Home > เปรมชัย กรรณสูต

อาณาจักรแสนล้าน ITD บนบรรษัทภิบาลที่สั่นคลอน

หากเปรมชัย กรรณสูต ซึ่งจะมีอายุครบ 64 ปี ในวันที่ 9 มีนาคม 2561 หรือในช่วงเวลาไม่กี่วันข้างหน้านี้ มีโอกาสได้นั่งย้อนเวลาพินิจความเป็นมาและเป็นไปทั้งในส่วนของเขาและอาณาจักรธุรกิจที่ครอบครัวกรรณสูตได้สืบต่อเนื่องมาจากยุคของชัยยุทธ กรรณสูต พ่อของเขาและจิโอจิโอ แบร์ลิงเจียรี หุ้นส่วนวิศวกร ชาวอิตาลี ที่ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ไอทีดี) เมื่อ 64 ปีก่อน ภาพที่ปรากฏขึ้นในวาบความคิดของเขาคงมีความน่าสนใจไม่น้อย แต่จะมีใครหรือผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้บ้างว่าภายในจิตใจของเปรมชัย กรรณสูต จะคิดถึงหรือจัดลำดับความสำคัญให้กับสิ่งใดอย่างเป็นด้านหลัก จากจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในการได้รับสัมปทานการกู้เรือเดินทะเล เมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่นำไปสู่การก่อตั้งเป็นบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ITD) ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นจากเงินจำนวน 2 ล้านบาท ก่อนจะเติบใหญ่และขยายบริบททางธุรกิจออกไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปัจจุบัน ITD ได้รับการกล่าวถึงในฐานะอาณาจักรธุรกิจที่มีมูลค่านับแสนล้าน และมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมหลากหลายไม่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยเท่านั้น หากยังขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน และในประเทศที่อยู่ห่างไกลออกไป ทั้งอินเดีย

Read More

วิบากกรรม เปรมชัย กรรณสูต วิบากกรรม อิตาเลียนไทย

อุบัติการณ์ของการเข้าจับกุมคณะพรานไพร โดยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ส่งให้ชื่อของเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ รวมถึงการโจษขานในโซเชียลมีเดีย ที่นำไปสู่การขุดคุ้ยค้นหาความเป็นมาและเป็นไปของชายร่างท้วมใหญ่ในวัย 63 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ครอบครองอาณาจักรธุรกิจมูลค่ากว่าแสนล้านรายนี้ไปโดยปริยาย มิติมุมมองของการเสนอข่าวเปรมชัย กรรณสูต ในฐานะพรานไพรใจเหี้ยม ที่ปฏิบัติการพร่าผลาญทำร้ายชีวิตสัตว์ป่าในเขตอนุรักษ์ ในสังคมที่ตื่นกระแสแบบสังคมไทย ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อสังคมทุกรูปแบบ จนทำให้เรื่องราวความไม่ชอบมาพากลและเลวร้ายอื่นๆ ที่สังคมไทยได้บ่มเพาะไว้ก่อนหน้านี้ ถูกผลักให้จางหายจากความสนใจ และจะถูกลบเลือนประหนึ่งไม่เคยเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นว่าด้วย “นาฬิกา...เพื่อนให้ยืม” หรือแม้กระทั่ง “อาชีพไซด์ไลน์ ที่มีเครดิตดีในการยืมเงิน 300 ล้าน” ที่ล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนความเหลวแหลกและอับจนทางศีลธรรม จริยธรรม ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ แต่ดูเหมือนว่าประเด็นการล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมายจะเข้ากันได้ดีกับห้วงอารมณ์ที่เปราะบางของสังคมไทย ที่พยายามสะท้อนภาพความเป็นผู้มีเมตตา และมาตรฐานความดีที่ไม่พร้อมให้ใครต้องตรวจสอบ แม้ว่าความถูกผิดในทางคดีและความเป็นไปแห่งการกระทำของเปรมชัย กรรมสูต อาจต้องได้รับการพิสูจน์ต่อไปในอนาคต หากแต่หลายฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นว่าเปรมชัย กรรณสูต คือ “มืออาชีพ” ที่ชื่นชอบและมีความสามารถในการล่า มิได้เป็นเพียงผู้นิยมไพรที่แสวงหาการพักผ่อนท่องเที่ยวในแบบ “สักครั้งในชีวิต”

Read More