Home > Green > Think Urban > อาหาร GMO ปัญหาใกล้ตัวและใหญ่ระดับโลก

อาหาร GMO ปัญหาใกล้ตัวและใหญ่ระดับโลก

เมือง Dendermonde ในเบลเยียม มีการเปิดพิจารณาคดีเกี่ยวกับพืชดัดแปลงตัดแต่งพันธุกรรม (genetically-modified organism (GMO) เมื่อเดือนพฤษภาคม มีนักเคลื่อนไหว 11 คนถูกฟ้องร้องในข้อหา ทำลายแปลงทดลองปลูกมันฝรั่ง GMO? คดีนี้ไม่เพียงเป็นที่สนใจในเบลเยียม แต่ยังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อภาคการเกษตรของไทยด้วย ทั้งที่เป็นคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศที่ห่างไกลจากไทย เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

คำถามที่โยงคดีความที่เกิดขึ้นในเบลเยียมกับสถานการณ์ด้านอาหารในไทย คือคำถามที่ว่า

“เราจะสร้างความมั่นคงทางอาหารและต่อสู้กับความหิวโหยที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างไร โดยไม่สูญเสียการควบคุมการผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร”

ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญมากในประเทศอย่างเช่นไทย เพราะความอยู่ดีกินดีของคนไทยจำนวนมากขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมที่จะต้องให้ผลผลิตสูงเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ด้วย บริบทเช่นนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงในการผลิตพืชพาณิชย์ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหม่

การเกษตรกำเนิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 5,000-6,000 ปีล่วงมาแล้ว บนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติสในตะวันออกกลาง สมัยนั้น สังคมมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มนุษย์เปลี่ยนวิถีจากการใช้ชีวิตเป็นนักล่าและนักเก็บ ที่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อหาอาหาร เรียนรู้ที่จะอยู่กับที่และดำรง อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อการพัฒนาเกษตร ก้าวหน้ามากขึ้น การผลิตอาหารเหลือกิน สามารถนำไปเลี้ยงคนอื่นๆ ได้ ก่อให้เกิดอาชีพหลากหลาย ทั้งหมดนี้คือกระบวนการ ที่หากขาดไปก็คงจะไม่มีเมืองและชีวิตทันสมัยในเมืองเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลเก็บเกี่ยวที่ไม่ดี และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากร รวมถึงเหตุผลอื่นๆ ทำให้มนุษย์ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหารอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาพืชสายพันธุ์ ใหม่ๆ และการผสมพืชข้ามสายพันธุ์จึงมีมานานแล้ว

จุดประสงค์ก็เพื่อเพิ่มผลผลิตการ เกษตร แต่แล้วเทคนิคต่างๆ ที่มนุษย์เคยใช้เพิ่มผลผลิตการเกษตรก็พบกับขีดจำกัดในที่สุด จนกระทั่งต่อมาเกิดการค้นพบความรู้ใหม่ทางด้านชีววิทยาและการวิจัยทางพันธุกรรม ทำให้มนุษย์พัฒนาเทคนิควิธีการในการพัฒนาพืชสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา หรือ GMO ก่อนจะเข้าสู่ GMO ขอย้อนกลับไปยุคแรก เริ่มของการพัฒนาพันธุ์พืช ซึ่งต้องมีชื่อของ Gregor Mendel อยู่ด้วย

ในช่วงทศวรรษ 1860 Mendel ซึ่ง เป็นทั้งพระและนักวิจัยอาศัยอยู่ในประเทศ ที่ขณะนี้คือสาธารณรัฐเชค ค้นพบกฎสำคัญ 3 ข้อของการถ่ายทอดพันธุกรรม ซึ่งเป็นรากฐานของพันธุวิศวกรรมศาสตร์สมัยใหม่ในด้านการพัฒนาสายพันธุ์พืช และ 150 ปีหลังจากการค้นพบของเขา ได้ก่อให้ เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่หลายรุ่นที่นำกฎของ Mendel ไปพัฒนาต่อยอดจนค้นพบโครง สร้างทางพันธุกรรมหรือยีนของพืช

การค้นพบนี้เปิดทางไปสู่การควบคุม และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพืช สร้างพืชสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย และทำให้หลายคนเชื่อมั่นว่าอาหารปรับเปลี่ยน พันธุกรรม (gene-modified food) คือคำตอบสุดท้ายของปัญหาความมั่นคงทางอาหารของโลก

ทุกอย่างก็ดูดีในช่วงแรก

ระหว่างปี 1950-1985 ผลผลิตอาหารเพิ่มสูงมากโดยเฉพาะในเอเชีย เรียกกันว่า การปฏิวัติเขียว (Green Revolution) เมล็ดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์บวกกับปุ๋ยเคมีชนิดใหม่ ให้ผลผลิตสูงลิ่วอย่างน่าอัศจรรย์ เมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ให้ผลเก็บเกี่ยวมากขึ้น 2-3 เท่าของเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม ส่งผลให้ช่วงปี 1965-1980 ผลผลิตข้าวสาลีและข้าวเจ้าในชาติกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นถึง 75% ในอินเดีย ผลผลิตข้าวสาลีเพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วงปี 1966-1981 ทำให้มีข้าวเลี้ยงประชาชนได้มากถึง 184 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเทคนิคนี้ต้อง พบกับขีดจำกัด เมื่อพืชต่างชนิดกันไม่สามารถผสมข้ามสปีชีส์กันได้ เนื่องจากความเข้ากันไม่ได้ทางเพศ (Sexual compatibility)

ขีดจำกัดดังกล่าวเปิดช่องให้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่อย่างพันธุวิศวกรรมหรือการดัดแปลงตัดแต่งยีนก้าวเข้ามาแก้ปัญหานี้ มีการนำยีนแปลกปลอม (foreign gene) มาใส่เข้าไปในพืช เพื่อทลายกำแพง สปีชีส์ได้ ทำให้เกิดพืชพันทาง (hybrid plant) ชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อไปได้

การนำยีนแปลกปลอมใส่เข้าไปในพืชประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 1983 กับต้นยาสูบ ผลสำเร็จนี้ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมชนิดใหม่มูลค่านับแสนๆ ล้าน ดอลลาร์ในสหรัฐฯ “สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified organism: GMO) ชนิดแรกในโลกที่ผ่าน การดัดแปลงตัดแต่งพันธุกรรมได้รับการอนุมัติในสหรัฐฯ ให้มนุษย์บริโภคได้เมื่อปี 1996 ส่งผลให้มีการใช้พืช GMO เป็นส่วน ประกอบในอาหารอย่างแพร่หลายไปทั่วสหรัฐฯ โดยที่ผู้บริโภคแทบไม่เคยรู้เลยว่า ได้บริโภคอาหารชนิดใดที่มี GMO เป็นส่วนประกอบ

ผลการศึกษาของศาสตราจารย์ Mary Crouch ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา ซึ่งเกษียณอายุงานแล้วจากมหาวิทยาลัย Indiana State และเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ GMO พบว่ามีผลิตภัณฑ์ GMO 20 ชนิดที่ได้รับอนุมัติในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา

อาจจะดูเป็นตัวเลขไม่มาก แต่ผลิตภัณฑ์ GMO เหล่านี้เป็นอาหารจำเป็น ในชีวิตประจำวันที่ซื้อหรือหารับประทานได้ง่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร สิ่ง ที่น่ากังวลคือ ผู้คนส่วนใหญ่ยังปราศจากความรู้หรือความเข้าใจอันถ่องแท้ว่า GMO จะส่งผลกระทบต่อนิเวศวิทยาและต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ต่อไปนี้ อาจพอชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเกษตร สมัยใหม่ที่เรากำลังเผชิญจากพืช GMO

ในแถบ Midwest และภาคใต้ของสหรัฐฯ มีการปลูกข้าวโพด ถั่วเหลืองและฝ้าย GMO มากถึง 170 ล้านเอเคอร์ เช่น 85% ของข้าวโพดที่ปลูกในรัฐอินเดียนาของ สหรัฐฯ เป็นข้าวโพด GMO ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฆ่า หญ้าเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดวัชพืชดื้อยารุกรานไปทั่วพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่พืชอื่นๆ ตายหมด

วัชพืชบางอย่างเป็นอาหารของสัตว์ อย่างเช่น ผีเสื้อ นี่คือตัวอย่างผลกระทบของพืช GMO ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรายังไม่มีความเข้าใจดีพอ ความเสี่ยงอื่นๆ ก็อย่างเช่นพืช GMO อาจฆ่าไม่ตาย และอาจกลายเป็นวัชพืชที่คุกคามพื้นที่เพาะปลูก พืชอื่นๆ รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ นอกจากนี้ พืช GMO อาจไปผสมกับพืชป่าต่างสปีชีส์ และถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมไปยังพืชป่าจนเกิดเป็นพืชพันทางสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเป็นอันตรายใหม่ในระบบนิเวศ

ส่วนอันตรายต่อสุขภาพจากการบริโภคพืช GMO มีสิ่งที่น่าวิตก 2 ข้อใหญ่ คือ พืช GMO อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในมนุษย์มากขึ้น และอาจทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของเราเกิดการต้านยาปฏิชีวนะ ซึ่งยังเป็นยาเพียงชนิดเดียวที่เราใช้เป็นอาวุธ ในการต่อสู้กับโรคร้ายที่คุกคามชีวิต และกว่าเราจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางลบของพืช GMO เมื่อนั้นก็อาจสายเกินไปแล้ว

นอกจากอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพแล้ว Barbara van Dyck และนักเคลื่อนไหวต่อต้าน GMO อื่นๆ ยังกลัวว่า เราอาจจะสูญเสียการควบคุมการผลิตและจัด จำหน่ายอาหาร เพราะเทคโนโลยี GMO ทำให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์พืชผ่านการจดสิทธิบัตรมี ราคาแพง จึงมีแต่บริษัท ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติด้านธุรกิจเกษตรและเทคโน โลยีชีวภาพเท่านั้นที่จะได้รับผลประโยชน์ในด้านการเงินจาก GMO

ความเสี่ยงของพืช GMO ดังที่กล่าวมา ทำให้ประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วต่อต้านอย่างหนักหน่วง

Monsanto บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ และมีบทบาทสำคัญในเรื่อง GMO ได้พัฒนามันฝรั่ง GMO และ ตั้งชื่อว่า “New Leaf” เพื่อนำไปทำเป็นเฟรนช์ฟราย แต่ต้องยกเลิกไปเพราะถูกต่อต้านอย่างหนักจากผู้บริโภคชาวอเมริกัน ในยุโรปก็หนักไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นประเทศที่ทดลองปลูกพืช GMO มากที่สุดในยุโรป แต่ถูกสาธารณชนต่อต้านอย่างหนักจนต้องยกเลิก ไปเกือบหมด ในเบลเยียมเคยมีการทดลอง ปลูกพืช GMO อย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 โดยบริษัทเอกชน แต่หลังจากปี 2000 ก็ไม่มีการทดลองอีกเลยจนเกือบ 10 ปีต่อมา เนื่องจากถูกประชาชนต่อต้านอย่างหนัก เพิ่งจะเริ่มกลับมาทดลอง ใหม่อีกครั้งในปี 2009

ส่วนในเยอรมนี การต่อต้าน GMO กลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ เมื่อบริษัท BASF บริษัท เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมนีถึงกับต้องย้ายสำนักงานใหญ่บริษัทวิจัยด้าน GMO ของตัวเองไปยังสหรัฐฯ เพราะไม่อาจต้านกระแสต่อต้าน GMO อย่างหนักของผู้บริโภคชาวยุโรปได้ จึงเลิกคิดจะทำการตลาดพืช GMO ในยุโรป และเปลี่ยนใจไปทำตลาดในสหรัฐฯ แทน รวมถึงในเอเชียด้วย

นับว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในยุโรปประสบความสำเร็จในการเรียกร้องรัฐบาลของตนและสถาบันทางการเมืองของยุโรป ให้ระมัดระวังการรับเทคโนโลยี GMO แม้จะทำให้เกิดสงครามการค้ากับสหรัฐฯ หลายครั้งก็ตาม เพราะผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยอมรับ GMO ได้มากกว่ายุโรป

Barbara van Dyck ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการผลิตอาหาร GMO จนถูกไล่ออกจากงาน เธอเป็นนักวิจัยด้านการวางผังเมืองของมหาวิทยาลัย KU Leuven มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในเบลเยียม เมื่อปีที่แล้วกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้าน GMO บุกเข้าไปทำลายแปลงสาธิต การปลูกมันฝรั่ง GMO ในเบลเยียม การทดลองดังกล่าวเป็นกิจการร่วมทุนระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐบาลเบลเยียมกับบริษัทไบโอเทคของเอกชน

Barbara ชี้ว่า โครงการทดลองปลูก มันฝรั่ง GMO นี้ เกิดขึ้นในบริบทที่ว่า ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังต้องการสร้างเศรษฐกิจที่เรียกว่า “เศรษฐกิจฐานความรู้” (knowledge-based economy) และเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-technology) กับเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ก็คือลงทุนที่ดูมีอนาคตสดใสมากที่สุด สำหรับการสร้าง เศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต ดังนั้นไม่ว่า ประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาต่าง ก็ทุ่มเทงบประมาณของรัฐเพื่อเริ่มการลงทุนให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้

แต่บรรดานักเคลื่อนไหวอย่างเช่น Barbara กลัวว่าในที่สุดแล้วจะมีแต่เพียงบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติเท่านั้น ที่จะได้ผล ประโยชน์ทางการเงินจากการลงทุนเหล่านั้น เพราะบริษัทข้ามชาติเป็นเจ้าของสิทธิบัตรนวัตกรรมต่างๆ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและ คิดค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรในราคาแพง ทำให้เกษตรกรรายย่อยอยู่ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีเงินพอจะจ่ายค่าสิทธิบัตรแพงๆ นั้น ไทยควรตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นนี้ เพราะภาคเกษตรกรรมของไทย มีหัวใจหลักอยู่ที่เกษตรกรรายย่อยและรายกลาง

Barbara van Dyck ไม่ได้เกี่ยว ข้องกับการทำลายแปลงทดลองปลูกมันฝรั่ง GMO โดยตรง เพียงแต่พูดสนับสนุนและปฏิเสธไม่ยอมถอนการสนับสนุนกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ทำลายแปลงปลูกมันฝรั่งในเบลเยียม ทำให้เธอถูกมหาวิทยาลัยไล่ออก จากงาน โดยกล่าวหาว่าเธอทำลายเสรีภาพ ของการวิจัย แม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทดลองดังกล่าวก็ตาม Barbara เชื่อว่าทางมหาวิทยาลัยกลัวว่าจะอดได้รับเงินจากบริษัทเอกชนในอนาคต เนื่องจากขณะนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรป ถูกกดดันให้ต้องร่วมมือกับธุรกิจเอกชน สิ่งนี้ต่างหากที่ Barbara เห็นว่า คือการทำลายเสรีภาพของการวิจัยอย่างแท้จริง และยังเป็นการหลบเลี่ยงการถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง GMO ด้วย

อย่างเช่นกรณีแปลงทดลองปลูกมันฝรั่ง GMO ดังกล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองนี้ใช้เงินงบประมาณของรัฐในการรณรงค์การตลาดส่งเสริมอาหาร GMO ในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ถูกประชาชนจำนวนมากต่อต้าน ปัญหาหลักคือการที่อาหาร GMO มักไม่มีการติดฉลาก แจ้ง ทำให้ผู้บริโภคถูกลิดรอนสิทธิ์ในการเลือกที่จะบริโภค หรือไม่บริโภคอาหาร GMO

คดีของ Barbara เป็นที่สนใจวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อกระแสหลักทั่วยุโรป นักวิจัยในมหาวิทยาลัย 4,000 คน เข้าชื่อสนับสนุน Barbara และนักเคลื่อนไหวอีก 11 คนที่ต้องคดีครั้งนี้ Barbara เชื่อว่าคดี ของเธอได้ช่วยจุดพลุให้เกิดการถกเถียงเรื่อง GMO ขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้งสื่อและชาวยุโรปจะสนับสนุนการต่อต้านการปลูกมันฝรั่ง GMO แต่พวกเขา ไม่เห็นด้วยกับการบุกเข้าไปทำลายแปลงปลูกซึ่งเป็นทรัพย์สินของเอกชน

การที่ Barbara และนักเคลื่อนไหว อีก 11 คนต้องถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ถึง 200,000 ยูโรและต้องขึ้นศาล นับเป็นความเสี่ยงสูงที่นักเคลื่อนไหวต่อต้าน GMO ต้องเผชิญ เพราะโทษมีตั้งแต่จำคุกไปจน ถึงค่าปรับที่สูงลิ่ว ตัว Barbara เองก็ยื่นฟ้องร้องมหาวิทยาลัยอดีตนายจ้างของเธอต่อศาลแรงงาน ว่าเธอถูกไล่ออกอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ศาลแรงงานจะยัง ไม่พิจารณาคดีที่เธอฟ้องร้องจนกว่าคดีของ เธอกับอีก 11 นักเคลื่อนไหวจะมีคำตัดสิน ของศาลออกมาเสียก่อน การพิจารณาคดีทั้ง 2 คดีอาจยืดเยื้อไปอีกนานหลายปี

แล้วคดีของ Barbara สำคัญต่อไทยอย่างไร DEVGEN ซึ่งเกี่ยวข้องกับหนึ่ง ในสถาบันวิจัยที่ร่วมฟ้องร้องเธอและนักเคลื่อนไหวคนอื่นๆ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ Monsanto ซึ่งกำลังคิดจะเพิ่มบทบาทของตนในตลาดข้าวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าว GMO ในเอเชีย ขณะนี้มีแปลงทดลองปลูก พืช GMO เกิดขึ้นมากมาย เพียงแต่ยังไม่ถึงขั้นผลิตเป็นอาหารขายในท้องตลาด แต่ อีกไม่นานอาจจะได้เห็น การวิจัยพืช GMO ยังเกี่ยวข้องกับพืชเกษตรหลายชนิด ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องเริ่มลุกขึ้นมาถกเถียงถึงผลกระทบจาก GMO

หมายเหตุผู้เขียน: เว็บไซต์ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีความข้างต้น http://fieldliberation.wordpress.com/ และผู้ประสงค์จะสนับสนุนการสู้คดีของกลุ่มนักเคลื่อนไหวสามารถบริจาคเงินได้ที่ Name: van Crop Resistance (Triodos BIC: TRIOBEBB),account-number: BE59 5230 8045 6626