Home > Suwatcharee Pormbunmee

เปิดความสำเร็จ พร็อพเพอร์ตี้ กูรู ยกระดับมาตรฐานทุกมิติอสังหาฯ ไทยเทียบชั้นเอเชีย

อสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การเงินการคลัง ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ขณะที่ปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ผู้ประกอบการอสังหา สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเช่นกัน แน่นอนว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะมีมาตรฐานในการสร้างที่อยู่อาศัยที่เสมือนเป็นพันธกิจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสร้างความปลอดภัยในการอยู่อาศัย บ้านประหยัดพลังงาน นอกจากมาตรฐานที่แต่ละค่ายอสังหาฯ ต้องยึดเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards ที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ มองว่ารางวัลนี้เป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards เป็นมาตรฐานระดับสูงของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ไทยมุ่งมั่นที่จะยกระดับความเป็นเลิศ “PropertyGuru Thailand Property Awards ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 นี่ถือเป็น Gold Standard ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 20 ในปีหน้า โดยรางวัลนี้เราจะมอบให้แก่สุดยอดโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งปีที่โดดเด่นด้านที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งเราจัดขึ้นทุกปี โดยในปีนี้เราเน้นย้ำถึงความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง

Read More

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ มองงานวิจัย นวัตกรรม สู่เครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักจะมีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม เมื่อเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจ เกาหลีใต้คือหนึ่งในนั้น ที่ภาครัฐพยายามผลักดันด้านนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้งานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทย งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ นำพาประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้และนวัตกรรม “ในแต่ละปีไทยได้ลงทุนงานวิจัยและนวัตกรรม เพราะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้รุดหน้า งานวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นเส้นทางไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมไทยใน 4 โจทย์หลัก ได้แก่ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง การแพทย์และสุขภาพ NetZero&PM2.5 และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ปัจจัยหลายด้านที่ไทยต้องเผชิญ ทั้งสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัย การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เป็นความท้าทายอย่างมาก วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบโจทย์และนำประเทศไปสู่การพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ” รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เคยให้มุมมองไว้ในงาน TRIUP FAIR 2024 ถึงกระนั้น การนำพาเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นจากความถดถอยทางเศรษฐกิจ และตัวเลขจีดีพีที่ดูจะเร่งให้เติบโตได้ยาก

Read More

โอฬาร จันทร์ภู่ มองธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67 ท้าทายบนความผันผวน

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลเป็นระลอกคลื่นไปยังธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกำลังซื้อ และไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ตลาดรับสร้างบ้านเป็นอีกหนึ่งตลาดที่พบกับภาวะชะลอตัว ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าตลาดที่ปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ในปี 2565 ขนาดของตลาดรับสร้างบ้านมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และปี 2566 มีการปรับตัวลดลงเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือลดลงเฉลี่ย 18% พื้นที่ที่มีการชะลอตัวมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน โอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association: HBA) เปิดเผยภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีแรกปี 2567 ชะลอตัวลง มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวมลดลงอยู่ที่ 4,505 ล้านบาท หรือประมาณ 15% ในทุกระดับราคา เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ที่มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวม 5,300 ล้านบาท สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอย และเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีหนี้ครัวเรือนสัดส่วนสูงถึง 91% ของจีดีพี

Read More

มองเศรษฐกิจอินโดฯ ผ่านงาน FI Asia 2024 โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดฮาลาล

หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารและส่วนประกอบของประเทศในเอเชีย อินโดนีเซียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีตลาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประมาณ277 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ปี 2023 สูงกว่าไทยหลายเท่าตัว อยู่ที่ 5.1% และการบริโภคภาคครัวเรือนมีการขยายตัวสูงถึง 4.8% ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในการบริโภคภาคครัวเรือนมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะที่ปัจจุบันอินโดนีเซียกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมรับเมืองหลวงใหม่ “นูซันตารา” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราเร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาคการผลิตโตและดันให้ GDP เพิ่มขึ้นได้ 1% เทียบกับเศรษฐกิจไทยที่ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 2.3% เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลายตัวยังเดินเครื่องแบบไม่เต็มกำลัง ภาคการส่งออกอยู่ในภาวะนิ่ง และไม่น่าจะขยายตัวมากไปกว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวดูจะหวังพึ่งพาได้มากที่สุดในเวลานี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีมูลค่าสูงถึง 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 6.12% ต่อปี ขณะที่ตลาดเบเกอรี่และซีเรียลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลให้เฉพาะตลาดนี้มูลค่า 51,990

Read More

กลุ่มสันขวานเปิด SK Check เช็กพระออนไลน์ ไม่ถูกหลอก

วงการพระเครื่องมักจะเป็นธุรกิจที่มีทิศทางการเติบโตสวนกระแส ไม่ว่าจะมีปัจจัยแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น โรคระบาดโควิด หรือความไม่แน่นอนทางการเมือง นักวิเคราะห์มองกันว่า ธุรกิจพระเครื่องมีเงินหมุนเวียนในตลาดสูงถึงพันล้านบาท ไทยเป็นตลาดพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลก South China Morning Post เคยรายงานว่า ตลาดพระเครื่องในไทยมีเงินหมุนเวียนกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากคนไทยแล้วพระเครื่องยังเป็นที่ต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน พระเครื่องจึงถูกมองว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของเศรษฐกิจไทยอีกหนึ่งแขนง แม้ว่าปีนี้ตลาดพระเครื่องอาจจะเงียบเหงาลงบ้างเพราะค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ผู้คนชะลอการจับจ่าย ส่งผลให้ตลาดพระขาดความคึกคักไปเท่าที่ควร แต่เซียนพระยังมองว่าแม้จะกระทบบ้างจากความต้องการที่หายไปตามภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นตลาดพระเครื่องจะฟื้นตัวได้ง่ายและเร็วกว่าธุรกิจอื่น SK Check แอปพลิเคชันที่ผูกกับ Line สำหรับตรวจเช็กว่าพระแท้หรือปลอม ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ เกิดจากแนวคิดของกลุ่มสันขวาน ซึ่งเป็นกลุ่มเซียนพระในภาคตะวันตกของไทย ที่มี อาทิตย์ นวลมีศรี อยู่เบื้องหลังการบริหารงาน “เรามองว่าในระยะหลังวงการพระเครื่องถูกใช้เป็นเครื่องมือหาเงิน จนล้ำเส้นการอนุรักษ์ที่น่าจะเป็นมรดกของชาติ พระเครื่องมีมนต์เสน่ห์ในด้านพุทธคุณ มูลค่าของพระเครื่องเกิดจากพุทธคุณของนักสะสม ผู้ที่ครอบครอง เมื่อพระเครื่องหรือวัตถุมงคลมีจำนวนจำกัด ขณะที่ความต้องการมีมากกว่าทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ราคาตลาดจึงสูงขึ้น” อาทิตย์ นวลมีศรี อธิบาย ปัญหาเศรษฐกิจอาจทำให้บางคนต้องมองหาตัวช่วยในเวลาฉุกเฉิน การแลกเปลี่ยนของสะสมอย่างพระเครื่องเป็นเงินจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ “แน่นอนว่า คนที่สามารถดูพระเป็นจะไม่ถูกฉวยโอกาส แต่คำถามคือ คนที่ดูพระไม่เป็นอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกง่าย ถูกกดราคา มีพระอยู่ที่บ้านแต่ไม่รู้ว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินช่วยเหลือพวกเขาได้ในยามวิกฤตจริงๆ

Read More

ส่องเทรนด์ E-book โตพันล้าน แต่ไม่ทดแทนตลาดหนังสือเล่ม

ตลาดหนังสือเล่มในไทย ปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และถูกคาดการณ์ว่าปี 2567 มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 หมื่นล้านบาท ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปีถัดไป ข้อมูลล่าสุดมูลค่าตลาด E-Book ปี 2564 อยู่ที่ 3,753 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงความนิยม E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในไทย ที่เพิ่มขึ้นจากนักอ่าน มีข้อมูลว่าพฤติกรรมการอ่านของชาวไทยจากนักอ่านหนังสือเล่มย้ายไปสู่แพลตฟอร์ม E-Book มากถึง 42% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของนักอ่านโลก กวิตา พุกสาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตอรี่ล็อก จำกัด ให้ข้อมูลว่า “ตลาด E-Book ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561-2565 มีมูลค่าตลาดเพิ่มจาก 7.63 แสนล้านบาท เป็น 1.07 ล้านล้านบาทในปี 2565 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี

Read More

ภาวะมีบุตรยาก หนุนการแพทย์-ท่องเที่ยวโต รพ. นครธน เร่งคว้าโอกาส

ปัญหาการเกิดต่ำที่เกิดขึ้นในประเทศทั่วโลก จนส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย สนับสนุนให้ครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มขึ้น พร้อมข้อเสนอสวัสดิการสำหรับเด็กเกิดใหม่ เช่น รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาตรการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งรวมถึงการเพิ่มเงินอุดหนุนบุตรสำหรับเด็กที่เกิดตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดยบุตรคนที่ 1-2 จะได้รับเงินเพิ่มจาก 8,000 เป็น 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน และบุตรคนที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับ 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน ขณะที่บิดาสามารถลางานเพื่อดูแลบุตรได้เพิ่ม จาก 2 สัปดาห์เป็น 4 สัปดาห์ รัฐบาลจีนที่ประกาศนโยบายลูก 3 คน เมื่อปี 2021 โดยเสนอลดหย่อนภาษีและระบบการดูแลสุขภาพของมารดา เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ถึงกระนั้นเมื่อปี 2022 ประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี อยู่ที่ 1.4118 พันล้านราย ลดลงประมาณ 8.5 แสนราย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายให้เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรและขยายวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร และยังให้เงินอุดหนุนการแช่แข็งเซลล์ไข่ ปัจจัยหลายด้านส่งผลต่อแนวคิดของคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ตัดสินใจที่จะไม่มีทายาท หรือในบางครอบครัวที่ต้องการมีบุตรแต่ต้องพบกับภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพ ตัวเลขของสถานการณ์คุณแม่คลอดบุตรในปี

Read More

ไฮเออร์ วัดกำลังตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ดันไทยเป็นฐานการผลิต

ท่ามกลางความวิตกกังวลของผู้ประกอบการไทย ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่นักลงทุนจีนแห่แหนเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แพลตฟอร์มออนไลน์ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า อสังหาฯ ทั้งในเรื่องประเด็นการขาดดุลการค้าระหว่างไทยและจีน หรือการตัดโอกาสสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs รายกลาง-รายย่อย ขณะที่นักลงทุนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่นำเม็ดเงินเข้ามาใช้จ่ายลงทุนในโครงการใหญ่ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในแง่มุมของการจ้างงาน การก่อสร้าง หลายธุรกิจมาพร้อมความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งนี่จะเป็นอีกหนึ่ง know-how ที่ไทยจะได้อานิสงส์ ปี 2023 ประเทศไทยมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาปักหมุดสร้างฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมูลค่าการลงทุนจากนักลงทุนจีนสูงถึง 382,061 ล้านบาท อยู่ในอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ทว่า จีนกลับเป็นประเทศที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI มากสุดเป็นอันดับ 1 ที่ 430 โครงการ เงินลงทุน 159,387 ล้านบาท ไฮเออร์ เป็นอีกหนึ่งนักลงทุนจากจีนที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ด้วยการเทกโอเวอร์บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ซันโย ในช่วงแรกนั้นดำเนินการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ตู้แช่ ตู้เย็น ก่อนจะเพิ่มไลน์การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นตามมา ล่าสุดควักกระเป๋าลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งแรกในประเทศไทยมูลค่ากว่า

Read More

ประวรา เอครพานิช กับแนวคิด Fabric Zero Waste

ฟาสต์แฟชั่น ถือครองสัดส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทออยู่ไม่น้อย นั่นเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ในเวลารวดเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ เสื้อผ้าเหล่านี้มีราคาที่ไม่แพงมาก ได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่ง และจะถูกผลัดเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่การมาไว ไปไว กลับสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ฝ้าย คือวัสดุหลักที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตฝ้ายต้องใช้พื้นที่และน้ำในปริมาณมาก การปลูกฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือ 10,000-20,000 ลิตรต่อการผลิตเสื้อผ้า 1 กิโลกรัม ขณะที่การปลูกฝ้ายยังทำให้ดินรวมถึงแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงปนเปื้อนปุ๋ยและยาฆ่าแมลง กระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.2 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าหากเปรียบเทียบกับตัวเลขคาร์บอนฟุตพรินต์ของการท่องเที่ยวกันระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน และไม่ใช่เพียงขั้นตอนการผลิตที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การซัก วิธีการทิ้งเสื้อผ้า เรียกได้ว่าทั้งกระบวนการของอุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.3 พันล้านตันในทุกๆ ปี หรือประมาณ  8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าแฟชั่นจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประวรา เอครพานิช ผู้บริหาร บูติดนิวซิตี้ คือหนึ่งในนั้น ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง นำทรัพยากรส่วนเกินมาเข้าสู่กระบวนการ Upcycle และ Recycle โดยมีเป้าหมายสร้างความยั่งยืน “เราเป็นบริษัทที่ทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริษัทแรกในไทย ดำเนินธุรกิจมา 50 ปี

Read More

ททท. ปรับเกมสร้างโอกาส ชูโมเดลการท่องเที่ยวยั่งยืน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทย โดยรายได้จากการท่องเที่ยวก่อนเกิดโรคระบาดโควิดคิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงเวลาก่อนเกิดโควิด แต่ทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐต่างพอใจกับจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน และพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะสร้างแรงดึงดูดเพื่อหวังเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคต มีข้อมูลระบุว่า การท่องเที่ยวมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 8-11% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งโลกในปี 2562 นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ ททท. จริงจังและปรับแผนการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน ขณะที่ในช่วงปี 2562-2566 ตลาดการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ เป้าหมายดูจะไม่ใช่แค่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามความคาดหมาย แต่ยังปรับกลยุทธ์ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แต่ยังเป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะธุรกิจในห่วงโซ่ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และไม่สร้างผลกระทบด้าน Climate Change ตัวเลขการท่องเที่ยวในปี 2566 ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 28 ล้านคน สร้างรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้ปีนี้การท่องเที่ยวตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท และการท่องเที่ยวยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่เทรนด์ หรือจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่อาจจะเป็นกุญแจความสำเร็จของการท่องเที่ยวของไทย “นี่จะเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ ททท. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand

Read More