Home > Cover Story (Page 6)

สำรวจธุรกิจใหม่ “อายิโนะโมะโต๊ะ” จากผงชูรส สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

จุดเริ่มต้นธุรกิจของ “อายิโนะโมะโต๊ะ” เกิดจากการค้นพบรสชาติ “อูมามิ” โดย ศ.ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว จากข้อสงสัยที่ว่าทำไมน้ำซุปที่ได้จากการต้มสาหร่ายทะเลคมบุจึงมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม จนนำไปสู่การไขความลับที่ว่า “กลูตาเมต” (Glutamic Acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง คือที่มาของรสชาติดังกล่าว กระทั่งเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรุงรสอูมามิแห่งแรก ณ ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2452 ภายใต้ชื่อ “อายิโนะโมะโต๊ะ” โดย บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ โค., อินค์. ประเทศญี่ปุ่น 51 ปีต่อมา ฐานการผลิตผงชูรสแห่งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้ชื่อ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2503 ถัดจากนั้นในปี พ.ศ. 2505 จึงมีพิธีเปิดโรงงานพระประแดงอย่างเป็นทางการ และเริ่มการผลิตผงชูรส “อายิโนะโมะโต๊ะ” โดยใช้แป้งมันสำปะหลัง

Read More

จัดเต็ม “กงยู” ปลุกกำลังซื้อ ดันทุบสถิติ Top Spender 78 ล้าน

หากย้อนกลับไปในปี 2540 วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก ทางการต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลายเป็นแรงผลักดันให้เกาหลีต้องปรับตัวหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง ทั้งเพลง ละคร ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ และวัฒนธรรมทุกรูปแบบ เพราะรัฐบาลเกาหลีเริ่มเล็งเห็นว่า วัฒนธรรมประจำชาติมีมูลค่าทำเงินได้ มีการประกาศนโยบายเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2543 เกิดองค์การมหาชน ศูนย์วิจัยทางวัฒนธรรม สถาบันการศึกษาเทคโนโลยีทางวัฒนธรรม ขยายศูนย์วัฒนธรรมและศิลปะทั่วประเทศ ปี 2544 กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวประกาศปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี จัดเทศกาลกีฬา เทศกาลดนตรี เทศกาลอาหาร เทศกาลแฟชั่น เทศกาลการละเล่นต่างๆ จนเกิดกระแสและที่เติบโตโดดเด่น คือ วงการเพลง ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ทำให้รัฐบาลเกาหลีมองเห็นช่องทางขยายอุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะการส่งออกละครโทรทัศน์เรื่อง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง สามารถทำรายได้จากลิขสิทธิ์ถึง 103.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการก่อตั้งสถาบัน The Korea Creative Content Agency (KOCCA) เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจด้านวัฒนธรรมเกาหลีอย่างครบวงจรในทุกสื่อบันเทิง กว่า 27 ปี Korean Wave

Read More

เจาะสมรภูมิโลตัส 30 ปี สร้างอาณาจักรค้าปลีกซีพี

เส้นทาง 30 ปีของห้างค้าปลีก “โลตัส” ผ่านสมรภูมิโชกโชนและผูกพันเป็นบุพเพสันนิวาสกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตั้งแต่นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือซีพี เกิดแนวคิดต้องการสร้างธุรกิจค้าปลีกเป็นอีกช่องทางการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค วันที่ 13 สิงหาคม 2536 เครือซีพีจดทะเบียนตั้งบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1 ล้านบาท และเปิดบริการสาขาทดลองแห่งแรกที่ซีคอนสแควร์ ใช้ชื่อว่า โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2537 ปรากฏว่า ลูกค้าตอบรับอย่างดี ปีถัดมา บริษัทลุยสาขาที่ 2 โลตัส ดิสเคาน์สโตร์ ที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้คอนเซ็ปต์ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นจำหน่ายสินค้าราคาย่อมเยา ปี 2539 บริษัททุ่มงบกว่า 3,000 ล้านบาท เปิดศูนย์กระจายสินค้าวังน้อย หวังรองรับการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่า ทุกอย่างพลิกผัน เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วเอเชียในปี 2540 ที่หลายคนเรียก

Read More

สุภัค หมื่นนิกร กว่าจะเป็น Siam Steak สูตรสยามเบอร์เกอร์

“คุณแม่ผมสร้างแฮมเบอร์เกอร์ไทยเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว เวลานั้นคนไทยไม่รู้จักแฮมเบอร์เกอร์เลย เพราะเป็นเมนูอยู่ในโรงแรมห้าดาวมาตลอด อินเตอร์แบรนด์เพิ่งเข้ามาเมื่อสามสิบปีที่แล้ว แต่ห้าสิบปีที่แล้วคุณแม่ผมวางแฮมเบอร์เกอร์ในซูเปอร์มาร์เกต ปรากฏว่าขายไม่ได้ เพราะคนไทยไม่รู้จัก!!” สุภัค หมื่นนิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามอินเตอร์ฟาร์ม จำกัด ผู้บริหารกิจการ “สยามสะเต๊ค” (Siam Steak) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ย้อนเส้นทางการบุกเบิกตลาดครั้งแรกของ แจ่มจันทร์ หมื่นนิกร ก่อนปลุกปั้นแบรนด์ฟาสต์ฟูดสายพันธุ์ไทยและยืนหยัดฝ่าทุกมรสุมจนมาถึงปัจจุบัน จริงๆ แล้วเดิมแจ่มจันทร์เป็นนักแปลภาษาให้คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย หรือจัสแมกไทย (JUSMAGTHAI) ซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพในช่วงสงครามเวียดนาม และสังเกตเห็นว่า ทหารอเมริกันนิยมรับประทานเบอร์เกอร์เป็นอาหารหลักเกือบทุกมื้อ ขณะที่เบอร์เกอร์เป็นเมนูหารับประทานยากมากในประเทศไทย ยังไม่มีเชนร้านเบอร์เกอร์อินเตอร์แบรนด์เข้ามาบุกตลาด เธอจึงเห็นช่องทางการตลาด เกิดไอเดียอยากทำธุรกิจเบอร์เกอร์ อยากให้คนไทยรู้จักและลิ้มลองความอร่อยของเบอร์เกอร์รสชาติแบบไทยๆ แจ่มจันทร์ตัดสินใจขอเรียนวิชากับเชฟฝรั่งในโรงอาหารของจัสแมกไทย เพื่อปรุงสูตรเบอร์เกอร์ของตนเอง ใช้เวลา 1 ปีเต็ม พัฒนาเนื้อแพตตีใส่ในขนมปังเบอร์เกอร์ ตั้งชื่อว่า Siam Steak ทดลองวางขายตามซูเปอร์มาร์เกตต่างๆ แต่ขายแทบไม่ได้ “หลังจากวันนั้น คุณแม่ผมปิดห้องนั่งคิดอยู่ 3 วัน เกิดไอเดียว่า

Read More

เซเว่นฯ อัดกลับซีเจ สงครามช่วงชิงตลาด 6 แสนล้าน

“รับมั๊ยคะ 1 แถม 1 จัดวันเดียว เฉพาะสาขาชนกับซีเจ...” พนักงานร้านเซเว่นอีเลฟเว่น แจ้งลูกค้า ชักชวนซื้อเมนูอาหารพร้อมรับประทานรายการหนึ่ง ย้ำจัดวันเดียวและจัดบางสาขาเท่านั้น ซึ่งลูกค้าหยิบใส่ตะกร้าทันที แน่นอนว่า โปรจัดหนักแบบด่วนๆ สะท้อนภาพสงครามการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดคอนวีเนียนสโตร์ระหว่าง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “เซเว่นอีเลฟเว่นกับซีเจมอร์” โดยเฉพาะช่วงปี 2567 ค่ายซีเจ เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป เร่งปูพรมสาขาไล่บี้ เซเว่น อีเลฟเว่น ชนิดระยะห่างกันไม่ถึงร้อยเมตร หลายสาขาใช้วิธีเสียบทำเลร้านเดิมของอีกค่าย ซึ่งสู้ค่ายเบอร์ 1 ไม่ไหวจนยอมถอดใจทิ้งพื้นที่ ทั้งนี้ ข้อมูลวิเคราะห์จากสายงานวิจัยธุรกิจ กลุ่มกลยุทธ์และนวัตกรรม ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุว่า ตลาดร้านสะดวกซื้อหรือคอนวีเนียนสโตร์เคลื่อนไหวคึกคัก แม้ประมาณการปี 2567 คาดภาพรวมตลาดมีมูลค่า 6.05 แสนล้านบาท ขยายตัว 5.7% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ขยายตัวจากปี 2565 ถึง 8.1% มากกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตในช่วงปี 2561-2566

Read More

ภาวะมีบุตรยาก หนุนการแพทย์-ท่องเที่ยวโต รพ. นครธน เร่งคว้าโอกาส

ปัญหาการเกิดต่ำที่เกิดขึ้นในประเทศทั่วโลก จนส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย สนับสนุนให้ครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มขึ้น พร้อมข้อเสนอสวัสดิการสำหรับเด็กเกิดใหม่ เช่น รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาตรการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งรวมถึงการเพิ่มเงินอุดหนุนบุตรสำหรับเด็กที่เกิดตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดยบุตรคนที่ 1-2 จะได้รับเงินเพิ่มจาก 8,000 เป็น 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน และบุตรคนที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับ 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน ขณะที่บิดาสามารถลางานเพื่อดูแลบุตรได้เพิ่ม จาก 2 สัปดาห์เป็น 4 สัปดาห์ รัฐบาลจีนที่ประกาศนโยบายลูก 3 คน เมื่อปี 2021 โดยเสนอลดหย่อนภาษีและระบบการดูแลสุขภาพของมารดา เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ถึงกระนั้นเมื่อปี 2022 ประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี อยู่ที่ 1.4118 พันล้านราย ลดลงประมาณ 8.5 แสนราย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายให้เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรและขยายวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร และยังให้เงินอุดหนุนการแช่แข็งเซลล์ไข่ ปัจจัยหลายด้านส่งผลต่อแนวคิดของคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ตัดสินใจที่จะไม่มีทายาท หรือในบางครอบครัวที่ต้องการมีบุตรแต่ต้องพบกับภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพ ตัวเลขของสถานการณ์คุณแม่คลอดบุตรในปี

Read More

ไฮเออร์ วัดกำลังตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ดันไทยเป็นฐานการผลิต

ท่ามกลางความวิตกกังวลของผู้ประกอบการไทย ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่นักลงทุนจีนแห่แหนเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แพลตฟอร์มออนไลน์ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า อสังหาฯ ทั้งในเรื่องประเด็นการขาดดุลการค้าระหว่างไทยและจีน หรือการตัดโอกาสสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs รายกลาง-รายย่อย ขณะที่นักลงทุนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่นำเม็ดเงินเข้ามาใช้จ่ายลงทุนในโครงการใหญ่ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในแง่มุมของการจ้างงาน การก่อสร้าง หลายธุรกิจมาพร้อมความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งนี่จะเป็นอีกหนึ่ง know-how ที่ไทยจะได้อานิสงส์ ปี 2023 ประเทศไทยมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาปักหมุดสร้างฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมูลค่าการลงทุนจากนักลงทุนจีนสูงถึง 382,061 ล้านบาท อยู่ในอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ทว่า จีนกลับเป็นประเทศที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI มากสุดเป็นอันดับ 1 ที่ 430 โครงการ เงินลงทุน 159,387 ล้านบาท ไฮเออร์ เป็นอีกหนึ่งนักลงทุนจากจีนที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ด้วยการเทกโอเวอร์บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ซันโย ในช่วงแรกนั้นดำเนินการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ตู้แช่ ตู้เย็น ก่อนจะเพิ่มไลน์การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นตามมา ล่าสุดควักกระเป๋าลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งแรกในประเทศไทยมูลค่ากว่า

Read More

ซีพีแรม ทุ่มเม็ดเงิน 2,000 ล้านบาท เปิดตัวโรงงานผลิตขนมปังแห่งใหม่ ชิงส่วนแบ่งตลาดเบเกอรี่ 4 หมื่นล้าน

ตลาดขนมปังและเบเกอรี่ไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2566 มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตต่อปีเฉลี่ย 3-5% ในขณะที่ปี 2567 มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ 7-8% โดยขนมปังแผ่นนับเป็นสัดส่วนหลักของตลาดประมาณ 30% ขณะที่ 70% เป็นขนมปังสอดไส้ทั่วไป ล่าสุด บริษัท ซีพีแรม จำกัด หรือ CPRAM ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เจ้าของแบรนด์ขนมปัง “เลอแปง” ทุ่มงบกว่า 2,000 ล้านบาท เปิดตัวโรงงานผลิต “ขนมปังแผ่น” แห่งใหม่ขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยกำลังการผลิตถึงวันละ 2.4 ล้านแผ่น เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดเบเกอรี่ และความต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยว วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด เปิดเผยว่า “การที่ตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตขนมปังแผ่นแห่งใหม่เพราะเล็งเห็นโอกาสในตลาด เราพบว่ายังบริการลูกค้าได้ไม่ครบ และเห็นได้ชัดว่าลูกค้ามีความต้องการสินค้าของเรา

Read More

เปิดกลยุทธ์ความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล กับ “บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ”

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability กลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องบรรจุอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อที่จะไม่ตกขบวนของการพัฒนาสู่ความยั่งยืนอันเป็นเมกะเทรนด์ของโลก แน่นอนว่าบริษัทประกันสัญชาติอังกฤษอย่าง “พรูเด็นเชียล” ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 28 ปีก็ไม่ยอมตกขบวนนี้เช่นกัน ทางฝั่งธุรกิจประกันมีนโยบายด้านความยั่งยืนอย่างไร “ผู้จัดการ 360 องศา” จะไปเจาะกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ว่านั้นกับ “บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ” แม่ทัพใหญ่แห่งพรูเด็นเชียล ประเทศไทย “ความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ นโยบายด้านความยั่งยืนที่พรูเด็นเชียลตั้งธงไว้ คือ จะทำอย่างไรให้อนาคตของผู้คนและโลกใบนี้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องอยู่ได้และมีส่วนร่วมในการทำให้สังคมดีขึ้นด้วยเช่นกัน จนได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 3 เสาหลักด้านความยั่งยืนที่มาจากทั้งมุมของการเป็นบริษัทประกันชีวิต ผู้ลงทุน และองค์กรธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงทั้งในเอเชีย แอฟริกา รวมถึงในประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่พรูเด็นเชียลบอกเสมอคือ No Whitewashing บอกว่าทำ แต่ไม่ได้ทำจริง อันนี้เราไม่ทำ ต้องทำจริงให้เกิด impact ต่อสังคม” บัณฑิต เกริ่นถึงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล โดย 3 เสาหลักด้านความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล ประกอบด้วย 1. การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและการเงินที่เข้าถึงได้ง่าย 2. การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และ 3.

Read More

จาก Too Fast To Sleep สู่ Too Fast Infinity เผยร่างทอง ล้างภาพขาดทุน

หากเอ่ยชื่อ Too Fast To Sleep เชื่อว่าหลายๆ คนคงคุ้นชินกันเป็นอย่างดีในฐานะแหล่งรวมตัวของคนนอนดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาที่หาที่นั่งอ่านหนังสือและทำงาน เพราะที่นี่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “แหล่งมั่วสุมทางปัญญา” และกลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของสามย่านไปโดยปริยาย Too Fast To Sleep เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 เป็นวันแรก และแจ้งเกิดจากการเป็นร้านกาแฟที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง บนทำเลศักยภาพบริเวณสามย่านตรงข้ามกับจามจุรีสแควร์ ใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินสามย่าน และอยู่ใกล้สถาบันการศึกษาทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยตัวอาคารของ Too Fast To Sleep ออกแบบมาในลักษณะคล้ายกล่องขนาดใหญ่สีน้ำเงินเข้ม แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น และมีนกฮูกใส่แว่นขนาดใหญ่เป็นโลโก้ที่กลายมาเป็นภาพจำของใครหลายๆ คน เอนก จงเสถียร นักธุรกิจเจ้าของบริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตฟิล์มถนอมอาหารรายใหญ่แบรนด์ “M WRAP” และผู้ก่อตั้ง Too Fast

Read More