Home > Cover Story (Page 183)

เจริญ สิริวัฒนภักดี “บ่มเพาะ เนิบช้า แต่มั่นคง”

หากถามว่าอาณาจักรธุรกิจของ เจริญ สิริวัฒนภักดี มีขนาดและความกว้างใหญ่เพียงใด เราอาจจะต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษจำนวนมากอธิบายและแจกแจง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ข้อสรุปที่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่อย่างไร เนื่องเพราะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ขยายฐานและฝังรากทางธุรกิจออกไปไกล ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสุรา ไปจนถึงธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องหลากหลาย ทั้งเบียร์ น้ำตาล บรรจุภัณฑ์ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และอสังหาริมทรัพย์ ในนาม ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group “ผมดำเนินธุรกิจด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ธุรกิจที่ผมดำเนินการอยู่ ต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และครอบครัว ดังเช่นพลเมืองที่ดีคนหนึ่ง” เป็นทัศนะที่ เจริญ ได้แสดงไว้ในสารของผู้ก่อตั้ง หากประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า เจริญ-คุณหญิงวรรณา เริ่มต้นอาณาจักรธุรกิจด้วยสุรา ประเด็นว่าด้วยการหมักบ่ม และรอคอยผลลัพธ์ ที่ลงตัว คงเป็นส่วนหนึ่งในตรรกะและวิธีคิดในการบริหารจัดการทั้งครอบครัวและธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และดูเหมือนว่าผลพวงจากการบ่มเพาะอันยาวนานของ เจริญ-คุณหญิงวรรณา กำลังขยายและปรากฏผลเป็นประจักษ์พยานในโลกธุรกิจที่แผ่กิ่งก้านกว้างขวางครอบคลุม จากรากฐานที่มั่นคง “เมื่อรากฐานแข็งแรง ไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งการเติบโต” เป็นถ้อยความที่สะท้อนหลักแนวคิดพื้นฐานของ ทั้ง เจริญ-คุณหญิงวรรณา และบริษัทในเครือ

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “ฉับไว ได้ผลลัพธ์”

“วันนี้ยากที่สุด ผมอยากเห็นความรวดเร็วและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทุกแผนงาน”ความเคลื่อนไหวของตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยในช่วงหลายปีมานี้ ดูจะเต็มเปี่ยมด้วยสีสันที่น่าตื่นตาตื่นใจ และการขับเคี่ยวในชั้นเชิงทางธุรกิจที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย การวางยุทธศาสตร์เพื่อการรุกคืบและขยายธุรกิจประเภทเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) เป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่กำลังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของตลาดเครื่องดื่ม ไม่เฉพาะในบริบทประเทศไทยเท่านั้น แต่อาจสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในเวทีภูมิภาคอีกด้วย “ผมว่า วันนี้ยากที่สุด ช่วงที่ผ่านๆมาเราก็แก้ไปได้ดีที่สุด เพียงแต่วันนี้ผมมองว่า การถูกมอบหมายให้รับผิดชอบในภาระที่กว้างขึ้น ยิ่งจะใจร้อนยิ่งขึ้น อยากเห็นผลลัพธ์ที่ออกมา เหมือนอย่างทีมของผมในช่วงปีที่ผ่านมา ผมอยากเห็นความรวดเร็วและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ทีมท่องกันหลายรอบ Speed and Result  ทุกแผนงาน” เป็นความคิดรวบยอดของ ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่บอกกับ “ผู้จัดการ 360” เมื่อไม่นานมานี้ เป็นประหนึ่งบทนิยามทางยุทธศาสตร์ ก่อนที่ ไทยเบฟเวอเรจ จะรุกขยายธุรกิจด้วยเงินลงทุนถึง 2,800ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือกว่า 70,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 29% ของบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือ "เอฟแอนด์เอ็น"

Read More

อสังหาฯ เร่งสปีดปักธง เค้กก้อนใหม่ 3แสนล้าน

 แม้หลายฝ่ายมองธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ล่าช้า เนื่องจากปัญหาต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่แพงขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดแรงกระทบต่อการส่งมอบบ้านให้แก่ผู้ซื้อ รวมไปถึงความเสี่ยงเรื่องการปล่อยสินเชื่อสูงเกินมูลค่าแท้จริงของที่อยู่อาศัยจากการแข่งขันกันในกลุ่มสถาบันการเงิน  แต่ปี 2556 ต้องถือเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่ทุกบริษัท โดยเฉพาะในกลุ่มบิ๊กอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นแสนสิริ พฤกษา แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย แอลพีเอ็น พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค หรือควอลิตี้เฮาส์ ต่างหมายมั่นต้องการสร้างรายได้และยอดขายชนิดทุบสถิติ หลังจากผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 และเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปลุกยอดขายกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในปีที่ผ่านมา  ที่สำคัญ ทุกค่ายทุ่มงบลงทุนจำนวนมหาศาลขยายโครงการชนิดไม่หวั่นเกรงปัญหา “ฟองสบู่” และสรรหากลยุทธ์การแข่งขันเพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะการรุกแนวรบในสมรภูมิต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็น “พระเอก” ที่มีกำลังซื้อสูงและแนวโน้มเติบโตสวยหรูอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี  ตัวเลขล่าสุดพบว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศมีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 3 แสนล้านบาท อัตราเติบโต 15% และอีกกว่า 3 แสนล้านบาท อยู่ในตลาดต่างจังหวัด ซึ่งมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงมากกว่า 30-40%  ขณะเดียวกัน  ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

Read More

กานต์ ตระกูลฮุน “นวัตกรรม” ไม่ใช่เพื่ออยู่รอด แต่เพื่อเป็นผู้นำ

“นวัตกรรมต้องอยู่ในสายเลือดและอยู่ในแนวคิดปกติของ SCG”สำหรับประเทศไทย คงมีบริษัทสัญชาติไทยไม่มากนักที่สามารถฝ่าฟันมรสุมมานานนับศตวรรษแต่ยังสามารถเติบโตอย่างมั่นคงมาได้ และยิ่งหาได้ยากมาก สำหรับบริษัทเก่าแก่อายุร่วมร้อยปี แต่กลับได้รับยกย่องว่าเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมหนึ่งในบริษัทจำนวนน้อยนั้น หลายคนนึกถึง “บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย” หรือที่ทุกคนรู้จักในนามของ “เอสซีจี (SCG)” ซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 99 ปี ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้SCG เป็นอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ ณ สิ้นปี 2554 มีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 3.7 แสนล้านบาท และมีรายได้ปี 2554 กว่า 3.6 แสนล้านบาทที่สำคัญ SCG ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ผ่าน “สินค้า”ใหม่, กระบวนการผลิตแบบใหม่ และโมเดลธุรกิจใหม่ ที่สามารถต่อยอดทางธุรกิจและตอบสนองลูกค้าได้ตลอดเวลา เช่น กระเบื้องพิมาย, ปูนช้างทนน้ำทะเล, คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับลานตากพืชผล, รถโม่เล็กคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค ฯลฯ จนมาถึง SCG Heim นวัตกรรมการสร้างบ้านระบบโมดูลาร์ ที่ส่วนประกอบของบ้านกว่า 80%

Read More

วิชัย ทองแตง บริหารความเสี่ยงด้วยวิสัยทัศน์

“CTH ในนิยามของผมก็คือ เคเบิลทีวีบ้านนอก ที่พร้อมจะเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง”ชื่อของ วิชัย ทองแตง กลับมาสู่สปอตไลต์ของสังคมธุรกิจการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่ CTH (Cable Thai Holding) คว้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก พร้อมๆ กับการประกาศแผนธุรกิจที่สั่นคลอนสถานภาพของผู้ประกอบการรายเดิมอย่างหนักหน่วงและกว้างขวางก้าวย่างของวิชัย ทองแตง อาจได้รับการกล่าวถึงควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า วิชัย ทองแตง เคยเป็นอดีตทนายความที่นำพาทักษิณ ชินวัตร รอดพ้นจากข้อกล่าวหาในกรณีซุกหุ้น ก่อนที่วิชัย ทองแตง จะผันตัวเองเป็นนักลงทุนที่เข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลศิครินทร์ โรงพยาบาลเปาโล และการเข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งการซื้อหุ้นและกิจการโรงพยาบาลในครั้งนั้น เป็นภาพที่สอดรับกับนโยบายว่าด้วย 30 บาทรักษาทุกโรค และการหนุนให้ไทยเป็น Medical Hub ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของวิชัย ทองแตง ผูกพันอยู่ในฐานะตัวแทนของกลุ่มทุนการเมืองเรื่อยมา “ผมไม่ปฏิเสธว่าผมรู้จักผู้คนมากมาย แต่การทำธุรกิจจะมีเพียงเครือข่ายสายสัมพันธ์หรือ connection อย่างเดียวไม่ได้หรอก ปัจจัยสำคัญที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ วิสัยทัศน์ ที่ต้องประเมินให้ได้ว่าธุรกิจใดมีศักยภาพ และธุรกิจใดที่มีความเสี่ยง ซึ่งทั้งหมดนี้ ได้มาด้วยกาลเวลา ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์และความรู้จากการทำงาน” ตลอดเวลาที่วิชัย ทองแตง โลดแล่นอยู่ในสังคมธุรกิจ เขาได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะพ่อมดตลาดหุ้น

Read More

โครงข่ายศูนย์การค้า CPN ตั้งหลัก-ปักหมุดดูดเงิน AEC

 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกต้นปี “กลุ่มเซ็นทรัล” และแต่ละกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลจะทยอยออกมาแถลงผลประกอบการและทิศทางการดำเนินงานต่อสื่อมวลชน สำหรับปีนี้ ทิศทางของกลุ่มเซ็นทรัลดูจะมุ่งเน้นไปที่ความตื่นตัวในการรองรับการเปิดตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังจะเห็นได้จากหัวข้อการเสวนาที่ถูกจัดขึ้นพร้อมกับการแถลงประจำปีครั้งนี้ นั่นคือ “AEC Challenge”  “ภูมิภาคอาเซียนจะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ เพราะกลุ่ม AEC มี GDP ทั้งหมด 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีประชากร 600 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มที่จะมีศักยภาพมาก สำหรับทิศทางในการลงทุนของเรา ก็ยังคงจะเน้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากประเทศจีนและอิตาลีที่ลงทุนไปแล้ว เราก็คงจะเน้นขยายในภูมิภาคนี้เป็นหลัก” สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เกริ่น สำหรับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ดูเหมือนกลยุทธ์สำคัญในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC ของกลุ่มคงอยู่ที่การเร่งเปิดศูนย์การค้าให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเฉพาะเข้าไปจับจองพื้นที่ในจังหวัดที่อยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการหลั่งไหลมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากภายหลังเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ในปี 2558  ณ ชายแดนทางด้านเหนือ กลุ่ม CPN ได้ปักหมุดในจังหวัดเหนือสุดของสยามด้วย การเปิดตัว “เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย” ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554

Read More

ปักหมุดทั่วโลกแก้เกมภาษีนำเข้า

การตั้งงบไล่ซื้อห้างค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศปีละ 20,000 ล้านบาท โดยเฉพาะดีลประวัติศาสตร์ที่ซีอาร์ซีกลายเป็นกลุ่มทุนค้าปลีกไทยเจ้าแรกที่บุกไปไกลถึงยุโรปอย่าง “ลา รีนาเซนเต” ขณะนี้เปิดแล้ว 11 สาขาและล่าสุดตกลงซื้อตึกขนาดใหญ่พื้นที่ 17,000 ตารางเมตร ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มูลค่า 8,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเป็นห้างค้าปลีกและจะเปิดให้บริการภายใน 3 ปีข้างหน้าการซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต ในอิตาลีครั้งนั้น ซีอาร์ซีต้องการก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าระดับโลกและก้าวสู่ “โกลบอล คอมปะนี”  โดยขยายแบรนด์ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล จากเดิม 3 แบรนด์ เป็น 4 แบรนด์ ประกอบด้วย เซ็นทรัล เซน โรบินสัน และ ลา รีนาเซนเต ครอบคลุมการทำตลาดทุกระดับ โดยวางให้ “เซ็นทรัล” เป็นแบรนด์ ท็อปออฟเอเชีย ส่วน “ลา รีนาเซนเต” เป็นแบรนด์ท็อปออฟเวิลด์ รองรับการขยายสาขาทั้งประเทศไทยและทั่วโลกในจีนเอง ซีอาร์ซีใช้เวลาในการขยายตลาดค่อนข้างนานเพราะไม่ใช่ตลาดที่ง่าย

Read More

กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ

 เป็นเรื่องไม่ยากที่จะเป็นเศรษฐีที่ดิน ถ้าต้นตระกูลคุณมีที่ดินในกรุงเทพฯ ทิ้งไว้ให้สัก 100 ไร่ หรือแค่ 10 ไร่ก็พอ สำหรับที่ดินใจกลางเมือง หรือแค่ 5 ไร่ สำหรับที่ดินกลางเมืองที่ติดรถไฟฟ้า หรือแค่ไร่เดียวก็พอ หากเป็นที่ดินติดสถานีรถไฟฟ้า ณ สยามสแควร์ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (Agency for Real Estate Affairs: AREA) ได้สำรวจราคาประเมินที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ปี 2554 พบว่าย่านสยามสแควร์ถือเป็นบริเวณที่มีที่ดินราคาสูงสุด โดยตกเฉลี่ยตารางวาละ 1.4 ล้านบาท หรือไร่ละ 560 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากราคาตลาดในปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ 640,000 บาทต่อตารางวา หรือ 256 ล้านบาทต่อไร่ด้วยความเป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะความเป็นแหล่งแฟชั่นสำหรับวัยรุ่นในเมือง บวกกับความเป็นย่านการค้าที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้ที่ดินในเชิงธุรกิจอย่างเข้มข้น เหล่านี้ล้วนส่งผลให้มูลค่าอสังหา ริมทรัพย์ของสยามสแควร์ได้รับการประเมินไว้สูงขึ้น ไม่เพียงมูลค่าตลาดของที่ดิน

Read More

ดิจิตอล เกตเวย์ ประตูสู่สยามสแควร์ของ “เจริญ”

 ปฐมบทของโครงการ “ดิจิตอล เกตเวย์” เริ่มต้นจากการประมูลพื้นที่โครงการ Center Point เดิม ในช่วงกลางปี 2550 ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยไม่เพียงพื้นที่ที่ทำการประมูลจะอยู่ในทำเลที่ถือได้ว่าดีที่สุดของสยามสแควร์ เพราะติดกับบันไดทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าสยาม แต่ความน่าสนใจยังเกิดจากกลุ่มผู้เข้าประมูลทั้ง 6 ราย ที่ต่างก็มุ่งมั่นในการชิงกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนเล็กเพียง 1 ไร่แปลงนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ระดับประเทศอันประกอบด้วยกลุ่มพันธุ์ทิพย์ พลาซา ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี, กลุ่มสยามพิวรรธน์ ร่วมกับเอ็มบีเค, กลุ่มธนายง, กลุ่มซีพี, กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มพรไพลิน ผู้เช่ารายเดิมสำหรับผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด ในเครือของบริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ของเจ้าสัวเจริญที่มีจุดขายอยู่ที่ความเป็น “ดิจิตอล ซิตี้” โดยผู้บริหารจุฬาฯ มองว่าเป็นสิ่งที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ว่ากันว่าการประมูลครั้งนี้ทำให้จุฬาฯ ได้รับผลตอบแทนสูงถึง 1,400 ล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ขณะที่ผลตอบแทนที่ “กลุ่มเจริญ” จะได้นั้นนอกจากพื้นที่ให้เช่าในย่านทำเลที่ดีที่สุด “แบรนด์ช้าง” ยังได้อยู่ในจุดโฆษณาที่มีสนนราคาแพงที่สุดจุดหนึ่ง ในสยามสแควร์ เพราะมี “ทราฟฟิก (traffic)” เข้าออกบริเวณนี้มหาศาลหลายคนเชื่อว่า จุฬาฯ ยังมีอีกเหตุผล (ไม่) ลับที่เลือกกลุ่ม เจ้าสัวเจริญ ก็เพราะต้องการหานายทุนหน้าใหม่เข้ามาเพิ่มในย่าน

Read More

“สถานีถัดไป” ของสยามสแควร์

 ถ้าเปรียบเป็นคนวัย 50 ปีคงเป็นวัยเริ่มต้น การทำใจสู่การเกษียณอายุและยอมรับต่อ “ความเสื่อม” ทั้งหลาย แต่สำหรับ “สยามสแควร์” ดูเหมือนความขลังในการเป็นศูนย์รวมวัยรุ่นและศูนย์รวมธุรกิจยังไม่เคยเสื่อมคลาย กลับยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอย่างหลัง จนต้องลุ้นว่า “สถานีหน้า” ณ ครึ่งศตวรรษใหม่ของสยามสแควร์จะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไรใครไม่รู้จัก “สยามสแควร์” ยกมือขึ้น...เงียบ!เคยมีคนกล่าวว่า คนกรุงเทพฯ ร่วมสมัยที่เกิด ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา โดยเฉพาะคนในวัย 40 ปีลงมาจนถึงวัย 14 ปี แทบทุกคนน่าจะเคยมีฉากตัวเอง กับสยามสแควร์อย่างน้อยสักครั้ง“เด็กสยามฯ” บางคนยอมรับว่า แม้จะเบื่อสยามสแควร์แต่ก็ยังนิยมนัดพบปะเพื่อนฝูงที่นี่บ่อยๆ เพราะยังไม่เห็นว่าจะมีที่ไหนที่เป็นแหล่งวัยรุ่นแท้จริง ได้เหมือนที่นี่ว่ากันว่า “สยามสแควร์” เป็นแหล่งเปิดกว้างให้วัยรุ่นได้แสดงออกอย่างอิสระมากที่สุดในประเทศไทย เป็นเสมือนโลกไร้กรอบที่พวกเขาสบายใจที่จะแสดงออกและค้นหาตัวตนของตัวเอง ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองหลวงของวัยรุ่น” และเป็นเสมือนแหล่งพักพิงสำหรับเหล่าวัยรุ่น ก่อนที่พวกเขาจะไปเติบโตตามสถานที่ต่างๆสยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าแนวราบเนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 1 ช่วงระหว่าง ถนนพญาไทและอังรีดูนังต์ (ระหว่างสี่แยกปทุมวันกับสามแยกเฉลิมเผ่า) เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินย่านปทุมวันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันเหลือพื้นที่ราว 1,153 ไร่สำหรับ “พื้นที่เขตพาณิชย์” หรือที่ดินสำหรับจัดหาผลประโยชน์เพื่อนำรายได้มาบำรุงการศึกษา มีอยู่ราว 385 ไร่ อยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (อ่านเพิ่มเติมใน “กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ”) โดยสยามสแควร์ถือเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในแง่มูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ และภาพลักษณ์การตลาด“สืบสานพระราชปณิธานของ ร.6 ซึ่งได้พระราชทานที่ดินให้จุฬาฯ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ให้เอาที่ดินไปหาผลประโยชน์เพื่อนำเงินรายได้มาบำรุงการศึกษา มีพระราชกระแสรับสั่งชัดเจนเลย ผู้บริหารยุคก่อนก็เลยตอบสนองด้วยการจัดสรรพื้นที่ให้เอกชนไปลงทุน” รองอธิการบดีจุฬาฯ

Read More