Home > Cover Story (Page 4)

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ มองงานวิจัย นวัตกรรม สู่เครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักจะมีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม เมื่อเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจ เกาหลีใต้คือหนึ่งในนั้น ที่ภาครัฐพยายามผลักดันด้านนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้งานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทย งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ นำพาประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้และนวัตกรรม “ในแต่ละปีไทยได้ลงทุนงานวิจัยและนวัตกรรม เพราะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้รุดหน้า งานวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นเส้นทางไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมไทยใน 4 โจทย์หลัก ได้แก่ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง การแพทย์และสุขภาพ NetZero&PM2.5 และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ปัจจัยหลายด้านที่ไทยต้องเผชิญ ทั้งสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัย การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เป็นความท้าทายอย่างมาก วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบโจทย์และนำประเทศไปสู่การพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ” รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เคยให้มุมมองไว้ในงาน TRIUP FAIR 2024 ถึงกระนั้น การนำพาเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นจากความถดถอยทางเศรษฐกิจ และตัวเลขจีดีพีที่ดูจะเร่งให้เติบโตได้ยาก

Read More

“บุญเลิศ สิริภัทรวณิช” สร้างทางเลือกการลงทุน จากทองคำสู่ “เงินแท่ง”

หลังบุกเบิกธุรกิจค้าทองคำแท่งเพื่อการลงทุนเป็นรายแรกในประเทศไทยไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน วันนี้ “บุญเลิศ สิริภัทรวณิช” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสสิริส จำกัด กำลังเปิดมิติใหม่ของการลงทุน ด้วยการผลักดัน “โลหะเงินแท่ง” จากมิติของการเป็นเครื่องประดับสู่การเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุน นอกเหนือจากการลงทุนในทองคำที่ราคาพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง “มีการเปรียบเปรยกันไว้ว่า ‘Gold is King, Silver is Queen’ เพราะเป็นโลหะมีค่าเช่นเดียวกัน ออสสิริสเป็นบริษัทแรกๆ ที่ทำให้วิธีคิดการลงทุนในทองคำเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน นั่นทำให้ออสสิริสเป็นร้านทองร้านเดียวที่อยู่ในงาน Money Expo ในเวลานั้น แต่ตอนนี้มีเทรนด์ที่น่าสนใจที่ได้รับการคอนเฟิร์มจากต่างประเทศมาแล้ว นั่นคือการลงทุนในโลหะเงิน เรามีความเชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนทองคำแท่งมาแล้ว และเชื่อว่าสามารถนำความเชี่ยวชาญนั้นมาสร้างกลไกตลาดในการลงทุนในโลหะเงินได้เช่นเดียวกัน” บุญเลิศกล่าวถึงที่มาในการบุกตลาดการลงทุนในโลหะเงิน พร้อมเสริมว่า ปัจจุบันตลาดการลงทุนโลกมีความสนใจในการลงทุนกับโลหะเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจของนักลงทุนหลักๆ มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำที่พุ่งสูงอย่างไม่หยุดหย่อน จนปัจจุบันทะลุ 40,000 บาทต่อน้ำหนัก 1 บาทไปแล้ว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และความไม่แน่นอนในตลาดหุ้น ที่ล้วนผลักดันให้นักลงทุนหันไปหาแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยนอกเหนือจากทองคำ ซึ่ง “โลหะเงินแท่ง” เป็นอีกหนึ่งในสินทรัพย์ที่นักลงทุนเชื่อว่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ดี เพราะเป็นโลหะที่มีมูลค่าในตลาดการลงทุนและมีราคาต่ำกว่าทอง ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึง “ในอดีตรายได้ของคนที่จะเข้าถึงทองคำมันไม่ได้ยากขนาดนี้

Read More

123 ปี โรยัล เอ็นฟีลด์ ตำนานแบรนด์มอเตอร์ไซค์สุดเก๋า

“โรยัล เอ็นฟีลด์” (Royal Enfield) ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ที่มีสายการผลิตต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก โดยเริ่มต้นขึ้น ณ เมืองเรดดิทช์ เมืองเล็กๆ ในสหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1901 ก่อนที่จะขึ้นแท่นเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มรถมอเตอร์ไซค์ขนาดกลาง (250cc-750cc) ด้วยสายการผลิตที่ดำเนินต่อเนื่องมานานถึง 123 ปีเต็ม รถมอเตอร์ไซค์คันแรกของ โรยัล เอ็นฟีลด์ ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 1901 ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Bob Walker Smith และ Jules Gobiet ขับเคลื่อนด้วยสายพาน เครื่องยนต์ 1.5 แรงม้า โดยมีการเปิดตัวในงาน Stanley Cycle ณ กรุงลอนดอน ถัดมาในปี 1914 รถมอเตอร์ไซค์สองจังหวะรุ่นแรกของ โรยัล เอ็นฟีลด์ เข้าสู่สายการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ กระทั่งอังกฤษเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ โรยัล เอ็นฟีลด์ ตัดสินใจหยุดการผลิตมอเตอร์ไซค์รุ่นอื่นๆ และหันมาผลิตมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้แทน

Read More

“โอ้กะจู๋” เข้าตลาดหุ้น ฝันเป็นจริงของอู๋กับโจ้

บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) หรือ OKJ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Be Organic from Farm to Table” เน้นวิถีเกษตรอินทรีย์ (Organic) ตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงเก็บผลผลิต กำลังเตรียมพร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเร่งโรดโชว์แนะนำตัวตนจากจุดเริ่มต้นสวนผักออร์แกนิคในฝันสู่แบรนด์ร้านอาหารออร์แกนิคที่ครองใจผู้บริโภค ต้องยอมรับว่า เส้นทางของ “โอ้กะจู๋” หรือ “อู๋กับโจ้” ผ่านบททดสอบหลายครั้ง ย้อนไปตั้งแต่ ชลากร เอกชัยพัฒนกุล หรือ “อู๋” กับเพื่อนสนิท คือ จิรายุทธ ภูวพูนผล หรือ “โจ้” ลูกหลานเกษตรกรในเมืองเชียงใหม่ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษา มีโอกาสได้ไปทัศนศึกษาที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเกิดแนวคิดอยากผสมผสานเกษตรสมัยใหม่กับเกษตรแบบดั้งเดิม สั่งสมกลายเป็นแรงบันดาลใจที่จะลงทุนทำธุรกิจการเกษตรร่วมกัน จิรายุทธตัดสินใจเข้าศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หวังเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในวิชาชีพที่ตัวเองใฝ่ฝัน พอจบปริญญาตรี เขาจับมือกับชลากรปลูกผักออแกนิกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คำนึงถึงผืนดิน ผลิตผล ระบบนิเวศ ครอบครัว

Read More

ไก่ทอด ฮอต ฮอต KFC-แมค ศึกชิงฐานลูกค้า

เมื่อ Texas Chicken ถอยออกจากตลาด ย่อมหมายถึงสงครามไก่ทอดจะมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ 2 ค่าย “เคเอฟซี-แมคโดนัลด์” แข่งขันดุเดือด โดยเฉพาะเกมช่วงชิงฐานลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดเดิมของเท็กซัสชิคเก้น ที่สำคัญ ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยที่มีมูลค่าราว 4.35 แสนล้านบาท อัตราเติบโต 7.1% แยกเป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant : QSR) ประมาณ 45,000 ล้านบาท และในตลาด QSR ซึ่งมีทั้งไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า “ตลาดไก่ทอด” ยังถือเป็นเซกเมนต์ใหญ่สุด มีมูลค่าราว 27,000 ล้านบาท สัดส่วนเกินครึ่งของตลาด QSR นั่นยิ่งทำให้ Fried Chicken War จะทวีความรุนแรง แม้ปัจจุบันเคเอฟซียังคงเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดไก่ทอด  ผูกขาดส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่งและมีสาขาถึง 1,100 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ทิ้งห่างคู่แข่ง “แมคโดนัลด์” ซึ่งล่าสุดมีสาขารวม 235

Read More

เวทิต โชควัฒนา 11 ปี แก้โจทย์ใหญ่ “ลอว์สัน 108”

“คนไทยติดสไตล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มากเกินไป” เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC และกรรมการบริษัท สห ลอว์สัน จำกัด เคยกล่าวถึงโจทย์ข้อใหญ่ของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ หรือคอนวีเนียนสโตร์ในประเทศไทย ทำให้การปลุกปั้นร้าน LAWSON 108  ต้องปรับกลยุทธ์หลายรอบ แน่นอนว่า ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทยเปิดตัวเมื่อปี 2532 หรือ 35 ปีก่อน เริ่มต้นหมุดตัวแรกหัวมุมถนนพัฒนพงศ์ ก่อนขยายเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ และเจาะเข้าสู่ทุกชุมชน ล่าสุดผุดสาขาได้มากกว่า 14,800 สาขา และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะทะลุ 15,000 สาขา รวมทั้งยึดครองส่วนแบ่งสูงสุดมาตลอด โดยปัจจุบันอยู่ที่ 70.8% และกลายเป็นคอนวีเนียนสโตร์ที่ฝังรากลึกกับลูกค้าคนไทยอย่างยาวนาน ชนิดที่ลูกเล็กเด็กแดงเรียกชื่อร้านเซเว่นฯ ได้ก่อนทุกค่าย ขณะที่ลอว์สัน108 เปิดตัวในตลาดเมืองไทยเมื่อปี 2556 ผ่านไป 11 ปี เปิดร้านได้ 300

Read More

บิ๊กแบรนด์พ่ายพิษเศรษฐกิจ ปิด “เท็กซัสชิคเก้น” ไม่ตอบโจทย์

ธุรกิจร้านอาหารบิ๊กแบรนด์ทยอยปิดกิจการตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องมาถึงปี 2567 โดยล่าสุด ร้านไก่ทอดเท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken) ในเครือบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ประกาศอำลาตลาดเมืองไทย ปิดให้บริการทั้ง 97 สาขาในวันที่ 30 กันยายน 2567 หลังลุยสมรภูมิไก่ทอดนานกว่า 9 ปี ดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ กล่าวว่า โออาร์พร้อมปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตามบริบทโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยอยู่ระหว่างการทบทวนการลงทุน (Revisit investment portfolio) ในธุรกิจต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนก่อนหน้านี้ เพื่อประเมินความเหมาะสมและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเป้าหมายในอนาคต เพื่อกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่ของ OR นอกเหนือจากธุรกิจหลักด้านน้ำมันและค้าปลีก โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจไลฟ์สไตล์และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ซึ่งเป็นธุรกิจที่บริษัทต้องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่อย่างครบวงจร ขณะที่วงในธุรกิจระบุว่า การถอดธุรกิจเท็กซัสชิคเก้นมาจากตัวแบรนด์และโปรดักส์ที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เข้ามาใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน PTT

Read More

โอฬาร จันทร์ภู่ มองธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67 ท้าทายบนความผันผวน

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลเป็นระลอกคลื่นไปยังธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกำลังซื้อ และไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ตลาดรับสร้างบ้านเป็นอีกหนึ่งตลาดที่พบกับภาวะชะลอตัว ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าตลาดที่ปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ในปี 2565 ขนาดของตลาดรับสร้างบ้านมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และปี 2566 มีการปรับตัวลดลงเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือลดลงเฉลี่ย 18% พื้นที่ที่มีการชะลอตัวมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน โอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association: HBA) เปิดเผยภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีแรกปี 2567 ชะลอตัวลง มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวมลดลงอยู่ที่ 4,505 ล้านบาท หรือประมาณ 15% ในทุกระดับราคา เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ที่มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวม 5,300 ล้านบาท สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอย และเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีหนี้ครัวเรือนสัดส่วนสูงถึง 91% ของจีดีพี

Read More

มองเศรษฐกิจอินโดฯ ผ่านงาน FI Asia 2024 โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดฮาลาล

หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารและส่วนประกอบของประเทศในเอเชีย อินโดนีเซียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีตลาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประมาณ277 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ปี 2023 สูงกว่าไทยหลายเท่าตัว อยู่ที่ 5.1% และการบริโภคภาคครัวเรือนมีการขยายตัวสูงถึง 4.8% ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในการบริโภคภาคครัวเรือนมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะที่ปัจจุบันอินโดนีเซียกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมรับเมืองหลวงใหม่ “นูซันตารา” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราเร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาคการผลิตโตและดันให้ GDP เพิ่มขึ้นได้ 1% เทียบกับเศรษฐกิจไทยที่ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 2.3% เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลายตัวยังเดินเครื่องแบบไม่เต็มกำลัง ภาคการส่งออกอยู่ในภาวะนิ่ง และไม่น่าจะขยายตัวมากไปกว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวดูจะหวังพึ่งพาได้มากที่สุดในเวลานี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีมูลค่าสูงถึง 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 6.12% ต่อปี ขณะที่ตลาดเบเกอรี่และซีเรียลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลให้เฉพาะตลาดนี้มูลค่า 51,990

Read More

เต้-ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก ตอกย้ำ “Content is King”

“สิ่งที่เต้พยายามพูดเสมอคือ Content is King แต่อาจจะเพิ่มไปอีกนิดว่า Quality Content is Queen เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์จากที่ไหนในโลก หรือจากประเทศใดก็ตาม มันพิสูจน์ได้แล้วว่า คอนเทนต์เหล่านั้นสามารถเดินทางไปได้ทั่วโลก” คุณเต้-ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด และผู้อำนวยการบริหารการสร้างสรรค์รายการ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในงานวันเปิดเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกอย่าง “Thailand International LGBTQ+ Film & TV Festival 2024” (TILFF 2024) ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากเปิดตัวทายาทรุ่น 3 ของ “กันตนา” ที่มาพร้อมโปรเจกต์ยักษ์ใหญ่อย่าง “Blue Project” ที่ใช้ความเชี่ยวชาญและจุดแข็งของกันตนาที่สั่งสมมาตลอด 73

Read More