ความหวัง ความกังวล เศรษฐกิจฟื้นตัว ทางเลือกที่รัฐต้องเสี่ยง?
ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศไทย ณ ปัจจุบันขณะคงไม่ต่างอะไรกับแผลกดทับที่หลายคนคงทำได้แต่ภาวนาว่าขอให้สถานการณ์เลวร้ายที่รายล้อมอยู่ในขณะนี้คลี่คลายลง เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้านมานานแรมปี อาทิ ภาวะความถดถอยของการค้าโลก ปัญหาความไม่มั่นคงด้านการเมืองภายในประเทศ และภาวะโรคระบาดที่ดูจะกินเวลามายาวนานถึง 2 ปี ซึ่งปัจจัยหลังน่าจะยังส่งผลต่อเนื่องนานอีกหลายปีทีเดียว แม้ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อของไทยจะยังไม่ดีขึ้นมากนัก อาจเรียกได้ว่าเป็นคนป่วยที่ยังอยู่ในอาการทรงๆ เสียมากกว่า กระนั้น ผู้บริหารของไทยคงพิจารณาจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน และเห็นชอบกำหนดเวลาเปิดประเทศ ซึ่งธงแห่งความหวังคือ เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยตัวเองในระยะเวลาที่เหลือของปี แม้จะเป็นความเสี่ยงที่หลายคนยังไม่อาจยอมรับได้ ทว่า เราอาจจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสที่ยังคงแผงฤทธิ์ต่อไป เฉกเช่นเชื้อโรคระบาดชนิดอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยแรงกดดันจากภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ หรือเสียงเรียกร้องจากประชาชนผู้ทำมาหากินที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปพร้อมๆ กับการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะปะทุขึ้นอีกในอนาคต โดยมาตรการล่าสุดที่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและอาจเพิ่มสัดส่วนจีดีพีไทยให้ขยายตัวมากขึ้น นั่นคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) อีกครั้ง หลังจากที่ได้ผ่อนคลายเกณฑ์บางส่วนไปในช่วงก่อนหน้า รายละเอียดของการผ่อนคลายมาตรการในครั้งนี้คือ 1. ปรับเพดานสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองเป็นต้นไปที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 70-90% เป็น 100% ขณะที่ในสัญญาซื้อหลังแรกยังคงเดิมอยู่ที่
Read More