Home > 2016 > สิงหาคม

อาหารประจำชาติ

   กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วย พริกแกง ดูจะเป็นไปอย่างคึกคักหนักหน่วงอย่างยิ่งไม่เฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย หากแต่ดูเหมือนบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยต่างก็แสดงทัศนะด้านลบต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อนไปตามชื่อเรื่อง ความเป็นไปของวัฒนธรรมอาหารในด้านหนึ่งคือความลื่นไหลของทั้งประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนสัมพันธ์ที่สามารถไล่เรียงตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน กระทั่งก่อรูปเป็นกระแสสำนึกในระดับประเทศชาติ ให้เก็บรับกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารและการบริโภคไปโดยปริยาย ความพยายามที่จะผูกขาดยึดโยงแบบเหมารวมทั้งในมิติของวิธีการปรุงก็ดีหรือแม้กระทั่งเครื่องเคราวัตถุดิบในการปรุงอย่างกำหนดตายตัวในเมนูอาหารหลากหลายจึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อเท็จจริงของวัฒนธรรมอาหาร  ยิ่งเมื่อผูกสานผสมรวมเข้ากับวิถีคิดแบบชาตินิยมคับแคบยิ่งทำให้คำว่า อาหารประจำชาติ กลายเป็นเพียงเรื่องขบขันที่น่าเสียดาย ชนิดที่หัวเราะไม่ออกร้องไห้ก็ไม่ได้ และอาจทำให้เมนูอาหารประจำชาติที่ว่าถูกทิ้งร้างให้จมปลักอยู่ในเงามืดของมุมห้องครัว และปรากฏเหลือเพียงชื่อให้ได้กล่าวถึงแต่ไร้สรรพรสที่จะหยิบยื่นให้สัมผัส หากสำหรับครัวศรีลังกาซึ่งวิวัฒน์ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลากหลายทั้งจากการที่เป็นสถานีการค้าสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีต หรือแม้กระทั่งการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้อาหารพื้นถิ่นของศรีลังกาอุดมด้วยเรื่องราวและรากฐานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ที่ผสานเข้ากับภูมิปัญญาและวัตถุดิบประจำถิ่นที่กอปรส่วนเข้ามาเป็นอาหารของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ว่าอาหารจานหลักของศรีลังกาจะอยู่บนพื้นฐานที่มีข้าว มะพร้าวและเครื่องเทศหลากหลายเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับศรีลังกาทั้งในฐานะผู้ผลิตสำคัญและการเป็นสถานีการค้าที่มีเครื่องเทศจากทุกภูมิภาคของโลกเคลื่อนตัวผ่าน ทำให้อาหารของศรีลังกาเต็มไปด้วยสีสันและรสชาติที่หลากหลายตามแต่จะปรับเข้าหารสนิยมของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นถิ่นด้วย สำรับอาหารของศรีลังกานอกจากจะมีข้าวสวยที่ผ่านการหุงสุกประกอบส่วนด้วยเครื่องแกง ที่ถือเป็นสำรับอาหารที่มีต้นทางและเป็นประหนึ่งวัฒนธรรมร่วมอยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียใต้ หากมีความหลากหลายทั้งในมิติของรสชาติที่ไล่ระดับความเผ็ดร้อน หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์แหล่งโปรตีนที่จะเติมเต็มคุณค่าสารอาหาร ทั้งปลา ปู กุ้ง หมู ไก่ หรือแม้กระทั่งเนื้อแพะ วัฒนธรรมอาหารที่ลื่นไหลและอบอวลคละคลุ้งในลักษณะเช่นว่านี้ ทำให้ศรีลังกายากที่จะระบุให้อาหารสำรับใดหรือจานใดจานหนึ่งเป็นอาหารประจำชาติของศรีลังกาแต่โดยลำพัง หากเมื่อกล่าวถึงอาหารยอดนิยมของศรีลังกาแล้วล่ะก็ คงได้ลิสต์รายชื่อออกมาเป็นหางว่าวอย่างแน่นอน ยังไม่นับรวมการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกจากยุคอาณานิคมเช่น Lamprais หรือข้าวห่อใบตองซึ่งมีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอาหารของพวก Dutch Burgher ที่มีลักษณะเฉพาะด้วยการนำข้าวหุงสุกคลุกเคล้าเข้ากับเครื่องเทศและเครื่องแกงควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์ ก่อนจะห่อด้วยใบตองแล้วนำไปอบ ซึ่งก็คือการหุงปรุงรอบที่สอง มรดกของอาหารสำรับดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า Lamprais เป็นประหนึ่งต้นทางของการห่อข้าวให้เป็น Lunch Packett สำหรับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการย่อส่วนโดยตัดใบตองและการอบครั้งที่สองออกไปให้เหลือเพียงข้าวกับเครื่องแกงและเครื่องเคียงที่อุดมด้วยสารอาหารและความสะดวกในการพกพา ขณะเดียวกัน การนำข้าวมาแปรรูปเป็นแป้งข้าวเจ้าผสมเข้ากับกะทิมะพร้าวและเครื่องเทศ ก่อนจะนำไปหมักเพื่อให้เกิดเป็น Hoppers หรือแป้งทอดในกระทะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงคล้ายแพนเค้กที่มีขอบสูงก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกสำหรับการเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต หรือเพิ่มรสชาติด้วยการทำเป็น Egg

Read More

40 ปี ดอยคำ ผลิตภัณฑ์แห่งคุณค่า

  เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาภาพยนตร์โฆษณาชุด “ดอยคำขอโทษ” ที่ถูกเผยแพร่อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น Viral Clip ที่ใครต่อใครต้องแชร์ ส่งต่อ และกล่าวถึง เพราะเนื้อหาสาระที่ดอยคำสื่อสารออกมาเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ ในเรื่องรสชาติของสดของแท้จากผลไม้ชนิดนั้นจริงๆ ที่ดีต่อผู้บริโภค ราคา สินค้าไม่เท่ากัน บางผลิตภัณฑ์มีราคาสูง แตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบ และความหลากหลายของรสชาติ ดอยคำไม่มีให้เลือกมาก เนื่องจากผลไม้ส่วนใหญ่ปลูกในเมืองไทย นอกจากจุดประสงค์ของโฆษณาที่ต้องการแสดงความจริงใจ จริงจัง และความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคแล้ว ยังแฝงไปด้วยความนอบน้อมซึ่งมักไม่ค่อยปรากฏในสินค้าแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาด พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้ที่ให้คำจำกัดความของตำแหน่งตัวเองใน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ว่า “ถูกอุปโลกน์ขึ้นให้มานั่งตำแหน่งนี้” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมว่า 40 ปี ดอยคำมีการเติบโตมาแบบช้าๆ เป็นการค่อยๆ โต ด้วยพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของราษฎร ทั้งการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอย ส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการส่งเสริมอยู่ห่างไกลตัวเมืองและแหล่งรับซื้อ จึงเกิดปัญหาการถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ประกอบกับในบางช่วงฤดูจะมีผลผลิตที่ล้นตลาด หรือบางครั้งอาจไม่ได้ขนาดที่เหมาะสำหรับจำหน่ายผลสด  ในปี 2515

Read More

คนเมืองเบื่อหน้าฝน เชลล์ส่งแคมเปญ ‘Bright Side of the Rain ความสุขชุ่มฉ่ำที่ปั๊มเชลล์’

 เชลล์เผยผลสำรวจคนเมือง พบ 46% เบื่อน่าฝน ไม่ต้องการทำกิจกรรมนอกบ้าน ชวนเปลี่ยนทัศนคติ ส่งแคมเปญใหม่ดึงคนออกจากบ้าน มอบความสุขผ่านหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สถานีบริการ พร้อมดึงศิลปินดัง “ว่าน ธนกฤต – สิงโต นำโชค” แต่งเพลงพิเศษ ใส่เพลย์ลิสต์ให้ฟังฟรีตลอดแคมเปญ หน้าฝนเป็นช่วงที่ผู้บริโภครู้สึกไม่ดีมากที่สุดของปี เพราะทำให้ทำกิจกรรมนอกบ้านลำบาก และส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น แม้ว่าอาจจะพลาดโอกาสดีๆ นอกบ้านไป เชลล์จึงส่งแคมเปญ “Bright Side of the Rain–ความสุขชุ่มฉ่ำที่ปั๊มเชลล์” เชิญชวนผู้บริโภคออกจากบ้าน และชวนมองด้านดีๆ ของหน้าฝน ด้วยการจัดโปรโมชั่นสุดพิเศษครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมดึงสองศิลปินดัง ว่าน ธนกฤต และ สิงโต นำโชค แต่งเพลงพิเศษให้ได้ฟังกันฟรีตลอดหน้าฝนนี้ ธนธร พันพานิชย์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงที่มาของแคมเปญว่า “จากการสำรวจความรู้สึกของผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงหน้าฝน พบว่าส่วนใหญ่เบื่อฝนตกเพราะทำให้รถติด ใช้เวลาเดินทางนานขึ้นหรือเดินทางลำบากขึ้น เกิดความรู้สึกไม่ดีสะสมเวลาคิดถึงหน้าฝนขึ้นมา หลายคนเลือกที่จะออกจากบ้านเฉพาะวันทำงานหรือมีเหตุจำเป็นเท่านั้น แต่เรามองว่าการเดินทางออกไปนอกบ้านแต่ละครั้งนั้น เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ

Read More

แบรนด์น้องใหม่ Domin Mie

  Domin Mie ชูโพสิชันนิ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตัวจริงแบบแห้งสัญชาติไทย ฉีกตลาดส่งจุดแข็งเส้นนุ่ม-รสชาติดึงดูดผู้บริโภค และดีไซน์แพ็กเกจจิ้งโดดเด่นเพื่อครองใจผู้บริโภค วางกลยุทธ์เจาะกลุ่มเป้าหมายสังคมออนไลน์ 50% คาดชิงแชร์ภาพรวมของตลาด 10% ภายในสิ้นปี 59 เน้นจำหน่ายทั่วไทยและต่างประเทศ ไวยวิทย์ ลีนานุไชย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โดมิเนียน เคมเมท จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แบรนด์ Domin Mie (โดมินหมี่) เปิดเผยว่า “บริษัทอยู่ในวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมา 15 ปี มีความชำนาญและเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคเส้นบะหมี่ รสชาติ การดีไซน์แพ็กเกจจิ้ง ซึ่งบริษัทต้องการสร้างแบรนด์สินค้าเพื่อมาแข่งขันตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศ โปรดักส์จะเป็นของคนไทยโดยแท้จริง รวมถึงได้วิเคราะห์ภาพตลาดโดยรวมของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้งนั้นยังมีคู่แข่งน้อยราย โพสิชันนิ่งแบรนด์โดมินหมี่นี้จะเป็นรายแรกและรายเดียวที่เป็นตัวจริงในเรื่องบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้ง” “การบริหารงานให้ประสบความสำเร็จนั้นใช้หลักง่ายๆ คือ ขยัน อดทน และซื่อสัตย์ต่อตัวเอง แต่การทำธุรกิจอาหารต้องใส่ใจทุกรายละเอียด ต้องซื่อสัตย์ ทำผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายสู่ตลาดและถึงมือผู้บริโภคต้องปลอดภัยมากที่สุด เพราะเราก็รับประทานบะหมี่แห้งของเราเช่นกัน ไม่ใช่จะขายอย่างเดียว สิ่งเหล่านี้ถ้าเราทำแบบซื่อตรงใส่ใจ ธุรกิจจะยั่งยืนแน่นอน” ไวยวิทย์ กล่าว ทั้งนี้ บะหมี่แบบซองมี 2 รสชาติ

Read More

คุณค่าแห่งโอกาสการเรียนรู้เพื่อผู้พิการ

  “ดีใจค่ะ ดีใจมาก” คำตอบจากน้องพลอย เด็กหญิงผู้พิการทางสายตาที่มาร่วมกิจกรรมในงาน “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-16 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยกรมธนารักษ์จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559  นับเป็นครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์เหรียญที่จัดนิทรรศการพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางหู ได้เข้าชมและเรียนรู้วิวัฒนาการเงินตราของไทย และแน่นอนว่าเป็นครั้งแรกของน้องพลอยเช่นกัน  รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ดังขึ้นในงาน ไม่ได้แค่สร้างความสุขให้อวลอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น หากแต่ยังสร้างความอิ่มเอมให้กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังของพิพิธภัณฑ์เหรียญอย่างไร้ท์แมนอีกด้วย  โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่จัดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับผู้พิการ ทั้งการสร้างเหรียญในจินตนาการด้วยการวาดภาพจากอุปกรณ์พิเศษ การปั้นเหรียญจากดินปั้น การฝนลวดลายภาพนูนต่ำ การวาดรูปร่างสิ่งของแลกเปลี่ยนจากการคลำของจริง และการปั๊มลวดลายของเหรียญในอดีตลงบนแผ่นพับ  และแม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้นที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้พิการจึงสั้นนัก ทั้งนี้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึงและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้สะดวกแล้ว แต่ลักษณะของการจัดแสดงเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีไว้รองรับผู้พิการด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงประเด็นการให้โอกาส ที่คนส่วนใหญ่มักจะหยิบยื่นให้แก่ผู้พิการแล้ว รูปแบบที่มักถูกเลือกใช้คือการแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การเลี้ยงอาหารและกิจกรรมสันทนาการตามมูลนิธิ หรือในรูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหากวิเคราะห์ในด้านของมูลค่าแล้ว คุณค่าของสิ่งเหล่านี้มักจะค่อยๆ ลดลงไปตามกาลเวลา แต่คงไม่ใช่กับการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ผู้บริหารบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด อย่างอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ มองว่า “การสร้างโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์ แม้จะไม่สามารถตีค่าออกมาในรูปแบบของเงินได้ แต่เป็นคุณค่าของการเรียนรู้สำหรับผู้พิการและเป็นคุณค่าของความพยายามในการสร้างสรรค์”  แม้ในกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเพียงนิทรรศการชั่วคราว แต่ในอนาคตอุปถัมป์เล่าว่า

Read More

สพร. ทลายกำแพงพิพิธภัณฑ์ เปิดมิติใหม่การเรียนรู้

  ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติ การละเล่น ประเพณีและวัฒนธรรม วิวัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา ท่ามกลางกระแสโลกที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การบันทึกเรื่องราวบนหน้าประวัติศาสตร์ทั้งเพื่อการศึกษาเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ หรือบอกเล่าประสบการณ์ ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 1,439 แห่ง จากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่รวบรวมไว้ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 แต่หากจะนับรวมแหล่งเรียนรู้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้ไทยมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้มากกว่า 5,000 แห่ง กระนั้นรูปแบบของการนำเสนอองค์ความรู้ต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการอธิบายข้อมูลสาระสำคัญด้วยตัวอักษรเป็นหลัก ภาพถ่าย และการจำลองวัตถุให้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด  ล่าสุดสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือศูนย์สปาฟา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติ (Museum Forum 2016) ภายใต้แนวคิด “Museum without Walls” โดยดึงผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และกระบวนการทำงาน ส่งเสริมบุคลากรในวงการพิพิธภัณฑ์ไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปิดโลกทัศน์แห่งการสร้างสรรค์

Read More

เคทีซีสานต่อแคมเปญ “HAPPY MOM HAPPY ME” จัดโปรโมชั่นร่วมกับสถาบันตรัยญา

  สิรีรัตน์ คอวนิช ผู้จัดการอาวุโส-ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และนายแพทย์กำธร ศิริพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันตรัยญา ร่วมกันสานต่อแคมเปญ “HAPPY MOM HAPPY ME” ให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภทตอบแทนความรักความห่วงใยให้กับคุณแม่ รวมถึงสมาชิกที่รักสุขภาพและความงาม ด้วยการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมกับ “สถาบันตรัยญา” เพื่อคืนความสมดุลให้แก่ร่างกาย อารมณ์และจิตใจ กับ 3 โปรโมชั่นสุดคุ้ม 1. ซื้อโปรแกรมสวยจากภายในสู่ภายนอก ชุด 1 ราคา 9,999 บาท รับเพิ่ม TRIA One Day Pass คืนความสมดุลให้ร่างกายและจิตใจกลับมารู้สึกเยาว์วัยอีกครั้ง ด้วยวารีบำบัด สตรีม ซาวน่าอินฟาเรด รวมทั้งแช่บ่อออนเซ็นที่ได้รับการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม พร้อมรับ TRIA Massage นวดแบบตรัยญาเพื่อให้ร่างกายสดชื่นผ่อนคลาย รวมมูลค่า 4,500 บาท 2. ซื้อโปรแกรมสวยจากภายในสู่ภายนอก

Read More

การกระทำหรือคำพูดที่อาจเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการโดยไม่รู้ตัว

  Column: Women in Wonderland คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในทุกวันนี้ที่ผู้ที่มีร่างกายผิดปกติ หรือมีความพิการทางร่างกายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ สามารถเดินทางไปในที่ต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป ในทุกสถานที่ที่พวกเราไป ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ หรือร้านอาหาร จะเห็นได้ว่ามีทางลาดสำหรับผู้ที่มีร่างกายผิดปกติและต้องใช้รถเข็นในสถานที่เหล่านี้ ดังนั้นการเดินทางไปในที่ต่างๆ สำหรับผู้ที่ร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายจึงไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเมื่อก่อน ในต่างประเทศผู้ที่มีร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายนั้น สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนคนทั่วไป เช่นว่าพวกเขาสามารถขึ้นรถเมล์พร้อมกับรถเข็นได้เหมือนกับคนทั่วไป หรือแม้แต่จะใช้รถไฟใต้ดิน คนเหล่านี้ก็สามารถใช้รถไฟใต้ดินเดินทางไปทำงานได้เหมือนกับคนทั่วไป เพราะระบบขนส่งในต่างประเทศจะมีการทำทางให้รถเข็นสามารถขึ้นลงได้ ทำให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย สามารถเดินทางไปในทุกที่ แม้ว่าในปัจจุบันพวกเราหลายคนอาจจะเห็นผู้ที่มีร่างกายผิดปกติ หรือมีความพิการทางร่างกาย ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไป และเห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเหมือนคนทั่วๆไป  แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่คิดว่าเราควรปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างจากคนธรรมดา เพราะพวกเขาไม่ได้มีร่างกายที่เหมือนกับพวกเรา และความคิดและการกระทำเหล่านี้เองที่ทำให้ผู้ที่มีร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายรู้สึกว่าพวกเขากำลังได้รับการเลือกปฏิบัติจากผู้คนในสังคม ที่อเมริกา มีเด็กหญิงวัยรุ่นคนหนึ่งที่มีความผิดปกติทางร่างกายและต้องนั่งอยู่บนรถเข็นได้เล่าประสบการณ์ของเธอให้กับนักข่าวฟังว่า อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกว่า กำลังถูกเลือกปฏิบัติจากผู้คนกลุ่มหนึ่งที่มองว่าเธอเป็นคนพิการและต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป  เด็กผู้หญิงคนนี้เล่าว่า วันหนึ่งเธอไปที่ร้านหนังสือในห้างสรรพสินค้า ระหว่างที่กำลังเลือกหนังสืออยู่ ก็มีชายสูงอายุคนหนึ่งมองมาที่เธอและยิ้มให้เธออย่างผู้ใหญ่ใจดี ชายสูงอายุคนนี้ทักทายเธอและใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนเหมือนกำลังพูดกับเด็กอายุ 3 ขวบ หลังจากที่ชายสูงอายุคนนี้ทักทายเธอแล้ว เขาได้พูดกับเธอว่า “เธอทำให้โลกของฉันสดใสขึ้นมาทันที ฉันดีใจมากที่ได้เห็นคนแบบเธอใช้ชีวิตอย่างกล้าหาญด้วยการออกมาข้างนอกเหมือนอย่างคนทั่วไป”   เด็กผู้หญิงคนนี้รู้สึกเสียความรู้สึกกับคำว่า “คนแบบเธอ” ซึ่งในที่นี้ชายสูงอายุหมายถึงคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นแบบเธอ เด็กผู้หญิงคนนี้อธิบายความรู้สึกของเธอหลังจากพบสถานการณ์นี้ว่า เธอรู้ว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านหนังสือ ร้านขายของ ห้างสรรพสินค้า หรือพูดได้ว่าที่สาธารณะทุกที่

Read More

B2S พลิกโมเดล ธิงค์สเปซ Book+Lifestyle สู้ออนไลน์

   สมชัย ถาวรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีทูเอส จำกัด ใช้เวลากว่า 3 ปี คิดโมเดลธุรกิจร้านหนังสือที่จะแข่งขันเท่าทันสื่อออนไลน์ ท่ามกลางวิกฤตการปิดตัวของนิตยสารหลายเล่มส่งสัญญาณต่อเนื่อง จนกระทั่งสรุปผลลัพธ์จากโจทย์ทางธุรกิจข้อสำคัญกลายเป็นร้านรูปแบบล่าสุด “ธิงค์สเปซ (Think Space)” โดยเพิ่มส่วนผสมสำคัญที่สุด คือ ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็น “ทางรอด” ของร้านหนังสือและสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กับสื่อออนไลน์ด้วย  “ร้านหนังสือกำลังแข่งกับออนไลน์ หลายประเทศศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าญี่ปุ่น อังกฤษ หรือนิวยอร์ก คำตอบอยู่ที่การใส่ไลฟ์สไตล์เข้าไปในทุกส่วน ทำให้ร้านหนังสือไม่ได้เป็นแค่ร้านขายหนังสือ แต่เป็นไลฟ์สไตล์ของคน เราสามารถดึงผู้คน แค่เขาหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ก็ถือว่านักเขียนและธุรกิจชนะแล้ว” นายสมชัยกล่าว  แน่นอนว่า บีทูเอส ธิงค์สเปซ ยังเป็นกลยุทธ์การทดลองตลาดที่ต้องรอผลตอบรับอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา บีทูเอสพยายามงัดโมเดลร้านค้าหลากหลายรูปแบบ ทั้งร้านขนาดเล็กเหมาะกับชุมชน พื้นที่น้อยกว่า 800 ตารางเมตร เน้นการจำหน่ายหนังสือ ร้านขนาดกลาง พื้นที่มากกว่า 800 ตร.ม. เหมาะกับคอมมูนิตี้มอลล์

Read More

เมืองไทยประกันชีวิต ชูแคมเปญ “รักใครให้ประกัน” ตอบโจทย์ความรักครบวงจร เดินหน้ากวาดเบี้ยรับรวมสู่เป้าหมาย

   สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 บริษัทฯ มีผลงาน เบี้ยประกันภัยรับรวม 51,783 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 12% ขณะเดียวกัน ยังคงความเป็นอันดับ 1 ด้านผลงานเบี้ยประกันภัยรับใหม่ ด้วยจำนวน 18,447 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดถึง 22.9% และหากพิจารณาเฉพาะผลงานเบี้ยประกันภัยรับปีแรก ยังคงอันดับ 1 ด้วยจำนวน 13,271 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 23.1% โดยขณะเดียวกันผลงานเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป มีอัตราการเติบโตสูงถึง 30% ด้วยจำนวน 33,336 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 16.8% “อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทฯ ที่สูงถึง 12% ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 18.6 %

Read More