Home > เอ็ม-150

เครื่องดื่มชูกำลัง แข่งขันชูภาพลักษณ์?

 “M 150 ขวด, บาว ขวด หรือ กระทิงแดง ขวดหนึ่ง” มักเป็นคำได้ยินทุกวันในร้านโชวห่วยทั้งประเทศ เรียกได้ว่าทุกร้านต้องมีแช่ติดตู้ไว้เลยทีเดียว เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy drink) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของสารกาเฟอีนในปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100-150 มิลลิลิตร) เครื่องดื่มชนิดนี้ส่วนใหญ่เน้นไปทางด้านพลังงาน นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานของเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า “เครื่องดื่มชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันกับเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของกาเฟอีน โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้จะนิยมดื่มในหมู่ผู้ใช้แรงงาน และคนที่ทำงานหนักเนื่องจากเมื่อทำงานเสร็จร่างกายจะอ่อนเพลีย จึงต้องการพลังงานชดเชยกลับมา” หากย้อนรอยไปในช่วงแรกเครื่องดื่มชูกำลังจะไม่ออกจำหน่ายในท้องตลาด แต่เริ่มมีเป็นครั้งแรกในประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยบริษัทที่ชื่อ “ไอรัล-บลู” โดยผู้ที่คิดค้นคือ “ไอรัล บริว” หลังจากนั้นก็มีการแพร่หลายไปอีกหลายประเทศ และในวงการต่างๆ เช่นโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง จนถึงช่วงทศวรรษ 1980 จุดประสงค์ของการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดื่มเพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไป” เครื่องดื่มชูกำลังออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 โดยการปรับปรุงรสชาติให้ดีขึ้น และการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังโดยใช้นักกีฬาฟุตบอลคนหนึ่งซึ่งสังกัดทีมฟลอริดา โดยใช้ชื่อยี่ห้อว่า “เกตเตอเรท” โดยคราวนี้มีการปรับปรุงสูตรเพื่อให้สามารถรักษาพลังงานให้ยาวนานขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้น เครื่องดื่มชูกำลังเข้ามาครั้งแรกโดยลิโพวิตันดี เมื่อปี พ.ศ.

Read More

“โอสถสภา” จัดทัพเครื่องดื่ม ดัน “.357แม็กนั่ม” สกัด “แรงเยอร์”

 การเข้ามาของ “แรงเยอร์” ภายใต้เครือข่ายการจัดจำหน่ายของบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) และยังมีท่อน้ำเลี้ยงขนาดยักษ์จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังที่มีเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการเปิดแนวรบครั้งใหม่ที่ทุกค่ายต่างต้องการพุ่งชน “เอ็ม-150” ในฐานะผู้ยึดกุมส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ปัจจุบัน แม้ “เอ็ม-150” ยังมีส่วนแบ่งตลาดทิ้งห่างเบอร์ 2 และ 3 แต่เป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามากินแชร์ตลอดเวลา จาก 65% เหลือ 55%  และล่าสุดเหลือ 48% ส่วนอันดับ 2  คาราบาวแดง  อยู่ที่ 18% และอันดับ 3 กระทิงแดง อยู่ที่  16%  โดย “คาราบาวแดง” สามารถแซง “กระทิงแดง” เมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า เมื่อ “แรงเยอร์”

Read More