Home > KABALI

ปรากฏการณ์ KABALI

 Column: AYUBOWAN สันทนาการหลักๆ ของชนชาวศรีลังกานอกจากจะออกมาหย่อนใจในสวนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มเล่นกีฬากันอย่างสนุกสนานแล้ว ดูเหมือนว่าโรงภาพยนตร์ ก็เป็นแหล่งสันทนาการใหญ่ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างหนาแน่น ความเป็นไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ศรีลังกา ในด้านหนึ่งก็คงคล้ายและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้อีกหลากประเทศที่ถูกบดบังไว้ด้วยภาพยนตร์จาก Bollywood ของอินเดียอยู่เป็นด้านหลัก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของศรีลังกาซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจากผลของผู้อำนวยการสร้างจากอินเดียใต้ ที่ทำให้ภาพยนตร์ศรีลังกาในยุคบุกเบิก ดำเนินไปท่ามกลางมิติของเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายทำตามขนบแบบภาพยนตร์อินเดียไปโดยปริยาย แม้ว่าภาพยนตร์ศรีลังกาที่ผลิตขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ผลิตภายใต้สื่อภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาหลักและเป็นภาษาของชนหมู่มากของศรีลังกา แต่ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดียก็ได้รับความสนใจและครองความนิยมในหมู่ผู้ชมได้เสมอ ประเมินในมิติที่ว่านี้ก็คงไม่แตกต่างจากแฟนหนังชาวไทยที่พร้อมจะซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์จาก Hollywood มากกว่าที่จะสนับสนุนภาพยนตร์ไทยดีๆ สักเรื่อง หรือในความเป็นจริงภาพยนตร์ไทยดีๆ ยังไม่ค่อยมีให้สนับสนุนก็เป็นได้ แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ภาษาทมิฬจากฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกแห่งที่เมือง Kodambakkam ในเขต Chennai รัฐ Tamil Nadu ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น Kollywood ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่จำกัดเฉพาะในบริบทของเมือง Chennai หรือในและอาณาเขตแว่นแคว้นของรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดียเท่านั้น หากยังแผ่ข้ามมาสู่ศรีลังกาอีกด้วย ภาพยนตร์ภาษาทมิฬในนาม Kabali กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า Kabali สร้างสถิติใหม่เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำรายได้สูงสุดจากการฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 3,200 แห่งในอินเดียและอีกจำนวนหนึ่งในต่างประเทศในช่วงสัปดาห์แรก ด้วยมูลค่ารวมมากถึง 33 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื้อหาของ

Read More