วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
Home > PR News > วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย มุ่งสร้าง Young Entrepreneur ออกแบบชีวิตพิชิตความฝันผู้ประกอบการรุ่นใหม่

วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย มุ่งสร้าง Young Entrepreneur ออกแบบชีวิตพิชิตความฝันผู้ประกอบการรุ่นใหม่

วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย “ที่เป็นมากกว่าการทำธุรกิจ” มุ่งสร้าง Young Entrepreneur ออกแบบชีวิตพิชิตความฝันผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ก้าวสู่ปีที่ 60 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำในอาเซียนด้านธุรกิจการค้าและการบริการ ยังคงยึดมั่นพันธกิจในการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneur) เน้นการสอนทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาทุกคณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาของ “วิทยาลัยผู้ประกอบการ” ที่เป็นมากกว่าการทำธุรกิจ

โอกาสนี้ อาจารย์ ดร.ศุภสัณห์ ปรีดาวิภาต คณบดีคนใหม่วิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงทิศทางความก้าวหน้าของวิทยาลัยฯ ว่า “10 ปีของวิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เราได้ผลิตผู้ประกอบการไปแล้ว 13 รุ่น และได้ต่อยอดธุรกิจจริง 478 บริษัทที่เป็นเครือข่ายผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพราะมีเครือข่ายหอการค้าไทยทั่วประเทศ เรียกว่านักศึกษาของ ม.หอการค้าไทย ทุกคณะจบแล้วมีงานทำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับนักศึกษาของวิทยาลัยผู้ประกอบการที่มีโอกาสทั้งที่ได้ทำธุรกิจเล็กๆ เป็นของตนเองในระหว่างเรียน และได้ทำงานกับหน่วยงานที่อื่นๆ นอกจากนี้ อัตลักษณ์ของวิทยาลัยผู้ประกอบการของเราที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ อีกอย่างก็คือหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอนแบบปฏิบัติจริง เห็นผลจริง มากกว่าทฤษฎี เรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์วิชาชีพหรือเป็นเจ้าของกิจการตัวจริง หลักสูตรของเราออกแบบโดยผู้ประกอบการ และสอนโดยผู้ประกอบการตัวจริง เราให้นักศึกษาได้เรียนจริง ทำจริง สำเร็จจริง เพื่อช่วยให้นักศึกษาที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นผู้ประกอบการในการที่เราจะสร้าง Young Entrepreneur ให้เป็นผู้ประกอบการที่เป็นมากกว่าการทำธุรกิจ ได้พัฒนาทักษะและแนวคิดที่จำเป็นต่อการเริ่มต้น และขยายธุรกิจให้ประสบความสำเร็จกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยวิทยาลัยมีทุนการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนฟรีตลอดหลักสูตรด้วย”

“ผมคิดว่าทิศทางความก้าวหน้าของวิทยาลัยผู้ประกอบการที่มีความสำคัญ จำเป็น และเร่งด่วนคือการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ปรับวิชาของวิทยาลัยผู้ประกอบการให้ทันสมัย ทันกระแส Social Commerce เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประกอบธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่อย่างนักศึกษาน้อง ๆ ผู้ประกอบการเล็ก ๆ ตัวจริงของเราได้ใช้เป็นเครื่องมือ อาทิ Chatbot ตอบลูกค้าอัตโนมัติ และการสอนใช้ระบบบริหารจัดการสต็อกร้านค้าออนไลน์ ปรับรูปแบบกิจกรรมในรายวิชา การให้บริการต่าง ๆ กระบวนการสร้างการปฏิบัติจริงในกิจกรรมทางธุรกิจวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อการประกอบการในการโต้ตอบหรือให้บริการกับลูกค้าระบบออนไลน์มาฝึกปฏิบัติ ทำให้การประกอบธุรกิจเล็ก ๆ ประสบผลสำเร็จสร้างรายได้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งน้องๆ นักศึกษาเราก็ทำกันจริงอยู่แล้วเพียงแต่เราต้องเสริมทักษะ องค์ความรู้ให้แน่นมากขึ้น เสมือนเป็นการติดอาวุธให้เขาได้มีความเชื่อมั่นว่าเขาทำได้อย่างถูกวิธีถูกหลักวิชา จากตัวอย่างนักศึกษาของเราที่ได้เริ่มต้นทำธุรกิจเหล่านั้นด้วยตนเองและต่อยอดได้ทั้งในขณะที่เรียนหรือจบการศึกษาแล้ว ในฐานะคณบดี ผมอยากพัฒนาคนหรือนักศึกษาให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าลองผิดลองถูกกับโอกาสใหม่ๆ และพัฒนาศักยภาพเรียนการสอนให้ทันกับเทรนด์สมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ในการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติซึ่งเราเรียนปฏิบัติมากกว่า เรียนจริง ทำจริง มีประสบการณ์จริงขณะเรียน นักศึกษาบางคนมีรายได้ระหว่างเรียนจากการได้ทดลองประกอบธุรกิจและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบ UTCC Hybrid Learning System เพื่อให้การเรียนในมหาวิทยาลัยมีรูปแบบใหม่ ก้าวทันโลกดิจิทัลและมีความท้าทาย นักศึกษาตื่นตัว รู้เท่าทันสื่อและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์กับโลกของการทำงานในอนาคตของเขา”

“วันที่ 21 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองผู้ประกอบการโลก World Entrepreneurs Day ซึ่งวิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย ได้จัดงานร่วมฉลองเป็นปีแรกตลอดทั้งสัปดาห์ โดยกิจกรรมแรก เชิญผู้รู้ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากหลายสายธุรกิจ เช่น การทำการตลาดดิจิทัลของธุรกิจความงาม สตาร์ทอัพจากทางสมาคมสตาร์ทอัพไทย การทำ Tiktok ของร้านอาหาร รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ให้มีความยั่งยืนและเติบโตทำอย่างไร พูดสร้างแรงบันดาลใจ กิจกรรมส่วนที่ 2 เป็น Show Cases จากนักศึกษาวิทยาลัย ผู้ประกอบการมาจัดแสดง และรวมโชว์เคสของกลุ่มธุรกิจพันธมิตร “เรามีความมุ่งมั่นปั้นสร้างผู้ประกอบการจาก ทุกคณะโดยที่วิทยาลัยผู้ประกอบการเป็นแกนนำด้วยเพราะอย่าลืมว่า ม.หอการค้าไทย ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัย ที่ตอบโจทย์ความใฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ที่มีใจรัก อยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง อยากสืบสานต่อยอดธุรกิจของครอบครัว เป็นเด็กหัวการค้า เรามีเทคนิคการสอนที่จะบ่มเพาะปลูกฝังสร้างให้นักศึกษาของเรามี Mind Set ของการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่เข้ามาเรียนในชั้นปีที่ 1 ที่ทำให้เขาได้กล้าเสี่ยงกับโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจที่เขาหาตัวตนที่ใช่ของเขาเจอและทำจริงจนสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทุ่มเท การไม่ยอมแพ้ การมองหาโอกาสใหม่ๆ นอกจากการขาย การตลาดหรือการหาซัพลายเออร์ การเชื่อมโยงช่องทางในการทำธุรกิจซึ่งจะต้องผ่านการเรียนรู้ที่เราสอนให้รู้จักการควบคุมจัดการ” อาจารย์ ดร.ศุภสัณห์ คณบดีกล่าวเสริม

นอกจากนี้ที่วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย ยังมีรูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างความตื่นตัวและท้าทายแก่นักศึกษาที่โดดเด่น คือการสร้างผู้ประกอบการที่ดีที่มีคุณภาพจาก Life Designer

“ที่วิทยาลัยผู้ประกอบการเรามีวิชา ‘การออกแบบชีวิต’ หรือ Designing Your Life เพราะเราพบว่าเด็กนักศึกษาบางคนเข้ามาเรียนเพราะรู้ว่าอยากทำอาชีพอะไรหรือมาเรียนเพื่อสานต่อธุรกิจของครอบครัว แต่เด็กบางคนยังหาตัวตนไม่เจอ Life Designer จะช่วยให้พวกเขาค้นหาตัวตนที่ใช่ได้เร็วขึ้นตั้งแต่ปีที่ 1 เช่น เด็กบางคนชอบทำอาหารเราก็หาผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารมาสอนเขาเพราะเรามีเครือข่ายทางการค้ามากมาย ซึ่งจริงๆ การเป็นผู้ประกอบการมีหลายรูปแบบทั้งการเป็นฟรีแลนซ์จนมีรายได้มากพอเปิดเป็นร้าน Life Designer นี้เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกับมหาวิทยาลัยแสตมป์ฟอร์ดของสหรัฐอเมริกาในการอบรมบุคลากรให้เป็น Life Designer เพื่อช่วยค้นหาความชอบ ความถนัดของนักศึกษา บางทีเขาอาจจะถนัดแต่ไม่ได้ชอบแต่ทีแรกแต่มารู้ว่าชอบหรือถนัดในตอนหลัง เราก็จะช่วยเขาให้พัฒนาทักษะนั้น แน่นอนครับว่าเราในฐานะครูอาจารย์ผู้ให้วิชาความรู้เป็นอาวุธเป็นเครื่องมือไปใช้ประกอบวิชาชีพ ความรู้และความชอบหรือความใฝ่ฝันของเด็กอาจติดตัวเขามาโดยที่เขาไม่รู้ตัว เรามีหน้าที่ผลักดันเขาไปในทางนั้นให้เขาหาตัวเองให้เจอ เราอยากให้นักศึกษาของเราสามารถเรียนแล้วเปิดธุรกิจของตนเองได้จริงๆ เหมือนที่ผ่านมาทุกรุ่น เด็กเรากล้าที่ลองผิดลองถูก กล้าที่ออกจาก Comfort Zone จริงๆ”

นางสาวปรารถนา ฤทธิเดช (เนย) นักศึกษาวิทยาลัยผู้ประกอบการ ชั้นปีที่ 4 ผู้ประกอบการ
“ข้าวไก่ทอด” คือผลผลิตว่าที่บัณฑิตที่ประสบความสำเร็จจากการตัดสินใจเลือกเรียนที่วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย ด้วยการลองผิดลองถูกกับงานพาร์ทไทม์หลายงาน กระทั่งได้ค้นพบความชอบการทำอาหาร จนได้ลองเริ่มต้นขายข้าวไก่ทอดธุรกิจเล็กๆ ตั้งแต่ปี 1 โดยการออกบูธในงานอีเว้นท์ต่างๆ รับออร์เดอร์ผ่านทางช่องทางสั่ง E-mail : noeytntn2121@gmail.com หรือ โทร.097 – 089 8295 สามารถทำยอดขายรวมได้หลักแสนบาทในขณะเรียน ปัจจุบันสามารถพัฒนาต่อยอดข้าวไก่ทอดซอสกะเพราเป็นสูตรใหม่จนลูกค้าติดใจสั่งมากเป็นซิกเนเจอร์

“ได้ทดลองทำมาหลายอย่างจนมาลงตัวที่การขายข้าวไก่ทอดโดยไม่มีหน้าร้าน ขายผ่านระบบออนไลน์ ทำเอง ขายเอง คิดสูตรซอสกะเพราขึ้นเอง ขายมาตั้งแต่เรียนปี 1 แล้วด้วยค่ะเพราะคิดว่าถ้าเราทำอะไรแล้วเราแฮปปี้สนุกที่จะทำก็จะทำต่อไปถ้าทำแล้วมันลงตัว จนมาลงตัวที่การทำอาหารเพราะชอบทำอาหาร สนุกและเรียนรู้ไปด้วยมากๆ กับการเรียนที่นี่จากวันแรกที่ได้มา Open House ของมหาวิทยาลัย ได้พบรุ่นพี่ที่เขาให้คำแนะนำและทำธุรกิจสำเร็จจริงๆ จนมาถึงวันนี้เราก็ไม่คิดว่าการขายไก่ทอดเล็กๆ เพียงตัวคนเดียวจะทำได้ มีรายได้ในระหว่างที่เรียนได้ดีมากเกินคาดคิด อยากยืนยันกับทุกคนที่มีความใฝ่ฝันอยากทำอะไรที่เป็นตัวของตัวเองว่า ‘การยิ่งได้เริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น’ แต่ถ้าไม่เริ่มเลยก็ไม่รู้ว่าทำได้หรือไม่ได้ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ นี่คือข้อดีของการได้เรียนที่วิทยาลัยผู้ประกอบการของ ม.หอการค้าไทยค่ะ”

นางสาวปลาทอง เทพนิยม (ปลาทอง) นักศึกษาวิทยาลัยผู้ประกอบการ ชั้นปีที่ 4 ผู้ประกอบการ
“ต่อเล็บ” เป็นหนึ่งโชว์เคสความสำเร็จของนักศึกษาของวิทยาลัยผู้ประกอบการ กล่าวถึงธุรกิจต่อเล็บเล็กๆ ที่มีรายได้ไม่ธรรมดาของตนเองว่า

“โดยส่วนตัวเป็นผู้หญิงที่สนใจเรื่องความสวยความงามอยู่เป็นทุนเดิม แล้วก็ได้ลองทำเล็บให้เพื่อนๆ ไม่ก็ต่อขนตาให้กันบ้าง ทำแล้วก็ทำให้ผู้หญิงเราสวยดูดีขึ้นได้ แต่เรายังเรียนอยู่ก็จะไม่สะดวกเรื่องวันเวลาทำธุรกิจเลยต้องเลือกจองคิวและเสริมความงามผ่านทาง Facebook : Spla Nail / Instragrame : Spla_Nail ซึ่งก็ได้ลองผิดลองถูกตั้งแต่ปี 1 ลงทุนเพียง 5,000 บาท แต่สามารถทำยอดขายได้ 25,000 บาทต่อเดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าเรามาถูกทางถูกที่ ทำให้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจต่อเล็บจนส่งตัวเองเรียนได้ นอกจากเราจะหาความชอบที่ใช่ตัวเองเจอแล้วเรายังได้ลองทำสิ่งที่เราชอบแบบทำจริงจากการใช้ความรู้ที่เรียนมาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในเทรนด์การขายออนไลน์มาบริหารจัดการระบบการจองคิวของลูกค้า เช่น แอพลิเคชั่น QueQ โดยจะมีการพูดคุยกับลูกค้าในรายละเอียดการนัดหมายวันและเวลา รูปแบบการทำเล็บ เพิ่มความสะดวก และลดค่าใช้จ่ายต้นทุนได้ด้วย สิ่งเหล่านี้คือ Mind Set ที่วิทยาลัยผู้ประกอบการสอนให้รู้ ก็ทำให้ไม่หลงทาง ซึ่งทุกคนก็จะมีวิธีคิดกรอบเดียวกันคือ ‘ไม่ลองก็ไม่รู้’ อย่างน้อยเมื่อรู้ว่าทำแล้วผิดพลาดก็มาพัฒนาปรับปรุง ไม่ทำเองก็ทำจากธุรกิจของที่บ้าน ยิ่งพอได้มาเรียนตามรอยของพี่ชายที่จบจากที่นี่เหมือนกันก็ยิ่งรู้เลยว่าเราเดินมาถูกที่ถูกทางแล้ว จะช่วยให้เราสำเร็จได้เร็วขึ้นเพราะคนเราทุกวันนี้ต้องแข่งกับตนเองและต้องแข่งกับเวลาที่ผ่านไปทุกวัน หากเราเริ่มช้า เราจะสำเร็จได้ช้าค่ะ”

นางสาวชลลดา แก้วหิน (วาฟเฟิ้ล) นักศึกษาวิทยาลัยผู้ประกอบการ ชั้นปีที่ 4 ผู้ประกอบการ
“ต่อขนตา” เป็นอีกตัวอย่างของนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจนี้ผ่านทาง Facebook : ต่อขนตา ห้วยขวาง / Instragrame : fleladabarbie

“การได้เรียนที่วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย เป็นสิ่งที่คิด ไม่ผิดค่ะ ลองผิดลองถูกตั้งแต่ปีที่ 1 ผลตอบรับจากเริ่มต้นทุน 10,000 บาท ทำยอดขายคืนทุนได้ใน 3 เดือน ปัจจุบันมียอดขายหลักหมื่นบาทต่อเดือน “ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของพี่ชายตนเองที่เรียนจบจากที่นี่ไปแล้วสานต่อธุรกิจของครอบครัวได้ ส่วนตัวก็ชอบเรื่องสวยๆ งามๆ ก็มีรับต่อขนตาบ้างแต่ทำอย่างไม่รู้ระบบหรือไม่มีกระบวนการทางความคิดการวางแผนในทางธุรกิจ ซึ่งพอได้ลงมือทำจริงจังจนเปิดรับงานต่อขนตาได้ มีรายได้ เข้ามา ก็มีความมั่นใจว่าเราได้ใช้ความรู้มาพัฒนาปรับปรุงและจะต่อยอดทำต่อไปอย่างมีระบบ การโต้ตอบกับลูกค้า การจัดการแก้ไขปัญหา จากการที่เราได้ลองโดยที่ใช้เงินลงทุนน้อยมากจนไม่คิดว่าวันนี้เราจะทำความใฝ่ฝันให้เป็นจริงได้ มีรายได้ในขณะเรียนได้จริงค่ะ”

การสร้างธุรกิจหรือการเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่เรื่องยากสำหรับยุคนี้ แต่การจะสร้างให้กิจการหรือการประกอบกิจการนั้นๆ ประสบความสำเร็จไปได้หรือได้ไปต่อก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่นิยมเป็นเจ้าของกิจการเล็ก ๆ เลือกทำในสิ่งที่เป็นความชอบและความถนัดของตนเอง เรียกว่าเป็นนายจ้างของตนเองและมีรายได้ดีที่สามารถส่งตนเองเรียนได้ด้วยในระหว่างเรียน พวกเขาเหล่านั้นต้องใช้ทั้งความชอบและต้องมีทักษะความรู้ที่ถูกต้องควบคู่ จึงจะได้สามารถนำพานาวาชีวิตและธุรกิจเล็กๆ แต่คล่องตัวที่พวกเขาเรียกตนเองว่าเป็น “ผู้ประกอบการ” อย่างสมบูรณ์แบบไปต่อยอดเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจในอนาคตแบบที่เรียกว่า “รู้จักตัวเองรู้จักธุรกิจ” นั่นเอง สามารถศึกษารายละเอียด วิทยาลัยผู้ประกอบการ ม.หอการค้าไทย ได้ที่ https://ce.utcc.ac.th