Home > Gartner

การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในสิ้นปี 2566 พนักงานที่มีทักษะความรู้ทั่วโลก 39% จะทำงานแบบ Hybrid

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2566 จะมีพนักงานที่มีทักษะความรู้ทั่วโลกประมาณ 39% ทำงานแบบไฮบริด (Hybrid) เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 2565 รันจิต อัตวาล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การทำงานไฮบริดไม่ใช่แค่การเติมไฟทำงานให้แก่พนักงาน แต่ยังเป็นความคาดหวังของพนักงานอีกด้วย ในปี 2565 มีพนักงานจำนวนมากทยอยกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ โดยที่รูปแบบการทำงานไฮบริดจะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในปีนี้และอนาคต บริษัทนายจ้างควรปรับตัวโดยการนำนโยบายการทำงานที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric Work Design) มาปรับใช้ในองค์กร รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วมในงาน และมีรูปแบบการจัดการพนักงานที่ทำงานไฮบริดอย่างเข้าอกเข้าใจ” ตัวอย่างเช่น บุคลากรไอทีมีแนวโน้มลาออกมากกว่าบุคลากรในสายงานอื่น ๆ เนื่องจากพวกเขาต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น และมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) และมองหาโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น โดยผู้บริหารไอที (หรือ CIOs) สามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะความสามารถระดับหัวกะทิได้ โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่เป็นการมอบคุณค่าแก่พนักงาน (Employee Value Proposition) ที่เข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น การ์ทเนอร์ให้คำจำกัดความ พนักงานกลุ่ม Hybrid Workers คือผู้ที่เข้าทำงานในสำนักงานอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ ส่วนพนักงานกลุ่ม Fully Remote

Read More

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2566 โตขึ้น 2.4%

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2566 โตขึ้น 2.4% แม้เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อในฝั่งผู้บริโภคลดลง แต่การใช้จ่ายไอทีในองค์กรยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่ม 2.4% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่ารวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 5.1% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของไตรมาสที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อยังตัดกำลังซื้อของผู้บริโภคและส่งผลให้การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอทีเติบโตลดลง แต่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายไอทีขององค์กรในภาพรวมจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจกำลังเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อกำลังส่งผลร้ายแรงต่อตลาดผู้บริโภค และมีส่วนทำให้ธุรกิจแบบ B2C จำนวนมากเลิกจ้างพนักงาน ขณะที่ภาคองค์กรจะมียอดการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นกับโครงการดิจิทัลต่าง ๆ แม้เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในช่วงชะลอตัวก็ตาม” “เศรษฐกิจที่ผันผวนได้เปลี่ยนบริบทการตัดสินใจของธุรกิจและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารไอทีเกิดความลังเลมากขึ้นและตัดสินใจล่าช้า หรือต้องจัดลำดับความสำคัญของงานกันใหม่ ซึ่งเราได้เห็นธุรกิจแบบ B2B ได้ดำเนินการทำนองนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะบริษัทที่เน้นลงทุนเกินตัวไปกับการสร้างการเติบโต อย่างไรก็ตามงบประมาณด้านไอทีไม่ใช่ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และการใช้จ่ายด้านไอทียังไม่ได้อยู่ในช่วงภาวะถดถอย” การ์ทเนอร์คาดว่าในปีนี้ (2566) กลุ่มซอฟต์แวร์ (Software) และบริการไอที (IT Services) จะเติบโตสูงสุดที่ 9.3% และ

Read More

การ์ทเนอร์คาดอีกสี่ปีข้างหน้า ผู้คน 25% จะใช้เวลาใน Metaverse อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง

การ์ทเนอร์คาดอีกสี่ปีข้างหน้า ผู้คน 25% จะใช้เวลาใน Metaverse อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง การเติบโตของ Metaverse จะก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่ช่วยขยายการทำธุรกิจดิจิทัล การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ภายในปี พ.ศ. 2569 ผู้คนราว 25% ทั่วโลกจะใช้เวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงไปกับการทำงาน ช้อปปิ้ง เรียนรู้ เข้าสังคมและ/หรือความบันเทิงรูปแบบต่าง ๆ ในโลก Metaverse มาร์ตี้ เรสนิค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า “ผู้ให้บริการพร้อมสร้างแนวทางการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลให้แก่ผู้ใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การเข้าร่วมคลาสเรียนแบบเวอร์ชวลไปจนถึงการซื้อที่ดินดิจิทัลหรือสร้างบ้านเสมือนจริง แม้กิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินอยู่ในคนละสภาพแวดล้อม แต่ท้ายที่สุดกิจกรรมทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวนั่นคือ Metaverse ปลายทางที่รวมเทคโนโลยีและประสบการณ์หลากหลายไว้ด้วยกัน” การ์ทเนอร์ให้นิยามของ Metaverse ว่าเป็นพื้นที่เสมือนจริงที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมาแบ่งปันใช้ร่วมกัน โดยสร้างขึ้นจากการผสมผสานความเป็นจริงทางกายภาพและดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ชิ้นเดียวหรืออุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ตั้งแต่แท็บเล็ตจนถึงจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ เนื่องจากไม่มีผู้ให้บริการใดที่เป็นเจ้าของ Metaverse แต่เพียงผู้เดียว การ์ทเนอร์คาดว่าจะมีรูปแบบเศรษฐกิจเสมือนจริงเกิดขึ้นและขับเคลื่อนโดยสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs)

Read More

คาดยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 65 พุ่งแตะ 6 ล้านคัน จุดชาร์จไฟรวม 2 ล้านจุด

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 65 พุ่งแตะ 6 ล้านคัน ในปีนี้ทั่วโลกมีจุดชาร์จไฟสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารวม 2 ล้านจุด การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคัน จาก 4 ล้านคันในปี 2564 โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “จากที่ประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ จากที่ก่อนหน้านี้ได้กดดันให้ผู้ผลิตในตลาดรถยนต์ชั้นนำเตรียมพร้อมรับมือกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ กับภาคการขนส่ง ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้า (หรือ EVs) นั้นเป็นเทคโนโลยีระบบส่งกำลังที่มีความสำคัญต่อการช่วยลดการปล่อย CO2 ในภาคการขนส่ง ภาวะขาดแคลนชิปยังส่งผลกระทบต่อเนื่องกับยอดการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปีนี้ แม้สัดส่วนการจัดส่งรถยนต์พลังไฟฟ้าประเภทรถตู้ (Vans) และรถบรรทุก (Trucks) ยังมีขนาดเล็กในปัจจุบัน แต่การจัดส่งยานยนต์ในกลุ่มนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเจ้าของกิจการเล็งเห็นถึงประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและด้านการเงิน เมื่อเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า” การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์

Read More

การ์ทเนอร์เผยปัญหาชิปขาดแคลนทั่วโลกจะลากยาวจนถึงไตรมาส 2 ปี 2565

การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่าปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะส่งผลกระทบตลอดทั้งปีนี้ และจะกลับคืนสู่ภาวะปกติช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 คานิสกัส ชัวฮาน นักวิเคราะห์หลัก ฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อห่วงโซ่อุปทานและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ประเภทในปีนี้ ขณะที่โรงงานผลิตขึ้นราคาแผ่นเวเฟอร์ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตชิป และมีผลต่อเนื่องไปถึงบริษัทผู้ผลิตชิปก็ขึ้นราคาตามไปด้วย” ปัญหาการขาดแคลนชิปเริ่มเกิดกับอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ก่อน อาทิ อุปกรณ์สำหรับการจัดการพลังงาน จอแสดงผล และไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ผลิตจากบนโหนดการทำงานแบบเดิม ๆ ของโรงงานผลิตชิปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ซึ่งมีวัตถุดิบจำกัด เวลานี้ปัญหาการขาดแคลนส่งผลต่อไปยังอุปกรณ์อื่นๆ และมีข้อจำกัดด้านความจุ รวมถึงขาดสารตั้งต้นในการผลิต กระบวนการเชื่อมลวดทองคำ ส่วนประกอบแบบพาสซีฟ วัสดุและการทดสอบ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่กำลังเป็นปัญหานอกจากเรื่องโรงงานผลิตชิป เนื่องจากส่วนประกอบเหล่านี้เป็นสินค้าในอุตสาหกรรมโภคภัณฑ์ขั้นสูงและมีความยืดหยุ่นน้อย และส่งผลต่อความสามารถในการเพิ่มการลงทุนเชิงรุกในระยะเวลาสั้นๆ การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์แทบทุกหมวดหมู่จะกระทบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (ดูรูปภาพที่ 1) ในขณะที่ข้อจำกัดด้านปริมาณของสารตั้งต้นในการผลิตชิปอาจใช้เวลาไปถึงไตรมาส 4 ปี 2565 ภาพที่ 1. Gartner Index of Inventory Semiconductor

Read More