Home > Cover Story (Page 5)

“JUNO HAIR Thailand” เมื่อซาลอน No.1 จากเกาหลี บุกเมืองไทย

นอกจาก K-Entertainment ทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ เพลง และศิลปิน ที่เข้ามาตีตลาดและสร้างฐานแฟนคลับได้อย่างเหนียวแน่นในเมืองไทยแล้ว K-Beauty ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรงในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบความเป็นเกาหลีเกาใจในเมืองไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เทรนด์การแต่งหน้า รวมไปถึงทรงผมสไตล์เกาหลีที่กำลังเป็นที่นิยม ล่าสุด  “JUNO HAIR” (จูโน แฮร์) ซาลอนผมอันดับหนึ่งจากประเทศเกาหลี ที่มีประวัติยาวนานถึง 42 ปี และมีสาขาทั่วประเทศกว่า 180 สาขา ก็ได้ฤกษ์บินลัดฟ้ามาเปิดสาขาในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ โดยปักหมุดใจกลางเมือง ณ โรงแรมกราฟ บนถนนรัชดาภิเษก เป็นสาขาแรก “JUNO HAIR” ก่อตั้งโดย “คัง ยุน ซอน” (Kang Yun-seon) ผู้ที่มีความชื่นชอบในการทำผมและฝันที่จะเปิดร้านเสริมสวยที่ให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า นั่นทำให้เธอตัดสินใจไปเรียนทำผมที่โรงเรียนสอนเทคนิคการเสริมสวย โดยเป็นคลาสเรียนในตอนเช้าและฝึกปฏิบัติจริงในตอนบ่าย และด้วยพรสวรรค์ที่มีทำให้เธอมีลูกค้าประจำแม้ขณะยังเรียนอยู่ ซึ่งจุดนี้ได้สร้างความมั่นใจให้เธอก้าวเดินในเส้นทางสายนี้อย่างเต็มตัว ปี ค.ศ.1982 “คัง ยุน ซอน” ตัดสินใจเปิด “ร้านเสริมสวยจุนโอ” ที่ย่านดนอัมดง เขตซองบุก

Read More

แลคตาซอย-โทฟุซัง เมื่อความเก๋าเจอรุ่นใหม่เบียด

Kantar บริษัทด้านข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์ เปิดเผยรายชื่อแบรนด์ที่ได้รับรางวัลจากงาน Thailand Brand Footprint Awards 2024 ซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคใน 62 ตลาดทั่วโลก ครอบคลุม 76% ของประชากรโลกและ 86% ของ GDP โลก โดยสำรวจแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) กว่า 590 แบรนด์ และแบรนด์ความงามอีก 400 แบรนด์ในประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสามารถดึงดูดผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมที่สินค้ามีราคาสูงขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทาง Functional และ Emotional อย่างแข็งแกร่ง ทำให้ตัวเองเป็นที่จดจำและเข้าถึงทุกจุดสัมผัสของผู้บริโภค ทั้งนี้ กำหนดหน่วยวัด Consumer Reach Points (CRP) แสดงถึงการเลือกซื้อแบรนด์ของผู้บริโภคหนึ่งครั้ง รวมข้อมูลจากประชากร การเข้าถึงและการเลือกของผู้บริโภค แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ Most Chosen Brands หรือแบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด,Top Outstanding

Read More

เปิดอาณาจักร “KCG Logistics Park” กลยุทธ์สร้างการเติบโตของ เคซีจี คอร์ปอเรชั่น

โลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่งและกระจายสินค้าถือเป็นกระดูกสันหลังของการดำเนินธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นต้นทุนก้อนใหญ่ด้วยเช่นกัน การบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ หลังประกาศ 7 เสาหลักในการดำเนินธุรกิจที่ประกอบด้วย 1. สร้างการเติบโตทางธุรกิจ 2. พัฒนาบุคลากร 3. ขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี 4. ขยายตลาดส่งออก 5. ยกระดับศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้า 6. ยกระดับการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ และ 7. ส่งเสริมความยั่งยืน ไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดผู้ผลิตและนำเข้าอาหารรายใหญ่อย่างบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KCG Corporation (KCG) เดินหน้าเสริมเสาหลักที่ 5 เปิด “KCG Logistics Park” ศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าแห่งใหม่ ที่ทุ่มงบไปกว่า 350 ล้านบาท จากเดิมที่เคยเช่าอยู่หลายๆ ที่ ให้มารวมกันภายใต้ศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าแห่งใหม่ โดย “KCG Logistics Park” ตั้งอยู่ ณ

Read More

น้ำเต้าหู้หมื่นล้าน แห่เปิดร้านอัปเกรดพรีเมียม

แน่นอนว่า เมนูปาท่องโก๋ต้องกินคู่กับน้ำเต้าหู้ ซึ่งร้านน้ำเต้าหู้ยุคปัจจุบันสไตล์คนรุ่นใหม่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงและได้ผลตอบรับค่อนข้างดีด้วย ทั้งในแง่ตลาดความต้องการของผู้บริโภคและจำนวนร้านเปิดใหม่พุ่งพรวดกว่าเท่าตัว หากเจาะเฉพาะตลาดน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง เคยมีข้อมูลการวิจัยของยูโรมอนิเตอร์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นอันดับ 3 ของโลก อัตราการบริโภคมากกว่า 12 ลิตรต่อคนต่อปี รองจากฮ่องกงและสิงคโปร์ และตลาดน้ำนมถั่วเหลืองในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่องมากกว่า 10% ทุกปี ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากคนไทยที่มีอายุมากขึ้น จึงลดการบริโภคนมโคลงและหันมาบริโภคน้ำนมถั่วเหลือง ขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมดื่มน้ำเต้าหู้ เพื่อลดความเสี่ยงการแพ้นมวัว รวมทั้งความนิยมในการบริโภคอาหารเจทำให้ตลาดนมถั่วเหลืองแข่งขันสูงขึ้น ทั้งเรื่องนวัตกรรมสินค้าและรสชาติใหม่ๆ ถ้าแยกสัดส่วนตลาดนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มในประเทศไทยแบ่งเป็นชนิดกล่องยูเอชทีประมาณ 84% แบบขวดแก้วหรือสเตอริไรซ์ 13% และแบบพาสเจอไรซ์ (คั้นสด) 3% ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดเทรนด์ใหม่ในกลุ่มผู้บริโภค มีความต้องการนมถั่วเหลืองพาสเจอไรซ์ ต่อยอดจากแบบคั้นสดมากขึ้น เพราะไม่ผสมนมผง ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ใส่สารเคมี เติมสีหรือกลิ่น มีความอร่อยสดเหมือนกินน้ำเต้าหู้ตามร้านค้า แต่สามารถซื้อมาเก็บในตู้เย็นได้นานกว่าน้ำเต้าหู้ทั่วไป เพราะผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ขณะเดียวกัน ตลาดผลิตภัณฑ์นมจากพืช ซึ่งรวมถึงนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้มีการเติบโตสูงตั้งแต่ช่วงปี 2565 และปี 2566 ภาพรวมตลาดมีมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ถือเป็นอานิสงส์จากเทรนด์การใส่ใจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 กระตุ้นให้ผู้บริโภคในตลาดให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์

Read More

กลยุทธ์กัปตันหนุ่ม “โก๋นักบิน” ธุรกิจต้องมีแผนสำรองสู้วิกฤต

“ผมไม่เคยคิดอยากเป็นนักธุรกิจ เพราะอาชีพเป็นนักบิน แต่โควิดทำให้ผมหยุดบิน ตอนนั้นบริษัทการบินไทยประชุมจะเลย์ออฟนักบิน มีกระแสข่าวออกมาเยอะมาก ผมคิดว่าโดนไล่ออกแน่ๆ ไม่มีโอกาสเป็นนักบินแน่ๆ” ณัฐธร และขวัญ นักบินฝูงบิน Boeing 777 และ Boeing 787 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งบริษัท โก๋นักบิน กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงจุดเริ่มต้นกิจการร้านปาท่องโก๋ หลังเจอวิกฤตโควิดเล่นงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแบบ 100% ช่วงปี 2563 ต้องหยุดการบินติดต่อกันยาวหลายเดือน “แรกๆ ผมจะขายของในตลาดบางกะปิ แต่เผอิญช่วงโควิดตอนนั้นปาท่องโก๋ครัวการบินไทยดังมาก ผมไปต่อคิวซื้อเพราะแม่อยากรับประทาน ต่อคิวตั้งแต่ 6 โมงเช้าก่อนประชุม 8 โมงเช้า ได้คิวที่ 200 กว่าๆ ผมฝากพี่หลังร้านช่วยเก็บให้ 1 ชุด พอประชุมกลับมาเกือบสิบโมง เขาไม่ได้เก็บให้เพราะคิวเยอะมาก ใช้อภิสิทธิ์ไม่ได้

Read More

โก๋นักบินแตก “โก๋มินิ” แก้พิษเศรษฐกิจ กำลังซื้อหด

ปาท่องโก๋ชื่อดัง “โก๋นักบิน” หนึ่งในแฟรนไชส์ยอดนิยมที่มีผู้คนอยากเป็นเจ้าของกิจการ ล่าสุดประกาศปรับกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจ “ทรงๆ ทรุดๆ” แตกแบรนด์ลูก “โก๋มินิ” เข้ามาลุยตลาดครั้งใหญ่ โดยวางเป้าหมายขยายสาขาแบบไม่จำกัด หลังเจอวิกฤตกำลังซื้อหดตัวตั้งแต่ปี 2566 จนต้องปิดสาขาไปกว่าครึ่ง “ตอนนี้ เศรษฐกิจวิกฤตกว่าที่เคยเจอ รอบๆ บ้านมีสงคราม สงครามยูเครน ปาเลสไตน์ อิสราเอล ทำให้วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ส่งผลแน่นอนและใกล้บ้านเรา พม่ามีสงครามกลางเมือง มีการเข้ามาของกลุ่มทุนจีน ส่งสินค้ามาดัมป์ราคาทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ร้านอาหารขาดทุนสะสมขนาดยักษ์ล้ม ซึ่งโก๋นักบินต้องปรับกลยุทธ์เช่นกัน” ณัฐธร และขวัญ ผู้ก่อตั้งธุรกิจ “โก๋นักบิน” กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงสถานการณ์กำลังซื้อที่ยังย่ำแย่หนัก ซึ่งการเป็นนักบินฝูงบิน Boeing 777 และ Boeing 787 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทำให้เขาได้เดินทางไปหลายๆ ประเทศ รับรู้ผลกระทบจากปัจจัยนอกประเทศที่ส่งผลกระทบมาถึงคนไทยในประเทศด้วย “เราเห็นโจทย์เรื่องกำลังซื้อลดลง ลูกค้าหลายรายสนใจแฟรนไชส์โก๋นักบิน แต่พอบอกราคา

Read More

กลุ่มสันขวานเปิด SK Check เช็กพระออนไลน์ ไม่ถูกหลอก

วงการพระเครื่องมักจะเป็นธุรกิจที่มีทิศทางการเติบโตสวนกระแส ไม่ว่าจะมีปัจจัยแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น โรคระบาดโควิด หรือความไม่แน่นอนทางการเมือง นักวิเคราะห์มองกันว่า ธุรกิจพระเครื่องมีเงินหมุนเวียนในตลาดสูงถึงพันล้านบาท ไทยเป็นตลาดพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลก South China Morning Post เคยรายงานว่า ตลาดพระเครื่องในไทยมีเงินหมุนเวียนกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากคนไทยแล้วพระเครื่องยังเป็นที่ต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน พระเครื่องจึงถูกมองว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของเศรษฐกิจไทยอีกหนึ่งแขนง แม้ว่าปีนี้ตลาดพระเครื่องอาจจะเงียบเหงาลงบ้างเพราะค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ผู้คนชะลอการจับจ่าย ส่งผลให้ตลาดพระขาดความคึกคักไปเท่าที่ควร แต่เซียนพระยังมองว่าแม้จะกระทบบ้างจากความต้องการที่หายไปตามภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นตลาดพระเครื่องจะฟื้นตัวได้ง่ายและเร็วกว่าธุรกิจอื่น SK Check แอปพลิเคชันที่ผูกกับ Line สำหรับตรวจเช็กว่าพระแท้หรือปลอม ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ เกิดจากแนวคิดของกลุ่มสันขวาน ซึ่งเป็นกลุ่มเซียนพระในภาคตะวันตกของไทย ที่มี อาทิตย์ นวลมีศรี อยู่เบื้องหลังการบริหารงาน “เรามองว่าในระยะหลังวงการพระเครื่องถูกใช้เป็นเครื่องมือหาเงิน จนล้ำเส้นการอนุรักษ์ที่น่าจะเป็นมรดกของชาติ พระเครื่องมีมนต์เสน่ห์ในด้านพุทธคุณ มูลค่าของพระเครื่องเกิดจากพุทธคุณของนักสะสม ผู้ที่ครอบครอง เมื่อพระเครื่องหรือวัตถุมงคลมีจำนวนจำกัด ขณะที่ความต้องการมีมากกว่าทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ราคาตลาดจึงสูงขึ้น” อาทิตย์ นวลมีศรี อธิบาย ปัญหาเศรษฐกิจอาจทำให้บางคนต้องมองหาตัวช่วยในเวลาฉุกเฉิน การแลกเปลี่ยนของสะสมอย่างพระเครื่องเป็นเงินจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ “แน่นอนว่า คนที่สามารถดูพระเป็นจะไม่ถูกฉวยโอกาส แต่คำถามคือ คนที่ดูพระไม่เป็นอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกง่าย ถูกกดราคา มีพระอยู่ที่บ้านแต่ไม่รู้ว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินช่วยเหลือพวกเขาได้ในยามวิกฤตจริงๆ

Read More

ส่องเทรนด์ E-book โตพันล้าน แต่ไม่ทดแทนตลาดหนังสือเล่ม

ตลาดหนังสือเล่มในไทย ปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และถูกคาดการณ์ว่าปี 2567 มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 หมื่นล้านบาท ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปีถัดไป ข้อมูลล่าสุดมูลค่าตลาด E-Book ปี 2564 อยู่ที่ 3,753 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงความนิยม E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในไทย ที่เพิ่มขึ้นจากนักอ่าน มีข้อมูลว่าพฤติกรรมการอ่านของชาวไทยจากนักอ่านหนังสือเล่มย้ายไปสู่แพลตฟอร์ม E-Book มากถึง 42% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของนักอ่านโลก กวิตา พุกสาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตอรี่ล็อก จำกัด ให้ข้อมูลว่า “ตลาด E-Book ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561-2565 มีมูลค่าตลาดเพิ่มจาก 7.63 แสนล้านบาท เป็น 1.07 ล้านล้านบาทในปี 2565 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี

Read More

EnergyLIB ปฏิวัติวงการโซลาร์เซลล์ ประกาศพร้อมช่วยคนไทยลดค่าไฟ

ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์เซลล์กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ด้วยหลายปัจจัยทั้งราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเทรนด์การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดที่มีภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่ง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการเติบโตของค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นถึง 30% (อ้างอิงจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยประเภทบ้านพักอาศัยระหว่างปี 2564-2566) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐทยอยปรับเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ประกอบกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป ทั้งการทำงานแบบ Work from home ตลอดจนความนิยมในการใช้รถยนต์ EV ทำให้แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การติดตั้ง “โซลาร์รูฟท็อป” กลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มาแรง เพื่อเป็นการรับมือกับค่าไฟที่มีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้น และยังสอดรับกับเทรนด์พลังงานสะอาดที่เป็นเมกะเทรนด์ทั่วโลกอีกด้วย นั่นทำให้ตลาดโซลาร์เซลล์ในเมืองไทยดูจะคึกคักไม่น้อยเลยทีเดียว โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ได้คาดการณ์ว่าตลาดโซลาร์เซลล์ในไทยจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2565-2568 จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 22 ต่อปี จนมีมูลค่า 67,268 ล้านบาท ในปี 2568 ส่วนมูลค่าการผลิตโซลาร์เซลล์ในไทย ปี 2566 อยู่ที่ 6,147.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 184.35 จากปี 2565 (2,161.95

Read More

สำรวจธุรกิจใหม่ “อายิโนะโมะโต๊ะ” จากผงชูรส สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

จุดเริ่มต้นธุรกิจของ “อายิโนะโมะโต๊ะ” เกิดจากการค้นพบรสชาติ “อูมามิ” โดย ศ.ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว จากข้อสงสัยที่ว่าทำไมน้ำซุปที่ได้จากการต้มสาหร่ายทะเลคมบุจึงมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม จนนำไปสู่การไขความลับที่ว่า “กลูตาเมต” (Glutamic Acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง คือที่มาของรสชาติดังกล่าว กระทั่งเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรุงรสอูมามิแห่งแรก ณ ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2452 ภายใต้ชื่อ “อายิโนะโมะโต๊ะ” โดย บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ โค., อินค์. ประเทศญี่ปุ่น 51 ปีต่อมา ฐานการผลิตผงชูรสแห่งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้ชื่อ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2503 ถัดจากนั้นในปี พ.ศ. 2505 จึงมีพิธีเปิดโรงงานพระประแดงอย่างเป็นทางการ และเริ่มการผลิตผงชูรส “อายิโนะโมะโต๊ะ” โดยใช้แป้งมันสำปะหลัง

Read More