Home > 2018 > มีนาคม

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล 4 ปี ดัน “วอริกซ์” เข้าตลาดหุ้น

“วอริกซ์เข้ามาเป็นตัวแทนผลิต จัดจำหน่ายเสื้อทีมชาติไทยตั้งแต่ปี 2559 เซ็นสัญญา 4 ปี 400 ล้านบาท ตอนนั้นหลายๆ คนบอกว่าเจ๊งแน่ๆ แต่ดูยอดและตัวเลขตอนนี้ บริษัทได้ยอดขายจากเฉพาะตัวสินค้าของทีมชาติไทยเติบโตขึ้นถึง 200 ล้านบาท มียอดขายรวมสินค้าอื่นๆ เติบโต 300% และเตรียมดันบริษัทเข้าตลาดหุ้นในปีนี้หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปีหน้า” วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ย้ำกับสื่อถึงความสำเร็จในวันนี้หลังจากใช้เวลาฟันฝ่าธุรกิจอยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้ามานานกว่า 10 ปี โดยใช้กลยุทธ์เจาะตลาดนิชมาร์เก็ตในกลุ่มเสื้อผ้ายูนิฟอร์มและชุดนักเรียน จนกระทั่งเห็นช่องทางและโอกาสบุกตลาดชุดกีฬาที่เน้นนวัตกรรมใหม่ฉีกแนวจากเจ้าตลาดหน้าเก่า ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์สปอร์ตแวร์ แน่นอนว่า การคว้าสิทธิ์ออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายชุดแข่งขันและเครื่องแต่งกายทัพช้างศึกไทยอย่างเป็นทางการสามารถผลักดันให้แบรนด์ “วอริกซ์” ติดตลาดทอปทรีในตลาดไทย และสร้างยอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะปี 2560 มีรายได้รวมเติบโตถึง 3 เท่าตัว ปิดยอดขายที่ 564 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทยประมาณ 200 ล้านบาท หรือขายได้ 5 แสนตัว

Read More

ธุรกิจคึกรับ “สปอร์ตซิตี้” ตลาดโตเม็ดเงินแสนล้าน

ประมาณกันว่า อุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 2 แสนล้านบาท อัตราเติบโตอย่างน้อย 4-5% ต่อปี และสำรวจกันอีกว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการจัดการแข่งขันกิจกรรมการกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สามารถสร้างเม็ดเงินสะพัดสูงถึง 27,663 ล้านบาท ที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 5 ปีนับจากนี้ ตัวเลขที่พุ่งไม่หยุดส่งผลกระตุ้นให้ธุรกิจหลากหลายกลุ่มกระโดดเข้ามาเล่นในสมรภูมิการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งและสร้างโอกาสใหม่ๆ โดยเฉพาะเมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากำหนดนโยบายและแผนการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) มีการส่งเสริมกิจกรรม “สปอร์ต ทัวริซึม” และพัฒนา”สปอร์ต ซิตี้” หรือ สร้างเมืองกีฬาแห่งแรกในไทย ซึ่งนโยบาย “สปอร์ต ทัวริซึม” ชัดเจนและเห็นผลในระดับหนึ่งแล้ว เหลือแต่การผลักดันและกำหนดกฎเกณฑ์ การประกาศส่งเสริมเมืองกีฬา “สปอร์ต ซิตี้” ให้เป็นทางการ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามุ่งหวังทำให้สำเร็จในปี 2561 หรืออย่างช้าภายในปี 2562 ในเบื้องต้นนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวฯ วางแนวทางกำหนดกฎเกณฑ์และการประกาศเป็นเมือง “สปอร์ต ซิตี้” โดยอาจให้แต่ละภาคของไทย รวม 6 ภาค เสนอตัวแทน

Read More

กินให้ดีหลีกหนีภัยร้ายได้สารพัด

Column: Well – Being เราได้ผ่านพ้นช่วงเวลาการเฉลิมฉลองหลากหลายเทศกาลมาระยะหนึ่งแล้ว และก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาของการตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้เต็มที่เพื่อชีวิตที่ดีที่รออยู่ข้างหน้า เมื่อทุ่มเททำงานวุ่นวายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ความเครียดก็มาเยือนเป็นเรื่องปกติ นิตยสาร GoodHealth ตั้งข้อสังเกตว่า ระดับความเครียดกับโภชนาการที่เลว มักเชื่อมโยงกัน และเมื่อคุณมีงานล้นมือ สมองที่จะคิดเรื่องการกินอาหารดีๆ เพื่อสุขภาพคงต้องหลีกทางไปอย่างช่วยไม่ได้ ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อของความเครียดจากการทำงาน ให้วางแผนการกินล่วงหน้าคงจะช่วยได้ เน้นถั่วเปลือกแข็ง “หนึ่งในสิ่งสำคัญๆ ที่ต้องตระหนักคือ การกินอาหารผิดประเภทสามารถกระตุ้นความเครียดและความกระวนกระวายได้” นักกำหนดอาหาร คาสซานดรา บาร์นส์ อธิบาย “เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะตึงเครียด มันทำให้รู้สึกอยากอาหารรสหวาน เช่น ช็อกโกแลต หรือมันฝรั่งทอด และเครื่องดื่มกาเฟอีน ให้หันกลับมาหาอาหารว่างที่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ถั่วเปลือกแข็งอย่าง อัลมอนด์ บราซิลนัต เฮเซลนัต แมคคาเดเมียนัต กรีกโยเกิร์ต อะโวคาโด และทูน่า เพราะอาหารว่างเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันดีที่ช่วยลดอาการอยากของหวานของคุณได้” ถ้าคุณรู้ว่าวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันที่คุณมีธุระยุ่งทั้งวัน ให้เตรียมตัวจัดอาหารว่างล่วงหน้า ด้วยการจัดผักที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำใส่กล่อง ชีส และผลไม้สักหนึ่งชิ้น หรือผลไม้ปั่นสักหนึ่งแก้วติดตัวไปด้วย หลีกเลี่ยงกาเฟอีนปริมาณสูง ถ้าระหว่างวัน คุณรู้สึกว่าระดับพลังงานลดฮวบลง คุณอาจรู้สึกเหมือนอยากดื่มกาเฟอีนเพื่อเพิ่มพลังงาน อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มกาเฟอีนปริมาณสูงสามารถทำให้ความดันโลหิตของคุณสูงขึ้นระยะสั้นได้ และคุณจะรู้สึกห่อเหี่ยวอีกครั้งเมื่อกาเฟอีนในร่างกายลดลง ชาเขียวเป็นทางเลือกที่วิเศษมาก “เพราะมันมีกาเฟอีนระดับหนึ่ง

Read More

วอริกซ์-สเตเดี้ยมวัน เมื่อ DNA นักรบธุรกิจเจอกัน

เดือนพฤษภาคมนี้ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จะเผยโฉม “วอริกซ์ช็อป” ภายใต้แนวคิด “ช้างศึกเมกะสโตร์” แฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในโครงการสเตเดี้ยมวัน ซึ่งถือเป็นสปอร์ตคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกในอาเซียนด้วย ที่สำคัญเป็นการผนึกกำลังของนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ที่มี DNA เหมือนกัน การพยายามหาจุดต่าง โอกาส และช่องว่างการเติบโต ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งในแง่เงินทุนและชื่อเสียงเมื่อเทียบกับทายาทเครือข่ายขนาดใหญ่ในประเทศไทย วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า แบรนด์วอริกซ์ หรือ Warrix จากคำว่า นักรบ หรือ Warrior และมาจากชื่อที่มี “ว” 2 ตัว รวมทั้งสะท้อนเส้นทางธุรกิจที่ผ่าน “วิกฤต” มากมายกว่าจะมาถึงวันนี้ ที่บริษัทสามารถสร้างรายได้ยอดขายพุ่งกระฉูดถึง 300% วิศัลย์ถือเป็นนักธุรกิจหนุ่ม วัยเพียง 44 ปี จบชั้นประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ช่วงวัยเด็กที่บ้านมีฐานะดีมากจากธุรกิจค้าขายไม้ จนกระทั่งอายุ 14

Read More

ความสูญเสียของผู้หญิงที่ต้องแลกมากับความสำเร็จในหน้าที่การงาน

Column: Women in Wonderland ในปัจจุบันผู้หญิงส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกบ้าน และแน่นอนว่าพวกเธอส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ได้รับเงินเดือนที่สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นว่าผู้หญิงเหล่านี้มีความสุข ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้น จริงๆ แล้วพวกเธอจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้างเพื่อแลกกับความสำเร็จในหน้าที่การทำงานที่ได้มา ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องเงินเดือน ทั้งๆ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานเหมือนกัน หรือการทำงานอย่างหนักเพื่อพิสูจน์ให้หัวหน้างานยอมรับในความสามารถ และการได้ความไว้วางใจและเชื่อใจจากผู้ที่เป็นลูกน้อง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้หญิงมีความกดดันในที่ทำงานสูง รวมถึงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นการประสบความสำเร็จในที่ทำงานจึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงที่ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้น มักจะต้องเผชิญกับความเศร้า ความเจ็บปวด และการถูกทอดทิ้งจากคนใกล้ชิด ซึ่งถือเป็นความสูญเสียหรือความเศร้าที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้หญิงส่วนใหญ่ที่จะต้องแลกมา เมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศสวีเดนได้ทำการวิจัยเรื่องความแตกต่างทางเพศ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างอาจารย์ Olle Folke จากภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Uppsala กับอาจารย์ Johanna Rickne จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Stockholm โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้พบว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ที่เป็นผู้หญิง เมื่อได้รับเลือกเข้าไปทำงานในรัฐสภา หลังจากนั้นพวกเธอจะต้องเผชิญกับการหย่าร้าง และนักการเมืองหญิงส่วนใหญ่ก็จะพบเจอสถานการณ์นี้แทบจะทุกคน ซึ่งงานวิจัยได้ทำการศึกษาเฉพาะคู่แต่งงานระหว่างหญิงกับชายเท่านั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผู้ชายก็พบว่า นักการเมืองชายที่ได้รับเลือกเข้าไปทำงานในรัฐสภากลับไม่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การหย่าร้าง ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้อธิบายเพิ่มว่า นักการเมืองหญิงแทบทุกคนจะต้องเจอกับสถานการณ์หย่าร้าง โดยเฉพาะนักการเมืองหญิงที่ได้รับเลือกให้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูง อย่างเช่นตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ยิ่งมีอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นกว่าปกติอีก นักการเมืองหญิงที่ชนะการเลือกตั้งกับการหย่าร้างนั้นแทบจะยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นกับนักการเมืองหญิงแทบจะทุกคน

Read More

วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?

กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า

Read More

ยิ้มรับยารักษาฟันผุ & โครงการ Go for Gold

Column: Well – Being เพราะวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้การค้นพบใหม่ๆ ในโลกของความเป็นอยู่ที่ดีและการแพทย์เกิดขึ้นมากมาย และถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วจนยากที่จะรู้ได้ว่า การค้นพบอย่างทะลุทะลวงเหล่านี้จะทำให้มีความหวังขึ้นมาใหม่หรือไม่ นิตยสาร GoodHealth รายงานว่า นักวิจัยจากคิงส์ คอลเลจ ในกรุงลอนดอน ค้นพบวิทยาการที่อาจเรียกได้ว่า เป็นวิธีรักษาฟันผุแบบใหม่ก็เป็นได้ พวกเขาพบว่ายา Tideglusib (ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทดลองใช้กับคนไข้อัลไซเมอร์ในความพยายามกระตุ้นให้เซลล์สมองงอกใหม่) ช่วยกระตุ้นสเต็มเซลล์ในเนื้อเยื่อของฟันได้ จึงเป็นตัวสร้างเนื้อฟันขึ้นมาใหม่ นักวิจัยนำฟองน้ำที่ย่อยสลายได้ไปชุบตัวยา Tideglusib แล้วอุดลงไปในรูฟันเพื่อกระตุ้นให้สร้างเนื้อฟัน และภายใน 6 สัปดาห์ จะช่วยซ่อมแซมฟันที่ผุเป็นรูได้ การอุดฟันจะถึงจุดจบหรือไม่ “ถ้าตัวยานี้สามารถทำให้การสร้างเนื้อฟันเพิ่มขึ้น ด้วยการกระตุ้นการเติบโตของสเต็มเซลล์ นั่นอาจเป็นทางเลือกแทนการอุดฟันที่ไม่เจ็บปวด มีความเป็นธรรมชาติ และคงอยู่อย่างถาวรได้อย่างแท้จริง” คาเรน โคทส์ ที่ปรึกษาด้านทันตกรรมเพื่อมูลนิธิสุขภาพในช่องปากอธิบาย “ขณะที่การอุดฟันยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการฟันผุที่เป็นรูขนาดใหญ่ แต่อาจมีปัญหาเรื่องวัสดุอุดเสื่อมและแตกออกได้ ทำให้ต้องซ่อมแซมและอุดใหม่ ทันตแพทย์มักกรอวัสดุอุดฟันออกก่อนแล้วอุดใหม่ โดยรูฟันจะใหญ่ขึ้นในทุกครั้ง จนกระทั่งท้ายที่สุด อาจต้องครอบฟันหรือถึงขั้นถอนทิ้งก็เป็นได้” “การคิดค้นวิธีที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เพื่อให้ฟันได้ซ่อมแซมตัวของมันเอง ไม่เพียงกำจัดปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ยังเป็นทางเลือกในการรักษาที่เยี่ยมมากสำหรับคนไข้ที่กลัวการทำฟัน” “อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น และต้องมีการทดลองทางคลินิกอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่เราจะสามารถวัดประสิทธิภาพของการรักษาอาการฟันผุได้เต็มที่ ที่สำคัญคือ ต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นทำกับหนู เมื่อการทดลองกับหนูทำให้เกิดความเข้าใจว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาตัวใหม่ จะให้หลักประกันความสำเร็จในการรักษามนุษย์ได้นั้น ไม่จริงแต่อย่างใด” “มันเป็นวิธีที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นมาก ซึ่งอาจเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของการรักษาฟันผุ” โคทส์ยังเพิ่มเติมด้วยว่า

Read More

บอร์ด ปตท. ประกาศผลสรรหา ซีอีโอ คนที่ 9

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ ปตท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ปตท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. เป็นผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนต่อไป แทนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ที่จะหมดวาระในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 โดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนใหม่ ซึ่งเป็น ซีอีโอ คนที่ 9 นับตั้งแต่ก่อตั้ง ปตท.มา จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป นายชาญศิลป์ เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานใน ปตท. มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ตอบสนองแผนกลยุทธ์ของ ปตท. ในเรื่อง Disruptive Technology เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ของ ปตท. และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจของ ปตท. ต่อไป

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More

บุพเพสันนิวาส บนกระแสธารไทยแลนด์ 4.0

หลังจากการออกอากาศตอนแรกของละคร “บุพเพสันนิวาส” ไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เพียงข้ามคืนละครเรื่องนี้ได้สร้าง “ปรากฏการณ์ทางสังคม” จนเกิดกระแสฟีเวอร์ที่ใครต่างพากันพูดถึง ไม่เว้นแม้แต่คนที่ไม่ใช่คอละคร ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” กลายเป็น talk of the town จากหลักฐานที่บ่งบอกว่า มีการค้นหาความหมายของคำสรรพนามที่ใช้เรียกบุรุษที่สองในละครอย่างคำว่า “ออเจ้า” ภาษาโบราณที่เคยใช้จริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกอยู่ในหนังสือ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ การค้นหาไม่ได้มีเพียงแค่คำโบราณที่ใช้ในละครเท่านั้น เมื่อตัวละครที่ปรากฏเพียงไม่กี่วินาทีในบางฉาก แต่สร้างความสงสัยให้หลายคนว่าบุคคลนั้นแสดงเป็นใคร กระทั่งได้คำตอบว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีการค้นหาต้นฉบับหนังสือนวนิยายเรื่องนี้ และที่สำคัญคือ “รอมแพง” นามปากกาของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ แน่นอนว่าหลังจากละครออกอากาศไปเพียงไม่กี่ตอนคำว่า “ออเจ้า” คำโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นคำฮิตในยุคดิจิทัล เมื่อโลกโซเชียลพากันใช้คำนี้จนฮิตติดปาก ความนิยมที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน ทำให้เรตติ้งละครเรื่องนี้ของช่อง 3 สูงขึ้นแซงหน้าละครช่องอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้ผู้จัด นักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบทโทรทัศน์ และเหล่าทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญให้การสร้างสรรค์ละครจนเป็นที่กล่าวถึง กระนั้นต้องยอมรับว่า

Read More