Home > พังผืด

เมื่อพังผืดเกิดติดยึดขมวดเป็นปม

Column: Well – Being พังผืดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันสำคัญอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปมตึงเขม็งเกลียวขึ้นได้ นิตยสาร shape ให้ความกระจ่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับพังผืดไว้ดังนี้ เครือข่ายของพังผืด พังผืดมีลักษณะเหมือนสายรัดแบบเต็มตัวที่ยึดโยงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังให้อยู่ในที่ในทาง มีหน้าที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะ เส้นประสาท และหลอดเลือด ให้อยู่ในเครือข่ายของคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติกที่เชื่อมต่อกัน ดังนั้น การเคลื่อนไหวทุกฝีก้าว และการนั่งนอนนานๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อพังผืดของคุณ อาร์คาดี้ ลิปนิตสกี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการจัดกระดูก (chiropractor) แห่งศูนย์ Rebalance NYC อธิบายว่า “หลังจากนั่งเป็นเวลานาน เวลาที่ลุกขึ้น ถ้าคุณรู้สึกว่าเกิดอาการข้อติด พูดได้เลยว่า เป็นเพราะพังผืดสูญเสียคุณสมบัติยืดหยุ่นของตัวเองไปชั่วคราว” ซู ฮิทซ์มานน์ นักกายภาพบำบัดและผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมการวิจัยพังผืด ให้คำแนะนำว่า “ให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ความรู้สึกว่าข้อติดนั้นจะหายไปเอง นี่คือเหตุผลสำคัญที่ตอกย้ำว่า ทำไมการเคลื่อนไหวอยู่เสมอจึงจำเป็นมาก” เมื่อเกิดการติดยึด จอร์แดน เม็ทเซิล แพทย์ด้านการกีฬากล่าวไว้ในหนังสือ The Athlete’s Book of Home Remedies ว่า เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า (หรือเพราะอาการบาดเจ็บ) พังผืดสามารถฉีกขาด อักเสบ หรือหดตัวสั้นลง

Read More