Home > บุพเพสันนิวาส

บิ๊กซี คว้าโอกาส บุพเพฟีเวอร์ ชูยอดคนเดินห้างเพิ่มขึ้นเท่าตัว พร้อมรับชม “เบื้องหลังบุพเพสันนิวาส ๒” สุดเอ็กคลูซีฟเฉพาะ ไลน์บิ๊กซีเท่านั้น

บิ๊กซี คว้าโอกาส บุพเพฟีเวอร์ ชูยอดคนเดินห้างเพิ่มขึ้นเท่าตัว พร้อมรับชม "เบื้องหลังบุพเพสันนิวาส ๒" สุดเอ็กคลูซีฟเฉพาะ ไลน์บิ๊กซีเท่านั้น ภาพยนตร์ "บุพเพสันนิวาส ๒" ขึ้นแท่นหนังดังร้อยล้าน ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเข้าถึงกลุ่มคนทุกช่วงวัย ในครั้งนี้ บิ๊กซี มองเห็นโอกาสและจับมือ GDH สร้างแคมเปญ "บุพเพที่บิ๊กซี" ซึ่งได้ผลตอบรับดีเกินคาด มียอดจับจ่ายใช้สอย และมีผู้คนจำนวนมากที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมดังกล่าวนี้ สูงขึ้นถึง 17% รวมถึงช่องทางบนออนไลน์ของบิ๊กซีก็ได้รับความน่าสนใจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี ร่วมกับ บริษัท จีดีเอช ห้าเก้าเก้า จำกัด สร้างประสบการณ์กับ "บุพเพสันนิวาส ๒" จากผลวิจัย Consumer Insight พบว่าพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ต้องการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด นอกจากการมาเดินห้างเพื่อซื้อของแล้ว ลูกค้าชอบที่จะได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดย บิ๊กซี จัดกิจกรรมดีๆเอาใจลูกค้า แฟนหนังทั้งในช่องทางออนไลน์ -

Read More

วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?

กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า

Read More

บุพเพสันนิวาส บนกระแสธารไทยแลนด์ 4.0

หลังจากการออกอากาศตอนแรกของละคร “บุพเพสันนิวาส” ไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เพียงข้ามคืนละครเรื่องนี้ได้สร้าง “ปรากฏการณ์ทางสังคม” จนเกิดกระแสฟีเวอร์ที่ใครต่างพากันพูดถึง ไม่เว้นแม้แต่คนที่ไม่ใช่คอละคร ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” กลายเป็น talk of the town จากหลักฐานที่บ่งบอกว่า มีการค้นหาความหมายของคำสรรพนามที่ใช้เรียกบุรุษที่สองในละครอย่างคำว่า “ออเจ้า” ภาษาโบราณที่เคยใช้จริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกอยู่ในหนังสือ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ การค้นหาไม่ได้มีเพียงแค่คำโบราณที่ใช้ในละครเท่านั้น เมื่อตัวละครที่ปรากฏเพียงไม่กี่วินาทีในบางฉาก แต่สร้างความสงสัยให้หลายคนว่าบุคคลนั้นแสดงเป็นใคร กระทั่งได้คำตอบว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีการค้นหาต้นฉบับหนังสือนวนิยายเรื่องนี้ และที่สำคัญคือ “รอมแพง” นามปากกาของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ แน่นอนว่าหลังจากละครออกอากาศไปเพียงไม่กี่ตอนคำว่า “ออเจ้า” คำโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นคำฮิตในยุคดิจิทัล เมื่อโลกโซเชียลพากันใช้คำนี้จนฮิตติดปาก ความนิยมที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน ทำให้เรตติ้งละครเรื่องนี้ของช่อง 3 สูงขึ้นแซงหน้าละครช่องอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้ผู้จัด นักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบทโทรทัศน์ และเหล่าทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญให้การสร้างสรรค์ละครจนเป็นที่กล่าวถึง กระนั้นต้องยอมรับว่า

Read More