Home > Insurance (Page 3)

คลับสร้างยิ้ม สร้างสุข 10 ปี สไมล์คลับ

 หากย้อนเวลาถอยหลังไปเมื่อสิบปีที่แล้ว การดูโฆษณาคั่นเวลารายการโทรทัศน์ คงเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายไม่น้อย เพราะโฆษณาเหล่านั้นต่างก็มุ่งขายสินค้าโอ้อวดสรรพคุณของตัวเองเพียงหวังให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า และทำรายได้จากการขายสินค้านั้นๆ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญก็เพียงแค่ทำตัวหนังสือเล็กๆ ขึ้นเตือนหน้าจอ ที่ต้องอาศัยแว่นขยายถึงจะเข้าใจ  ยุคสมัยที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่บริษัทประกันภัยมักนำเสนอสินค้า โดยใช้ตัวเอกในด้านความมั่นคงในชีวิต หรือหลักประกันในอนาคต นำเอาความเสี่ยงในโรคภัยมาเป็นจุดขาย เนื้อหาโฆษณาที่ดูแล้วชวนให้หดหู่ ถึงจะสนใจอยากซื้อกรมธรรม์ แต่ไม่สนใจอยากจะดูโฆษณา และทัศนะเดิมๆ ของผู้บริโภคคงยังไม่เปลี่ยน  หากแต่เมื่อประโยคที่ว่า “ก็ความบันเทิงมันฝังใจ” กลายเป็นก๊อบปี้ที่ติดหูในเวลาไม่นาน โดยมีเนื้อหามาจากโฆษณาตัวหนึ่ง เริ่มจากคนกลุ่มหนึ่งไปยืนรอกดเงินหน้าตู้ ATM บรรยากาศเคร่งเครียดกลับดูสนุกสนานขึ้นเมื่อทุกคนพร้อมใจเต้นรำ ทำให้เมืองไทยสไมล์คลับ โครงการเรียกยิ้มจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ถูกพูดถึงและกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ในเวลาไม่นาน  1 เมษายน 2547 เมืองไทย Smile Club ถูกก่อตั้งขึ้น พร้อมแนวคิดที่ต้องการมอบความสุขและรอยยิ้มแก่ลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ นำทัพด้วยหัวเรือคนใหม่อย่างสาระ ล่ำซำ ซึ่งนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และแม้จะเป็นวันเอพริลฟูลเดย์ แต่หัวเรือใหญ่ก็ทำให้สโลแกน “เมืองไทย Smile Club ศูนย์รวมกิจกรรมเพื่อความสุขและรอยยิ้มของคนหัวคิดทันสมัย” เป็นจริง พฤติกรรมที่ผู้บริโภคมักเดินเลี่ยงหลีกหนีบูธประกันชีวิตตามห้างสรรพสินค้า หรือภาพลบในทัศนคติที่หลายคนมีต่อตัวแทนประกันนั้นเริ่มลดน้อยลง เพราะสิ่งล่อใจที่เรียกว่าความสุข ที่แบรนด์เมืองไทยฯ จับถูกจุดชูให้เป็นจุดขายหลัก สร้างกระแสทำให้ลูกค้าจับต้องและรู้สึกได้ จากอีเวนต์ที่สร้างเองแล้ว นายใหญ่อย่างสาระยังจับมือกับพันธมิตรมากมายเพื่อจัดอีเวนต์เพิ่ม หวังที่จะตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ใช่ว่าลูกค้าจะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือได้รับส่วนลดต่างๆ

Read More

New Message “พี่ช้างคืนเงิน”

 แรกเริ่ม บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถือกำเนิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จย่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเล็งเห็นว่า ควรจัดตั้งบริษัทประกันภัยของคนไทยขึ้น เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความความเดือดร้อนให้แก่คนไทยและไม่ให้เงินทองรั่วไหลออกจากประเทศ  เนื่องจากประวัติศาสตร์ของวงการประกันภัย แม้มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2472  คือ บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด แต่เป็นของนักธุรกิจชาวจีน ก่อนที่จะไปร่วมอยู่ในเครือ “ไทยประกันชีวิต” ของกลุ่มตระกูลไชยวรรณ เมื่อปี 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น “ไทยไพบูลย์ประกันภัย” และในแวดวงธุรกิจประกันวินาศภัยยุคนั้น ส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ ทั้งชาวตะวันตก ชาวจีน จดทะเบียนตั้งบริษัทประกันวินาศภัย รับประกันตึก รับประกันการขนส่งทางทะเล เรียกว่า คนไทยต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ชาวต่างชาติทั้งหมด  เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกามีพระราชดำริ จึงมีการระดมเงินทั้งจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์และกลุ่มคนชนชั้นสูง ก่อตั้งบริษัท สยามประกันภัย ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2481 ถือเป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่มีทุนจดทะเบียนมากที่สุดในเวลานั้น  ปีถัดมา บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น “ไทยประกันภัย” เนื่องจากประเทศไทยเปลี่ยนชื่อจาก “สยาม” เป็น

Read More

“โปรดักส์แชมเปี้ยน” เกมรุก “ไทยประกันภัย”

 ปี 2557  ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในแง่การรุกตลาด หลังจากทำตัวเป็นยักษ์หลับมานานหลายสิบปี ทั้งที่ชื่อชั้นถือเป็นบริษัทประกันวินาศภัยรายแรกของคนไทยและทำธุรกิจยาวนานถึง 76 ปี แต่ ณ ปัจจุบัน กลับมีส่วนแบ่งในตลาดประกันภัยทุกประเภทไม่ถึง 1% ติดอันดับ 32 และมีส่วนแบ่งในตลาดประกันภัยรถยนต์ไม่ถึง 2% ติดอันดับ 24  แม้เหตุผลข้อสำคัญในการประกาศแผนรีแบรนดิ้ง ปรับภาพลักษณ์และโลโก้ พุ่งเป้าเรื่องการสร้างความชัดเจนของธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะชื่อบริษัทที่ไปพ้องกับบริษัทคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) รวมถึงอีกหลายบริษัทที่มีชื่อใกล้เคียงกัน จนทำให้การเปิดตัวแคมเปญขาดความโดดเด่น  แต่ยุทธศาสตร์ใหญ่ของพณิตา ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) คือ การเปิดเกมเพื่อสร้างฐานตลาดในประเทศที่เข้มแข็งขึ้นและขยายแนวรบรับมือศึกเออีซีในปี 2558  แผนรีแบรนดิ้งทั้งหมดถูกกำหนดเชื่อมโยงกับแคมเปญใหม่ที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในวงการประกันภัยรถยนต์  “พี่ช้างคืนเงิน” โดยถือเป็นกลยุทธ์ตัวแรกตามแผนสร้าง

Read More