Home > Cover Story (Page 3)

ดิไอคอน ป่วนวงการติดลบ อินฟลูเอนเซอร์ เรตติ้งตก

“อินฟลูเอนเซอร์ พรีเซนเตอร์ คนที่มีชื่อเสียง ต้องเข้าใจธุรกิจมากกว่านี้ ก่อนตกปากรับคำทำสัญญา เพราะมีหลายธุรกิจที่มีทุนสีเทาอยู่เบื้องหลัง ถ้าพรีเซนต์และไม่มีสิ่งนั้นจริงๆ จะถูกเช็กบิลแรงมาก และทำให้ภาพรวมธุรกิจอินฟลูเอนเซอร์เสียหายไปด้วย” สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) หนึ่งในผู้นำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงกรณีบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป ซึ่งถูกกล่าวหาหลอกลวงผู้บริโภคด้วยการให้ร่วมลงทุน และจำหน่ายสินค้าในลักษณะขายตรง เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งถือเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยใช้กลยุทธ์พรีเซนเตอร์ดาราและพิธีกรชื่อดังโปรโมตธุรกิจ ขณะเดียวกัน การใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธกระจายข่าวสารเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก แม้คดีดิไอคอนยังไม่ได้ข้อสรุปทางคดี แต่ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้วงการอินฟลูเอนเซอร์ต้องสร้างมาตรฐานทั้งในแง่การรับงาน การศึกษาธุรกิจ ไม่ใช่หวังสร้างรายได้ทางเดียว เพราะมีสินค้าและธุรกิจรอรีวิวหรือนำเสนออีกจำนวนมาก “เรื่องนี้มีสองด้าน ทั้งฝั่งประชาชนและอินฟลูเอนเซอร์ พรีเซนเตอร์ ทุกวันนี้ เรายังหลงเชื่อคนอวดรวย ทั้งที่ยุคปัจจุบันไม่มี Quick Win ไม่มีผลตอบแทนรวดเร็ว

Read More

ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ สีเบเยอร์เติบโตด้วยนวัตกรรม

ข่าวอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มักจะอยู่ในความสนใจจากผู้บริโภค ผู้พัฒนาอสังหาฯ โดยเฉพาะในยามที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบโดยตรง ขณะที่อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน และเติบโตคู่ขนานคือ อุตสาหกรรมสี แม้จะมีมูลค่ารวมเพียง 60,000 ล้านบาท และมีผู้เล่นหลักรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย การเติบโตแบบไม่หวือหวาของอุตสาหกรรมสี แต่กลับสร้างความน่าสนใจ ด้วยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์ที่หยิบจับนวัตกรรมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบให้แก่แบรนด์ มีเป้าหมายหลักเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด นวัตกรรมส่วนใหญ่ที่แบรนด์สีผสมผสานเข้ามาในผลิตภัณฑ์ เช่น สีลดอุณหภูมิ สีลดกลิ่น อีกหนึ่งแบรนด์ที่เริ่มพัฒนาสีให้เป็นมากกว่าสี มีเป้าหมายต้องการยกระดับมาตรฐานสีของไทย คือ เบเยอร์ ที่ดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 60 ปี “สีเบเยอร์มีจุดเริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ เมื่อ 63 ปีที่แล้ว จากความต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานสีของไทย สู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสีทาไม้ สีทาอาคาร จากมุมมองเรื่องความสวยงาม สู่มุมมองของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่กลายเป็นนโยบายหลักของเรา สีลดอุณหภูมิ สีลดกลิ่น สีลดโอกาสการติดเชื้อ เรามองถึงผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก” ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ กล่าว เบเยอร์มีจุดเริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2504 ด้วยการจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีรุ่ง โดย ประเสริฐ ชัยยศบูรณะ จำหน่ายสีทาอาคารและอุปกรณ์ก่อสร้างเป็นหลัก จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาสีเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย

Read More

เอกา โกลบอล สยายปีกลุยแดนภารตะ ปักหมุดรุกตลาดบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร

อินเดียกำลังถูกจับตามองอย่างมากจากนักธุรกิจ นักลงทุนทั่วโลก เพราะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก สาเหตุหลักคือ ปัจจุบันจำนวนประชากรอินเดียแซงหน้าจีนด้วยจำนวน 1,450 ล้านคน และประชากร 2 ใน 3 อยู่ในวัยทำงาน ขณะที่อีกหลายประเทศกำลังกังวลเรื่องประชากรสูงวัยที่เพิ่มจำนวนขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน ทว่า อินเดียมีประชากรสูงวัยที่อายุ 65 ปีขึ้นไปเพียง 6เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ชื่อว่า Made in India ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนอินเดียเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก โดยจะเป็นการลดภาษีให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานที่อินเดีย ขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัล ส่งผลให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกหันมาลงทุนในอินเดียเพิ่มขึ้น ข้อได้เปรียบที่อินเดียจะได้รับคือการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาสู่อินเดีย ซึ่งจะทำให้อินเดียสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันนอกประเทศได้มากขึ้น หากมองในปัจจุบัน ปี 2024 อินเดียคือประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงเป็นอันดับ 1 ขนาด GDP มีมูลค่า 3,094 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขยายตัวของ GDPอยู่ที่ 6.8-7 เปอร์เซ็นต์ และสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผลักดันให้ GDP

Read More

“ไพโรจน์ วัฒนวโรดม” มืออาชีพอสังหาฯ กับการเสริมทัพ “อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท”

ยังคงโชว์ฟอร์มได้สมกับเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพทีเดียว สำหรับ “ไพโรจน์ วัฒนวโรดม” ที่หลังจากหวนคืนวงการโดยการเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของบริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) ไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เพราะล่าสุดสามารถคว้ายอดโอนรวมกว่า 1,000 ล้านบาท มาไว้ในมือได้อย่างสบายๆ “ไพโรจน์ วัฒนวโรดม” หรือ “พี่แจ้” ของคนในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นนักพัฒนาอสังหาฯ ระดับมืออาชีพที่คร่ำหวอดในธุรกิจอสังหาฯ มาหลายทศวรรษ จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท MBA จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ด้วยวัยเพียง 24 ปี โดยมีอาจารย์อย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, ดร.ทนง พิทยะ, ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ และ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา เป็นรากเหง้าทางความคิด ไพโรจน์เริ่มงานที่แรกที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะนักการตลาด

Read More

ESR Group เบอร์หนึ่ง Indo-Pacific กับการบุกตลาดอสังหาฯ เมืองไทย

“ธุรกิจอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะทันสมัยหรือล้ำหน้าขนาดไหน ถึงอย่างไรก็ต้องการอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างธุรกิจ เราซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างตึก สร้างอาคาร ก็ยังคงต้องทำอยู่ ซึ่งผมว่านี่คือเสน่ห์ของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” สยาม ทองกระบิล ผู้บริหารสูงสุดประเทศไทย ของ อีเอสอาร์ กรุ๊ป กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและมีศักยภาพในการเติบโต แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ก็ตาม เพราะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้งในด้านที่อยู่อาศัยและพื้นที่ใช้สอย นั่นทำให้มีผู้เล่นเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อันสืบเนื่องมาจากนโยบายของภาครัฐในการผลักดันให้ไทยเป็นฮับของการผลิต และตัวกระตุ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตและเพิ่มความต้องการด้านคลังสินค้า และในบรรดาผู้เล่นในตลาดที่มีมากมาย ที่น่าสนใจคือการเข้ามาของ “อีเอสอาร์ กรุ๊ป” (ESR Group) ผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ผู้นำระดับ Indo-Pacific ที่เข้ามาบุกตลาดอสังหาฯ ในเมืองไทยเมื่อ 2 ปีก่อน โดยมี “สยาม ทองกระบิล” ผู้ที่คร่ำหวอดในธุรกิจจัดการกองทุน พัฒนา และบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์

Read More

ฟุตฟิตฟอไฟว์ ตลาดอินเตอร์พุ่ง 8.7 หมื่นล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ตลาดโรงเรียนนานาชาติในปี 2567 จะเติบโตราว 13% จากปีก่อนหน้า มีมูลค่ามากกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจำนวนนักเรียนและโรงเรียนนานาชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเล่าเรียนปรับตัวสูงขึ้น ที่น่าสนใจ คือ จำนวนนักเรียนในไทยมีแนวโน้มลดลงจากสถิติการเกิดที่มีแนวโน้มลดลง โดยระหว่างปี 2555-2567 จำนวนการเกิดลดลงเฉลี่ยต่อปี 4.5% และภาพรวมจำนวนนักเรียนในระบบทั้งหมดมีอัตราการลดลง 0.9% ข้อมูลยังระบุว่า ปี 2567 ภาพรวมจำนวนโรงเรียนลดลง 0.5% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 33,098 โรงเรียน และช่วงปีการศึกษา 2555-2567 เกิดการทยอยปิดตัวของโรงเรียน โดยโรงเรียนรัฐบาลมีอัตราลดลงเฉลี่ยถึง 0.6% ต่อปี รวมถึงโรงเรียนเอกชนหลักสูตรไทยมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ย 0.7% ต่อปี แต่จำนวนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติกลับมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 6.9% ต่อปี ดูเฉพาะปีการศึกษา 2567 จำนวนนักเรียนในไทยลดลง 1.7% จากปีก่อนหน้า แต่จำนวนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติกลับเพิ่มขึ้น 10.2% เหตุผลสำคัญมาจากกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีกำลังทรัพย์นิยมหลักสูตรการศึกษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น อยากให้ลูกเก่งภาษาต่างประเทศและอยู่ในสังคมเพื่อนๆ ชาวต่างชาติ โดยข้อมูลช่วงสถานการณ์โควิด-19

Read More

“วัฒนาวิทยาลัย” พลิกสูตร Transform ไม่อยากปิดกิจการ ต้องพัฒนาให้ทัน

ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโรงเรียนเอกชนที่รุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนนานาชาติที่ได้รับความนิยม ทำให้สถาบันการศึกษาเก่าแก่ 150 ปี อย่าง “วัฒนาวิทยาลัย” วันนี้ต้องออกมาประกาศยุทธศาสตร์ Transformational Leadership School ผลักดันแนวคิดการสร้างผู้นำกุลสตรียุคใหม่ หวังขยายฐานตลาดเข้าถึงกลุ่มพ่อแม่และเด็กๆ มากขึ้น    ทั้งนี้ หากย้อนประวัติศาสตร์โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2417 โดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนมิชชันจากสหรัฐอเมริกา เดิมมีชื่อเรียกว่า โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังหลัง เป็นโรงเรียนสตรีประจำและโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย มีมิสซิสแฮเรียต เอ็ม เฮาส์ เป็นครูใหญ่คนแรก โดยมีจุดมุ่งหมายจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเขียน การศึกษาคริสตจริยธรรมและวิชาเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิชาสำหรับกุลสตรีสมัยนั้น ปี 2464 กิจการของโรงเรียนเติบโต ทำให้สถานที่ตั้งเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ จึงย้ายโรงเรียนมาอยู่ในทำเลย่านถนนสุขุมวิท 19 เนื้อที่รวม 51 ไร่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัฒนาวิทยาลัย” ปัจจุบันวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนสตรีภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีทั้งนักเรียนไป-กลับ ระดับปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนประจำระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยขณะนี้มีนักเรียนทั้งหมด 1,800 คน

Read More

TikTok บูม กลเม็ดแม่ค้าออนไลน์เกลื่อน

คดีแม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์ เจ้าของห้างเพชรทอง K2N หลอกขายทองออนไลน์ มีผู้เสียหายทั่วประเทศ แม้ยังไม่สรุปตัวเลขชัดเจน แต่ประเมินจากการไลฟ์โชว์ความร่ำรวยของสองผู้ต้องหา ทั้งเงินสดเต็มตู้เซฟขนาดใหญ่ บ้านหลังโตระดับคฤหาสน์ ซูเปอร์คาร์ สินค้าแบรนด์เนม และการกินหรูอยู่สบาย อาจมีมากกว่าพันล้านบาท ทั้งหมดสะท้อนถึงช่องโหว่ของการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกฎหมายและการควบคุมของภาครัฐตามไม่ทัน ขณะที่มีผู้หลงเชื่อจากภาพการโฆษณาบวกกับการสร้างภาพแม่ค้าคนดัง จนไม่ได้ตรวจสอบก่อนสั่งซื้อสินค้า แต่ข้อมูลเริ่มปรากฏเมื่อมีลูกค้าจำนวนมากที่สั่งซื้อทองผ่าน TikTok และวันหนึ่งต้องการนำสร้อยพร้อมจี้ไอ้ไข่และดอกไม้ทองคำไปจำหน่ายต่อ แต่กลับไม่ได้ราคาแถมยังถูกปฏิเสธ เพราะไม่มีใบรับรองและเปอร์เซ็นต์ทองน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่ใช่ทอง 99.99% ตามที่ระบุไว้ในไลฟ์ มีการไลฟ์แฉผ่าน TikTok กระจายข่าวสู่สาธารณะอย่างรวดเร็ว ลูกค้าต่างตรวจสอบและเจอความจริงเหมือนกัน คลื่นมหาชนบุกห้างทองเคทูเอ็นย่านหทัยราษฎร์ขอคืนทองและมีตัวแทนผู้เสียหายอีกกลุ่มหนึ่งแจ้งความเอาผิดในข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน” โดยนำหลักฐานการซื้อขาย และผลตรวจปริมาณทองคำมามอบให้กับพนักงานสอบสวนประกอบการพิจารณา วันที่ 30 กันยายน 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) จับกุมนางสาวกรกนก สุวรรณบุตร หรือ แม่ตั๊ก กรกนก และนายกานต์พล เรืองอร่าม หรือ ป๋าเบียร์ กรณีขายทองออนไลน์ 4 ข้อหาหนัก คือ

Read More

เส้นทางเอสซีแอสเสท ธุรกิจชินวัตร จาก “ยิ่งลักษณ์” ถึง “ณัฐพงศ์”

หลังตระกูลชินวัตรขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ ต้องถือว่า บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เป็นธุรกิจแกนหลักของครอบครัว หากดูข้อมูลล่าสุดในเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า SC มีสินทรัพย์รวม 68,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบปี 2566 ที่มีสินทรัพย์รวม 63,887 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จำนวน 1,216,149,870 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 28.43%  นางสาวพินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ 1,176,915,495 หุ้น สัดส่วน 27.52% นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 201,234,375 หุ้น

Read More

เปิดความสำเร็จ พร็อพเพอร์ตี้ กูรู ยกระดับมาตรฐานทุกมิติอสังหาฯ ไทยเทียบชั้นเอเชีย

อสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การเงินการคลัง ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ขณะที่ปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ผู้ประกอบการอสังหา สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเช่นกัน แน่นอนว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะมีมาตรฐานในการสร้างที่อยู่อาศัยที่เสมือนเป็นพันธกิจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสร้างความปลอดภัยในการอยู่อาศัย บ้านประหยัดพลังงาน นอกจากมาตรฐานที่แต่ละค่ายอสังหาฯ ต้องยึดเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards ที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ มองว่ารางวัลนี้เป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards เป็นมาตรฐานระดับสูงของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ไทยมุ่งมั่นที่จะยกระดับความเป็นเลิศ “PropertyGuru Thailand Property Awards ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 นี่ถือเป็น Gold Standard ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 20 ในปีหน้า โดยรางวัลนี้เราจะมอบให้แก่สุดยอดโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งปีที่โดดเด่นด้านที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งเราจัดขึ้นทุกปี โดยในปีนี้เราเน้นย้ำถึงความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง

Read More