Home > จังหวัดเพชรบูรณ์

จากบทเรียนภูทับเบิก สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเขาค้อ

  ลมหนาวที่พัดผ่านในยามรุ่งอรุณ มวลอากาศเย็นที่เข้าปกคลุมประเทศไทย อาทิตย์กำลังฉายแสงและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า แสงที่สาดส่องมานอกจากจะเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเช้าวันใหม่แล้วยังฉายให้เห็นสายหมอกอ่อนๆ ที่ลอยอวลอ้อยอิ่งอยู่ตามทิวเขา ฤดูหนาวของไทยกำลังมาเยือน แม้ว่าช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวของไทยมีสีสันมากกว่าทุกช่วงเวลา หากแต่คงไม่ใช่เวลานี้ ในยามที่คนไทยอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความเศร้าโศกจากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ม่านหมอกของความอาดูรยังไม่จางลง หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ตื่นรู้และตระหนักถึงพระราชกรณียกิจที่ผ่านมาของพระองค์ท่าน อีกทั้งยังประกาศความตั้งมั่นที่จะเดินรอยตามพระปณิธานของพระองค์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่”  ชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยหลายสิบปี และได้รับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น จนกลายเป็นอาชีพหลักหาเลี้ยงครอบครัว  จังหวัดเพชรบูรณ์นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ชาวเขาอพยพมาอาศัยอยู่ บางส่วนมีอาชีพเกษตรกร เพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี ผักสลัด เบบี้แครอท ซึ่งบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณภูทับเบิก นอกจากนี้ยังมีชาวเขาอีกส่วนที่อาศัยพื้นที่ทำกินบริเวณเขาค้อ เพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รี่ทดแทนการปลูกฝิ่น และแม้ว่าเพชรบูรณ์อากาศจะไม่หนาวเย็นเหมือนจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน อย่าง เชียงราย เชียงใหม่ หรือแม่ฮ่องสอน หากแต่ด้วยทัศนียภาพและสภาพอากาศที่ใกล้เคียง ประกอบกับระยะทางการเดินทางที่ใช้เวลาไม่นานมาก ทำให้เพชรบูรณ์เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเลือกเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งนำรายได้เข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนมาก ภูทับเบิกนับเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจนเกิดเป็นกระแสสังคม และแน่นอนว่าเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะตอบสนองแรงบริโภคของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเรื่องที่พักอาศัย รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ ที่เริ่มทอดตัวอยู่ตามแนวไหล่เขาจนบดบังทัศนียภาพอันสวยงามของธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น กระทั่งเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนของภูทับเบิก หรือการดำเนินการบนที่ดินโดยปราศจากเอกสารสิทธิ์  ในระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้พื้นที่ทำกินของเกษตรกรบนภูทับเบิกถูกเปลี่ยนมือ และแม้ว่าปัจจุบันภูทับเบิกจะยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอยู่ กระนั้นความนิยมเหล่านั้นก็ตามมาด้วยปัญหา

Read More

“กรีนมาร์เก็ต” เพชรบูรณ์โมเดล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

  แม้ว่าจังหวัดเพชรบูรณ์จะมีสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ และเป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะพื้นที่เขาค้อ ภูทับเบิก อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ซึ่งความนิยมที่ทวีสูงขึ้นทำให้อุตสาหกรรมที่เติบโตเพื่อรองรับการขยายจำนวนของนักท่องเที่ยวเป็นไปแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะพื้นที่ภูทับเบิก จากเดิมที่เคยเป็นสถานที่ที่ถูกจัดสรรให้ชาวเขาใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาว หากแต่เหล่านายทุนที่มองเห็นกำไรที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนมือเจ้าของที่ดินทำกิน แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่จะสามารถซื้อขาย แต่เป็นลักษณะของเอกสารสิทธิ์ครอบครองเพื่อใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินเท่านั้น จากทิวเขาสีเขียวขจี ที่มีแปลงกะหล่ำปลีปลูกเรียงรายทอดยาวเป็นระเบียบ ถูกแปรสภาพเป็นรีสอร์ต เกสต์เฮ้าส์หลังเล็กๆ สีสันสดใสตัดกับสีของธรรมชาติอย่างชัดเจน  กระนั้นเมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ คสช. เข้ามาควบคุมดูแลอย่างจริงจังและตรวจสอบความถูกต้อง ถึงการรุกล้ำผืนป่าภูทับเบิก กรณีดังกล่าวเคยปรากฏให้เห็นถึงการออกแอคชั่นของภาครัฐเมื่อครั้งภารกิจทวงคืนผืนป่าจากพื้นที่เขาใหญ่ ปรากฏการณ์เดียวกันกำลังดำเนินไปบนพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างภูทับเบิก แม้ว่าภาพข่าวที่แสดงออกมาจะเป็นไปในเชิงติดลบ กระนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเพชรบูรณ์กลับมีนโยบายนำร่องซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประชารัฐของรัฐบาลเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก โครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงถือกำเนิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2558 พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิดมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ.2557-2558 มีผู้ป่วยเพิ่มเป็นสองเท่าจากปี พ.ศ.2556 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ในส่วนของผู้มารับบริการของโรงพยาบาลเพชรบูณ์ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ของมะเร็งทั้งหมด และสาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยได้รับสารเคมีหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารหรือได้รับสารกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร  ปัจจุบันเกษตรกรบางกลุ่มเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และเริ่มมองเห็นช่องทางการหลุดพ้นจากบ่วงความยากจน วงจรการเกษตรแบบเดิมๆ ที่รังแต่จะสร้างภาระหนี้สินที่ไม่รู้จบ และหันมาหาทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ลดต้นทุน และสามารถให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและดีกว่า อีกทั้งเทรนด์การบริโภคของประชาชนในช่วงนี้จะเน้นหนักและใส่ใจต่อสุขอนามัยมากขึ้น กรีนมาร์เก็ต

Read More