Home > ชุมชนท้องถิ่น

สกว.หนุนวางแผนเมืองนิเวศกทม.-ปริมณฑล ส่งเสริมพลวัตของภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม

ปัจจุบันเมืองต่างๆ ของไทยมีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การส่งเสริมให้เมืองมีความปลอดภัยและมีความพลวัตต่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุดนั้น จำเป็นที่หน่วยงานระดับท้องถิ่นและระดับประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายเหล่านี้ รวมถึงการวางแผนเพื่อส่งเสริมเมืองพลวัตให้เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศที่มีความเสี่ยงและประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อยหรือปานกลาง อีกทั้งมีความไม่เท่าเทียมอยู่ การวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วมยังถือว่าเป็นเรื่องท้าทายมาก หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะยังขาดเครื่องมือและขีดความสามารถในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกคน ความท้าทายสำคัญคือ การสื่อสารข้อมูลถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งสามารถเตรียมการวางแผนเพื่อปรับตัวไว้ล่วงหน้า แทนที่จะเป็นการรับมืออย่างเดียว คณะวิจัยจากหน่วยวิจัยอนาคตเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาชุดเครื่องมือ “กินดี..อยู่ดี” เพื่อใช้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและมีเป้าหมายในการช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสินทรัพย์ที่มีในชุมชนว่าจะช่วยสร้างความพลวัตรองรับภาวะวิกฤติในอนาคตทั้งระดับส่วนตัวและระดับส่วนรวมได้หรือไม่ โดยจำลองภาวะวิกฤติทางภูมิอากาศและวิกฤติเศรษฐกิจ ล่าสุดหน่วยวิจัยอนาคตเมืองฯ ได้ร่วมกับ Internation Institute for Environment and Development (IIED) สหราชอาณาจักร ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ “การวางแผนเพื่อเมืองนิเวศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความพลวัตของภุมิอากาศ: การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้นำหรือตัวแทนชุมชนเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือกินดีอยู่ดีในการส่งเสริมการวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วม “ทีมวิจัยเราสนใจการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วมจึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายจำนวนมากเพื่อที่จะตอบโจทย์ท้องถิ่นและเขตที่ดูแลได้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนและหน่วยงานภาครัฐและอยากให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ฝนตกหนักนอกฤดูและถี่ขึ้น จะจัดการแบบเดิมๆ หรือร่วมกันวางแผนหากเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพราะจะกระทบต่อน้ำท่วม น้ำแล้ง การกัดเซาะของน้ำทะเล ฯลฯ โดยการออกแบบที่อยู่อาศัย สินทรัพย์ การออมทรัพย์

Read More