได้ขาดสีสัน เพราะเป็นที่รู้กันว่าบุญชัย เป็นผู้ชื่นชอบในศิลปะ ภาพงานศิลปะที่ประดับอยู่บนฝาบ้าน ในทุกมุมของห้อง สะท้อนสไตล์ความชอบของบุญชัยได้อย่างดี
 
การสะสมงานศิลปะเป็นจำนวนมากของบุญชัย ไม่ได้ เกิดขึ้นเพื่อบอกถึงความมั่งมี แต่เป็นความใฝ่ฝันที่ยึดอาชีพ อาร์ตติสต์มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องสืบทอดกิจการของครอบครัว เขาจึงเปลี่ยนมาเป็นผู้เกื้อกูล งานศิลปะแทน
 
“ผมเป็นผู้เกื้อกูลศิลปะ ไม่ใช่คนเสพศิลปะ แต่เป็นผู้ที่สนับสนุนงานศิลปะ จำเป็นต้องมีใจรัก และเข้าใจงานศิลปะ มีจิตใจที่อ่อนไหว” อาจสะท้อนเรื่องราวความเป็นไปของ บุญชัย และเป็นที่มาของทอล์คออฟเดอะทาวน์ครั้งใหม่ในวันนี้